Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
18 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
งานแสดงและประกวดพลุนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ดวงประทีปพราวนภา เทิดราชาราชินี บารมีศรีแผ่นดิน







ในวโรกาสเฉลิมฉลอง 78 พรรษา มหาราชินี ในวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2553

มีการประกวดพลุที่พัทยา นับเป็นการแสดงพลุกลางทะเลที่ใช้พลุจำนวนมากที่สุด

และระยะทางการแสดงพลุยาวที่สุดเท่าที่เคยจัดแสดงในประเทศไทย ณ บริเวณ

ริมชายหาดเมืองพัทยา จ.ชลบุรี โดยความร่วมมือจาก ๔ ประเทศ ได้แก่

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน , ประเทศอิตาลี , ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์

และชมรมพลุแห่งประเทศไทย ที่จะมาร่วมแสดงและประกวดพลุนานาชาติในครั้งนี้


•ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

•ประเทศอิตาลี

•ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์

•ประเทศไทย


ย่าเห็นประกาศทางทีวี นึกในใจอยู่ว่าไม่ได้ถ่ายพลุนานมากแล้ว

วิธีถ่ายก็ชักเลอะเลือนๆแล้ว เดิมทีคิดว่าคงไม่ได้ไปแน่นอน

พอดีน้องชายถามถึงเรื่องทำเลถ่ายพลุว่ามีที่ไหนบ้าง บังเอิญได้ทราบ

มาว่าคุณปุ้ม ห้องกล้วยไม้อยู่ที่พัทยา จึงสอบถามคุณปุ้มว่าพอจะแนะนำ

ทำเลไหมว่าควรไปถ่ายที่ไหน สรุปว่าคุณปุ้มได้เอื้อเฟื้อทำเลถ่ายให้

ขอขอบคุณ คุณปุ้มมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ


ชมพลุจากเลนส์คิดติดกล้องธรรมดาๆ ขออภัยหากจะทำให้ผิดหวัง

ที่จะได้ชมภาพมุมอลังการงานสร้าง อย่างท่านอื่นนะคะ

จะใช้เลนส์ซูมถ่ายก็ออกจะเสี่ยงกับการเก็บภาพพลุโดยรวมค่ะ


ภาพเซ็ตนี้จึงเป็นภาพ ทีส่วนใหญ่ต้องครอบค่ะ ว่าไปแล้วที่อ้างมาทั้งหมด

เพราะความอ่อนด้อยประสบการณ์ของย่านั่นเอง อิอิ





ภาพส่วนใหญ่เป็นภาพแนวตั้ง เพราะต้องการช่วงเงาสะท้อนของแสงพลุในน้ำค่ะ





ทำเลถ่ายพลุเป็นด้านข้าง ของเวทีการแสดง ซึ่งอยู่ห่างมากอยู่พอสมควร

จึงไม่ทราบรายละเอียดในแต่ละช่วง ต้องคอยจ้องและคาดเดาเอาเองว่า

พลุจะมาเมื่อไหร่ ดีที่แรกๆจุดในตำแหน่งเดิมๆ จึงเก็บได้ง่ายหน่อย


แต่ก็หวืดไปเยอะเหมือนกัน คัดแต่ที่พอดูได้มาให้ชมค่ะ





ต้นไม้และประกายดาว (ตั้งชื่อเอง อิอิ)





ดอกไม้สีฟ้าประดับดาว








ขาว,เขียว,แดง





***





อย่างที่บอกว่าเป็นมุมมองด้านข้าง ของสถานที่จุดพลุ

รูปนี้หากถ่ายจากด้านหน้า พลุคงลดหลั่นสวยงาม

แต่นี่ซ้อนๆกัน ก็มองให้เป็นศิลป์แล้วกันเน๊อะ อิอิ





อีกอย่างที่เป็นอุปสรรคในการถ่ายพลุครั้งนี้ก็คือควันที่เยอะมาก

บางรูปพอจะสวยอยู่บ้าง ก็มีควันดำบังไปครึ่งลูก ทีแรกย่าพรีวิวดู

อะไรกันนี่ย่าฝีมือห่วยขนาดถ่ายรูปตกขอบไปตั้งครึ่งลูกเชียวหรือ

เริ่มปลง แต่พอกลับมาโรงแรมแล้วลองไล่ดู (ลบรูปเสียมันมือไปเลยค่ะเที่ยวนี้ 555)

