Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
เที่ยวชมโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย



เที่ยวชมโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย

เป็นโครงการอันเนื่องมาจากราชดำหริ

อยู่ตำบลแหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี





เป็นทริปเดียวกับทริปปลูกป่าชายเลนนั่นแหละค่ะ

หยิบภาพมาเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นเลยแล้วกันนะคะ

ย่าไปถึงจุดนัดพบตามเวลานัด คือ 6.30 วันที่ 26 .7.51

ขึ้นรถพบคุณสุภาวัลย์เป็นคนแรกเลย ทักทายโดยการยิง

ซะหนึ่งดอก





ถัดจากหลัง BG สุภาวัลย์ ก็เป็น BG ตะวันที่ปลายฟ้า และ BG ไผ่หวาน





แกนนำสนทนากันระหว่างรอรับอาหารเช้าที่ปั้มน้ำมัน





ครูแดงหนึ่งใน BG จากชลบุรี ออกมาแนะนำตัว





น้องยุ้ยฝ่ายการตลาดของโอ.เคเนชั่น ทั้งสวยทั้งเก่ง

งานนี้เธอติดต่อประสานงานกับทุกฝ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ





ถึงแล้วโครงการแหลมผักเบี้ย อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองเพชรบุรีประมาณ 22 กิโลเมตร




ระหว่างทางจะพบนาเกลือสองข้างทาง

นาเกลือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ย่าอยากถ่ายมาก

ไม่ได้ลงไปถ่ายก็ขอเก็บภาพบนรถไปก่อนแล้วกัน





ต้นชะครามที่รอบๆบ่อ

สีสวยมาก มีทั้งสีเขียว,แดง และอมม่วง

เป็นพืชสวนครัว ที่คนพื้นที่นำมาเป็นอาหารหลายอย่าง

รสชาดอมเปรี้ยวอร่อยดี





พวกเราได้รับการบอกกล่าวกันว่า น้ำเกลือในนาเกลือ

หากเปลี่ยนเป็นสีแดงแสดงว่าเกลือกำลังสุกได้ที่แล้ว

ใกล้ได้เวลาเก็บเกี่ยว





โรงเก็บเกลือกับท้องฟ้า ชอบจัง





ถึงที่หมายแล้วน้องยุ้ยคนเก่งของเราโดดลงจากรถ รีบประสานงานทันที





เราลงจากรถกัน อีกด้านหนึ่งติดกับหน้าเกลือ เก็บรูปต่อ อิอิ





ถึงโครงการแล้วค่ะ รถที่นำพวกเราไปเที่ยวทริปนี้





แม่ลูกผูกพัน คุณแม่ไปไหนหนูไปด้วย นัวเนียกันน่ารักเชียวค่ะ

เห็นแล้วอดเก็บภาพมาฝากท่านผู้ชมไม่ได้เลย





โรงเก็บเกลือ





ความเป็นมา

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำหริ

ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี เกิดขึ้นสืบ

เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ที่ทรงมีวัตถุประสงค์หลัก คือการศึกษาวิจัยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการแก้ไขปัญหา

น้ำเสีย และขยะชุมชนที่ประหยัดสะดวก ทำได้ง่ายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ

พื้นที่อื่นๆ ในประเทศได้อย่างกว้างขวาง


----------------


วิวงามๆของแหลมผักเบี้ย





ระยะเวลาการดำเนินการ

ระยะที่หนึ่ง : การทดลอง ศึกษา ความเป็นไปได้ (พ.ศ. 2535-2536)

ระยะที่สอง : การหารูปแบบ การทดลอง ภาคปฏิบัติ (พ.ศ.2537-2539)

ระยะที่สาม : การทดลอง ประสิทธิภาพ และ สร้างแบบจำลอง ระบบ บำบัดน้ำเสีย

และการกำจัดขยะ (พ.ศ.2540-2542)

