bloggang.com mainmenu search





สนามกีฬาโอลิมปิกในกรุงเบอร์ลิน




สื่อและภาพยนตร์

ผลงานทางด้านสื่อและภาพยนตร์ของเยอรมนี ในยุคสมัยนาซีนี้ส่วนใหญ่ จะมีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง

กฎหมายได้ห้ามมิให้มีการนำเข้า ภาพยนตร์จากต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 1936 อุตสาหกรรมของเยอรมนีได้รับการเปลี่ยนแปลง ให้เป็นแนวชาตินิยมทั้งหมดในปี 1937

ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศที่ขาดหายไป (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกา)

ความบันเทิงกลายมาเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่ดึงความสนใจ จากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร และความพ่ายแพ้ของเยอรมนี

ภาพยนตร์ทั้งในปี 1943 และปี 1944 สร้างรายได้กว่าหนึ่งพันล้านไรช์มาร์ก

แม้จะมีการข้อกำหนดทางการเมือง และผู้ผลิตภาพยนตร์จำนวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ ภาพยนตร์ของนาซีก็ยังมีการคิดค้นนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และความงามขึ้นมาใหม่

อย่างเช่น การผลิตภาพยนตร์โดยใช้ฟิล์มอักฟาโคเลอร์ (เยอรมัน: Agfacolor) ซึ่งเป็นการระบุลงไปอย่างชัดเจนว่า เป็นลักษณะเฉพาะตัวของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของนาซีเยอรมนี

ผลงานภาพยนตร์ส่วนใหญ่ จะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ นำเสนอนโยบายของรัฐบาลและคำสั่งสอนทางเชื้อชาติ


ศาสนา

พรรคนาซีได้นำสัญลักษณ์มาจากคริสต์ศาสนา มารวมเข้ากับอารยธรรมโบราณ และยังได้เสนอคริสต์ศาสนาเชิงบวก

ซึ่งได้ทำให้ชาวเยอรมันคริสต์ จำนวนมากเชื่อว่าหลักของลัทธินาซี เป็นไปตามหลักธรรมของคริสต์ศาสนา แม้ว่าจะอยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองก็ตาม


การกีฬา

การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงเบอร์ลินในปี 1936 ในครั้งนี้เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 11 ของโลก

ซึ่งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หวังว่าจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ ของเชื้อชาติอารยัน เยอรมนีได้ใช้โอกาสดังกล่าว ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในประเทศ

และนับได้ว่าเป็นการแสดงพลังที่โดดเด่นของศิลปะ และวัฒนธรรมนาซี การแข่งขันในครั้งนี้มีประเทศผู้เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 49 ประเทศ และผลจากการแข่งขัน เยอรมนีเป็นเจ้าเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในครั้งนั้น

ในการแข่งขันโอลิมปิกดังกล่าว ก็มีเรื่องว่าฮิตเลอร์ปฏิเสธที่จะมอบเหรียญรางวัลให้แก่ เจซซี โอเวน รวมไปถึงเรื่องของเชื้อชาติยิวเข้ามาเกี่ยวข้องอีก


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริสวัสดิ์ โสมนัสสวัสดิ์สิรินะคะ
Create Date :31 มกราคม 2554 Last Update :31 มกราคม 2554 21:52:55 น. Counter : Pageviews. Comments :0