bloggang.com mainmenu search
สถานที่ท่องเที่ยว : นิทรรศการวิจิตรภูษาพัสตรภรณ์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร พระนคร Thailand
พิกัด GPS : 13° 45' 26.94" N 100° 29' 32.82" E



ดูแผนที่เพิ่มเติม





กลับมาเป็นบล็อกท่องเที่ยวอีกครั้งนึงนะครับ  entry ก็จะพาไปชม นิทรรศการ “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” ขึ้น ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ กันต่อจากบล็อกท่องเที่ยวที่แล้วนะครับ




นิทรรศการ “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” ขึ้น ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถที่ทรงอุทิศพระองค์ในการอนุรักษ์ผ้าไทยโดยทรงจัดตั้งมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษเพื่อเก็บรวบรวมผ้าเก่าทั่วทั้งประเทศโดยทำกี่ศึกษาลวดลายต่างๆและรวบรวมผู้รู้ ผู้มีความชำนาญในการทอผ้าแบบต่างๆแล้วสอนให้กับชาวนา –ชาวไร่ให้สามารถทอผ้าได้ จัดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2558 จนถึงเดือนกุมภาพันธุ๋ปี้นี้ครับ




นานาพิพิธภัณฑ์สรรพสรรผ้า




ในส่วนนี้ของ นิทรรศการ “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” จัดแสดงผ้าที่คัดเลือกมาจากทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ รวมถึงผ้าจากชนเผ่าต่างๆ เลือกมาเฉพาะชิ้นที่สวยๆและมีความสำคัญครับ



ที่เด่นที่สุดในการจัดแสดงนิทรรศการ “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” นี้เห็นจะเป็นเครื่องแต่งกายโขนที่สมเด็จพนะนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงโขนพระราชทานประจำปีตั้งแต่ พ.ศ. 2553 โดยเป็นเครื่องแต่งกายโขนในราชสำนักตั้งแต่โบราณครับ









ผืนล่าง  ผ้ายกเมืองทองนคร ของเจ้าพระยาไกรโกษา(ทัต สิงหเสนี) เป็นผ้าไหมสีม่วงเข้ม ทอเป็นลวดลายด้วยเส้นไหมทอง (ยก) เป็นลายเกล็กพิมเสน ลายหน้าผ้าเป็นลายกรวยเชิงชั้นเดียว เป็นผ้าพระราชทานสำหรับขุนนางตามบรรดาศักดิ์เพื่อใช้นุ่งในงานรัฐพิธีหรืองานพระราชพิธี ทอโดยช่างทอชาวนครศรีธรรมราช


ผืนบน ผ้าคาดเอวขุนนาง ผ้าไหมสีเขียวทอยกด้วยเส้นไหมทอง เส้นไหมสีแดงและสีฟ้า ตัวผ้าเป็นลายประจำยามก้านแย่ง ชายผ้าทั้ง 2 ด้านเป็นลายกรวยเชิง 3 ชั้น







ผืนสีน้ำเงินข้างหน้า ผ้าซิ่นคำเติบของชาวไทยลื้อ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เป็นผ้าฝ้ายสีน้ำเงิน ทอด้วยทองแล่ง ใช้เส้นไหมหลายสีเป็นเส้นพุ่งในการทอ


ผืนสีแดงลายทางถัดไปทางด้านขวา ซิ่นไหมเงิน เป็นผ้าซิ่นพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทอด้วยเส้นเงินเป็นลวดลายตามแนวตั้งทั้งผืน


ผืนถัดไปทางขวามือสุด ผ้าซิ่นหมี่ เป็นผ้าไหมทอด้วยเทคนิค “มัดหมี่” ใช้เส้นไหมเงินทอเป็นลวดลายดอกกระจับสลับลายสร้อยดอกหมาก