ระยะที่สี่ : การสร้าง คู่มือ สำหรับ การประยุกต์ใช้ (พ.ศ.2543-2544)




เก็บวิวงามๆมาฝาก

ยอดอ่อนสีแดงของต้นไม้ สวยทีเดียว





เขียวและแดง คุณอะหนึ่งขอให้ย่าถ่าย

ถ่ายให้แล้วนะจ๊ะ





บัวสีชมพู ดอกงาม ใบงาม จากrequest ของคุณปิรันญ่าจ๊ะ





พุทธรักษา ดอกไม้ประดับอยู่แถวหน้าโครงการ





บัวหลวงและต้นกก





ดอกพุทธรักษาสีจัดจ้าภายในร่มเงาไม้ใหญ่





อิอิ มีกล้องกันทุกคนเลยเชียวจ้า





บัวริมบึง เห็นดอกไม้ที่ไหนๆก็อดเก็บภาพไม่ได้สักที





เดินไปถ่ายไป





แล้วเราก็เดินมาถึงซุ้มตรงจุดสตาร์ท





เข้าไปฟังบรรยายก่อน ผู้บรรยาย





ผู้ฟัง





คุณลูกเสือหมายเลข 9





สิงห์มือซ้าย





คุณชาลี Blue Hill บันทึกภาพ





วิดิทัศน์กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการนี้






เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทฤษฎีการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

นั้น เน้นความเรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย และใช้ธรรมชาติบำบัด

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระ

ราชดำริ ในจังหวัดเพชรบุรี เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่าย

และการใช้ธรรมชาติบำบัดอย่างเห็นได้ชัด โครงการนี้เรียกสั้นๆ ว่าโครงการ

แหลมผักเบี้ย ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า

The Laem Phak Bia Environmental Study and Development Project

ดูแลในเรื่องของการบำบัดน้ำเสีย และกำจัดขยะ โดยยึดตามพระราชกระแสของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “...ให้ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ เป็นเทค

โนโลยีอย่างง่าย ใครๆ ก็สามารถทำได้ และมีวัสดุหาได้ในท้องที่...


เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่เรียบง่ายและใช้ธรรมชาตินี้ แบ่งออกเป็น 4

ระบบ ระบบแรกคือ ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Lagoon

Treatment คำว่า Lagoon แปลตรงตัวจะหมายความว่าทะเลสาบ หรือจะหมาย

ความว่า ทะเลสาบเล็กๆ บึง บ่อน้ำ ซึ่งคำว่า lagoon ก็แปลว่าทะเสสาบขนาดเล็ก

หรือบ่อน้ำได้ด้วยนั่นเอง ส่วนคำว่าบำบัดภาษาอังกฤษใช้คำว่า treatment ซึ่งคำว่า

treat แปลได้หลายความหมายแต่อีกความหมายหนึ่งก็คือ รักษา หรือบำบัดก็ได้

ระบบนี้ใช้วิธีการพึ่งพาธรรมชาติ ให้สาหร่ายสังเคราะห์แสงเพื่อเติมออกซิเจนให้

จุลินทรีย์หายใจและย่อยสลายสารอินทรีย์ (organic matter) ในน้ำเสีย ซึ่งบ่อบำบัด

มีทั้งหมด 5 บ่อ ประกอบไปด้วย บ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพ 1 บ่อ


ระบบที่สองคือ ระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย หรือ Plant and Grass Filtration ซึ่งคำว่า

plant และ grass แปลว่าพืชและหญ้า การบัดบัดน้ำเสียแบบนี้ใช้พืชและหญ้าเป็นตัวกรอง

น้ำเสีย คำว่า filtrate แปลว่ากรอง ดังนั้น คำว่า filtration จึงแปลว่าการกรอง ซึ่งแปลงหรือ

