bloggang.com mainmenu search





ภาพของทำเนียบรัฐบาลแห่งเยอรมนีในปัจจุบัน




การเมืองของนาซีเยอรมนีมีรูปแบบของการแข่งขัน เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ด้วยการพยายามสร้างความประทับใจให้แก่ฟือเรอร์ คือ ฮิตเลอร์ กฎหมายหลายข้อได้ถูกละเลย และแทนที่ด้วยการตีความกฎหมายในแบบที่ฮิตเลอร์ต้องการ

ดังนั้น คำสั่งของฮิตเลอร์ จึงมีลักษณะคล้ายกับกฎหมายของประเทศ ซึ่งเรียกกันว่าเป็น "การทำงานกับฟือเรอร์" (Working with Führer) รัฐบาลของนาซีเยอรมนี จึงไม่ได้ทำงานประสานกันอย่างแน่นแฟ้น และเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา หรือตัวใครตัวมัน

ความพยายามของแต่ละส่วน ที่แสวงหาอำนาจและอิทธิพลเหนือตัวฟือเรอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายของฮิตเลอร์ ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้จำนวนมาก ซึ่งได้ทำให้สมาชิกพรรคนาซีที่ไร้คุณธรรม และมีความมักใหญ่ใฝ่สูงแสวงหาบุคคล ผู้ให้ความสนับสนุน

ประกอบกับธรรมชาติอันรุนแรงของแนวคิดของฮิตเลอร์ จึงทำให้เกิดการกระทำ เพื่อต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองขึ้น เกอเบิลได้โฆษณาชวนเชื่อ รูปแบบของรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนีอย่างประสบผล ว่า รัฐบาลเป็นสิ่งที่ควรอุทิศ ยกย่องและลงตัวอย่างมีประสิทธิภาพ

การแข่งขันในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และการออกกฎหมายอันไร้ระเบียบ ได้เพิ่มให้รัฐบาลอยู่นอกการควบคุมมากขึ้น นักประวัติศาสตร์ได้ลงความเห็นระหว่าง "ลัทธินิยมสากล" (Internationalists) ซึ่งเชื่อว่า ฮิตเลอร์ได้วางแผนโครงสร้างรัฐบาลให้มีลักษณะเช่นนี้

เพื่อต้องการสร้างความจงรักภักดี และอุทิศตัวให้แก่ผู้สนับสนุนของเขา และป้องกันการเกิดการสมรู้ร่วมคิดขึ้น หรือไม่ก็เป็นแบบ "ลัทธิโครงสร้างนิยม" (Structuralists) ซึ่งเชื่อว่าโครงสร้างของรัฐบาลได้เกิดขึ้นด้วยตัวของมันเอง และให้การสนับสนุนอำนาจเผด็จการของฮิตเลอร์เพียงน้อยนิด

คณะรัฐบาลดังกล่าวมีอายุ 12 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 1933 ถึงวันที่ 30 เมษายน 1945 หลังจากที่ฮิตเลอร์ยิงตัวตาย ในหลุมหลบภัยใต้ดินในกรุงเบอร์ลินแล้ว เขาได้สืบทอดอำนาจต่อให้แก่คาร์ล เดอนิตช์ ด้วยความปรารถนาที่จะสืบทอดเจตนารมณ์ของเขาต่อไปอีก

โครงสร้างและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองในรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนี ประกอบด้วย


สำนักงานแห่งชาติ

ฟือเรอร์ (หัวหน้าพรรค): อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
ทำเนียบรัฐบาลแห่งนาซีเยอรมนี: ฮันส์ แลมเมอรส์
สำนักงานที่ทำการพรรคนาซี: มาร์ติน บอร์แมนน์
สำนักประธานาธิบดี: ออตโต ไมส์ซเนอร์
สภาคณะรัฐมนตรีลับ: คอนสแตนติน วอน นูร์เรธ
สำนักฟือเรอร์: ฟิลิป โบลเลอร์

คณะรัฐมนตรี

กระทรวงมหาดไทย: วิลเฮล์ม ฟริคส์ เฮนริช ฮิมม์เลอร์
สำนักงานควบคุมแผนการสี่ปี: แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง

