พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
4 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 
โอเปร่า-คอนแชร์โตซิมโฟนี-บัลเลต์ (คอลัมน์ รู้ไปโม้ด น้าชาติ ประชาชื่น)

โอเปร่า-คอนแชร์โตซิมโฟนี-บัลเลต์

คอลัมน์ รู้ไปโม้ด
น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com



โอเปร่า คอนแชร์โต ซิมโฟ นี บัลเลต์ น้าชาติช่วยอธิบายอย่างง่ายๆ นะคะ

สาวน้อย

ตอบ สาวน้อย

มีคำอธิบายเข้าใจง่ายอยู่ในเอกสารการสอนหน่วยดนตรีตะวันตก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังนี้

โอเปร่า (Opera) คือละครที่มีเพลงและดนตรีเป็นหลักสำคัญในการดำเนินเรื่องราว ถือได้ว่าเป็นการรวมกันของศิลปะการละครและดนตรี ปกติการแสดงโอเปร่า ผู้แสดงจะเป็นนักร้องที่สามารถแสดงละครได้ เพราะในการดำเนินเรื่องใช้การร้องเป็นหลัก มีวงออร์เคสตร้าบรรเลงดนตรีประกอบ ทั้งนี้ ส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งของโอเปร่าคือฉากการเต้นรำในลักษณะต่างๆ ที่มักจะปรากฏอยู่ในโอเปร่าแทบทุกเรื่อง โอเปร่าจึงเป็นผลรวมของศิลปะหลายชนิดเข้าด้วยกัน



โอเปร่าถือกำเนิดขึ้นในทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 16 เป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าของกลุ่มผู้ประพันธ์เพลงและกวีที่อยู่ในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยพยายามที่จะรื้อฟื้นและสร้างสรรค์ศิลปะการละครแบบหนึ่งของกรีซที่สูญหายไป ซึ่งมีลักษณะเป็นละครเพลง รูปแบบของโอเปร่าได้พัฒนาอย่างมากต่อมาในเมืองเวนิซ ซึ่งเป็นแหล่งวัฒนธรรมทางดนตรีที่สำคัญในเวลานั้น มีการเปิดโรงละครโอเปร่าให้ประชาชนเข้าชมเป็นแห่งแรกราวปี ค.ศ.1630 โอเปร่าแบบอิตาเลียนเริ่มแพร่ขยายเข้าไปสู่ประเทศต่างๆ ในยุโรปตั้งแต่นั้นมา และในบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี ได้คิดหารูปแบบโอเปร่าของตนเองในเวลาต่อมา



คอนแชร์โต (Concerto) เป็นคำในภาษาฝรั่งเศสมีความหมายว่าการนำมารวมกัน ซึ่งหมายถึงการบรรเลงดนตรีร่วมกัน เช่น ผู้ขับร้องเดี่ยวร้องร่วมกับวงประสานเสียง ผู้บรรเลงเครื่องดนตรีเดี่ยวบรรเลงกับวงออร์เคสตร้า คอนแชร์โตมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1.คอนแชร์โต กรอสโซ (Concerto Grosso) เป็นลักษณะของคอนแชร์โตในยุคบาโร้ก บทเพลงมีจำนวนท่อนไม่แน่นอน ปกติมักจะมี 3-4 ท่อน เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรี 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งคือวงออร์เคสตร้า ซึ่งเป็น กลุ่มใหญ่ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มของเครื่องดนตรีที่บรรเลงเดี่ยว ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น ทั้งสองกลุ่มจะผลัดกันบรรเลง เน้นความแตกต่างของสีสันและความดัง-ค่อย บทบรรเลงของเครื่องดนตรีเดี่ยวเรียกว่า คอนแชร์ติโน (Concertino) ส่วนบทบรรเลงของวงออร์เคสตร้าเรียกว่าทูที (Tutti)



2.โซโลคอนแชร์โต (Solo Concerto) นิยมเรียกสั้นๆ ว่าคอนแชร์โต หมายถึงบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับการบรรเลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีหนึ่งชนิดกับวงออร์เคสตร้า เช่น เปียโนคอนแชร์โต ไวโอลินคอนแชร์โต เป็นลักษณะของคอนแชร์โตในยุคคลาสสิค ประกอบท่อนจำนวน 3 ท่อน คือ เร็ว-ช้า-เร็ว เช่นเดียวกับซิมโฟนีที่ตัดท่อนที่ 3 ออกไป



ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในการบรรเลงบทเพลงคอนแชร์โตประกอบไปด้วยส่วนที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีเดี่ยว และส่วนที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้าดังกล่าว ซึ่งย่อมทำให้บทเพลงแต่ละท่อนมีความยาวขึ้น หากมี 4 ท่อน คอนแชร์โตจะมีความยาวเกินไป



ซิมโฟนี (Symphony) เป็นภาษาเยอรมันหมายถึงเสียงที่รวมกัน เป็นบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นสำหรับบรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า ประกอบด้วยจำนวนท่อนซึ่งปกติจะมี 3-4 ท่อนคือ เร็ว-ช้า-เร็ว หรือเร็ว-ช้า-เร็วปานกลาง-เร็ว บทเพลงซิมโฟนีไม่มีการบรรเลงเดี่ยวของเครื่องดนตรีอย่างเด่นชัด แต่เป็นการบรรเลงของเครื่องดนตรีทั้งหมด



บัลเลต์ (Ballet) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ การเต้น และดนตรี บัลเลต์มีลักษณะคล้ายโอเปร่า เป็นการแสดงบนเวทีโดยมีตัวละครซึ่งใช้การเต้นเป็นหลัก ไม่มีบทเจรจา แต่มีการแบ่งเป็นองก์เป็นฉาก ใช้ดนตรีบรรเลงประกอบในลักษณะเช่นเดียวกัน ลักษณะของเพลงอาจเป็นการบรรยายเรื่องราวหรือการใช้ทำนองสั้นๆ เช่นเดียวกันกับโอเปร่า คือการใช้แนวทำนองแทนตัวละครหรือเหตุการณ์ต่างๆ และเพราะบัลเลต์ไม่มีการร้องหรือเจรจา ดนตรีจึงมีความสำคัญมากในการถ่ายทอดสื่อภาษาต่างๆ ร่วมกับการเคลื่อนไหวร่างกาย เปรียบเทียบได้กับบทละครของโอเปร่า ผู้คิดท่าเต้นจึงเป็นผู้หนึ่งที่มีความสำคัญมากเช่นกัน



Create Date : 04 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2556 11:06:09 น. 0 comments
Counter : 936 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.