bloggang.com mainmenu search





ทหารโซเวียตโบกธงค้อนเคียว
เหนืออาคารรัฐสภาไรช์สทัก



สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 การรุกรานโปแลนด์เริ่มต้นขึ้น อีกสองวันถัดมา สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ประกาศสงครามต่อเยอรมนี

แต่ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน โปแลนด์ก็ถูกแบ่งออกเป็นเขตการยึดครองของเยอรมนี และสหภาพโซเวียต ตามข้อตกลงลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอป ซึ่งลงนามไว้ก่อนหน้านี้

ไม่มีการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างเยอรมนี กับฝ่ายสัมพันธมิตรราว 6 เดือนหลังจากโปแลนด์พ่าย

จนกระทั่งการทัพนอร์เวย์ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 เยอรมนีได้ขยายดินแดนไปทางเหนือ ตามด้วยการรุกรานฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศต่ำ ในเดือนพฤษภาคม

ในยุทธการแห่งบริเตน ซึ่งเป็นการเตรียมการสำหรับการรุกรานเกาะอังกฤษทางบก การทิ้งระเบิดใส่กรุงลอนดอน โดยอุบัติเหตุซึ่งขัดคำสั่งของฮิตเลอร์ ได้เปลี่ยนเส้นทางของสงคราม

อังกฤษตอบโต้ด้วยการทิ้งระเบิดกรุงเบอร์ลิน ทำให้ฮิตเลอร์โกรธมาก จึงได้สั่งให้มีการทิ้งระเบิด ตามหัวเมืองอังกฤษอย่างหนัก ซึ่งได้เปิดโอกาสให้แก่กองทัพอากาศอังกฤษ

ความพ่ายแพ้เหนือน่านฟ้าอังกฤษ เป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของเยอรมนี ฮิตเลอร์จึงหันไปให้ความสนใจในการโจมตีสหภาพโซเวียตแทน

ราว ค.ศ. 1942 ในช่วงปี ค.ศ. 1940-1941 เยอรมนีสามารถยึดครองเกือบทุกประเทศในทวีปยุโรป โดยส่งทหารรุกรานยูโกสลาเวีย กรีซ เกาะครีต และในแถบคาบสมุทรบอลข่าน

ในทวีปแอฟริกา กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปถึงอียิปต์ ด้วยสภาวะเช่นนี้ เยอรมนีต้องทำศึกหลายด้าน หากแต่แผนการรุกรานสหภาพโซเวียตยังคงดำเนินการต่อไป ซึ่งนับว่าผิดหลักยุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง

หากแต่มีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว ช่วงปลายปี ค.ศ. 1941 กองทัพเยอรมันรุกเข้าไปในสหภาพโซเวียตถึง 1,689 กิโลเมตร ล้อมชานนครเลนินกราด

แต่ก็ถูกหยุดยั้งที่มอสโก ในฤดูหนาวที่โหดร้าย อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สหรัฐอเมริกา เข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร

ในปี ค.ศ. 1942 การโจมตีโต้กลับของกองทัพแดง ในสหภาพโซเวียตได้ขับไล่กองทัพอักษะ ออกจากชานกรุงมอสโก ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ กองทัพฝ่ายอักษะ ได้โจมตีทุ่งปิโตรเลียมแถบเทือกเขาคอเคซัส และแม่น้ำวอลกาครั้งใหญ่

หากแต่ความพ่ายแพ้ในยุทธการสตาลินกราด ได้สร้างความสูญเสียครั้งมโหฬารจนไม่สามารถรุกคืบต่อไปได้อีก

ในปีเดียวกัน ทางด้านตะวันตก เยอรมนีเผชิญกับการทิ้งระเบิดทางอากาศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายแก่พลเมืองและสาธารณูปโภค

พอถึงปี ค.ศ. 1943 ในการทัพแอฟริกาเหนือ กองทัพอักษะล่าถอยจากอียิปต์ไปจนถึงตูนิเซีย และเกาะซิซิลีของอิตาลี และในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพเยอรมันก็ถูกผลักดันออกมาจากเลนินกราด และสตาลินกราด

เช่นเดียวกับความพยายามที่ล้มเหลวในการตีโต้ที่เคิสก์ และในปี ค.ศ. 1944 ปฏิบัติการขนาดใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตร – ปฏิบัติการบากราติออนและปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด –

ส่งผลให้กองทัพแดง รุกถึงโปแลนด์ในแนวรบด้านตะวันออก และฝ่ายสัมพันธมิตรรุกถึงแม่น้ำไรน์ ในแนวรบด้านตะวันตก

ปฏิบัติการในการยับยั้งกองทัพสัมพันธมิตร ล้วนแต่ประสบความล้มเหลว และราวเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 กองทัพสัมพันธมิตรได้รุกเข้าสู่เยอรมนี ทั้งทางตะวันตกและทางตะวันออก

กรุงเบอร์ลินตกอยู่ใต้วงล้อมของกองทัพโซเวียต ฮิตเลอร์เจ็บป่วยอย่างหนักและตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยส่งมอบอำนาจต่อให้แก่พลเรือเอก คาร์ล เดอนิตช์


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์จันทรวาร เปรมปรีดิ์มานรมเยศนะคะ
Create Date :31 มกราคม 2554 Last Update :31 มกราคม 2554 20:00:26 น. Counter : Pageviews. Comments :0