กระทรวงการคลัง: ลุทส์ กรัฟ ชเวริน ฟอน โครซิกค์
กระทรวงเศรษฐกิจ: วัลเทอร์ ฟังค์
กระทรวงการอบรมมวลชนและการโฆษณา: โจเซฟ เกบเบิลส์
กระทรวงการบิน: แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง
กระทรวงป่าไม้: แฮร์มันน์ วิลเฮล์ม เกอริง

กระทรวงแรงงาน: ฟรานซ์ เชลดท์เออ
กระทรวงการผลิตอาหารและการเกษตร: ริชาร์ด วัลเทอร์ ดาร์เร่
กระทรวงเยาวชน
กระทรวงยุติธรรม: ออตโต ไทเอียร์อัค
กระทรวงวิทยาศาสตร์ ศึกษาธิการและการให้ความรู้แก่มวลชน: เบอร์นนาร์ด รุสท์

กระทรวงกิจการของสงฆ์: ฮันส์ เคอรรล์
กระทรวงการคมนาคม: ยูไลอุส ดอร์พมึลเลอร์
กระทรวงไปรษณีย์: วิลเฮล์ม โอเนสออร์จ
กระทรวงการสงครามและการผลิตอาวุธ: ฟริสซ์ ทอดท์ อัลเบิร์ต สเพียร์
กระทรวงการต่างประเทศ: โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอบ

สำนักงานผู้ตรวจการทางหลวงแผ่นดิน
สำนักงานประธานาธิบดีแห่งธนาคารไรช์
ผู้ตรวจการทั่วไปแห่งกรุงเบอร์ลิน (อังกฤษ: General Inspector of the Reich Capital)

สมาชิกสภาแห่งกรุงเบอร์ลินว่าด้วยการเคลื่อนไหว (อังกฤษ: Office of the Councillor for the Capital of the Movement) ตั้งอยู่ที่มิวนิกและบาวาเรีย
รัฐมนตรีนอกตำแหน่งคณะรัฐมนตรี: คอนแสตนติน ฟอน เนรัธ ฮันส์ แฟรงค์ ฮจาลมาร์ ชัคท์ อาเธอร์ ไซเยซซ-อินควารท์


คณะรัฐบาลเฟลนซเบิร์ก (1945)

คณะรัฐบาลเฟลนซเบิร์กเป็นรัฐบาลชั่วคราวของนาซีเยอรมนี หลังจากวันที่ 30 เมษายน 1945 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้แต่งตั้งพลเรือเอกคาร์ล เดอนิตช์ ให้เป็นประธานาธิบดีแห่งนาซีเยอรมนี เดอนิตช์ได้ย้ายที่ทำการรัฐบาลจากเบอร์ลินไปยังเฟลนซเบิร์ก ใกล้กับชายแดนเยอรมนี-เดนมาร์ก

เป้าหมายของเขาก็คือ การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อกองทัพสัมพันธมิตร ที่รุกมาทางตะวันตก มิใช่กับกองทัพโซเวียตผู้รุกรานมาทางทิศตะวันออก คณะรัฐบาลเฟลนซ์เบิร์กสิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 และคณะรัฐมนตรีทั้งหมดถูกจับกุมตัว โดยกองทัพสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1945

คณะรัฐมนตรีแห่งรัฐบาลเฟลนซเบิร์ก ประกอบด้วย

ประธานาธิบดี: พลเรือเอก คาร์ล เดอนิตช์ (และเป็นผู้บัญชาการทหารบก)
ลุทส์ กรัฟ ชเวริน วอน โครซิกค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นประธานคณะรัฐมนตรี
เฮนริช ฮิมม์เลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ถูกไล่ออกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1945)

อัลเฟรด โรเซนเบิร์ก (ถูกไล่ออกเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1945)
ดร. วิลเฮล์ม สทุคอาร์ท รัฐมนตรีว่าการกระทวงวัฒนธรรม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทนนายฮิมม์เลอร์
อัลเบิร์ต สเพียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการผลิต

ดร. เฮอร์เบิร์ต บัคเคอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหาร กระทรวงการเกษตรและกระทรวงป่าไม้
ดร. ฟรานซ์ เชลตท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและกิจการสังคม
ดร. จูไลอัส ดอร์พมึลเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และกระทรวงการคมนาคม


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร สิริมานภิรมย์ปรีดิ์นะคะ
Create Date :31 มกราคม 2554 Last Update :31 มกราคม 2554 20:41:25 น. Counter : Pageviews. Comments :0