 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | |
|
 |
|
|
อรรถกถาทั้งหลายแต่ครั้งพุทธกาลนั้น ได้พ่วงมากับพระไตรปิฎกผ่านการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง
จนกระทั่งเมื่อพระมหินทเถระไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ ก็นำอรรถกถาเหล่านั้น ซึ่งยังเป็นภาษาบาลีพ่วงไปกับพระไตรปิฎกบาลีด้วย
แต่เพื่อให้พระสงฆ์ตลอดจนพุทธศาสนิกทั้งหลายในลังกาทวีปนั้น สามารถศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นภาษาบาลีได้สะดวก พระพุทธศาสนาจะได้เจริญมั่นคงด้วยหลักพระธรรมวินัย
คัมภีร์เล่าว่า พระมหินทเถระได้แปลอรรถกถาจากภาษาบาลีให้เป็นภาษาของผู้เล่าเรียน คือภาษาสิงหฬ ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า "มหาอัฏฐกถา" และใช้เป็นเครื่องมือศึกษาพระไตรปิฎกบาลีสืบมา ต่อแต่นั้น อรรถกถาทั้งหลายก็สืบทอดกันมาในภาษาสิงหฬ
ต่อมา พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปเสื่อมลง แม้ว่า พระไตรปิฎกจะยังคงอยู่ แต่อรรถกถาได้สูญสิ้นหมดไป ครั้งนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว มีความเชี่ยวชาญจนปรากฏนามว่า "พุทธโฆส" ได้เรียบเรียงคัมภีร์ชื่อว่าญาโณทัย (คัมภีร์มหาวงส์กล่าวว่าท่านเรียบเรียงอรรถกถาแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี ชื่อว่า อัฏฐสาลินีอ้างวิสุทธิมัคค์ และอ้างสมันตปาสาทิกา มากมายหลายแห่ง จึงคงต้องแต่งทีหลัง)
เสร็จแล้วเริ่มจะเรียบเรียงอรรถกถาแห่งพระปริตรขึ้น อาจารย์ของท่าน ซึ่งมีชื่อว่าพระเรวตเถระ บอกว่า อรรถกถามีอยู่บริบูรณ์ในลังกาทวีป เป็นภาษาสิงหฬ และให้ท่านไปแปลเป็นภาษาบาลีแล้วนำมายังชมทวีป
Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2566 |
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2566 17:36:14 น. |
|
0 comments
|
Counter : 21 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|