นโยบายการจัดการป่าไม้และที่ดินป่าไม้ 128ล้านไร่เพื่อความผาสุกของประชาชนชาวไทย
เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตขึ้นในระดับปานกลางและน่าจะเป็นไปในลักษณะคงที่เมื่อเที่ยบกับจีน อินเดียและเวียตนาม ข้อมูลการใช้ไม้ในอุตสาหกรรมไม้ของประเทศไทยปี ค.ศ 2003 มีประมาณ 22ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งตามประเภทอุตสาหกรรมต่อไปนี้ 1.กระดาษและเยื่อกระดาษ 48% 2.เฟอร์นิเจอร์ 29% 3.ไม้ก่อสร้าง19% 4.ไม้อัดและไม้วีเนียร์4% ประเภทไม้หลักๆที่ใช้ได้แก่ไม้ยูคาลิปตัส 48% ไม้ยางพารา 28% ไม้สัก 0.3%และ ไม้เนื้อแข็งอื่นๆ 23% (FAO,2009).


ประเทศไทยนั้นได้กลายเป็นศูนย์การผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ในระดับภูมิภาคอาเซียน นับตั้งปี ค.ศ 2006 เป็นต้นมา ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่าไม้มูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี2010เวียตนามมีมูลค่าส่งออกผผลิตภัณฑ์ป่าไม้ 3.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่จีนมีมูลค่าส่งออกไม้กว่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (อุตสาหกรรมไม้ส่วนใหญ่ของไทยขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมไม้ยางพาราและไม้ยูคาลิปตัส ที่ส่วนใหญ่ส่งมาจากผู้ผลิตรายย่อยและอีกส่วนหนึ่งมาจากสวนป่าเศรษฐกิจของรัฐบาล)

GDP สาขาป่าไม้ประเทศไทยที่ครอบครองที่ดินตามกฏหมายร้อยละ40ของพื้นทีประเทศ มีบทบาททางเศรษฐกิจร้อยละ 1.15ของgdpภาคเกษตรหรือร้อยละ 0.11GDP ประเทศไทย นี่คือความบิดเบี้ยวของเศรษบกิจไทยที่เมืองเติบโตขึ้นท่ามกลางการล่มสลายของทรัพยากร ดิน น้ำ ป่าไม้ และ ระบบนิเวศน์ในชนบท

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2556 คาดว่าจะขยายตัว 3.5-4.5%  และสาขาป่าไม้ คาดว่าจะขยายตัว 0.5-1.5% เนื่องจากนโยบายตัดโค่นพื้นที่ยางพาราเก่าอายุประมาณ 30 ปี จำนวน 500,000 ไร่ ...ปัจจุบันจะพบว่าเศรษฐกิจป่าไม้ขยายตัวได้จากผลผลิตไม้ยางพาราและไม้ยุคาลิปตัส ซึ่งเป็นไม้ต่างถิ่นนำมาปลูกในบ้านเรา ไม่ใช่ไม้ดีมีค่าของไทยอาทิเช่น ไม้สักทอง ไม้พะยูง-ชิงชัน ไม้ยางนา ไม้ประดู่-แดง ฯล อนิจจานโยบายป่าไม้ไทยดินแดนที่เคยอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้มากที่สุดในอดีต





ภายหลังการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศเมื่อปี 1992อุตสาหกรรมการแปรรูปไม้หรือโรงเลื่อยทั่วประเทศต้องมีไม้ท่อนซุงป้อนปีละ 5.7ล้านลูกบาศก์เมตรก็ประสบภาวะลำบากต้องนำเข้าไม้ซุงจากทั่วโลกและอาจสร้างแรงกดดันต่อการลักลอบทำไม้ผิดกฏหมายในทางอ้อมโดยไม่รู้ตัว อุตสาหกรรมไม้ในสยามที่เคยรุ่งเรืองจากไม้สักและไม้กระยาเลยมาก่อนหน้านี้ก็ซบเซาลง (ยกเว้นไม้ยางพาราและไม้ยูคาลิปตัสซึ่งไม่ได้เป็นไม้ป่าแต่อย่างใด) ...

ป่าไม้ฟินแลนด์ Land of Greengold and Forests as sources of Well being (ในขณะที้สารขัณฑ์กำลังไล่ รื้อ ทุบ กันอุดตลุด สร้างความล้าหลังและออ่นแอทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว)


Finland Forestry - Forests cover 68% of Total surface areas of Finland. Competitive forestry lays the foundation for economic and Social Sustainability.The shares of the forest sector in GDP is 7% . When we also tack account of the ecological and Preserving natural values,forest truly are greengold for Finland.The Forest Act ensure the economically,ecologically and Social Sustainable use of forests.Forests as sources of Renewable Energy and Good Forest management Enhances Wood Resources.60% of Finish Forest Land is own by private citizens .



กรณีศึกษา : ชาวฟินแลนด์ผู้มั่งคั่งและร่ำรวยจากทองคำเขียวหรือป่าไม้เศรษฐกิจนั่นเอง ทำให้พวกเขามีงบประมาณดูแลป่าไม้อย่างดีเยี่ยม ฟินแลนด์มีป่าไม้68% ของพื้นที่ประเทศหรือ 144ล้านไร่ และ 70%เปนป่าเอกชน-ประชาชน มีผลผลิตไม้ 70 ล้าน ลบ ม ต่อปี สาขาป่าไม้มีเศรษฐกิจ 7%ของGDPประเทศ หรือ Backbone of Finland Economy ในขณะทีเมืองไทยมีป่าไม้ 128 ล้านไร่ (ร้อยละ40ของที่ดินทั้งหมด) แทบไม่มีบทบาทใน GDP อนิจจา อนิจจัง






Create Date : 14 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2557 17:23:21 น.
Counter : 1873 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
3
5
7
9
10
11
16
17
21
22
23
25
28
30
 
 
All Blog