บ่อจะเก็บกักน้ำเสีย และปลูกธูปฤาษี กกกลม และหญ้าแฝกอินโดนีเซีย หรือปลูกหญ้า

อาหารสัตว์ พืชเหล่านี้มีคุณสมบัติกรองและดูดซับของเสียที่อยู่ในน้ำ


สองระบบสุดท้าย เป็นระบบที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัด หรือใช้พืชในการบำบัด

ทั้งสิ้น ระบบที่สามมีชื่อว่า ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม หรือ Constructed Wetland ระบบบำบัด

แบบนี้เป็นการจำลองพื้นที่ทางธรรมชาติ จึงใช้คำว่าเทียม ซึ่งสามารถแปลได้แบบไม่ตรง

ความหมายนักว่า สร้างขึ้นมา คำว่า construct แปลว่าสร้าง ดังนั้นสิ่งที่สร้างขึ้นมาจึงเป็น

สิ่งที่ทำจำลองขึ้น ไม่ใช่ของจริง หรือเป็นของเทียมนั่นเอง ส่วนคำว่า พื้นที่ชุ่มน้ำ นั้น ใช้คำว่า

wetland คำว่า wet แปลว่าเปียก หรือชุ่ม ส่วนคำว่า land นั้นแปลได้หลายความหมาย ไม่ว่า

จะเป็น อสังหาริมทรัพย์ อาณาจักร หรือพื้นดิน แต่ในที่นี้แปลว่าพื้นที่ ดังนั้น คำว่า wetland

จึงเป็นว่าพื้นที่ที่เปียกชุ่ม หรือพื้นที่ที่มีน้ำขัง การบำบัดน้ำเสียแบบนี้ใช้วิธีการปล่อยน้ำเสีย

ผ่านบ่อดินตื้นๆ ที่ภายในปลูกพืชประเภทกก รากของพืชเหล่านี้จะช่วยดูดซับสารพิษ (toxin)

และอินทรีย์สารให้ลดน้อยลง และย่อยสลายให้หมดไปในที่สุด


ระบบสุดท้ายคือ ระบบแปลงพืชป่าชายเลน หรือ Mangrove Forest Filtration คำว่า

mangrove แปลว่า ต้นไม้จำพวกโกงกาง แต่เมื่อเติมคำว่า forest แปลว่าป่าชายเลน แต่หลาย

คนเรียกป่าชายเลนว่าป่าโกงกางด้วยเช่นกัน ระบบนี้ใช้หลักการบำบัดจากการเจือจางระหว่าง

น้ำทะเลกับน้ำเสีย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชุมชนหรือกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ติดกับ

ป่าชายเลนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสร้างแปลงพืชป่าชายเลน


โครงการแหลมผักเบี้ยนี้นับว่าเป็นแบบอย่างแก่ชุมชนทั่วประเทศในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย

ได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะเป็นแบบที่เรียบง่าย แล้วยังเข้าใจง่าย จึงสามารถนำไปใช้ปฏิบัติ

ตามได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง และใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก ซึ่งความเรียบง่ายนี้เองที่จะนำชุมชน

ไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด


//www.chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=71





ปัจจุบัน การดำเนินงาน ศึกษาวิจัย ตามแผน ที่กำหนดไว้ ได้ดำเนินการ เรียบร้อยแล้ว

และ สามารถ สร้างคู่มือ สำหรับ ประยุกต์ใช้ เพื่อเผยแพร่ การศึกษา วิจัยคือ


1. การบำบัดน้ำเสีย ด้วย ระบบ พื้นที่ชุ่มน้ำเทียม เป็น การบำบัดน้ำเสีย โดยการทำแปลง

หรือ ทำบ่อ เพื่อกักเก็บน้ำเสีย ที่รวบรวมได้ จากชุมชน และ ปลูกพืชน้ำ ที่ผ่าน การคัดเลือก

แล้ว ว่าเหมาะสมที่สุด 2 ชนิด


คือ กกกลม (กกจันทบูรณ์) (Cyperus Corymbosus Rottb.) และ ธูปฤาษี (Typha angustifolia Linn.)

