bloggang.com mainmenu search





สกุลเงินไรช์มาร์ก
ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้กันในนาซีเยอรมนี



เศรษฐกิจ

เมื่อพรรคนาซีมีอำนาจปกครองเยอรมนีใหม่ๆ นั้น เยอรมนีมีอัตราว่างงานสูงถึง 30% นโยบายด้านเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนี ถือกำเนิดมาจากแนวคิดของ ฮยัลมาร์ ชอัคท์ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานแห่งธนาคารเยอรมนี ในช่วงที่พรรคนาซีขึ้นมามีอำนาจ

และได้กลายมาเป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังในปีเดียวกัน

เขาเป็นหนึ่งในรัฐมนตรีด้านการเงิน เพียงไม่กี่คนที่ใช้ประโยชน์จากการสิ้นสุดของมาตรฐานทองคำ เพื่อคงอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำและอัตราขาดดุลของรัฐบาลให้สูง และให้กิจการงานสาธารณะขนาดใหญ่ ได้รับการอัดฉีดจากรัฐบาลกลาง

ซึ่งได้ส่งผลให้อัตราการว่างงาน ของชาวเยอรมันลดลงอย่างรวดเร็ว และนับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด ในกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

ในที่สุดแล้ว นโยบายเศรษฐกิจแบบเคนส์นี้ ก็ได้รับการส่งเสริมจากการสร้างกองกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และการเพิ่มงบประมาณทางด้านการทหารนั่นเอง

ในปี 1937 ฮยัลมาร์ ชอัคท์ลาออก จากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ที่เข้ามารับตำแหน่งแทนคือ ร้อยเอก เฮอร์แมน เกอริง ผู้ซึ่งได้เสนอแผนการเศรษฐกิจสี่ปี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะทำให้เยอรมนีสามารถทำสงครามได้ภายในเวลาสี่ปี

แผนการดังกล่าว ได้กำหนดให้ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (หรืออาจถึงขั้นยกเลิกการนำเข้าไปเลย) อัตราค่าจ้างและราคาสินค้าทั่วประเทศ อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว จะถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกัน

เงินปันผลถูกกำหนดเอาไว้ไม่เกิน 6% ของวงเงินในบัญชี และตั้งเป้าหมายทางยุทธศาสตร์อันได้แก่ การเพิ่มจำนวนของเครื่องจักรการผลิตยาง โรงงานผลิตเหล็กและโรงงานผลิตสิ่งทออัตโนมัติ ซึ่งคล้ายกันมากกับนโยบายทางเศรษฐกิจ ในช่วงแรกของสหภาพโซเวียต

จากการที่พรรคนาซีได้แทรกแซง เศรษฐกิจของประเทศขนานใหญ่ และดำเนินนโยบายการสร้างกำลังทหารขึ้นอีกอย่างมโหฬาร ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 จึงแทบไม่มีอัตราการว่างงานในเยอรมนีเลย (สถิตินี้ไม่รวมชาวต่างประเทศและสตรี)

อัตราค่าจ้างภายในเยอรมนีลดลงกว่า 25% ระหว่างปี 1933 ถึงปี 1938สหภาพการค้าถูกยกเลิก รวมไปถึงไม่อนุญาตให้มีสัญญาซื้อขายระหว่างกันและสิทธิในการหยุดงานประท้วง

รัฐบาลยังห้ามมิให้ประชาชนลาออกจากงานของตน โดยรัฐบาลได้ออกบัญชีแรงงานในปี 1935 ถ้าหากแรงงานต้องการที่จะลา ออกเพื่อไปทำงานใหม่ จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้างคนก่อนหน้าเสียก่อน นอกจากนั้น ยังมีการออกกฎบังคับ เพื่อกำหนดแนวทางการลงทุนให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐ แทนที่การลงทุนเพื่อหากำไรตามปกติ

ในที่สุดการออกเงินทุนโดยรัฐบาล ก็เข้าครอบงำขั้นตอนการลงทุน โดยสัดส่วนของหลักทรัพย์ ที่ออกโดยภาคเอกชนนั้นลดลงอย่างมาก จากมากกว่า 50% ในปี 1933 และ 1934 เหลือเพียงประมาณ 10% ในปี 1935

ถึงปี 1938 บริษัทที่ออกเงินทุนเอง ก็ถูกจำกัดด้วยอัตราภาษีกำไรที่สูงมาก แม้บริษัทใหญ่ ๆ ได้รับการยกเว้นจากภาษีกำไร แต่ทว่ารัฐก็ควบคุมบริษัทเหล่านี้อย่างเข้มงวดจนทำให้ "เหลือเพียงแต่เปลือกของความเป็นบริษัทเอกชนเท่านั้น"

ขณะที่นโยบายเศรษฐกิจของนาซีเยอรมนี อีกด้านหนึ่งพุ่งเป้าหมายไปยังการสร้างกำลังทหารขึ้นมาใหม่ และเพิ่มจำนวนทหารบกของเยอรมนีจาก 100,000 นาย ให้กลายเป็นหลายล้านนาย แผนการสี่ปีดังกล่าวได้รับการพิจารณาในที่ประชุมฮอสซบัค เมโมรันดุม ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาให้ผ่านแผนการดังกล่าว

แต่ถึงกระนั้น แผนการสี่ปีของเกอริงจะหมดอายุในปี ค.ศ. 1940 แต่สงครามได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้ว เกอริงได้จัดตั้ง "ที่ทำการแผนการสี่ปี" ซึ่งเป็นหน่วยงานเพื่อควบคุมสภาพเศรษฐกิจของเยอรมนี และวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพในช่วงเวลานั้น

ในปี 1942 การที่สงครามโลกขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้เศรษฐกิจของนาซีเยอรมนี ต้องกลายมาเป็นเศรษฐกิจสงคราม ภายใต้การนำของอัลเบิร์ต สเพียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาวุธยุทธภัณฑ์และอุตสาหกรรมสงคราม

เศรษฐกิจสงครามของนาซีเยอรมนี ไม่สามารถสรุปได้อย่างเจาะจงว่าเป็น "ตลาดเสรี" หรือ "ตลาดควบคุม" ริชาร์ด โอเวอร์รี่ กล่าวว่า:

"เศรษฐกิจของเยอรมนีอยู่ระหว่างม้านั่งสองตัว มันทั้งไม่ใช่ระบบเผด็จการอย่างระบบของโซเวียต หรือทุนนิยมอย่างระบบของอเมริกัน ในการหาวิสาหกิจเอกชน"


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร เปรมปรีดิ์มานกมลโชตินะคะ
Create Date :31 มกราคม 2554 Last Update :31 มกราคม 2554 20:50:36 น. Counter : Pageviews. Comments :0