พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 
17 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 

ไปนั่ง"ไฮสปีดเทรน" ศึกษาความสำเร็จของไต้หวัน

ไปนั่ง"ไฮสปีดเทรน" ศึกษาความสำเร็จของไต้หวัน

คอลัมน์ รายงานพิเศษ
ปัทมา ทองสิน



เมื่อปลายเดือนต.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำโดย นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ และ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการ พาทีมงานและคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ไต้หวัน เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยในเฟสแรก ช่วง "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" จากแนวเส้นทางสายเหนือ "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" ระยะทาง 669 กิโลเมตร (ก.ม.)

เนื่องจากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงของไต้หวันตลอดสายยาว 345 ก.ม. เชื่อมต่อระหว่างกรุงไทเปที่อยู่ทางตอนเหนือถึงเมืองเกาสงทางตอนใต้ ระยะทาง 382 ก.ม. ใกล้เคียงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก

สําหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงในไต้หวัน หรือ Taiwan High Speed Rail (THSR) ก่อสร้างโดยภาคเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโครงการหนึ่ง โดยภาครัฐเปิดประมูลให้บริษัทเอกชนเข้ามาลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นการให้สัมปทานโครงการ ในรูปแบบ Build-Operate-Transfe...(BOT) ที่ผู้รับสัมปทานได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงการจัดการเดินรถอายุสัญญา 35 ปี ตลอดจนได้สิทธิ์พัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ อีก 15 ปี รวมอายุสัญญาสัมปทาน 50 ปี

บริษัทเอกชนที่ชนะประมูลและรับสัมปทาน เป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่ 5 รายร่วมหุ้นกัน ก่อตั้งเป็นบริษัท Taiwan High Speed Railway Corporation (THSRC) เริ่มต้นโครงการเมื่อปี 2541 ก่อสร้างปี 2543 ในปี 2550 จึงเปิดให้บริการ

ครั้นปี 2552 เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทเอกชนประสบปัญหาทางการเงิน ภาครัฐจึงต้องเข้าไปถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 36% เพื่อให้เดินหน้า

สำหรับเส้นทางเลียบชายฝั่งด้านตะวันตก จากเมืองหลวงไทเปไปจนถึงเมืองเกาสงผ่าน 14 เมือง จำนวน 12 สถานี ความเร็วสูงสุด 285-300 ก.ม./ช.ม. ขบวนรถออกแบบโดยบริษัทญี่ปุ่น คือ Taiwan Shinkansen Consartium แต่ใช้โครงสร้างพื้นฐานและระบบรางออกแบบตามมาตรฐานยุโรป

ในการไปศึกษาดูงานครั้งนี้ เริ่มต้นที่รถไฟสถานีเถาหยวนเป็นเมืองที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ จะเชื่อมกับแอร์พอร์ตลิงก์ซึ่งรองรับการเดินทางจากสนามบินสู่ไทเปใช้เวลาเดินทางเพียง19.75 นาที

เมื่อถึงไทเปก็เดินทางต่อไปยังสถานีไทจงในภาคกลางเดินทางเพียง 45.75 นาที แต่ถ้าเดินทางต่อไปถึงสถานีสุดท้าย คือ เกาสง รวมการเดินทางใช้เวลาเพียง 90 นาที ส่วนอัตราค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 4.14 บาทต่อก.ม.

นายชิน-แด อู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ THSRC กล่าวว่า นับตั้งแต่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวแล้วยังส่งผลให้คนไต้หวันเดินทางมากขึ้นและพฤติกรรมการคมนาคมเปลี่ยนไป โดยเดินทางด้วยเครื่องบิน ลดลง 10% และรถยนต์ลดลงถึง 50% ขณะที่เดินทางด้วยระบบรางมากขึ้น 5% ในส่วนของรถไฟ (Railway) และรถไฟความเร็วสูงเพิ่มขึ้นกว่า 10% ทุกปี แม้ว่าในช่วงปีแรกจะมี ผู้โดยสารเพียง 50% ของตัวเลขที่ประมาณการไว้ โดยปีแรกมี ผู้โดยสาร 15 ล้านคน จนถึงปีที่แล้วเพิ่มเป็น 43 ล้านคน และ ปีนี้คาดไว้ 44 ล้านคน ถือว่า น่าพอใจ แต่ตัวเลขรายได้ยังไม่ครอบคลุมที่ลงทุนไว้ และตั้งเป้าจะคืนทุนในปีที่ 20 ขึ้นไป