ช่วยใน การบำบัด น้ำเสีย โดยมีลักษณะ การให้น้ำเสีย 2 ระบบ คือ ระบบปิด เป็นระบบ ที่ให้น้ำเสีย

ขังได้ ในระดับหนึ่ง และ มีการระบาย น้ำเสีย เติมลง ในระบบ ทุกวัน และ ระบบเปิด เป็นระบบ

ที่ให้น้ำเสีย ลงสู่ ระบบบำบัด อย่างต่อเนื่อง น้ำเสียใหม่ เข้าไปดัน น้ำเสีย ที่ผ่าน การบำบัด ออกจาก

ระบบ ให้ไหลล้น ทางระบายน้ำ หรือ ทางระบบท่อ ใต้ดิน สู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติ ซึ่งมีระยะ เวลา ในการ

พักน้ำเสีย 1 วัน และ พืชที่ปลูก สามารถ ตัดออก เพื่อ นำไป ใช้ประโยชน์ได้


2. การบำบัด น้ำเสีย ด้วยระบบ พืชกรองน้ำเสีย เป็นการ บำบัดน้ำเสีย โดยการทำแปลง หรือ ทำบ่อ เพื่อ

กักเก็บ น้ำเสียที่รวบรวม ได้จากชุมชน และ ปลูกพืช ที่ผ่าน การคัดเลือกว่า เหมาะสม 3 ชนิด คือ ธูปฤาษี

กกกลม (กกจันทบูรณ์) และ หญ้าแฝก อินโดนีเซีย ช่วยในการ บำบัดน้ำเสีย โดยมีลักษณะ การให้น้ำเสีย

คือ ระบบ ที่ให้น้ำเสีย ขังไว้ 5 วัน และปล่อยทิ้งไว้ ให้แห้ง 2 วัน และ ระบายน้ำ ที่ผ่านการบำบัด ออกจาก

ระบบ โดยปล่อย ระบายน้ำ สู่ แหล่งน้ำ ธรรมชาติ และ พืชที่ปลูก สามารถ ตัดออก เพื่อนำไป ใช้ประโยชน์ได้


3. การบำบัด น้ำเสีย ด้วยระบบ บำบัดน้ำเสีย เป็นระบบ บำบัด แบบพึ่งพา ธรรมชาติ โดยอาศัย จุลินทรีย์

ย่อยสลาย สารอินทรีย์ ในน้ำเสีย และ การเติม ออกซิเจน จากการ สังเคราะห์แสง ของแพลงตอน ในน้ำเสีย

ซึ่ง ในการออกแบบ สามารถ รองรับ น้ำเสียได้ 4,500-10,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน โดยมี บ่อบำบัด น้ำเสีย

จำนวน 5 บ่อ ประกอบด้วย บ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพ จำนวน 1 บ่อ ซึ่งคุณภาพน้ำ

ที่ผ่านการบำบัด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำทิ้งชุมชน


4. การบำบัดน้ำเสีย ด้วยระบบ หญ้ากรองน้ำเสีย เป็นการบำบัด โดยการทำแปลง หรือทำบ่อ เพื่อกักเก็บน้ำเสีย

ที่รวบรวม ได้จากชุมชน และปลูกหญ้า อาหารสัตว์ ที่ผ่านการคัดเลือก ว่าเหมาะสม 3 ชนิด ช่วยในการบำบัด


คือ หญ้าสตาร์ (Cynodon plectostachyus) หญ้าคาลลา (Letpochloa fusca) และหญ้า โคสครอส

(Sporobolus virginicus) มีลักษณะ การให้น้ำเสีย คือ ระบบที่ให้น้ำเสีย ขังไว้ 5 วัน และ ปล่อยทิ้ง ไว้ให้

แห้ง 2 วัน และระบายน้ำ ที่ผ่านการบำบัด ออกจากระบบ โดยปล่อยระบายน้ำ สู่ แหล่งน้ำธรรมชาติ และ

