Pollyanna โลกนี้ไม่มีสิ้นหวัง





โลกนี้ไม่สิ้นหวัง Pollyanna (1913)
โดย Eleanor H.Porter
สนพ.OMG Books แปลโดย วรรธนา วงษ์ฉัตร

"ทีแรกมันก็เป็นเรื่องยากค่ะ" เด็กน้อยยอมรับ
"โดยเฉพาะตอนนี้ที่หนูรู้สึกว้าเหว่มากๆ หนูไม่รู้สึกอยากเล่นเกม และหนูก็อยากได้ข้าวของสวยๆมากเหลือเกิน! แล้วหนูก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า หนูเกลียดมากแค่ไหนเวลาที่เห็นกระบนหน้าตัวเองในกระจกและหนูก็เห็นภาพสวยๆนอกหน้าต่างนั่นด้วย หนูรู้ทันทีว่าหนูเจอสิ่งที่ควรจะดีใจกับมันได้แล้ว เวลาที่พี่มองหาสิ่งที่น่าดีใจ พี่จะลืมอีกสิ่งไปเลยอย่างเช่น ตุ๊กตาที่พี่อยากได้" 

พอลลีแอนนา เด็กสาวกำพร้าวัย 11 ขวบที่พ่อของเธอเพิ่งจากไปอีกคน ต้องเดินทางจากดินแดนตะวันออกมายังเวอร์มอนต์ทางตะวันตกเพื่อมาอยู่กับ พอลลี น้าสาววัย 40 ปี ที่ไม่ค่อยชอบพ่อของเธอเท่าไหร่ตั้งแต่ไหนแต่ไร เนื่องจากพรากแม่ที่เป็นพี่สาวอันเป็นที่รักของครอบครัวไป

จากความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวสู่ห้องที่ว่างเปล่าที่แทบจะตรงกันข้ามกับสิ่งที่เธอวาดฝันไว้ในบ้านของน้าสาวที่มีแต่ริ้วรอยแห่งหน้าทีอันแสนเข้มงวดและแทบไม่มีรอยยิ้ม 

แต่เธอมีมรดกตกทอดจากพ่อของเธอที่ทิ้งไว้ให้ ราวกับเครื่องมือที่ไว้ใช้ดำเนินชีวิต นั่นคือ "เกมดีใจ" เกมที่มุ่งหาสิ่งดีๆในทุกๆสิ่ง ทุกๆสถานการณ์ ไม่ว่ามันจะเลวร้ายแค่ไหนก็ตาม 

เกมดีใจของเธอนี่แหละที่จะแต่งแต้มริ้วรอยแห่งหน้าที่ของน้าสาวให้มีสีสัน เติมเต็มห้องที่แทบจะว่างเปล่าให้กลับมามีชีวิตได้ ทั้งยังเฉิดฉายความหวังให้สว่างไสว ฉุดกระชากความเศร้าให้จางหายไปในทุกๆที่ที่เธอได้ก้าวย่างไปสัมผัสกับทุกคนในเมือง และในท้ายที่สุดมันก็จะเป็นกระจกสะท้อนพลังกลับมายังตัวเธอเองด้วย

..........................................................................

นิยายสำหรับเด็กและเยาวชนที่ผ่านมากว่า 100 ปีแล้วนับตั้งแต่ที่ออกตีพิมพ์ แต่ยังร่วมสมัยและมีคุณค่าเหมาะแก่การอ่าน แม้แต่ผู้ใหญ่ก็อ่านได้อ่านดี

ตั้งแต่เริ่มเรื่องไปเรื่อยๆเราอาจจะรู้สึกเหมือนทำควิซเล่นเกมไปกับพอลลีแอนนาที่เธอจะไปเจอคนนั้นคนนี้แล้วเธอจะเล่นเกมดีใจกับคนนั้น ในแบบทื่พอเฉลยแล้วเราคาดไม่ถึงทีเดียว แต่พอผ่านไปเรื่อยๆมันมีเส้นเรื่องร้อยเรืองราวทั้งหลายไว้ให้เห็นภาพเป็นนิยายแถมมีจุด หักเห ให้เราเอาใจช่วยและสนุกยิ่งขึ้น แม้ในบางจุดจะเดาได้แต่ก็มันเป็นนิยายเด็กและเยาวชนนี่น่า 