ถึงได้ทราบว่าเป็นควันอันมหาศาลที่บังพลุไปครึ่งหนึ่ง เสียดายมาก





ทำเลเราอยู่ใต้ลมพอดีรับไปเต็มๆ บางภาพนอกจากจะโดนบังแล้ว

ยังมีกลุ่มควันกลุ่มเล็กๆ เป็นหย่อมๆ สุดปัญญาจะแก้ไขภาพค่ะ


บางจังหวะ ที่หยุดพัก หรือสลับการแสดง ควันก็จางไป จุดใหม่ๆ

ก็ยังไม่มีควันมาก ช่วงนั้นก็จะดีหน่อย





บางเซทขนาดถ่ายแบบหลวมๆเผื่อพลุลูกสูงๆนำโด่ง ก็ยังไม่วายหลุดเฟรม

เรียกว่าต้องเดาทางกันสนุกไปเลย





ลูกใหญ่สีโทนเดียว ภาพนี้เต็มเฟรมพอดีๆ

กะเก็บให้หมด ทำให้ลูกล่างๆซึ่งจุดก่อนเริ่มโรย





กลุ่มพลุสีแดง





และก็จุดต่อเนื่องด้วยพลุสีแดง,ฟ้าและ เขียว ในขณะที่ลูกสุดท้ายของ

เซทแรกเริ่มโรย ทิ้งตัวลงแบบอ่อนแรง เหมือนฝนสีทองพร่างพรม





กลุ่มสีม่วง,เขียว,





พยายามเล่าบรรยากาศประกอบเหตุการณ์แบบสดๆ

ก็เลยต้องเรียบเรียงไปพร้อมๆกัน

หากเขียนแล้วอ่านสะดุดไปบ้างก็ขออภัยนะคะ








สีทองและเขียว





ภาพนี้กดเร็วไปหน่อยหางพลุยังไม่ย้อย เลยไม่ค่อยสวย





พลุสีขาว และฟ้าน่ารักดี นี่ก็กดไวไป





กว่าจะได้ภาพพลุที่ลงตัว เหมือนภาพนี้

ลุ้นน่าดู มีอยู่ช่วงโฟกัสไม่ได้ ตอนนั้นนึกไม่ออกว่าเพราะอะไร





พลุสีม่วงสะท้อนสีพื้นน้ำได้สวยมาก





ต่อค่ะ





เปลี่ยนมาเป็นสีเขียว





ลูกนี้ไงคะที่โดนบังเกือบครึ่งลูก เอาตัวหนังสือมาปิดซะเลย





เขียวได้อีก





/**





---





ระยิบพราวแสงสุวรรณ





พรมพรายประดับราตรี





โรยแสงสั่งลา แต่ สว่างจ้าติดตรึงใจ





ขอบคุณน้องชาย ที่เป็นสารถี พาไปถ่ายพลุ และนำเที่ยวตามรายทาง

ไว้เราไปกันอีกนะ ..


เพิ่งมาเห็นเทคนิคการถ่ายพลุ ของคุณ ninemot ขออนุญาตเอามาลงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจจะฝึกฝนถ่ายพลุค่ะ

ขอขอบคุณมา ณที่นี้ด้วยค่ะ

//blog.tourismthailand.org/ninemot/?p=165
---------------
เทคนิคการถ่ายภาพพลุ
ผมเขียนบทความนี้ด้วยความอิจฉาเพื่อน ๆ ที่อยู่กรุงเทพฯ เพราะปีนี้เป็นปีที่มีการจุดพลุอย่างยิ่งใหญ่สวยงามเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ในหลวงทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ผมเองก็ได้แต่ดูตาปริบ ๆ ทางทีวีเพราะอยู่ไกลแสนไกล ที่ภูเก็ตแม้จะมีบ้างก็ไม่ยิ่งใหญ่อลังการก็เลยไม่ได้ไปถ่ายเก็บไว้ แต่คิดว่าเพื่อน ๆ หลายคนที่ได้มีโอกาสถ่ายภาพอาจผิดหวังกับผลงานตัวเอง และไม่เข้าใจว่าทำไมบางคนถ่ายแล้วสวยจัง ของเราออกมาเป็นจุด ๆ ไม่มีเส้นสายสวยงามเหมือนคนอื่น ผมก็เลยถือโอกาสเขียนเทคนิคการถ่ายภาพพลุเพื่อให้เพื่อนๆ ที่ยังไม่เข้าใจได้นำวิธีการนี้ไปใช้เพื่อถ่ายภาพพลุครั้งต่อไป