หญ้าเหล่านี้ สามารถตัดออก นำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้


5. การบำบัดน้ำเสีย ด้วยระบบ แปลงพืชป่าชายเลน เป็นการบำบัด โดยการทำแปลง เพื่อกักเก็บน้ำทะเล

และ น้ำเสีย ที่รวบรวม ได้จากชุมชน และ ปลูกป่าชายเลน ด้วยพันธุ์ไม้ 2 ชนิด คือ ต้นโกงกาง และ ต้นแสม

เพื่อช่วย ในการบำบัด อาศัยการเจือจาง ระหว่างน้ำทะเล กับ น้ำเสีย สามารถ นำไปประยุกต์ ใช้กับชุมชน

หรือ กิจการเพาะเลี้ยงกุ้ง ที่มีพื้นที่ ติดอยู่กับ ป่าชายเลน ได้โดยไม่จำเป็น ต้องมีการก่อสร้าง แปลงพืชป่า

ชายเลน แต่จะต้องมี บ่อพักน้ำเสีย ไว้ระยะหนึ่ง และ ทำการ ระบายน้ำเสีย เหล่านั้น สู่พื้นที่ป่าชายเลน

ที่มีอยู่ ในขณะที่ น้ำทะเล ขึ้นสูงสุด ซึ่งจะเป็นการ บำบัดน้ำเสีย ได้ในระดับหนึ่ง


6. การทำปุ๋ยหมัก จากขยะ โดยการฝังกลบ ในกล่องคอนกรีต จากการศึกษาวิจัย และ พัฒนา ในพื้นที่โครง

การ ได้เทคโนโลยี การจัดการ ขยะมูลฝอยชุมชน โดยวิธีการ ทำปุ๋ยหมัก จากขยะ ด้วยการ ใช้กล่อง และ

บ่อคอนกรีต โดยอาศัย หลักการ ธรรมชาติ ช่วยธรรมชาติ และ เหมาะสม กับการนำไปประยุกต์ใช้ ได้กับ

ชุมชน และ ตามครัวเรือน กล่อง หรือ บ่อคอนกรีต ที่ใช้ ในการหมักขยะ สามารถ รองรับขยะได้ ดังนี้ คือ


1) กล่องคอนกรีต ขนาดกว้าง 2.00 เมตร ยาว 3.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถหมักปุ๋ย จากขยะได้สูงสุด

เท่ากับ 6 ลูกบาศก์เมตร หรือ 2,000 กิโลกรัม (2 ตัน)


2) บ่อคอนกรีต ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 เมตร สูง 1.50 เมตร สามารถ หมักปุ๋ยจากขยะ ได้สูงสุด 1

ลูกบาศเมตร หรือ 330 กิโลกรัม


7. แนวทาง การจำแนกรูปแบบ ทางสังคม การประชาสัมพันธ์ และ สิ่งแวดล้อม ศึกษาเทคโนโลยี ตามแนว

พระราชดำริ ซึ่ง จากการศึกษา วิจัย สามารถ แบ่งลักษณะ ของชุมชน เป็น 5 กลุ่ม คือชุมชนเกษตรกรรม

ชุมชน พานิชยกรรม ชุมชนอุตสาหกรรม ชุมชนท่องเที่ยว และ นันทนาการ และชุมชนผสม โดยจะทำให้

นักประชาสัมพันธ์ และนักสิ่งแวดล้อม ศึกษาสามารถ วางแผน ในการประชาสัมพันธ์ และการให้ความรู้

เทคโนโลยี การกำจัดขยะ และ บำบัดน้ำเสีย ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ


จากวันที่ มีพระราชดำริ ให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมกันดำเนินงาน จวบจนวันนี้ ความก้าวหน้า ของโครงการศึกษา

วิจัย และ พัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ยอัน เนื่องมาจาก พระราชดำริ ได้เป็นที่ประจักแจ้งว่า บัดนี้ สามารถ

