bloggang.com mainmenu search





เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก



การรวมอำนาจ

หลังจากที่มุขมนตรีหลายคนก่อนหน้า ไม่สามารถรักษาอำนาจของตนไว้ได้ ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์จึงเข้ารับตำแหน่งมุขมนตรีเยอรมนี

ในช่วงหลายเดือนแรกของปีเดียวกัน พรรคนาซีได้เริ่มกระบวนการระยะยาว เพื่อขับไล่ชาวยิวออกจากสังคมเยอรมัน อันเป็นแผนการซึ่งเป็นแก่นของ "การปฏิวัติวัฒนธรรม" ของฮิตเลอร์

อย่างไรก็ตาม พรรคนาซีมิได้ครองเสียงข้างมากในสภา แม้จะมีการสร้างพันธมิตรทางการเมืองแล้วก็ตาม ตามกฤษฎีกาประธานาธิบดี มาตราที่ 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ ค.ศ. 1918

ประธานาธิบดีฮินเดนบูวร์ก จึงประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 5 มีนาคม ซึ่งในระหว่างนี้ พรรคนาซีได้ดำเนินการก่อการร้าย ต่อคู่แข่งทางการเมือง

ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก ซึ่งพรรคนาซี ใช้เป็นข้ออ้างในการจับกุมพวกสังคมนิยม และพวกคอมมิวนิสต์ พร้อมกับออกกฤษฎีกาว่าด้วยเพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก

ซึ่งถือเป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างไม่มีกำหนดตลอดระยะเวลาการปกครองของนาซี อย่างไรก็ตาม ผลการเลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ปรากฏว่าพรรคนาซี ก็ไม่ได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภาเช่นเดิม

และด้วยความช่วยเหลือของพันธมิตรทางการเมือง รัฐบัญญัติมอบอำนาจได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ทำให้ฮิตเลอร์ สามารถออกกฎหมายได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภาเป็นเวลา 4 ปี

ภายในเวลาไม่กี่เดือน ฮิตเลอร์ได้ยุบพรรคการเมืองอื่นทั้งหมด จนกระทั่งประกาศตน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1933 นอกเหนือจากนั้น ในปี ค.ศ. 1934 พรรคนาซีได้กำจัดคู่แข่งทางการเมืองทั้งหมดอย่างรุนแรง

ต่อมา ฮิตเลอร์ได้รับอำนาจเพิ่มขึ้นหลังจากบัญญัติ เกเซทสอือแบร์เดนนอยเอาฟโบเดสไรช์ (เยอรมัน: Gesetz über den Neuaufbau des Reichs: บัญญัติแห่งการสร้างจักรวรรดิใหม่)

มีการยุบรัฐสภาสหพันธรัฐ และโอนสิทธิของรัฐและการบริหารไปยังรัฐบาลกลางที่กรุงเบอร์ลิน รัฐบาลท้องถิ่นได้ถูกแทนที่ด้วยคณะรัฐบาลนาซี ไรช์ซสทัททัลเทอร์ (เยอรมัน: Reichsstatthalter) พร้อมกับการที่รัฐบาลเข้าเป็นเจ้าขององค์กร และสโมสรเกือบทุกแห่งในประเทศ

เช่นเดียวกับกองทัพบก ซึ่งพอใจกับพรรคนาซี เพียงแต่ไม่ต้องการมีฐานะเป็นรองหน่วยเอสเอ ความขัดแย้งระหว่างกองทัพบกกับหน่วยเอสเอ นำไปสู่เหตุการณ์คืนแห่งมีดเล่มยาว (Night of the Long Knives) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1934

ซึ่งได้มีการสังหารหมู่บุคคลระดับผู้นำ ของหน่วยเอสเอจำนวนมาก เช่นเดียวกับศัตรูทางการเมืองทั้งในและนอกพรรคนาซี

ในวันที่ 2 สิงหาคม 1934 ประธานาธิบดีฮินเดนบูวร์ก ถึงแก่อสัญกรรม ฮิตเลอร์ได้รวมเอาตำแหน่งประธานาธิบดี และมุขมนตรีเข้าด้วยกัน อีกทั้งกองทัพบก ยังได้ปฏิญาณที่จะเชื่อฟังฮิตเลอร์ อย่างไม่มีเงื่อนไข

ฮิตเลอร์ได้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจับกุมพวกคอมมิวนิสต์ พวกสังคมนิยมและชาวยิว การใช้อำนาจอย่างเด็ดขาดของรัฐบาล ส่งผลให้รัฐบาลปราศจากผู้ต่อต้าน

ซึ่งคาดว่าจนถึงปี ค.ศ. 1945 มีชาวเยอรมันราว 3 ล้านคนถูกส่งไปยังเรือนจำ ด้วยเหตุผลทางการเมือง

การรวมอำนาจของพรรคนาซี ยังรวมไปถึงการควบคุมระบบการศึกษา วิทยุ และสถาบันทางวัฒนธรรม ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลจะถูกปลดออกจากตำแหน่ง

โจเซฟ เกิบเบิลส์ ให้ความสำคัญกับธุรกิจภาพยนตร์เยอรมนี ซึ่งได้มีการกดดันให้ภาพยนตร์ ทำการโฆษณาชวนเชื่อแก่ชาวเยอรมัน ภายในเวลาไม่นานนัก การจัดระเบียบทางสังคมก็เสร็จสิ้น

ฮิตเลอร์จึงเริ่มฟื้นฟูฐานะของเยอรมนีในเวทีโลกต่อไป


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร เปรมปรีดิ์มานรมณีย์นะคะ
Create Date :31 มกราคม 2554 Last Update :31 มกราคม 2554 19:40:44 น. Counter : Pageviews. Comments :0