หลักการของการถ่ายภาพพลุคือการที่เราต้องให้กล้องเปิดรับแสงของพลุเป็นระยะเวลาหนึ่ง (ตั้งแต่ขึ้นไปจนกระทั่งระเบิดกระจาย) โดยกล้องจะบันทึกการเดินทางของลูกไฟเป็นเส้นสายอย่างสวยงาม ซึ่งต่างจากการถ่ายภาพแบบปกติที่กล้องจะเปิดรับแสงเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น หากเราถ่ายภาพแบบปกติอาจจะไม่ติดเลย (มืดสนิท) หรือไม่ก็เห็นเป็นจุด ๆ ไม่เป็นสายเนื่องจากกล้องเปิดรับแสงเป็นช่วงเวลาที่สั้นเกินไป

……………..

วิธีการถ่าย
สำหรับกล้องแบบ SLR ให้เพื่อนๆ เลือกควมไวแสงที่ ISO100-200 ความเร็วชัตเตอร์ B ซึ่งหมายถึงกล้องจะเปิดรับแสงไปเรื่อย ๆ ในขณะที่เรากดชัตเตอร์ค้างไว้ และหยุดรับแสงเมื่อเราจะปล่อยชัตเตอร์นั่นเอง (หากใช้สายลั่นชัตเตอร์แทนการกดด้วยมือจะทำให้ลดโอกาสที่ภาพจะสั่นไหวได้) สำหรับค่ารูรับแสงให้เลือกระหว่าง f/8 – f/11 แล้วแต่ว่าความสว่างของพลุมากน้อยเพียงใด ลองถ่ายดูสักภาพสองภาพก็จะทราบว่าควรจะลดหรือจะเพิ่มหรือไม่ หากถ่ายออกมาแล้วพลุเป็นสีขาวสว่างแทนที่จะเป็นสีสันสวยงามก็ให้ปรับตัวเลขสูงขึ้น (รูรับแสงแคบลง) แต่ถ้าภาพออกมามืดไปก็ให้ลดตัวเลขลง (รูรับแสงกว้างขึ้น) แต่เท่าที่ผมถ่ายมาส่วนใหญ่ตัวเลขรูรับแสงที่เหมาะสมก็อยู่ในช่วงที่กล่าวมาข้างต้นครับ (สำหรับกล้อง compact ที่ไม่ใช่ SLR ให้ตั้งโหมดสำหรับถ่ายภาพพลุ หรือไม่ก็เลือกความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่กล้องทำได้ ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะอยู่ที่ 15 วืนาที)

ทั้งนี้เมื่อกำหนดรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้แล้ว ก็หาทำเลเหมาะ ๆ (ฉากหลังควรจะมืดสนิท ไม่มีหลอดไฟหรือสปอตไลท์ส่องมายังกล้อง เพราะจะทำให้บริเวณดังกล่าวขาวเวอร์เกินไป) วางกล้องพร้อมขาตั้งกล้อง (ต้องใช้ขาตั้งกล้องเสมอนะครับ เพื่อป้องกันการสั่นไหวขณะถ่ายภาพ) แล้วปรับระบบโฟกัสให้เป็น manual และกำหนดระยะชัดให้เป็น infinity (เพื่อไม่ให้กล้องพยายามหาโฟกัสในขณะที่เรากำลังถ่าย ซึ่งอาจจะทำให้เสียโอกาสดี ๆ หรือกล้องอาจหาโฟกัสไม่เจอเพราะบรรยากาศมันมืดมากนั่นเอง) ที่สำคัญไม่ต้องเปิดแฟลชนะครับ

