พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 
22 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 
วัดคาทอลิกจันทบุรี (รู้ไปโม้ด)

วัดคาทอลิกจันทบุรี

รู้ไปโม้ด
nachart@yahoo.com



น้าชาติ เห็นผ่านตาจากข่าวน้ำท่วม ที่จันทบุรีมีโบสถ์คริสต์สวยงาม รบกวนน้าชาติหาข้อมูลประวัติให้หน่อย ขอบคุณค่ะ



เกี้ยว

ตอบ เกี้ยว




เข้าใจว่าหมายถึงวัดคาทอลิกจันทบุรี นาม "อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล? ที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ ถนนสันติสุข ตำบลจันทนิมิตร อำเภอเมือง ซึ่งเอกสารเผยแพร่ของวัดเล่าประวัติโดยย้อนไปถึงการตั้งชุมชนคาทอลิกจันทบุรี ว่า ชุมชนคาทอลิกจันทบุรีถือกำเนิดจากกลุ่มคาทอลิกชาวญวน 130 คน อพยพหนีภัยความขัดแย้งทางศาสนาในเวียดนามมาตั้งภูมิลำเนา ณ เมืองจันทบุรีของสยามก่อนปี พ.ศ.2254 ปลายรัชกาลพระเจ้าท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยพระสังฆราชบีออง เดอ ซีเซ ได้มอบหมายให้บาทหลวงเฮิ้ต โตแลนติโน เป็นผู้ดูแลกลุ่ม คริสตชนนี้



ปีรุ่งขึ้น บาดหลวงเฮิ้ตได้สร้างวัดหลังที่ 1 บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี บนเนินสูงริมฝั่งทางทิศใต้ของเจดีย์วัดจันท์ (วัดจันทนาราม) กระทั่งปี พ.ศ.2273 สมัยบาทหลวงกาเบรียลเป็นเจ้าอาวาส เกิดเหตุความไม่สงบในหมู่บ้านคาทอลิก เนื่องจากทางการไม่ไว้วางใจ ส่งผลให้คาทอลิกบางส่วนถูกส่งตัวไปกรุงศรีอยุธยา ขณะที่บางส่วนหลบหนีการจับกุมเข้าไปอยู่ในป่า ส่วนคุณพ่อ กาเบรียลตกลงใจไปดูแลคาทอลิกที่ถูกส่งไปกรุงศรีอยุธยา นับแต่นั้นวัดหลังที่ 1 ก็ถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลา 20 ปี (2275-2295) อย่างไรก็ตาม ปรากฏหลักฐานว่าบาทหลวงกาเบรียลได้เดินทางกลับมา ท่านมรณภาพและศพถูกฝังไว้ที่สุสานของวัดเมื่อปี 2285



พ.ศ.2295 บาดหลวงเดอ กัวนา เจ้าอาวาส รวบรวมคริสตชนที่กระจัดกระจายมาอยู่ที่เดิมด้วยกันอีกครั้ง และได้สร้างวัดหลังที่ 2 ขึ้นโดยใช้ไม้กระดานกับไม้ไผ่และมุงหลังคาด้วยใบตาล คริสตชนซึ่งห่างศาสนกิจมาเป็นเวลานานก็มีโอกาสมารื้อฟื้นความเชื่อ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อีกตามปกติ จวบจนช่วง พ.ศ.2299-2343 บาทหลวงจาง (ชาวจีน) ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าอาวาส เป็นช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาต่อด้วยกรุงธนบุรีจนถึงรัตนโกสินทร์





ล่วงถึง พ.ศ.2377 บาทหลวงมัทธีอัล โด เจ้าอาวาส กับบาทหลวงเคลมังโซ่ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส สร้างวัดหลังที่ 3 ขึ้น โดยย้ายข้ามมาอยู่ทิศตะวันออกของแม่น้ำจันทบุรี อันเป็นสถานที่ตั้งวัดหลังปัจจุบัน สร้างด้วยไม้กระดานเก่าและไม้ไผ่ สมัยนั้นมี คริสตชนประมาณ 1,000 คน ครั้นปี 2381 บาทหลวงรังแฟงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เป็นช่วงเวลาที่ชุมชนคาทอลิกเติบโตขึ้นมาก ประกอบด้วยวัดหลังที่ 3 ทรุดโทรมและคับแคบ พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์จึงได้สนับสนุนให้ก่อสร้างวัดหลังที่ 4 ในปี 2398 วัดหลังนี้มีลักษณะเป็นอาคารถาวร ใช้เวลาก่อสร้าง 21 ปี ซึ่งขณะนั้นมีคริสตชนประมาณ 1,500 คน



พ.ศ.2443 มีคริสตชนเพิ่มเป็นประมาณ 2,400 คน วัดหลังที่ 4 ดูคับแคบ พระสังฆราชเวย์ได้ให้บาทหลวงเปรีกาลมาเป็นเจ้าอาวาส พร้อมสร้างวัดใหม่ มีพิธีเสกศิลาฤกษ์ในปี 2449 เริ่มใช้ประกอบพิธีมิสซาในปี 2450 ซึ่งวัดยังไม่เรียบร้อย ต้องจัดหาส่วนประกอบต่างๆ ตั้งแต่ระฆัง นาฬิกา พระประธาน องค์รูปปั้น นักบุญ กระจกสี มาประดับ ที่สุดพิธีเสกวัดที่มีการเฉลิมฉลองอย่างมโหฬารก็มีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม 2452



อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมลเป็นสถาปัตย กรรมแบบโกธิก ภายในตกแต่งงามวิจิตร รวมถึงสเตนกลาส หรือกระจกสี เป็นภาพนักบุญต่างๆ ส่วนองค์แม่พระประดับด้วยทองคำบริสุทธิ์ เงินบริสุทธิ์ และพลอยบริสุทธิ์ เพื่อเทิดพระเกียรติแม่พระผู้บริสุทธิ์และสง่างาม



Create Date : 22 ตุลาคม 2556
Last Update : 22 ตุลาคม 2556 2:39:26 น. 0 comments
Counter : 1154 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.