บำบัดน้ำเสีย ในเขตเทศบาล เมืองเพชรบุรี ได้และ มีกระบวนการ สร้างองค์ความรู้ พัฒนารูปแบบ การกำจัด

น้ำเสีย และ ขยะ โดยวิธีธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพ และ เหมาะสม กับ สภาพแวดล้อม โดยโครงการ ได้เผย

แพร่ ผลการศึกษาวิจัย พร้อมคู่มือ สำหรับประยุกต์ใช้ และ แนวทางการปฏิบัติ ที่เหมาะสม ตามหลักวิชาการ

ในการจัดการ แก้ปัญหา สภาพแวดล้อม จากน้ำเสีย และ ขยะมูลฝอย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จ พระเทพ

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทาน ในวโรกาส เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเปิด การสัมมนาวิชาการ

ของโครงการ ศึกษาวิจัย และ พัฒนาสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจาก พระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2542 ความว่า

"เพื่อหา รูปแบบ เทคโนโลยี ที่เหมาะสม ประหยัด ไม่สลับ ซับซ้อน และ สามารถ นำไป ประยุกต์ใช้ ในชุมชนต่างๆ

ได้ ผลการ ดำเนินงาน วิจัย ของโครงการ ศึกษาวิจัย และ พัฒนา สิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจาก

พระราชดำริ สมควร จะนำไปเผยแพร่ ให้แก่ ประชาชน อันจะเป็น ประโยชน์ ต่อชุมชน และ ประเทศชาติ ต่อไป""

//www.chaipat.or.th/chaipat/journal/aug01/t5.html





ขุนรินบล๊อกเกอร์ฝ่ายเจ้าภาพ คุณมะอึก และบุปผา ผู้มาเยี่ยมชมโครงการ





รูปวาดระบบรากและอ๊อกซิเจนบริเวณดิน





หลังจากฟังบรรยายเสร็จแล้ว เราก็ไปขึ้นรถ เพื่อชมโครงการ


ต่อบล๊อกสองนะคะ ภาพเยอะไปหน่อยขออภัยที่ต้องโหลดนาน






สั่งซื้อสมุดมด

สั่งซื้อสมุดสร้างสุข


Create Date : 01 สิงหาคม 2551
Last Update : 14 พฤษภาคม 2559 20:43:07 น. 11 comments
Counter : 3914 Pageviews.

 


ดี.ตามมาชมกิจกรรมดีดีต่อค่ะ
ชอบมากๆกิจกรรมแบบนี้

ย่าดาบ่นเรื่อง "นาเกลือ"

ดี.ก็อยากถ่ายค่ะ
ที่ผ่านมา
ทะเลาะกับพี่ทุกรอบเลย
ถ้าผ่านนาเกลือ

ดี.อยากไปถ่ายเก็บไว้มากๆ
พี่สาวดี.ก็จะบอก
ไว้คราวหน้า
ตอนนี้แดดเปรี้ยง จะรีบถ่ายทำไม
นาเกลือไม่หนีไปไหนหรอก


จนทุกวันนี้ยังไม่เคยได้ถ่ายเลย

ไว้ดี.รอชมจากย่าดาทริปหน้านะคะ







โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:14:32:36 น.  

 
ขอเจิมเป็นแรกแล้วกันค่ะ ตามมาด้วยคนค่ะ ภาพสวย ๆ ทั้งนั้นเลย ดูไปดูมาทุกคนมีอาวุธ(กล้อง)คู่กายกันทั้งนั้นเลยนะค่ะ


โดย: paerid วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:14:37:35 น.  

 
เอ้าไม่ทันคุณ ดี ดี ซะงั้น ฮะๆๆ


โดย: paerid วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:14:38:50 น.  