เมื่อเตรียมตัวพร้อมแล้วก็รอโอกาสให้พลุลูกแรกถูกจุดขึ้นมาเพื่อให้เราหาช่วงซูมที่พอเหมาะพอดี ถ้าเป็นไปได้ต้องเผื่อขอบไว้พอสมควรอย่าให้พลุล้นออกนอกเฟรม วิธีการก็เพียงกดชัตเตอร์ค้างไว้ตั้งแต่พลุเริ่มจุดจนกระทั่งระเบิดกระจายแล้วจึงปล่อยชัตเตอร์ ทั้งนี้เราอาจรอเก็บภาพพลุ 3-4 ลูกก่อนปล่อยชัตเตอร์ก็ได้ แต่จำไว้เสมอว่าหากพลุที่ถูกจุดอยู่ในตำแหน่งเดียวกันภาพจะถูกบันทึกซ้อนกันทำให้ดูแล้วไม่สวยงาม ดังนั้นไม่ควรเปิดรับแสงนานเกินไป นอกจากนี้การเปิดรับแสงนานเกินไปอาจมีแสงจากส่วนอื่น ๆเข้ามารบกวนทำให้ภาพไม่สวย เช่น แสงสปอตไลท์จากอาคารต่าง ๆ, ควันของพลุ เป็นต้น ทั้งนี้หากเราอยากรอเก็บภาพพลุลูกต่อไปแต่ยังไม่ถูกปล่อยขึ้นมา อาจใช้กระดาษดำบังหน้าเลนส์ไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อไม่ให้กล้องบันทึกแสงในช่วงเวลาที่รอก็ได้เช่นกัน หากบางงานจุดพลุตรงจุดเดียวซ้ำกันตลอด (ซึ่งถ่ายภาพออกมาแล้วพลุจะซ้อนกันไม่สวยงาม) เราอาจเล็งกล้องให้พลุอยู่ที่มุมด้านซ้ายก่อน เมื่อเก็บภาพพลุได้ 2-3 ลูกแล้วก็ใช้กระดาษดำปิดหน้ากล้องไว้ (ชัตเตอร์ยังกดค้างอยู่) หลังจากนั้นก็แพนกล้องมาทางซ้ายเล็กน้อยเพื่อให้ตำแหน่งพลุมาอยู่ทางด้านขวามือของภาพแล้วจึงเปิดกระดาษดำออก (ต้องกะเอานะครับเพราะเราจะไม่สามารถมองเห็นภาพได้จากช่องมองภาพ) เท่านี้เราก็จะได้ภาพพลุที่สวยงามแล้วล่ะครับ สำหรับภาพตัวอย่างเป็นภาพที่ไม่ดีนักนะครับ เพราะได้ถ่ายเพียงสองสามภาพตอนจัดงานลอยกระทงที่สปาซึ่งผมทำงานอยู่ (แบบว่างบน้อย อิอิ)

แถมให้นิดนึงครับ เป็นเทคนิคการถ่ายภาพมนุษย์ไฟฟ้า (ภาพคนที่มีแสงรอบตัว) วิธีการก็คล้ายกับถ่ายภาพพลุคือใช้ชัตเตอร์ B แต่ต่างกันตรงที่ให้เปิดแฟลชด้วย โดยมีนายแบบ 1 คนและผู้ช่วย 1 คน โดยให้นายแบบยืนในที่มืดสนิท (ตัวอย่างที่ผมถ่ายภาพมีแสงภายนอกเข้ามาด้วยทำให้ภาพไม่สวยเท่าที่ควรเพราะดูแล้วสั่นไหว) เมื่อเริ่มกดชัตเตอร์แฟลชจะทำงานและบันทึกภาพนายแบบ (ช่วงนี้ให้ผู้ช่วยอยู่นอกเฟรม) หลังจากแฟลชทำงานแล้วให้ผู้ช่วยถือไฟเย็น (หรือใช้ไฟฉายขนาดเล็กหันแสงมาทางกล้องก็ได้) วนรอบตัวนายแบบอย่างรวดเร็ว ซึ่งกล้องจะบันทึกภาพแสงที่วนรอบตัวนายแบบ เมื่อวนจนครบรอบแล้วก็ปล่อยชัตเตอร์ได้เลย ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพนายแบบที่มีพลังแสงรอบตัว เอาไว้อวดมือใหม่ที่ยังไม่เคยทราบเทคนิคนี้ได้ครับ … เทคนิคดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้มากมายแล้วแต่ความคิดสร้างสรรรค์ ขอเพียงอย่าเอาไปหลอกชาวบ้านให้เชื่องมงามเป็นใช้ได้ครับ
-----
chai C24th December 2003, 22:50
สงสัยเรื่องการวัดแสงครับถ้ามีผู้รู้ช่วยอธิบายหน่อย

