The Andromeda Strain ชีววิกฤต




ชีววิกฤต Andromeda Strain (1969)
โดย Michael Crichton
สนพ.วรรณวิภา แปลโดย สนชัย นกพลับ 

"คนเราถ้าจะเปรียบไปแล้วสามารถกล่าวได้ว่ามีชีวิตอยู่ในทะเลของบักเตรีก็ว่าได้ มันมีอยู่ทั่วทุกหนแห่งไม่ว่าผิวหนัง ในหู ในปาก ในปอด หรือแม้กระทั่งในกระเพาะอาหารและทุกอย่างที่มนุษย์เป็นเจ้าของ ทุกอย่างที่มนุษย์แตะต้อง ทุกลมหายใจที่มนุษย์สูดเข้าปอดเต็มไปด้วยบักเตรี บักเตรีมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง มนุษย์เท่านั้นที่ไม่เคยนึกถึงข้อนี้"

เมื่อเมืองเพียตมอนต์เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 48 คน เพียงเพราะดาวเทียมจากโครงการลับสคูป 7 ตกลงมายังเมืองนี้ ดาวเทียมที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งขึ้นไปสำรวจบรรยากาศชั้นบนของโลก

แผนการไวลด์ไฟร์ที่มีไว้เพื่อสำรวจสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกที่อาจจะติดกลับมากับดาวเทียมที่ยิงขึ้นไป จึงถูกงัดออกมาใช้พร้อมกับต้องเรียกผู้เชี่ยวชาญในแผนการนี้ทั้ง 5 คนมา อย่างเร่งด่วนเพื่อทำการสืบสวนว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ 

ทำไมชายชรากับเด็กทารกเพียง 2 คนในเมืองจึงรอดจากวิกฤตแสนอันตรายนี้มาได้ พวกเขาทั้ง 5 ต้องเร่งหาคำตอบในแล็บที่แสน ลึกลับ ก่อนที่จะจำเป็นต้องใช้มาตรการสุดท้าย คือ ระเบิดนิวเคลียร์! 

.........................................................................................

ไม่แปลกใจละทำไมเล่มนี้ถึงได้สร้างชื่อให้ Michael Crichton จุดพลุให้เจิดจ้าจนมามีชื่อเสียงโด่งดังสุดขีดจาก Jurassic Park, Sphere, Congo ถึงแม้ถ้านับอายุเล่มนี้จะผ่านมากว่า 50 ปีแล้วก็ตาม และถือเป็นการรีวิวรำลึกการจากไปของ Crichton ที่ล่วงเลยมา 
10 ปี พอดีอีกด้วย 

เป็นนิยายแนว Techno-Thriller นิยายแนวระทึกขวัญที่มีการใช้เทคนิคในเรื่องที่เกี่ยวข้องมาอธิบายเพิ่มเติม สอดแทรกความรู้ในเรื่องนั้นๆลงมา เฉกเช่น Tom Clancy ที่ก็อธิบายเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์หรืออาจจะกลยุทธในการรบลงในเรื่องแนวทหารของเขามาให้เห็นภาพ เรื่องนี้ก็แน่นอนเกี่ยวกับเชื้อโรค สิ่งมีชีวิตนอกโลกนั่นเอง 

การเล่าเรื่องช่วงแรกอาจจะคล้ายๆเรื่อง "คืนขย้ำ (Phantoms)" ของ Dean Koontz ที่มีคนตายกันเป็นเบือ เพียงแต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นภาพที่น่ากลัวแบบแนวสยองขวัญอย่าง Koontz แน่นอนเมื่อมีการสอดแทรกเรื่องเทคนิคก็อาจจะนึกภาพตามได้บ้างไม่ได้บ้างแต่น่าจะถูกใจคอชีววิทยาแน่ๆ

เนื้อเรื่องมีบางช่วงเกี่ยวกับเรื่องราวชีวดาราศาสตร์ (Astrobiology) และคาบเกี่ยวบางๆกับการพบเจอกับสิ่งมีชีวิตนอกโลกแบบ First Contact ซึ่ง Crichton อธิบายได้สนุก ถ้าสิ่งมีชีวิตนอกโลกจะติดต่อสื่อสารมายังกาแลกซี่ระบบสุริยะของเรา บางทีการติดต่อทางเสียงและแสงอาจจะมีอุปสรรคทางระยะทาง ถ้ามันทรงภูมิปัญญามากอาจจะส่งชิ้นส่วนทางชีววิทยาที่ทนต่อทุกสภาพแวดล้อม มาในรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เรามองข้ามก็ได้ จนเมื่อเจอกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเช่นโลกเรา มันอาจจะประกอบร่างกลับเป็นสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมได้ ช่างเปิดโลกทัศน์จริงๆ 

ความสนุกในการอ่านนั้นลื่นไหลเอามากๆ ช่วงการหาคำตอบก็ดูเป็นวิทยาศาสตร์มาก แม้บางครั้งจะเปิดช่องให้ตัวละครทำพลาดพลั้งเผลอไปแบบจงใจไปนิด แต่คงช่วยส่งเสริมในการลุ้นหาคำตอบของผู้อ่านให้ไม่จบเร็วเกินไปและจบได้ดีทีเดียวเลย  

"เขาเคยเถียงเสมอว่า ความฉลาดของมนุษย์มักจะสร้างความเดือดร้อนมากกว่าหาความดีมาให้ มันมีแนวโน้มในการทำลายมากกว่า สร้างสรรค์ ยุ่งเหยิงมากกว่าแจ่มใส มีแต่ความท้อแท้ไม่พอใจและเต็มไปด้วนความเห็นแก่ตัว"

ป.ล.ผมจำมินิซีรีส์ 2 ตอนจบที่เคยดูไปไม่ได้แล้ว จำได้แค่เลาๆว่าเฉยๆ ซึ่งก็ออกมาก่อนที่ในอีกหลายเดือนต่อมา Crichton จะจากไปใน ปี ค.ศ.2008 นั่นเอง

เครดิตรูปจาก siambook

คะแนน 8.3/10




Create Date : 28 เมษายน 2561
Last Update : 28 เมษายน 2561 18:55:05 น.
Counter : 1597 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 755059
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]



New Comments
เมษายน 2561

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
 
 
All Blog