The Master Of The World เจ้าไตรภพ




เจ้าไตรภพ The Master Of The World (1904)
โดย Jules Verne
สนพ.มังกาพย์ แปลโดย ปสงค์อาสา

"ก็เพราะมันเป็นปิศาจน่ะซิ และคุณจะจับปิศาจไม่ได้หรอก" 

"ไม่มีปัญหาเลย ข้าพเจ้าคิด ว่าปิศาจก็มีประโยชน์อยู่บ้างเหมือนกัน เราสามารถอ้างมันเข้ารับผิดชอบหลายๆอย่างที่เราอธิบายไม่ได้ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับคนในยุคมืด..."

เกิดเหตุการณ์ประหลาดที่ยอดเขา"เกรท ไอรี่" บนเทือกเขาบลูริดจ์ทางตะวันออกของอเมริกา เมื่อมีเสียงปะทุ มีควันไฟคล้ายกับภูเขาไฟระเบิด ทั้งๆที่มันเป็นภูเขาไฟที่ดับไปนานแล้ว  

ขณะที่บนภาคพื้นทวีปอเมริกาในการแข่งขันแข่งรถครั้งหนึ่ง ทั่วทั้งสนามก็แตกตื่น เมื่อเห็นรถที่วิ่งเร็วกว่า 200 ไมล์แซงรถทุกคันไม่เห็นฝุ่น 

บนทะเลก็มีคนค้นพบเรือที่วิ่งได้เร็วมาก แถมมันยังดำน้ำหนีหายไปได้อีก ขนาดของมันก็พอๆกับรถคันนั้น

จอห์น สโต๊ก หัวหน้าหน่วยสืบสวนของกรมตำรวจวอชิงตันจึงถูกเรียกตัวให้ไปสำรวจภูเขาลูกนั้นเพื่อลบความหวาดกลัวของประชาชนแถบนั้น รวมถึงตามไล่ล่าพาหนะ ปริศนาที่ใครๆต่างเรียกมันว่า "ยานปิศาจ" และใครกันคือ"เจ้าไตรภพ" ที่สามารถสร้างเทคโนโลยีแบบนี้ได้จนสร้างความประหวั่นพรันพรึงไปทั่วทั้งทวีปอเมริกาและเขย่าขวัญรัฐบาลได้ 

.........................................................

1 ใน 2 เรื่องสุดท้ายในชีวิตนักเขียนของ Jules Verne บิดานิยายวิทยาศาสตร์ร่วมกับ H.G.Wells ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปีต่อมา 

แต่เป็นเรื่องแรกที่ผมได้อ่านผลงานของเขา ถ้าไม่นับฉบับเรื่องย่อแบบให้เด็กอ่านของสนพ.เม็ดทรายที่เคยอ่านตอนยังเป็นเด็กน้อย

เป็นเรื่องที่เล่าผสมการผจญภัยหน่อยๆผ่านมุมมองความคิดบุคคลที่ 1 อย่างจอห์น  สโต๊กเป็นหลักเลย แทบจะไม่มีบทสนทนาของคนอย่างเจ้าไตรภพเลย ความสนุกและความซับซ้อนจะไม่มากมายเท่าไหร่ เน้นนำเสนอความคิด ชวนให้มนุษย์อย่างเราๆกล้าคิดกล้าทำไปในสิ่งที่คนในยุคนั้นหรือแม้แต่ในยุคเราๆนี่แหละกล้าลองจินตนาการไปให้พ้นขีดความสามารถของเรา ถึงแม้ปัจจุบันก็ยังทำไม่ได้กับยานปิศาจที่ทั้งวิ่งได้เร็วจี๊ด แล่นไปบนทะเล ดำลงไปในน้ำ แถมยังบินได้ด้วยปีกที่คล้ายของแมลงอีกและยังสอดแทรกความคิดว่า ต่อให้มีคนคิดได้หรือมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ไม่มีใครทำได้ เราควรจะใช้มันให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ ไม่ใช่นำมาประหัตประหารหรือตกเป็นเครื่องมือของใครคนใดคนหนึ่งหรือแม้แต่รัฐบาลใดๆในการนำมาก่อให้เกิดความได้เปรียบต่อประเทศอื่นๆถ้าเช่นนั้นทำลายมันทิ้งเสียดีกว่า

ตอนท้ายมีบทแทรกเสริมความรู้ของผู้แปลเองถึงความเป็นไปได้ ทำให้เข้าใจพอสมควรเลย ว่าไอเดียที่ Verne นำเสนอมันทำได้ยากมากทีเดียว ด้วยความที่เทคโนโลยีในการผลิตเรือดำน้ำต้องใช้วัสดุที่มีโครงสร้างแข็งแรงทนทานต่อแรงกดดันของน้ำที่มหาศาล มันจึงมักมีน้ำหนักมากยากต่อการที่จะบินได้ซึ่งขัดแย้งกับเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตเครื่องบินที่ต้องทำจากวัสดุที่ค่อนข้างเบา

แต่ใครจะไปรู้ล่ะในอนาคตข้างหน้าอีก 100 ปีหรือน้อยกว่านั้นมันอาจจะเป็นจริงเหมือนจินตนิยายในหลายเรื่องๆของ Verne ที่เป็นจริงแล้วก็ได้ ถึงแม้บางอย่างจะไม่ใช่เทคโนโลยีที่ Verne ได้กล่าวถึงจินตนาการไว้ก็ตาม แต่นี่แหละคือคุณูปการในการจุดประกายความคิดระเบิดจินตนาการของบิดานิยายวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนนี้

ป.ล.เล่มนี้เป็นเรื่องต่อจากเรื่อง "Robur The Conquerer" ที่ Verne เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1886 แต่ไม่ได้รับการแปลในไทย ถึงว่ามีการเอ่ยถึงเหตุการณ์ก่อนๆนิดหน่อยตอนอ่าน

คะแนน 7.5/10



Create Date : 29 สิงหาคม 2560
Last Update : 29 สิงหาคม 2560 19:22:43 น.
Counter : 1558 Pageviews.

3 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณruennara, คุณnewyorknurse

  
อยากลองอ่านแนววิทย์จ๋าแบบนี้บ้าง
แต่กลัวอ่านแล้วงงจังเลย
ขอบคุณสำหรับรีวิวครับ
โดย: ruennara วันที่: 30 สิงหาคม 2560 เวลา:3:45:47 น.
  

มาอ่านรีวิวหนังสือค่ะ

สมาชิกหมายเลข 755059 Book Blog ดู Blog
โดย: newyorknurse วันที่: 2 กันยายน 2560 เวลา:6:10:51 น.
  
คุณ ruennara ลอง Ender's Game ของ สนพ.แพรว หรือ Dark Matter บอง สนพ.Maxx Publishing ดูครับ อ่านง่าย สนุกครับ

คุณ newyorknurse ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมชมครับ
โดย: leehua (สมาชิกหมายเลข 755059 ) วันที่: 6 กันยายน 2560 เวลา:16:07:42 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 755059
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2560

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
 
 
All Blog