1 ผมอยากรู้มากครับว่าในกรณีที่เราใช้ชัตเตอร์ B ถ่ายภาพในลักษณะแสง
ต่างๆ กันเช่นถ่ายภาพใต้แสงจันทร์ ถ่ายภาพพลุ เราใช้อะไรมาเป็นตัว
บอกว่าเราจะต้องเปดชัตเตอร์นานเท่าใด หรือว่าใครมีหนังสือดีๆ ช่วย
แนะนำกันหน่อยะครับ

2 อีกเรื่องนึงครับ ในกรณีที่เราต้องการถ่ายภาพพลุ หากเราใช้ชัตเตอร์ B
ในการรอจุดพลุแล้วเก็บภาพเราต้องใช้ผ้าสีดำปิดหน้ากล้องเพื่อไม่ให้แสง
อื่นๆ เข้ามาในกล้องเรา จะต้องรอพลุที่ต้องการถ่ายจึงเปิดผ้าแล้วกด
ชัตเตอร์ อันนี้ผมเข้าใจว่าเพื่อไม่ให้ภาพ OVER จากแสงอื่น หรือแสง
จากพลุที่เราไม่ต้องการเก็บภาพ ก่อนการปิดชัตเตอร์ ผมเข้าใจถูกต้อง
หรือเปล่าตอบหน่อยนะครับ

ขอแถมครับ อยากถ่านรูปคน แล้วมีประกายตาด้วยทำไงครับ

--------------------------------------------------------------------------------

D125th December 2003, 03:51
1 ผมอยากรู้มากครับว่าในกรณีที่เราใช้ชัตเตอร์ B ถ่ายภาพในลักษณะแสง ต่างๆ กันเช่นถ่ายภาพใต้แสงจันทร์ ถ่ายภาพพลุ เราใช้อะไรมาเป็นตัว บอกว่าเราจะต้องเปดชัตเตอร์นานเท่าใด หรือว่าใครมีหนังสือดีๆ ช่วย แนะนำกันหน่อยะครับ
ในหนังสือ 108 เทคนิคสร้างสรรค์ภาพ มีเรื่องราวเกี่ยวกับการถ่ายพลุ และเทคนิคการถ่ายภาพอื่นๆ อยู่อีกหลายอย่างครับ จากในหนังสืออ่านแล้วสรุปโดยย่อได้ว่า ถ้าใช้ ISO 100 การถ่ายพลุก็จะใช้ F ประมาณ 8 ถึง 11 แล้วแต่ว่าพลุจะสว่างแค่ไหน ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้ๆ กับที่ผมใช้อยู่พอดี คือ F11 - 14 ที่ ISO 200 (กล้องของผม ISO ต่ำสุดคือ 200)

การใช้กล้องดิจิตอลถ่ายพลุเป็นเรื่องไม่ยากอยู่แล้วครับ เพราะเราสามารถเห็นผลลัพธ์และปรับเปลี่ยนค่าได้ในทันที ในตอนแรกๆ ของการหัดถ่ายพลุอาจจะเป็นการถ่ายที่ตัวพลุอย่างเดียว ก็จะไม่ยากเท่าไหร่ ขอให้เปิดหน้ากล้องให้ได้ขนาดที่พอเหมาะ แล้วกด shutter B ไว้ตั้งแต่พลุถูกยิงขึ้น จนกระจายเป็นอันเสร็จ แต่หลังจากนั้นพอเขยิบขึ้นมาถ่ายเอาบรรยากาศรอบข้างด้วย เช่นการถ่ายพลุทการถ่ายที่ยากกว่าสำหรับรู้สึกจะเป็นการถ่ายภาพพลุพร้อมสถาปัตยกรรมอื่นๆ (ลองดูตัวอย่างภาพได้ใน กระทู้นี้ (//www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?s=&threadid=4962)) แล้วต้องการเก็บแสงในส่วนของสถาปัตยกรรมให้ได้พอดี ไม่สว่าง ไม่มืดเกินไป พร้อมกับแสงของตัวพลุเอง ให้พอดีเช่นกันดูจะยากกว่า

