 |
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | |
|
 |
|
|
อรรถกถา มีมาแต่เดิมสืบแต่พุทธกาล เป็นของเนื่องอยู่ด้วยกันกับการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่เข้าใจง่ายๆว่า “อรรถกถา” ก็คือคำอธิบายพุทธพจน์ และคำอธิบายพุทธพจน์นั้น ก็เริ่มต้นที่พุทธพจน์ คือพระดำรัสของพระพุทธเจ้านั่นเอง ซึ่งเป็นพระดำรัสที่ตรัสประกอบเสริมขยายความในเรื่องที่ตรัสเป็นหลักในคราวนั้นๆ บ้าง
เป็นข้อที่ทรงชี้แจงอธิบายพุทธพจน์อื่นที่ตรัสไว้ก่อนแล้วบ้าง
เป็นพระดำรัสปลีกย่อยที่ตรัสอธิบายเรื่องเล็กๆน้อยๆ ทำนองเรื่องเบ็ดเตล็ดบ้าง ดังที่ท่านยกตัวอย่างว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงได้รับนิมนต์เสด็จไปประทับใช้อาคารเป็นปฐม ในคราวที่เจ้าศากยะสร้างหอประชุม (สันถาคาร) เสร็จใหม่ ๆ ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้เพียงว่า ได้ทรงแสดงธรรมกถา แก่เจ้าศากยะอยู่จนดึก เมื่อจะทรงพัก จึงรับสั่งให้พระอานนท์แสดงธรรมเรื่องเสขปฏิปทา แก่เจ้าศากยะเหล่านั้น และในพระสูตรนั้นได้บันทึกสาระไว้เฉพาะเรื่องที่พระอานนท์แสดง
ส่วนธรรมกถาของพระพุทธเจ้าเองมีว่าอย่างไร ท่านไม่ได้รวมไว้ในตัวพระสูตรนี้ เรื่องอย่างนี้มีบ่อยๆ แม้แต่พระสูตรใหญ่ๆ ก็บันทึกไว้เฉพาะหลักหรือสาระสำคัญ
ส่วนที่เป็นพระดำรัสรายละเอียดหรือข้อปลีกย่อยขยายความ ซึ่งเรียกว่าปกิณกเทศนา (จะเรียกว่าปกิณกธรรมเทศนา ปกิณกธรรมกถา ปกิณกกถา หรือบาลีมุตธรรมกถา ก็ได้)
แม้จะไม่ได้รวมไว้เป็นส่วนของพระไตรปิฎก แต่พระสาวกก็ถือว่าสำคัญยิ่ง คือเป็นส่วนอธิบายขยายความที่ช่วยให้เข้าใจพุทธพจน์ที่บันทึกไว้เป็นพระสูตร เป็นต้น นั้นได้ชัดเจนขึ้น
พระสาวกทั้งหลายจึงกำหนดจดจำปกิณกเทศนาเหล่านี้ไว้ประกอบพ่วงคู่มากับพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก เพื่อเป็นหลักฐานที่ช่วยให้เข้าใจชัดเจนในพระพุทธประสงค์ของหลักธรรมที่ตรัสในคราวนั้นๆ และเฉพาะอย่างยิ่งจะได้ใช้ในการชี้แจงอธิบายหลักธรรมในพุทธพจน์นั้นแก่ศิษย์ เป็นต้น ปกิณกเทศนานี้แหละ ที่เป็นแกนหรือเป็นที่ก่อรูปของสิ่งที่เรียกว่า อรรถกถา
แต่ในขณะที่ส่วน ซึ่งเรียกว่าพระไตรปิฎก ท่านรักษาไว้ในรูปแบบและในฐานะที่เป็นหลัก
ส่วนที่เป็นอรรถกถานี้ ท่านนำสืบกันมาในรูปลักษณ์ และในฐานะที่เป็นคำอธิบายประกอบ แต่ก็ถือเป็นสำคัญยิ่ง
ดังที่เมื่อสังคายนาพระไตรปิฎก อรรถกถาเหล่านี้ ก็เข้าสู่การสังคายนาด้วย (ตัวอย่างที่ ม.ม.13/25/25 ม.อ.3/6/20 ฯลฯ) ทั้งนี้ มีเฉพาะพระพุทธดำรัสเท่านั้น แม้คำอธิบายของพระมหาสาวกบางท่านก็มีทั้งที่เป็นส่วนในพระไตรปิฎก (อย่างเช่นพระสูตรหลายสูตรของพระสารีบุตร) และส่วนอธิบายประกอบที่ถือว่าเป็นอรรถกา คำอธิบายที่สำคัญของพระสาวกผู้ใหญ่อันเป็นที่ทอดรักษาผ่านการสังคายนาสืบต่อมาด้วย
Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2566 |
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2566 17:32:34 น. |
|
0 comments
|
Counter : 42 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|