กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2566
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
space
space
1 กุมภาพันธ์ 2566
space
space
space

รู้จักอรรถกถากันหน่อย


   อรรถกถา   "เครื่องบอกความหมาย"   ถ้อยคำบอกแจ้งชี้แจงอรรถ, คำอธิบายอัตถะ คือความหมายของพระบาลี อันได้แก่ พุทธพจน์ รวมทั้งข้อความและเรื่องราวเกี่ยวข้องแวดล้อมที่รักษาสืบทอดมาในพระไตรปิฎก, คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก,

ในภาษาบาลี เขียน อฏฺฐกถา, มีความหมายเท่ากับคำว่า อตฺถวณฺณนา หรือ อตฺถสํวณฺณนา

(คัมภีร์สัททนีติ ธาตุมาลา กล่าวว่า อรรถกถา คือเครื่องพรรณนาอธิบายความหมาย ที่ดำเนินไปตามพยัญชนะและอัตถะ อันสัมพันธ์กับเหตุอันเป็นที่มาและเรื่องราว)


      อรรถกถา   มีมาแต่เดิมสืบแต่พุทธกาล   เป็นของเนื่องอยู่ด้วยกันกับการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่เข้าใจง่ายๆว่า “อรรถกถา” ก็คือคำอธิบายพุทธพจน์ และคำอธิบายพุทธพจน์นั้น ก็เริ่มต้นที่พุทธพจน์ คือพระดำรัสของพระพุทธเจ้านั่นเอง ซึ่งเป็นพระดำรัสที่ตรัสประกอบเสริมขยายความในเรื่องที่ตรัสเป็นหลักในคราวนั้นๆ บ้าง

     เป็นข้อที่ทรงชี้แจงอธิบายพุทธพจน์อื่นที่ตรัสไว้ก่อนแล้วบ้าง

     เป็นพระดำรัสปลีกย่อยที่ตรัสอธิบายเรื่องเล็กๆน้อยๆ ทำนองเรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง ดังที่ท่านยกตัวอย่างว่า

     เมื่อพระพุทธเจ้าทรงได้รับนิมนต์เสด็จไปประทับใช้อาคารเป็นปฐม ในคราวที่เจ้าศากยะสร้างหอประชุม (สันถาคาร) เสร็จใหม่ ๆ ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้เพียงว่า ได้ทรงแสดงธรรมกถา แก่เจ้าศากยะอยู่จนดึก เมื่อจะทรงพัก จึงรับสั่งให้พระอานนท์แสดงธรรมเรื่องเสขปฏิปทา แก่เจ้าศากยะเหล่านั้น และในพระสูตรนั้นได้บันทึกสาระไว้เฉพาะเรื่องที่พระอานนท์แสดง

     ส่วนธรรมกถาของพระพุทธเจ้าเองมีว่าอย่างไร ท่านไม่ได้รวมไว้ในตัวพระสูตรนี้ เรื่องอย่างนี้มีบ่อยๆ แม้แต่พระสูตรใหญ่ๆ ก็บันทึกไว้เฉพาะหลักหรือสาระสำคัญ

     ส่วนที่เป็นพระดำรัสรายละเอียดหรือข้อปลีกย่อยขยายความ ซึ่งเรียกว่าปกิณกเทศนา  (จะเรียกว่าปกิณกธรรมเทศนา ปกิณกธรรมกถา ปกิณกกถา หรือบาลีมุตธรรมกถา ก็ได้)

     แม้จะไม่ได้รวมไว้เป็นส่วนของพระไตรปิฎก   แต่พระสาวกก็ถือว่าสำคัญยิ่ง   คือเป็นส่วนอธิบายขยายความที่ช่วยให้เข้าใจพุทธพจน์ที่บันทึกไว้เป็นพระสูตร เป็นต้น นั้นได้ชัดเจนขึ้น

     พระสาวกทั้งหลายจึงกำหนดจดจำปกิณกเทศนาเหล่านี้ไว้ประกอบพ่วงคู่มากับพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก เพื่อเป็นหลักฐานที่ช่วยให้เข้าใจชัดเจนในพระพุทธประสงค์ของหลักธรรมที่ตรัสในคราวนั้นๆ และเฉพาะอย่างยิ่งจะได้ใช้ในการชี้แจงอธิบายหลักธรรมในพุทธพจน์นั้นแก่ศิษย์ เป็นต้น ปกิณกเทศนานี้แหละ   ที่เป็นแกนหรือเป็นที่ก่อรูปของสิ่งที่เรียกว่า อรรถกถา