ผืนที่แขวนอยู่ด้านบนสีดำ ผ้าซิ่นทิวมุกจกดาว ผ้าทอเมืองอุบลราชธานี เป็นผ้านุ่งของเจ้านายสตรีชั้นสูงของเมืองอุบลราชธานี ตัวซิ่นพื้นสีแดงเข้ม ทอลายขวาง ลายสีเหลืองใช้เทคนิค “มุก” ลายรูปดาวใช้เทคนิค “จก” เทคนิคการทอแบบนี้พบในผ้าซิ่นของชาวไทยแดงในซำเหนือ และชาวมะกองในสวันเขต ประเทศลาว


ผืนที่แขวนที่ส้มขวามือสุด ผ้าซิ่นไหมเงิน ผ้าไหมสีส้ม ทอด้วยแก่นไม้ขนุน ทอด้วยเส้นเงินเป็นเส้นพุ่งลายริ้วขวางทั้งผืน เชิงเป็นลายคล้ายกรวยเชิง







เสื้อเยียรบับ ของพลตรีเจ้าแก้วนวรัตน์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย เป็นผ้าไหมจากอินเดีย ทอยกดอกด้วยไหมทองเป็นลายดวงดอกไม้และพันธุ์พฤกษาในกรอบเชื่อมต่อกันเต็มพื้นที่


เสื้อครุย ของพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ผ้าโปร่ง ปักดิ้นทองดิ้นเงินเป็นลายดวงดอกไม้กระจายทั้งตัว ใช้สวมคลุมทับเสื้อ นุ่งโจงกระเบน เป็นการแต่งกายตามพระราชพิธี







ผืนที่แขวนอยู่มีชายครุยคือ ผ้าเบี่ยง ของสตรีชาวอีสาน ผืนด้านล่างขวา 2 ผืน สีน้ำเงินกับสีม่วง เป็นผ้าไหมมัดหมี่ ผืนสีม่วงแดงคือซิ่นไหม และผ้าสีส้มที่แขวนอยู่คือ ผ้าอัมปรม ผ้าอัมปรม คือผ้ามัดหมี่ของชาวไทยเชื้อสายเขมรแถบอีสานใต้ มีลักษณะแตกต่างจากเทคนิคมัดหมี่ของไทยคือจะทำการ “มัดหมี่ หรือ มัดย้อม” ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน มักจะปรากฏลวดลายในการทอเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ มีสีขาวเด่นออกมาจากลายผ้า ส่วนมากเป็นสีแดงอมส้ม แดงอมน้ำตาล







ผ้านุ่งผืนสีม่วงๆ ผ้ายกไหมพุมเรียง ผ้าพื้นเป็นฝ้ายทอด้วยไหมลายเทพพนมขอบเป็นลายกรวยเชิง ผลิตจากตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี







ซิ่นผืนด้านหลัง ซิ่นตีนจก ผ้าซิ่นพื้นเมืองลายแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวไทยพวน จังหวัดราชบุรี







ซิ่นผืนทางซ้ายก็เป็นซิ่นของชาวไทยพวน จังหวัดราชบุรี เช่นเดียวกันครับ ทอด้วยไหมพื้นสีแดง


ส่วนซิ่นผืนสีดำเป็นซิ่นของชาวไทยพวนแถบจังหวัดสุโขทัย ทอด้วยฝ้าย ตัวซิ่นพื้นสีดำยกลายมุกสีเขียว ตีนซิ่นพื้นแดงทอลายด้วยเทคนิค “จก” ด้วยสีเหลือง ดำ เขียว เป็นลายนกคู่กินน้ำร่วมต้น หัวซิ่นเป็นผ้าฝ้ายสีแดงและขาว







ภาพปักไหมสี แสดงคำโคลงคติสอนใจและภาพประกอบคำโคลงประดับงานพระเมรูท้องสนามหลวง ร.ศ. 108











