กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
บุญ
ข้อธัมม์ที่ถาม-เถียงกันบ่อย
หลักปฏิบัติ
สภาวธรรม
ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง
ผู้พิพากษาตั้งตุลา ใ ห้ สั ง ค ม ส ม ดุ ล
คติธรรมสั้นๆ
ภาษาธรรมวันละคำ
รู้เขา รู้เรา
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน,
ความเป็นมาของการบวช
การทำวัตรสวดมนต์
ทำยังไงจึงจะมีอายุยืนและมีความสุข
พลังดันคน
ที่ทำงานของจิต
บรรลุธรรมอะไร?
พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก
ธัมมาธิบาย
สวดมนต์
ความจน เ ป็ น ทุ ก ข์ ใ น โ ล ก
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
ศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะพินาศ
หลักธรรมสำหรับผู้ยังไม่นับถือศาสนาใดๆ
ก่อนศึกษาพุทธธรรม
ภาค ๑. มัชเฌนธรรมเทศนา
ภาค ๒. มัชฌิมาปฏิปทา
ภาค ๓. อารยธรรมวิถี
วัฒนธรรมประเพณี
จารึกธรรม
สมาธิ,ฌาน
เขาว่า ถ้าพุทธมีหลักธรรมดีจริง คงไม่ 0 สิ้นจากถิ่นเกิด
ภาวะแห่งนิพพาน
ศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม
คุณค่าทางจริยธรรมของไตรลักษณ์
จงกรม ไม่ใช่ จงกลม
กรรมฐาน
สติปัฏฐาน
ศีลสำหรับประชาชน
วิธีการแห่งศรัทธา (ปรโตโฆสะที่ดี)
วิธีการแห่งปัญญา (โยนิโสมนสิการ)
ทางดำเนินชีวิตสายกลาง
คุณสมบัติบุคคลโสดาบัน
กาม
ความสุข
อริยสัจ ๔
ธรรมฉันทะ - ตัณหาฉันทะ
กรรม
เถรวาท VS ลัทธิอาจารย์
นิพพาน-อนัตตา ฉบับเพียงเพื่อไม่ประมาท
ภาวนา ๔ ภาวิต ๔
สมถะ,วิปัสสนา,เจโตวิมุตติ,ปัญญาวิมุตติ
อนัตตา
สมมุติ
ศีล-สีลัพพตปรามาส
นรก สวรรค์ ในพระไตรปิฎก
วันสำคัญของชาวพุทธไทย
วิธีฝึกหูทิพย์ ตาทิพย์
ลำดับญาณ,ทวนญาณ
ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะ ศ.ประจำชาติ
ระดับของผู้บรรลุนิพพาน
<<
กันยายน 2567
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
24 กันยายน 2567
พระไตรปิฎกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเล่า ?
พระไตรปิฎกที่มีการท่องจำมีความแม่นยำเพียงไร
พระไตรปิฎกมีการรักษาสืบทอดมาถึงเราได้อย่างไร
พระไตรปิฎกเกิดขึ้นได้อย่างไร
พูดถึงพระไตรปิฎกแบบกว้างๆ ทำนองพูดตามสภาพ
โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต
บทสรุป
อรรถกถาและคัมภีร์รุ่นต่อมา
หัวใจพระไตรปิฎก
การจัดหมวดหมู่คัมภีร์ในพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกเข้ากันได้กับสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน
การสังคายนาครั้งที่หกและภายหลังจากนั้น
พระไตรปิฎกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเล่า ?
พระไตรปิฎกที่มีการท่องจำมีความแม่นยำเพียงไร
พระไตรปิฎกมีการรักษาสืบทอดมาถึงเราได้อย่างไร
พระไตรปิฎกเกิดขึ้นได้อย่างไร
กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
การสังคายนาครั้งที่ ๑
การสังคายนาคืออะไร
พระไตรปิฎกกับพุทธบริษัท ๔
พระไตรปิฎกกับพระรัตนตรัย
พระไตรปิฎก: ข้อควรรู้เบื้องต้น
พุทธพจน์: แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
ควรเชื่อพระไตรปิฎกเล่มไหน ๑๐๐ %
พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา
พระไตรปิฎกกับสัทธรรม ๓
พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ปรัชญา
ทรงห่วงสังคมไทย มีผู้กล่าวตู่พุทธพจน์ คิดพูดเอง
ตั้งเปรียญธรรม 3 ประโยค
ถาม-ตอบ สำนวนแปลบาลี
หลักแปลบาลี
ตรีปิฎกอาจารย์
ต่อจบ
รู้จักอรรถกถากันหน่อย
???