"ดังนั้นอยากแนะนำรัฐบาลไทยการทำโครงการศึกษาและออกแบบเป็นเพียงบทที่ 1 เท่านั้น สิ่งสำคัญคือการมองถึงการใช้งานระยะยาวเป็น 100 ปี และสิ่งที่ต้องเผชิญในช่วงแรกคือผู้โดยสารจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะต้องประสบภาวะขาดทุน ควรจะวางแผนว่าต้องทำอย่างไรที่ให้โครงการเดินหน้าได้ ส่วนแนวคิดการพัฒนาเมืองใหม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยจะพัฒนาออกมาให้เป็นอย่างไร" นายชิน-แด อู กล่าว



ด้านนายจุฬากล่าวว่า ผลการเยี่ยมชมและดูงานครั้งนี้จะนำไปศึกษาว่าไทยควรจะทำอะไรได้บ้าง อย่างไต้หวันซื้อเทคโนโลยีเหมือนไทย แต่สร้างและฝึกคนให้มีความสามารถในงานเอง ไทยก็จะทำเช่นนั้นทุกขั้นตอน แต่ค่าโดยสารของไทยจะถูกกว่าอยู่ที่ 2 บาทต่อก.ม.



สำหรับการพัฒนาเมือง นายจุฬากล่าวว่า ในไต้หวันใช้รูปแบบสร้างเสร็จจึงพัฒนาเมือง ส่วนไทยจะใช้วิธีการพัฒนาควบคู่กันไปทั้งรถไฟและเมืองใหม่ โดยตั้งเป้าหมายจะให้คนต่างจังหวัดมาเจอกันในปีที่ 7 หลังเปิดให้บริการ ส่วนเรื่องใหญ่ของการเกิดรถไฟความเร็วสูง คือ การสร้างตลาดงานใหม่ และวิชาชีพใหม่จะเป็นหลักแสนคน ซึ่งจะต้อง เตรียมโรงเรียนไว้โดยเฉพาะในการฝึกแรงงานในวิชาชีพใหม่มารองรับ



ส่วนความคืบหน้าในเส้นทางสายเหนือเฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ในขั้นตอนเสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) หากผ่านก็จะขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อสร้างได้ประมาณกลางปี 2557 แต่ในต้นปีหน้าน่าจะเปิดประมูลในระบบรถไฟก่อนว่าจะต้องใช้การก่อสร้างอย่างไร โดยเป้าหมายที่ไทยต้องการคือคืนทุนในปีที่ 22



อย่างไรก็ดี เฟสแรกสายเหนือตั้งเป้าเปิดบริการปี 2562 ภายใต้งบลงทุนประมาณ 40% ของงบรวมแนวเส้นทางสายเหนือ 3.8 แสนล้านบาท เมื่อเฟสแรกเกิดเป็นแล้วก็จะนำไปสู่ เฟส ต่อไปและเส้นทางสายถัดมาจะก่อสร้างให้แล้วเสร็จไปทีละสาย ตามแนวทางที่ สนข.กำหนดไว้เบื้องต้น



ในวันนี้ทุกอย่างยังเป็นเพียงแผนที่วาดไว้ ได้แต่ตั้งความหวังว่าประเทศไทยคงจะมีรถไฟความเร็วสูง

จะไม่ใช่นโยบายขายฝันของรัฐบาล




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2556
0 comments
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2556 5:24:03 น.
Counter : 1082 Pageviews.


amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.