สำหรับการถ่ายภาพแสงจันทร์ ผมก็จะใช้การวัดแสงเป็นแบบ Center weight วัดไปที่ดวงจันทร์ พร้อมชดเชยแสง +1 stop
2 อีกเรื่องนึงครับ ในกรณีที่เราต้องการถ่ายภาพพลุ หากเราใช้ชัตเตอร์ B ในการรอจุดพลุแล้วเก็บภาพเราต้องใช้ผ้าสีดำปิดหน้ากล้องเพื่อไม่ให้แสงอื่นๆ เข้ามาในกล้องเรา จะต้องรอพลุที่ต้องการถ่ายจึงเปิดผ้าแล้วกดชัตเตอร์ อันนี้ผมเข้าใจว่าเพื่อไม่ให้ภาพ OVER จากแสงอื่น หรือแสง
จากพลุที่เราไม่ต้องการเก็บภาพ ก่อนการปิดชัตเตอร์ ผมเข้าใจถูกต้อง
หรือเปล่าตอบหน่อยนะครับ กล้องดิจิตอลคงไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ หรือถ้าจะใช้ก็ได้ผลลัพธ์ไม่ค่อยดีครับ แต่อย่างแรก มาเข้าใจเรื่อง Shutter B กันก่อนครับ - ทันทีที่เรากด Shutter B กล้องก็จะกระดกกระจกสะท้อนแสงขึ้น พร้อมเปิดม่านชัตเตอร์เพื่อให้แสงตกกระทบไปที่ฟิลม์ หรือ Sensor โดยม่านชัตเตอร์จะถูกเปิดค้างเอาไว้ตลอดที่ยังมีการกดปุ่ม Shutter อยู่จนกระทั่งเราปล่อยมือจากปุ่มชัตเตอร์ (ลองนึกถึงการบีบแตรรถยนต์ครับ เมื่อเรากดแตรเสียงก็จะดังจนกว่าเราจะปล่อย เช่นเดียวกับการทำงานของชัตเตอร์ B ที่จะเปิดชัตเตอร์ไว้ตลอดในขณะที่เรากด และจะปิดลงเมื่อเราปล่อย) ดังนั้นเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ B ค้างเอาไว้แล้ว จึงไม่มีการกดชัตเตอร์ใดๆ อีกในระหว่างนั้น ตามที่เขียนมาในคำถาม

ส่วนเรื่องการใช้ผ้าดำกับกล้องดิจิตอลนั้นไม่ควรทำ หรือถ้าจะทำก็จะไม่ได้ผลดีนัก สาเหตุเนื่องจากการถ่ายภาพด้วยฟิลม์ เมื่อไม่มีแสง ถึงจะเปิดชัตเตอร์ทิ้งเอาไว้ ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น ช่างถ่ายภาพบางท่านที่ต้องการถ่ายภาพพลุซ้อนกันหลายๆ ดอกในฟิลม์แผ่นเดียวกัน จึงใช้วิธีกดชัตเตอร์ B ค้างเอาไว้ แล้วใช้ผ้าดำ ปิด-เปิด แทนม่านชัตเตอร์