ภาษาธรรมไม่ใช่ภาษาไทย
ตย.ผู้เรียนบาลี กับ ผู้ไม่เรียน
หลักการอ่านคำภาษาบาลี(๒)
สมาส,สนธิ
แทรกเสริม
วิธีอ่านคำภาษาบาลี(๑)
ไม่แน่ใจตอบคำถาม
บาลี
เรียนบาลีเพื่อรักษาพุทธพจน์
พระไตรปิฎกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเล่า ?
พระไตรปิฎก
ที่เป็น
ลายลักษณ์อักษร
เล่า
?
ช่วงที่ ๒ คือ ระยะที่รักษาพุทธพจน์และเรื่องเกี่ยวข้อง
ในพระไตรปิฎกทั้งหมดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
หรือการรักษาไว้กับวัตถุภายนอก
เริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. ๔๖๐ ที่มีการสังคายนาครั้งที่ ๔
ณ อาโลกเลณสถาน ในลังกาทวีป
สังคายนาครั้งที่ ๔
นี้
เกิดจากเหตุผลที่ปรารภ
ว่า เมื่อ
เหตุการณ์บ้านเมืองสภาพแวดล้อมผันแปรไป
เกิดมีภัยที่กระทบต่อการทำหน้าที่สืบต่อทรงจำพุทธพจน์ และ
คนต่อไปภายหน้าจะเสื่อมถอยสติสมาธิปัญญา
เช่นมีศรัทธาและฉันทะอ่อนลงไป จะไม่สามารถรักษาพุทธพจน์ไว้ด้วย
มุขปาฐะ
จึงตกลงกันว่าถึงเวลาที่จำต้อง
จารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน
ในแง่หนึ่ง การจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรนี้ ดูเหมือนจะมีความแน่นอนและมั่นคงถาวรดังต้องการ คือจะคงอยู่อย่างนั้น ๆ จนกว่าวัสดุจะผุสลาย หรือสูญหาย หรือถูกทำลายไป แต่วิธีรักษาแบบนี้ มีจุดอ่อนที่ทำให้บุคคลเกิดความประมาท ด้วยวางใจว่ามีพระไตรปิฎกอยู่ในใบลานหรือเล่มหนังสือแล้ว ความเอาใจใส่ที่จะสาธยาย ทวนทาน หรือแม้แต่เล่าเรียน ก็ย่อหย่อนลงไป หรือถึงกับกลายเป็นความละเลย
อีกประการหนึ่ง การจารึกในสมัยโบราณ ต้องอาศัยการคัดลอกโดยบุคคล ซึ่งเมื่อมีการคัดลอกแต่ละครั้ง จะต้องมีการพลั้งเผลอผิดพลาดตกหล่น ทำให้ตัวอักษรเสียหายเป็นตัวๆ หรือแม้แต่หายไปเป็นบรรทัด ยิ่งบางทีผู้มีหน้าที่รักษาไม่ถนัดในงานจารเอง ต้องให้ช่างมาจารให้ บางทีผู้จารไม่รู้ไม่ชำนาญภาษาบาลีและพุทธพจน์ หรือแม้กระทั้งไม่รู้ไม่เข้าใจเลย ก็ยิ่งเสี่ยงต่อความผิดพลาด อย่างที่ในสังคมไทยโบราณรู้กันดีในเรื่องการคัดลอกตำรายา ดังคำที่พูดกันว่า “ลอก ๓ ทีกินตาย”
ด้วยเหตุนี้ การรักษาพระไตรปิฎกในยุคฝากไว้กับวัตถุนอกตัวบุคคลนี้ จึงต้องใช้วิธีทำฉบับใหญ่ของส่วนรวมที่จารึกและทบทวนตรวจทานกันอย่างดีแล้ว รักษาไว้ที่ศูนย์กลางแห่งหนึ่ง เป็นหลักของหมู่คณะของสงฆ์ทั้งหมด หรือของประเทศชาติ
ประจวบว่า ในยุคที่รักษาพุทธพจน์เป็นลายลักษณ์อักษรนี้ พระพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายไปเป็นศาสนาแห่งชาติของหลายประเทศแล้ว แต่ละประเทศจึงมีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับที่เป็นหลักของประเทศของตนๆ ไว้ และดูแลสืบทอดกันมาให้มั่นใจว่ายังคงอยู่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ดังเช่นในประเทศไทย ที่มีการสังคายนาใน
สมัยพระเจ้าติโลกราช
(หรือติลกราช) แห่งอาณาจักรล้านนา และการสังคายนาในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน เป็นต้น
ในเวลาที่เรามีการ
ตรวจชำระพระไตรปิฎก
ครั้งหนึ่ง เราก็เอาของทุกประเทศมาสอบทานเทียบเคียงกัน เพื่อดูว่ามีข้อความถ้อยคำ หรืออักษรตัวไหนผิดเพี้ยนกันไหม อย่างชื่อ พระอัญญาโกณฑัญญะ มีการผิดเพี้ยนกันไปนิดหน่อย ฉบับของเราเป็น
อัญญาโกณฑัญญะ
ฉบับอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์
(Pali Text Society)
เป็น
อัญญาตโกณฑัญญะ
เป็นต้น ความแตกต่างแม้แต่นิดเดียว เราก็บันทึกไว้ให้รู้ในเชิงอรรถ
แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านล่วงไปเกินพันปี เมื่อนำพระไตรปิฎกที่ประเทศพุทธศาสนาแต่ละประเทศรักษาไว้มาเทียบกัน ก็พูดได้โดยรวมว่า เหมือนกันลงกัน แม้จะมีตัวอักษรที่ผิดแผกแตกต่างกันบ้าง เช่น จ เป็น ว บ้าง เมื่อเทียบโดยปริมาณทั้งหมดแล้ว ก็นับว่าเล็กน้อยยิ่ง แสดงถึงความถูกต้องแม่นยำในการรักษาที่ทำกันมาด้วยความตั้งใจและตระหนักถึงความสำคัญอย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาเถรวาทจึงมีความภูมิใจโดยชอบธรรมว่า เรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้เป็นแบบเดิมแท้ ดังเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล คือนักปราชญ์ วงวิชาการทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นมหายาน หรือเถรวาท หรือวัชรยาน ว่าพระสูตรต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนาแบบมหายานที่เป็นอาจารยวาท เป็นของที่แต่งขึ้นภายหลัง ไม่รักษาคำสอนเดิมแท้ๆ ไว้ คัมภีร์ส่วนมากก็สาบสูญไป เขาก็เลยมายอมรับกันว่า คำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้าที่จะหาได้ครบสมบูรณ์ที่สุด ก็ต้องมาดูในพระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาเถรวาทของเรานี้
การสังคายนานั้นต้องให้รู้ว่าเป็นการที่จะรักษาคำสอนเดิมเอาไว้ให้แม่นยำที่สุด ไม่ใช่ว่าพระภิกษุที่สังคายนามีสิทธิ์เอาความคิดเห็นของตนใส่ลงไป
บางคนเข้าใจผิดว่า ในการสังคายนานี้ ผู้ที่เข้าร่วมสังคายนา จะไปปรับไปแต่งไปทำอะไรกับพระไตรปิฎก ดีไม่ดีอาจจะถึงกับเข้าใจว่ามาแต่งพระไตรปิฎกกันใหม่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปไกล แสดงว่าไม่รู้จักการสังคายนา และไม่รู้เรื่องอะไรเลย
แต่เราก็ต้องรู้ด้วยว่า ในพระไตรปิฎกไม่มีเฉพาะคำตรัสของพระพุทธเจ้าอย่างเดียว
คำของพระสาวก
ก็มี เช่น คำของ
พระสารีบุตร
ที่ได้
แสดงวิธีสังคายนา
เป็นตัวอย่างไว้นั้น ก็เป็นพระสูตรอยู่ในพระไตรปิฎก ชื่อ
สังคีติสูตร
แต่ธรรมที่พระสารีบุตรนำมาสังคายนาไว้ในสังคีติสูตรนั้น ก็คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า หรือธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้นั่นเอง นอกจากนั้นก็มีคำสนทนากับผู้อื่น ซึ่งมีคำของผู้อื่นรวมอยู่ด้วยในนั้น
หลักคำสอนอะไรเก่าๆ ก่อนพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงยอมรับ ทรงนำมาเล่าให้นับถือปฏิบัติกันต่อไป ก็มาอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย อย่างเรื่องชาดก เฉพาะส่วนที่เป็นตัวคำสอนแท้ๆ
คัมภีร์ที่นิพนธ์แม้หลังพุทธกาล
ก็มีบ้าง อย่างใน
คราวสังคายนาครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสังคายนา เรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นมาเล่มหนึ่ง (ชื่อว่า กถาวัตถุ) เพื่อชำระคำสั่งสอนที่ผิดพลาดของพระบางพวกในสมัยนั้น
แต่การวินิจฉัยนั้นก็เป็นเพียงว่า ท่านยกเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าที่โน่น ที่นี่ ในเรื่องเดียวกันนั้น มารวมกันไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เพื่อแสดงให้เห็นว่า เรื่องนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร อย่างนี้ก็กลายเป็นคัมภีร์ใหม่ แต่แท้จริงก็เป็นการนำเอาพุทธพจน์ในเรื่องนั้น ๆ มารวมไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยมีเรื่องราวหรือข้อพิจารณาอะไรอย่างหนึ่งเป็นแกน
Create Date : 24 กันยายน 2567
Last Update : 24 กันยายน 2567 19:36:22 น.
0 comments
Counter : 144 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [
?
]
Webmaster - BlogGang
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
Bloggang.com