นกนางนวล (อพยพ) ที่บางปู
ในทุกฤดูหนาว ตรงบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน ของบางปู จ.สมุทรปราการ จะมีบรรดาแขกรับเชิญพิเศษจากต่างแดนที่พร้อมใจกันกลับมาเยี่ยมเยือน สถานที่นี้อย่างล้นหลาม โดยจะใช้เวลาพักอาศัยบริเวณริมทะเลที่มีต้น โกงกางสีเขียวครึ้มแห่งนี้ไปตลอดหน้าหนาว และจะพากันตระเวนของ หากินที่น่าอร่อยอย่างสัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ แถวริมฝั่ง หรือไม่ก็อาจจะมองหา เจ้ามือเลี้ยงเมนูเด็ดอย่างกากหมู ในบางโอกาสด้วย... จากที่ว่ามานี้ จะเป็นใครไปได้หากไม่ใช่บรรดา นกนางนวลอพยพ ขาประจำที่บินหนีหนาวลงมายังทางซีกโลกใต้...ซึ่งบางส่วนก็จะมาปัก หลักกันที่บางปู หรือบางส่วนก็อาจใช้เป็นที่แวะพักก่อนบินลงใต้ไปไกล กว่านี้ เพื่อหาพื้นที่อบอุ่นและแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์
เส้นทางการอพยพย้ายถิ่นของของนกนางนวลนั้นไม่ได้บินไปอย่างเรื่อย เปื่อยแต่เป็นไปตามธรรมชาติพวกมัน ที่จะเดินทางไปมาระหว่าง ถิ่นเกิด กับ แหล่งอาหาร โดยจะเป็นที่เดิม ๆ เช่นเดียวกับนกรุ่นก่อน
ทั้งนี้ที่ตั้งของถิ่นกำเนิดของ นกนางนวล จะอยู่บริเวณทะเลสาบ และ พื้นที่ชุ่มน้ำทางตอนในของทวีปเอเชีย แถบทิเบต ทาจิกิสถาน จีนตอน- เหนือ และทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ในฤดูร้อนประมาณเดือน เมษายน - มิถุนายน จะเป็นช่วงสร้างรังเพื่อวางไข่ พอลูกนกฟักออกมา เป็นตัว...พ่อนก แม่นก ก็จะเลี้ยงดูลูกอ่อนและฝึกบินจนเก่ง เพื่อเตรียม การสำหรับการเดินทางระยะไกล
จนกระทั่งเมื่อฤดูหนาวมาถึง เมื่อพื้นที่ทางตอนบนก็จะเริ่มหนาวเย็น ผืนน้ำบริเวณนั้นก็จะจับตัวเป็นน้ำแข็ง ไม่มีพืชพันธุ์และแหล่งอาหารใน ช่วงนั้น จึงทำให้บรรดาพวกนกนางนวลก็จะพากันอพยพย้ายถิ่นกัน  บนสะพานสุขตา ของสถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
ชนิดของนกนางนวล
นกนางนวล ที่พบในบางปู ส่วนใหญ่แล้วเป็นนกนางนวลธรรมดา (ฺBrown- headed Gull) ย้ายถิ่นมาจากทวีปเอเชียตอนกลาง เช่น จีน ทิเบต มองโกเลีย
แต่นอกเหนือจากนี้ ที่นี่ยังมีนกนางนวลชนิดอื่นปะปนอยู่ด้วยเช่น นกนางนวล ขอบปีกขาว (Black-headed Gull) และพวกที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งจะ พบเห็นว่ามันบินปนฝูงมากับเหล่านกนางนวลธรรมดา จำนวน 1-2 ตัว อย่างเช่น
- นกนางนวลหัวดำใหญ่ (Pallas's Gull)
- นกนางนวลหางดำ (Black-tailed Gull)
- นกนางนวลปากเรียว (Slender-billed Gull)
- นกนางนวลหลังดำพันธุ์รัสเซีย (Heuglin's Gull)