     แต่ในขณะที่ส่วน ซึ่งเรียกว่าพระไตรปิฎก ท่านรักษาไว้ในรูปแบบและในฐานะที่เป็นหลัก

     ส่วนที่เป็นอรรถกถานี้ ท่านนำสืบกันมาในรูปลักษณ์ และในฐานะที่เป็นคำอธิบายประกอบ แต่ก็ถือเป็นสำคัญยิ่ง

     ดังที่เมื่อสังคายนาพระไตรปิฎก อรรถกถาเหล่านี้ ก็เข้าสู่การสังคายนาด้วย  (ตัวอย่างที่ ม.ม.13/25/25 ม.อ.3/6/20 ฯลฯ)   ทั้งนี้   มีเฉพาะพระพุทธดำรัสเท่านั้น   แม้คำอธิบายของพระมหาสาวกบางท่านก็มีทั้งที่เป็นส่วนในพระไตรปิฎก (อย่างเช่นพระสูตรหลายสูตรของพระสารีบุตร) และส่วนอธิบายประกอบที่ถือว่าเป็นอรรถกา   คำอธิบายที่สำคัญของพระสาวกผู้ใหญ่อันเป็นที่ทอดรักษาผ่านการสังคายนาสืบต่อมาด้วย

     อรรถกถาทั้งหลายแต่ครั้งพุทธกาลนั้น  ได้พ่วงมากับพระไตรปิฎกผ่านการสังคายนาทั้ง ๓ ครั้ง

     จนกระทั่งเมื่อพระมหินทเถระไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕ ก็นำอรรถกถาเหล่านั้น ซึ่งยังเป็นภาษาบาลีพ่วงไปกับพระไตรปิฎกบาลีด้วย

     แต่เพื่อให้พระสงฆ์ตลอดจนพุทธศาสนิกทั้งหลายในลังกาทวีปนั้น สามารถศึกษาพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นภาษาบาลีได้สะดวก พระพุทธศาสนาจะได้เจริญมั่นคงด้วยหลักพระธรรมวินัย

     คัมภีร์เล่าว่า พระมหินทเถระได้แปลอรรถกถาจากภาษาบาลีให้เป็นภาษาของผู้เล่าเรียน คือภาษาสิงหฬ ซึ่งเรียกกันต่อมาว่า "มหาอัฏฐกถา" และใช้เป็นเครื่องมือศึกษาพระไตรปิฎกบาลีสืบมา ต่อแต่นั้น อรรถกถาทั้งหลายก็สืบทอดกันมาในภาษาสิงหฬ

     ต่อมา พระพุทธศาสนาในชมพูทวีปเสื่อมลง แม้ว่า พระไตรปิฎกจะยังคงอยู่ แต่อรรถกถาได้สูญสิ้นหมดไป ครั้งนั้น มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ออกบวชจากตระกูลพราหมณ์ เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว มีความเชี่ยวชาญจนปรากฏนามว่า "พุทธโฆส" ได้เรียบเรียงคัมภีร์ชื่อว่าญาโณทัย  (คัมภีร์มหาวงส์กล่าวว่าท่านเรียบเรียงอรรถกถาแห่งคัมภีร์ธัมมสังคณี ชื่อว่า อัฏฐสาลินีอ้างวิสุทธิมัคค์ และอ้างสมันตปาสาทิกา มากมายหลายแห่ง จึงคงต้องแต่งทีหลัง)

     เสร็จแล้วเริ่มจะเรียบเรียงอรรถกถาแห่งพระปริตรขึ้น อาจารย์ของท่าน ซึ่งมีชื่อว่าพระเรวตเถระ บอกว่า อรรถกถามีอยู่บริบูรณ์ในลังกาทวีป เป็นภาษาสิงหฬ และให้ท่านไปแปลเป็นภาษาบาลีแล้วนำมายังชมทวีป
 


Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2566
Last Update : 29 กันยายน 2567 12:29:33 น. 0 comments
Counter : 147 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

BlogGang Popular Award#20


 
สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space