 
ไว้ว่างๆคงต้องเกาะย่าดาไปเที่ยวบ้างแล้วเนี่ย อิอิ แต่ปลายเดือนนี้เรามีนัดกันนะคะ อิอิ


โดย: eeh (คิตตี้น้อยสีชมพู ) วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:18:36:53 น.  

 
สวัสดียามฝนตกค่ะ

เป็นโครงการที่ดีและน่าสนใจมากค่ะ บุคคลภายนอกสามารถเข้าไปชมได้หรือเปล่าคะ ไว้จะนำไปเล่าให้เพื่อนๆ ชาวชมรมไม้ค้ำฟังค่ะ

ชมรมไม้ค้ำก็สนใจเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมค่ะ ขอบคุณที่นำโครงการดีๆ มาฝากกันค่ะ


โดย: กิ่งลีลาวดี วันที่: 1 สิงหาคม 2551 เวลา:21:08:22 น.  

 
ตอบคุณกิ่งลีลาวดีค่ะ ติดต่อที่โครงการได้เลยค่ะ
ในนามชมรมแล้วทางโครงการจะประสานงานจัดเจ้าหน้าที่พาชมค่ะ เป็นโครงการที่มีประโยชน์มากจริงๆ อยากให้ไปชมกันเยอะๆค่ะ

จ้าหนูอี้ ใกล้ๆเตือนย่าอีกทีนะ คนแก่ขี้ลืม


หนูดี เรามานัดทริปไปถ่ายนาเกลือกันม๊ะ อิอิ

หนูpaerid สงสัยเขียนนานไปหน่อยโดนหนูดีแซงเลย อิอิ




โดย: ดา ดา วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:9:06:00 น.  

 

เข้ามาเกาะติดรถป้าดาไปเที่ยวด้วยคนนะคะ


Recados e Imagens - Engraçadas - Orkut

Recados, Gifs e Imagens no Glimboo.com




โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:9:55:14 น.  

 

ผมยังถ่ายไม่เป็นเลย ถ่ายนาเกลือ ต้องหาจุดเด่นอะไรดีล่ะ?

ย่าดา มีเพื่อนอยู่หลายกลุ่มนะครับ

กลุ่มธรรมะ กลุ่มบล๊อกแก๊งค์(คุณแคท) กลุ่มนิค และกลุ่มนี้

คงจะมีกลุ่มน้องอี๊ ด้วย

อ้อ แล้วมีกลุ่มในพันทิปด้วยมั๊ย?


ชีวิตของย่าดา การเจอพฤติกรรมแต่ละกลุ่ม แต่ละความชอบ น่าจะได้นำเสนอผ่านสื่อนะครับ รับรองน่าติดตามมาก



โดย: yyswim วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:10:41:38 น.  

 
คุณสิน นาเกลือความสวยของเขาก็คือสีฟ้าของท้องฟ้า
และท้องน้ำของนาเกลือ นอกจากนั้นหากได้ถ่ายตอนพระอาทิตย์ขึ้น หรือตก ช่วงที่มีผู้คนกำลังทำงานคราดเกลือ
หรือ การตากเกลือคราดเกลือให้เป็นกอง ล้วนแต่น่าสนใจทั้งนั้นค่ะ ย่าเคยดูรายการกบนอกกะลาเขาไปถ่ายทำที่นาเกลือ โอวสุดยอดมากได้ทั้งความรู้ และภาพกิจกรรมสวยๆเพียบเลย


โดย: ดา ดา วันที่: 2 สิงหาคม 2551 เวลา:11:12:33 น.  

 
หลานวาฬมาแว้ว

มาเกี่ยวสาระใส่ตัวค่ะ


โดย: วาฬอันดามัน วันที่: 4 สิงหาคม 2551 เวลา:2:41:33 น.  

 
ฝีมือดีครับขอบคุณมากสำหรับภาพถ่ายผมจะเขียนให้สุดฝีมือเลยทีเดียว


โดย: คุณป๋อง IP: 180.183.16.252 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:2:49:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.