นกนางนวลที่รัสเซีย (น่าจะเป็นพันธุ์หลังดำ) ถ่ายจากริมทะเลสาบไบคาล หมู่บ้านลิสต์เวียนก้า เมื่อเดือนกันยายน 2013 ค่ะ

ฝูงนกนางนวลอพยพที่มาหาแหล่งพำนักชั่วคราวในเมืองไทยตลอดฤดูหนาว พวกมันกำลังจับกลุ่มลอยตัวบนผิวน้ำ มองไปมองมามันก็คล้าย ๆ เป็ดเนอะ

รูปปั้นจำลองนกนางนวล กับนกนางนวล (ตัวจริง)

สีสันและลักษณะของนกนางนวลที่ดูต่างกันออกไป เช่นเจ้าสองตัวนี้

ตัวนี้มีปากและเท้าสีเข้ม ขนาดตัวค่อนข้างเล็กกว่าประเภทอื่น ๆ

ฝูงนกและแนวป่าชายเลนบริเวณชายฝั่ง
"กากหมูของข้าาาาา..." เอ๊ะ ทำไมมันชอบกินกากหมูเนี่ย? เมื่อตอนแรกเห็นเนี่ย ต้องบอกว่าพวกมันดูเป็นนกที่รักความสงบดี โดย เฉพาะเวลาที่กำลังลอยตัวเล่นน้ำพร้อมส่งเสียงเล็ก ๆ ให้ได้ยินหรือแม้แต่ ตอนที่พากันบินย้ายฝั่งข้ามสะพานไปอยู่ฟากตรงข้ามอย่างพร้อมเพรียง แต่ว่า พอหลังจากที่มีคนโยนกากหมูให้เท่านั้นแหละ มันก็จะเปลี่ยนเป็น นกซอมบี้ ผู้หิวโหยไปอย่างน่าตกใจ