ภาพปักไหมสี ตอนการยุทธหัตถีระหว่างพระศรีสุริโยทัยกับพระเจ้าแปรเมืองหงสาวดี







ที่ห้อยอยู่ 3 ผืนเป็นผ้ากราบสำหรับพระภิกษุ ทำขึ้นในสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว


ตรงกลางเป็น สลกบาตร หรือ ถลกบาตร เป็นผ้าถักคลุมบาตรด้วยไหมสีสลับกับดิ้นทองเป็นลายตาข่ายโปร่ง ชิ้นฝาเป็นการปักบนผืนผ้าต่วน มีคำว่า “พุทธศักราช ๒๔๕๘” และ  พัดรองพระราชลัญจกรนพรัตรมุรยา







หมอนที่วางอยู่เป็น หมอนอิง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีเหลืองขอบหยักโค้ง ปักดิ้นเงินและไหมสีเหลืองเป็นลายพันธุ์พฤกษา ที่ขอบปักลายต้นไม้


ผ้าที่ห้อยอยู่เป็นผ้าหน้าโขนเรือพระราชพิธี ใช้เทคนิคการปักหักทองขวาง







หมอนที่วางอยู่เป็นหมอนรูปทรงต่างๆ ของชาวไทยครั่ง


ที่แขวนอยู่ทางขวาเป็น ผ้าหน้ามุ้งของชาวไทยครั่ง ใช้ประดับมุ้งในห้องหอของคู่สมรสตามประเพณีไทยครั่ง เป็นผ้าฝ้าย ทำลวดลายด้วยวิธี “จก” โดยกลุ่มชาวไทยครั่ง บ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท







ย่ามใบสีฟ้าๆ เป็นย่ามของชาวไทยพวน ส่วนอีก 2 ใบ เป็นย่ามของชาวกะเหรี่ยง







ชุดสีดำตรงกลางเป็นเครื่องแต่งตัวของชาวไทยทรงดำ







ทางซ้ายมือเป็นผ้าปรกหัวนาค หรือ ผ้าคลุมศีษะนาค ใช้คลุมศรีษะผู้ที่จะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุมีของทั้งชาวไทยพวนและชาวไทยครั่ง


ทางด้านขวาเป็นผ้าห่อคัมภีร์







ส่วนสุดท้ายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการ รักษ์ผ้า – รักษาวัฒนธรรม







การบูรณะผ้าโบราณเป็นงานที่ยากมากๆ เคยอ่านนวนิยายในซีรีย์ผ้า ของคุณหมอพงศกร เรื่อง “กี่เพ้า” นางเอกเป็นภัณฑารักษ์ที่เชี่ยวชาญเรื่องผ้าก็พอจะเห็นลางๆได้ว่าการบูรณะผ้าโบราณเป็นสิ่งที่ละเอียดละออที่สุด คนที่เรียนเรื่องผ้าโบราณจะต้องเป็นคนที่ใจเย็น ช่างสังเกตุ จึงจะทำงานบูรณะผ้าโบราณได้เป็นอย่างดีครับ









เดินชมนิทรรศการจนทั่วอยู่นานประมาณชั่วโมงกว่าๆได้ ภัณฑารักษณ์เดิมเข้ามาถามว่าเรียนเรื่องผ้ามาหรือเปล่าทำไมดูสนใจจริงๆจังๆ ตอบคุณภัณฑารักษ์ไปว่าสนใจทุกอย่างที่โบราณๆครับแต่สนใจเกี่ยวกับผ้าเป็นพิเศษ คุณภัณฑารักษ์เลยมอบหนังสือ booklet มาให้หนึ่งเล่มแล้วบอกว่าแจกเฉพาะคนที่สนใจจริงๆ





Chubby Lawyer Tour ......................... เที่ยวไป ............. ตามใจฉัน






SmileySmileySmiley


Create Date :14 มกราคม 2559 Last Update :14 มกราคม 2559 16:36:34 น. Counter : 6610 Pageviews. Comments :12