แต่สำหรับกล้องดิจิตอลแล้ว ทันทีที่เรากดชัตเตอร์ B ตัว Sensor ของกล้องก็จะเริ่มทำงาน และจะทำงานตลอดระยะเวลาที่ปุ่มชัตเตอร์ถูกกดอยู่ ยิ่งทำงานไปความร้อนก็จะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ Noise และ Hot Pixel ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะมีแสงตกกระทบหรือไม่ ดังนั้นการถ่ายภาพโดยเปิดชัตเตอร์ B ค้างเอาไว้แล้วใช้ผ้าดำแทนม่านชัตเตอร์เหมือนในกล้องฟิลม์ จึงไม่เหมาะกับกล้องดิจิตอลด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ทั้งยังจะทำให้ Sensor ต้องทำงานหนักและเสื่อมสภาพเร็วขึ้นด้วยครับ
ขอแถมครับ อยากถ่ายรูปคน แล้วมีประกายตาด้วยทำไงครับ ให้ยิงแฟลชในขณะถ่ายภาพครับ แฟลชจะช่วยเพิ่มประกายตา โดยทั่วไปเราจะนิยมยิงแฟลชอ่อนๆ ออกไป เรียกว่า fill flash การ fill flash เป็นการเพิ่มแสงเข้าไปเบาๆ (ถ้ายิงแรงเกินไปอาจจะทำให้ภาพดูแข็งๆ) โดยการชดเชยแสงแฟลชให้มีค่าติดลบ ถ้าใช้แฟลชภายนอกอย่าง 550EX ก็จะทำได้ง่ายๆ โดยการตั้งค่าที่ตัวแฟลช แต่ถ้าใช้แฟลชในกล้อง กรณีของ 300D อาจจะทำได้ลำบากหน่อย เพราะ 300D ไม่สามารถชดเชยแสงแฟลชได้โดยตรง (ต้องอาศัยเทคนิค ซึ่งคุณ NaimNatNod เขียนเอาไว้ที่ กระทู้นี้ (//www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?s=&threadid=4270) แล้วครับ)

แถมเช่นกัน แนะนำให้ลองอ่าน กระทู้นี้ (//www.thaidphoto.com/forums/showthread.php?s=&threadid=4724) เพิ่มเติมครับ น่าจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มขึ้น


Create Date : 18 สิงหาคม 2553
Last Update : 18 สิงหาคม 2553 13:59:25 น. 7 comments
Counter : 3635 Pageviews.

 
สวัสดีครับ
งานนี้ไม่ได้ไปเที่ยว แวะมาดูของคุณดา สวยงามทุกชุดเลยครับ
นี่แค่ใช้เลนส์คิด ก็ยังถ่ายได้สวยงาม สีสดใส ได้ใจดีจัง
ผมไปถ่ายทีไร ได้มาไม่ค่อยชัดเลย
ได้เทคนิกต่างๆ ในการถ่ายพลุมากมายครับ


โดย: the mynas วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:15:49:10 น.  

 
สวยจังค่ะ

อยากไปดูพลุจริงๆ กับตา ดูผ่านทีวีก็สวยเหลือเกิน ไปเห็นจริงๆ คงยืนอ้าปากแหงนคอเลยมังคะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:18:32:46 น.  

 
พลุสวยจังเลย

คิดว่าตัวเองคงถ่ายรูปพลุไม่ได้ค่ะ
แค่แสงไฟกลางคืนยังถ่ายมาไม่ชัดเลย


โดย: me-o วันที่: 18 สิงหาคม 2553 เวลา:21:18:03 น.  

 
สวยมากๆเลยค่ะ ว้าว!!


โดย: คุณน้อง (Kittika_cawaii ) วันที่: 19 สิงหาคม 2553 เวลา:11:05:01 น.  

 
ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่ไปอวยพรวันเกิดให้ผมที่บล็อกเมื่อวันที่ 11 ที่ผ่านมา ขอให้ร่ำ ให้รวยมากๆ เช่นเดัียวกันนะครับ

และที่สำคัญ ผมเองไม่ได้ไปเลยครับ งานเฉลิมฉลองมหาราชินี แม้กระทั่งใกล้ๆ บ้าน เขาไปร้องเพลงถวายพระพรกัน ผมเองก็ไม่ได้ไปครับ เสียดาย แต่ก็ยังดีใจ ที่ได้เห็นพลุยิงมาจากที่ไกลๆ ได้อยู่


โดย: เข็มขัดสั้น วันที่: 19 สิงหาคม 2553 เวลา:20:15:35 น.  

 
อยากถ่ายรูปเก่งเหมือนคุณจัง


โดย: ยังไม่มีเพื่อนเลย (sunitjo ) วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:20:49:34 น.  

 
มาชมภาพพลุสวยๆ ด้วยคนครับ
ปลายปีช่วงวันพ่อ เล็งไปอยู่กทม.ไว้เหมือนกัน แต่ยังไม่ได้ข้อมูลอะไรออกมาตอนนี้ คงได้ไปถ่ายภาพพลุที่กทม. ครับ


โดย: ถปรร วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:12:19:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.