รูปแบบการบินที่ใช้วิธีบนวนไปมาเป็นวงกลมและอ้าปากรองับ 'กากหมู' ที่กำลังจะถูกโยนส่งไปให้
นกนางนวลเป็นนกที่ปรับตัวให้เข้ากับมนุษย์ได้เก่ง คือสามารถกินอาหารได้ หลากหลาย ทั้งปลาขนาดเล็ก สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ และเศษอาหารจากมนุษย์ ส่วนเรื่องของ 'กากหมู' เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โน่นแล้ว เพราะแม่ครัวที่ ภัตตาคารบนสะพานสุขตา จะมีกากหมูที่เหลือจากการเจียวน้ำมันไว้เป็นเข่ง พวกนกเหล่านี้มักบินมาจิกกินกันจากที่ตกหล่นลงในน้ำ หรือไม่ก็มาจิกกินจาก มือที่แม่ครัวโปรยให้ ต่อมาจึงได้กลายเป็นกิจกรรมยอดนิยมของนักท่องเที่ยว ไปเป็นที่เรียบร้อย
แต่ทั้งนี้ วิธีการให้อาหาร ควรโยนกลางอากาศ และไม่พยายามวางไว้ในมือ เพื่อหลอกให้นกบินมาใกล้เพื่อที่จะจับตัวมันนะ ไม่ต้องกลัวว่ามันจะพลาด เพราะนกพวกนี้สามารถงับกากหมูได้อย่างว่องไว แต่หากทำร่วงก็ยังมีเหล่านก นางนวลกลุ่มอื่นที่ลอยตัวบนผิวน้ำช่วยจิกกินกันอยู่ดี หลังจากรู้ว่ามีคนโยนกากหมู นกนางนวลกลุ่มหนึ่งจะพากันบินวน ๆ กันอยู่ตรงจุดเดิม เพื่อรอรับอาหาร (ไม่รู้ว่าจัดคิวกันยังไง) ส่วนพวกที่ยังลอยตัวอยู่บนน้ำก็ยังลอยแช่อยู่อย่างนั้น
จังหวะการงับกากหมูกลางอากาศ (กล้องซูมไม่ไหวเลยลอง crop ภาพแทน) มาดูภาพเคลื่อนไหวของฝูงบินบ้าง (ไม่รู้ว่าน่ารัก รึน่ากลัว) คำแจ้งเตือนตรงป้ายที่บนสะพาน * ห้ามจับนกนางนวลโดยเด็ดขาด * ห้ามให้อาหารนกพิราบ * ห้ามให้อาหารนกบนถนน อาจเกิดอันตรายต่อนกนางนวล ในช่วงเย็นดูเหมือนจะเริ่มมีคนมาดูนกและชมวิวบนสะพานฯ กันเยอะมากขึ้นกว่า ตอนกลางวันเป็นเท่าตัวเพราะอากาศไม่ร้อนมากแล้ว เหล่านกทั้งหลายต่างก็พา กันออกโชว์ตัวกันอย่างไม่รู้จักเบื่อ พวกมันกลายเป็นขวัญใจช่างภาพไปอย่าง ไม่น่าสงสัย ส่วนกากหมู ที่มีการนำมาแบ่งใส่จานจำหน่ายตรงซุ้มก็น่าจะขายดี ที่บนสะพานสุขตา กับผู้คนที่มายืนชมวิวก่อนดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า  เหล่านกนางนวล กับช่วงบรรยากาศตอนเย็น  หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าและกลุ่มนกที่ยังหลงเหลืออยู่ตรงชายฝั่ง เวลานี้เมืองไทยก็เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว นกนางนวลอพยพคงเริ่มผลัดขนชุดฤดูร้อน และรอกำหนดเวลาทยอยบินกลับขึ้นเหนือสู่ถิ่นเกิด เพื่อจับคู่ ตลอดจนเตรียม สร้างรังและวางไข่ ซึ่งในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็จะมีลูกนกรุ่นใหม่เกิดขึ้น หากธรรมชาติจะไม่ถูกแทรกแซง จนทำให้ความสมดุลของระบบนิเวศน์ผิด- เพี้ยน...ฤดูหนาวครั้งถัดไป พวกนกนางนวลรุ่นเดิมที่เห็นหน้าค่าตาแบบผ่าน ๆ ในเอนทรี่ย์นี้ จะต้องพาลูกหลานกลับมาเยี่ยมเยือนเราที่บางปูตามนัดแน่นอน
*** ข้อมูลที่ใช้อ้างอิง อย่างชื่อสายพันธุ์ ถิ่นกำเนิด แหล่งอาหาร และปีที่นกเริ่มกินกากหมู ได้หยิบยกมาจากป้ายประชาสัมพันธ์ที่จัดทำขึ้นตรงสถานตากอากาศบางปูโดยตรง *** ส่วนเจ้าหลังดำรัสเซียที่บางปู ในหนนี้เรามองหาไม่เจอนะคะ *** ช่วงที่นกนางนวลอพยพ จะบินมาอยู่ที่บางปูเยอะที่สุดคือเดือนธันวาคม หากใจร้อนล่วงหน้าไปก่อน ไม่แน่ว่าประชากร นก คงดูโหรงเหรงกว่านี้ ภาพนกนางนวลฯ ที่บางปู ถ่ายไว้เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2561 ค่ะ *** (ลิงก์) แผนที่สถานตากอากาศบางปู จ.สมุทรปราการ
Create Date : 04 มีนาคม 2562 |
Last Update : 16 ตุลาคม 2565 8:37:59 น. |
|
8 comments
|
Counter : 4010 Pageviews. |
 |
|
เพิ่งทราบอ่ะน่ะ ว่า พวกเธอนั้นครอบครัวของพวกเธอนั้น...
ไม่ใช่นกนางนวลที่เกิดที่บางปูแห่งนี้
ลุงแอ็ดจะรอให้ระบบรถขนส่งระบบ #รางลอยฟ้า
จากถิ่นบ้านลุง"ลาดพร้าวสมุทรปราการ"เปิดวิ่งรับพาไป
คงจะต้องไปเดือนธันวาคม ในอีก5ปีข้างหน้า...
หลานฟ้าบันทึกภาพได้งดงามยิ่งนัก
ชอบมากภาพนกนางนวลในท่าบินถลาลม
ของภาพต่างๆ ที่แสนงามตามธรรมชาติ