2014-ปัญญาสชาดก ณ. มหาพุทธสถาน บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย

ณ.ระเบียงมหาวิหารบรมพุทโธ ระเบียงชั้นที่2 คัมภีร์คัณฑพยุหะ เป็นชาดกที่เล่าเรื่องราว พระสุธน ไปท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ที่ในตอนแรกได้พบกับ พระโพธิสัตว์มัญชูศรี ก่อนแล้วจึงท่องเที่ยวหาความรู้ต่อไปแต่ในที่สุดก็ย้อนกลับมาหา พระโพธิสัตว์มัญชูศรี อีกครั้ง...บุโรพุทโธสร้างอยู่บนฐาน  4  เหลี่ยมจำนวน 6 ชั้น ล้อมรอบฐานวงกลมด้านบนจำนวน 3 ชั้น รวมเป็น 9 ชั้น ซึ่งเมื่อรวมกับสถูปที่เป็นองค์ประธานที่อยู่บนชั้นบนสุดแล้ว จะมีจำนวนทั้งหมด 10 ชั้น มีภาพสลักเล่าเรื่องราวและตกแต่งจำนวน 2,672 ภาพ มีพระพุทธรูปในซุ้มเหนือฐานห้าชั้นมีทั้งหมด 432 องค์ ถ้านับรวมพระพุทธรูปในเจดีย์รายอีก 72 องค์ก็มีจำนวนทั้งสิ้น 504 องค์ ระเบียงภาพชั้นที่ 2 ส่วนนี้เป็นภาพเกี่ยวกับพระสุธน ออกแสวงหาปัญญาอันสูงสุด เพื่อค้นหาหนทางพ้นทุกข์

ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี เล่าว่าคัมภีร์คันธวยุสูตรเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์อวตัมสกสูตรของพุทธมหายาน...พระสุธน ผู้แสวงหาการตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์ โดยการแสวงบุญเพื่อหาครูผู้จะชี้ทางไปสู่การเป็นพระโพธิสัตว์( Conduct of Bodhisatta)ครูทั้ง55 คนของพระสุธนนั้นเรียกว่ากัลยาณมิตร พระสุธน เริ่มต้นการแสวงบุญด้วยการเข้าหาพระโพธิสัตว์มัญชุศรีแห่งปัญญาก่อน จากนั้นจึงเดินทางไปหากัลยาณมิตรต่างๆ พระโพธิ์สัตว์ที่พระสุธนเรียนรู้ธรรมะนานที่สุดคือพระโพธิสัตว์ไมเตรยะ ซึ่งสอนหลักธรรมให้พระสุธนด้วยนิมิตต่างๆ


ภาพบนคือระเบียงชั้นที่ 3 ทั้งผนัง ชั้นนอกและชั้นในสลักเล่าเรื่องราวประวัติพระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย และ ก้าวเข้าสู่ซุ้มโค้งประตูลายหน้ากาลนี้จัดเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของศิลปะชวาที่มีความหมายว่า กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง ดังนั้นสัปปุรุษทั้งหลายพึงไม่ประมาทจึงจัดเป็นพุทธปรัชญามหายานได้เป็นอย่างดี 

เรื่องราวของ “ชาดก” และ “นิยายอวตาน” ในยุครุ่งเรืองสูงสุดของพุทธศาสนา “ปัญญาสชาดก” คำว่า “ชาดก” แปลโดยศัพท์ ก็คือเรื่องราวในอดีตของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ที่ ได้บำเพ็ญบารมีต่างๆ ซึ่งในแต่ละชาติก็จะมีเรื่องราวแตกต่างกันไป ดังปรากฏเป็นชาดกเรื่องต่างๆ นั่นเอง แต่ถ้าแปล โดยนัยแล้ว “ชาดก” ก็คือคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่แต่งขึ้นมาเพื่อใช้สอนธรรมะ โดยดำเนินเรื่องแบบบทละคร ธรรมะที่ มุ่งสอนมากที่สุดก็คือเรื่องของ “กรรม” “ชาดก” แต่เดิมเป็นงานนิพนธ์ที่อยู่ในพระไตรปิฏก มีทั้งหมด 547 เรื่อง มี 22 นิบาต แต่ละนิบาตมีคาถาไม่ เท่ากัน นิบาตที่คนรู้จักกันมากที่สุดคือนิบาตที่ 22 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มหานิบาต” ซึ่งคือเรื่องพระเวสสันดรชาดกที่ อยู่ในพระไตรปิฏกทั้งหมดนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นิบาตชาดก” ในอดีตที่ผ่านมาปัญญาสชาดกไม่เพียงเป็นที่รู้จักกันในล้านนาเท่านั้น แต่ยังเป็นที่รู้จักในดินแดนใกล้เคียงอีก ด้วย ไม่ว่าจะเป็นอยุธยา พม่า ลาว เชียงตุง สิบสองปันนา และกัมพูชา การแพร่หลายของปัญญาสชาดกในดินแดนต่างๆ นั้น ทำให้ชาดกทั้ง 50 เรื่องเป็นที่รู้จักมากน้อยต่างกันไปใน แต่ละที่ แต่ทั้งหมดจะรู้จักชาดกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นชาดกที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และจากล้านนาได้แพร่หลายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง นั่นคือ “สุธนชาดก” ซึ่งปัจจุบันอาจรู้จักกันในนามของ “มโนราห์” ซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องนี้เช่นกัน เชื่อกันว่าผู้แต่ง “สุธนชาดก” คงได้เค้าโครงเรื่องนี้มาจากวรรณกรรมสันสกฤต คือ กินรีชาดก สุธนกินรีในไภษัชยวัสดุ หรือ สุธนกุมาราวทาน แต่ในบางตำราก็บอกว่าเรื่องสุธน-มโนราห์นั้นมีกล่าวอยู่ในคัมภีร์ “คัณฑพยุหะ” และคัมภีร์นี้เข้ามาเผยแพร่ในสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยศรีวิชัยแล้ว ดังปรากฏหลักฐานเป็นภาพจำหลักเรื่อง สุธน-มโนราห์  อยู่ที่มหาสถูปบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย


credit://www.sac.or.th/main/article_detail.php?article_id=122&category_id=21

อ่านเพิ่มเติม //www.ounamilit.com/ad_panboondarix.html

อ่านเพิ่มเติม//www.sujitwongthes.com/outlineofthaihistory/2012/03/knowledge30032555/






Create Date : 09 พฤษภาคม 2557
Last Update : 10 พฤษภาคม 2557 8:04:05 น.
Counter : 4739 Pageviews.

1 comments
  
เมื่อไหร่จะได้ไปหนอ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 พฤษภาคม 2557 เวลา:16:54:16 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
พฤษภาคม 2557

 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
31
 
All Blog