พอลลีแอนนามีบุคลิกแบบช่างจำนรรจา ช่างพูดช่างคุย จนในบางที อาจจะดูยอกย้อนแต่ในวัฒนธรรมฝรั่งคงเป็นเริ่องธรรมดากับการให้กล้าคิดกล้าแสดงออก ยิ่งมองไปว่ามันเก่าขนาดนี้ยังส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออกได้ตั้งแต่ยุคนั้นแล้ว

และแน่นอนที่สุดคุณค่าของหนังสือเล่มนี้ที่โดดเด่นสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะวัยไหนๆ สถานการณ์ใดๆก็ตาม นั่นก็คือ "เกมดีใจ" ที่กระตุ้นให้เราเห็นว่าทุกๆ สิ่งที่เรามีหรือไม่มี จะดีหรือเลวร้ายอย่างไร เราสามารถค้นพบความดีใจได้ในทุกสิ่ง ถ้าเราใช้เวลาหามันนานพอ 

"เกมดีใจ"เปรียบเสมือนปริซึมที่สะท้อนหักเหแสงให้เราเห็น "สายรุ้งเริงระบำ" ยามอาทิตย์เฉิดฉายมีความสุข เราก็จะตระหนักถึงสิ่งที่เรามีว่ามีคุณค่าแค่ไหนทำให้เราสุขเพียงใด ไม่ใช่ไขว่คว้าในสิ่งที่เราไม่มี เราขาดไป จนหลงลืมความสุขที่เรามีไปทั้งๆที่มันอยู่กับเรานี่แหละหรือแม้แต่ในยามเลวร้ายดั่งท้องฟ้ามืดมิด "เกมดีใจ" ก็จะช่วยให้เราสามารถมองหา "ดวงดาวที่สุกสกาว" สร้างความหวังและกำลังใจท่ามกลางราตรีกาล พาเราเชิดหน้าลุกขึ้นสู้จนผ่านพ้นไปได้ในที่สุด

มิเท่านั้นผมเชื่อว่าเมื่อเราทำเช่นนี้บ่อยๆ ทัศนคติของเราก็จะเฉิดฉายส่องสว่าง
เหมือนพอลลีแอนนาที่ทำให้กับคนอื่นๆแล้วมันจะสะท้อนกลับมาที่ตัวเราอีกด้วย

เป็นหนังสือที่ควรมีประดับไว้ในห้องสมุดทุกๆโรงเรียนและในบ้าน ควรให้เด็กๆได้อ่านเป็นอย่างยิ่งจะช่วยให้เด็กๆมีทัศนคติที่ดีแน่นอนครับ

"ผมภาวนาให้ผมเขียนใบสั่งจ่ายเธอเป็นยา...และซื้อเธอเป็นยาเหมือนกับที่ผมซื้อยาสักอย่างได้ แต่ถ้าในโลกนี้มีคนอย่างพอลลีแอนนามากๆ คุณกับผมคงต้องไปขายริบบิ้นและใช้แรงงานเพื่อให้ได้เงินเท่ากับที่เราจะได้จากการรักษาพยาบาล"

ป.ล.เคยมีฉบับแปลมาแล้วครั้งหนึ่ง แปลโดย แก้วคำทิพย์ ไชย แต่ผมรู้สึกว่าปกนี้สื่อได้ดี กว่ากับบุคลิกของพอลลีแอนนา ปกฉบับเก่าจะเน้นความเป็นนิยายคลาสสิกมากกว่า

คะแนน 8.7/10



Create Date : 01 มกราคม 2561
Last Update : 1 มกราคม 2561 12:43:18 น.
Counter : 1496 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 755059
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]



New Comments
มกราคม 2561

 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31