17.4 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
17.3 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร

ความคิดเห็นที่ 3-35
GravityOfLove, 16 พฤษภาคม เวลา 14:28 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค          
             ๙. มหาอัสสปุรสูตร ว่าด้วยธรรมทำความเป็นสมณพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=8507&Z=8743&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่อังคราชกุมาร ในอังคชนบท
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             หมู่ชนย่อมรู้จักพวกเธอว่า สมณะๆ และพวกเธอก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
             เมื่อมีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาว่า
             - เราทั้งหลายจะสมาทานประพฤติธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ (บาปสงบ)
และเป็นพราหมณ์ (บาปลอยแล้ว)
             ดังนี้จึุงจะสมกับชื่อและสมกับที่ปฏิญญาไว้
(ประพฤติธรรมคือไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
แต่ในที่นี้ทรงมุ่งแสดงหิริและโอตตัปปะ)
             - เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ปัจจัย ๔ ที่ทายกถวาย ก็จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
             - บรรพชานี้ก็ไม่สูญเปล่า มีผล มีความเจริญ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ไตรสิกขา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปัจจัย_4

             ธรรมเป็นเครื่องทำความเป็นสมณะ และเป็นเครื่องทำความเป็นพราหมณ์ คือ
ควรศึกษาว่า
             ๑. เราจะมีหิริและโอตตัปปะ
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะแล้ว เป็นอันพอแล้ว ทำกิจเสร็จแ้ล้ว
ถึงสามัญญัตถะแล้ว (ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ คือ มรรค ผล นิพพาน)
             เพราะกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ อย่าให้สามัญญัตถะที่ปรารถนาเสื่อมไปเลย
             คำว่า หิริ, โอตตัปปะ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โลกบาลธรรม

             กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป คือ ควรศึกษาว่า
             ๒. เราทั้งหลายจะมีกายสมาจารบริสุทธิ์
             (ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้
หรือศัสตราทุบตีเบียดเบียนผู้อื่น หรือไม่เงื้อมือหรือท่อนไม้ไล่กาที่กำลังดื่มน้ำในหม้อน้ำ
หรือจิกกินข้าวสุกในบาตร)
             ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่อง และคอยระวัง จะไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
ด้วยความเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์นั้น
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ...
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=กายสมาจาร&detail=on

             ๓. เราทั้งหลายจะมีวจีสมาจารบริสุทธิ์
             (ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่กล่าวดูหมิ่นใครๆ)
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารและวจีสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ...
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วจีสมาจาร&detail=on

             ๔. เราทั้งหลายจะมีมโนสมาจารบริสุทธิ์
             (ไม่มีอภิชฌา (โลภอยากได้ของคนอื่น) ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความเห็นผิด
ไม่ยินดีทองและเงิน หรือไม่ตรึกถึงกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก)
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร
และมโนสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ...

             ๕. เราทั้งหลายจะมีอาชีวะบริสุทธิ์
             (ไม่เลี้ยงชีพด้วยกรรมที่ไม่สมควร เช่น การรักษาไข้ การให้น้ำมันทาเท้า
การหุงน้ำมัน พูดเลียบเคียงขอผู้อื่น หรือการสะสมปัญจโครสมีเนยใส เป็นต้น)
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร
และอาชีวะบริสุทธิ์แล้ว ...
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10#อเนสนา

             ๖. เราทั้งหลายจะมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
             อินทรีย์ ๖ และอายตนะ ๖ มาประกอบกันแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต (ลักษณะรวม)
ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ (ลักษณะย่อย)
             จะปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์นั้น ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันชั่ว
คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ เรียกว่่า รักษาอินทรีย์ทั้งหลาย ถึงความสำรวมในอินทรีย์
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร
อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว และเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ ...
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_6&detail=on

             ๗. เราทั้งหลายจะรู้จักประมาณในโภชนะ จะพิจารณาโดยแยบคายแล้วกิน
ไม่กินเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อตบแต่ง เพื่อประดับ
             จะกินเพียงเพื่อให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ ไม่ให้เจ็บป่วย เพื่อให้ประพฤติพรหมจรรย์ได้
เท่านั้น จะบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร
อาชีวะบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณในโภชนะแล้ว ...

             ๘. เราทั้งหลายจะเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น จะชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น ด้วยการ
             - จงกรมและนั่งตลอดวัน
             - จงกรมและนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
             - นอนแบบสีหไสยาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
             - จงกรมและนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร
อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณในโภชนะ
ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว ...
             ไสยา ๔ อย่าง
//84000.org/tipitaka/read/?21/246
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สีหไสยา

             ๙. เราทั้งหลายจะมีสติสัมปชัญญะ ทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ฯลฯ การนิ่ง
             แต่อย่าคิดว่า เมื่อมีหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร
อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ
ประกอบเนืองๆในความเป็นผู้ตื่น และมีสติสัมปชัญญะแล้ว ...
             คำว่า สติ, สัมปชัญญะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมมีอุปการะมาก_2

             ๑๐. ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ถ้ำ ซอกเขา ป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง และลอมฟาง
             กลับจากบิณฑบาตแล้วนั่งสมาธิ ละความเพ่งเล็งในโลก (กามฉันทะ) ละพยาบาท
มีความกรุณา ละีถีนมิทธะั มีสติสัมปชัญญะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา (นิวรณ์ ๕)
             พิจารณาเห็นนิวรณ์ที่ละได้แล้ว ดังนี้
             - ละกามฉันทะได้ เปรียบเหมือนใช้คืนหนี้ที่กู้มาได้ แล้วยังมีกำไรเหลือ
จึงมีความยินดีที่ไม่มีหนี้ (แม้เห็นกามคุณ กิเลสก็ไม่ฟุ้งขึ้น)
             - ละพยาบาทได้ เปรียบเหมือนคนป่วยที่หายป่วย จึงมีความยินดีที่หายป่วยแล้ว
             - ละถีนมิทธะได้ เปรียบเหมือนนักโทษที่พ้นคุกแล้ว จึงมีความยินดีที่เป็นอิสระแล้ว
             - ละอุทธัจจกุกกุจจะได้ เปรียบเหมือนทาสที่พึ่งตัวเองไม่ได้ แล้วได้เป็นไท
จึงมีความยินดีที่พึ่งตัวเองได้ ไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ
             - ละวิจิกิจฉาได้ เปรียบเหมือนคนเดินทางไกลกันดารแล้วผ่านพ้นมาได้โดยปลอดภัย
จึงมีความยินดีในสถานที่อันเกษม
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์_5

             ละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันทำปัญญาให้ถอย
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว บรรลุปฐมฌาน จนถึง จตุตถฌาน
             เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ย่อมโน้มจิตไปเพื่อบรรลุวิชชา ๓
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิชชา_3
             ธรรมสำหรับละนิวรณ์ ๕ ในมหาสติปัฏฐานสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=273&p=4

             ภิกษุนี้เรียกว่า สมณะ พราหมณ์ นหาตกะ เวทคู โสตติยะ อริยะ อรหันต์
             เรียกว่า สมณะ เพราะระงับอกุศลธรรมอันนำให้เกิดในภพใหม่
มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป
             เรียกว่า พราหมณ์ เพราะลอยอกุศลธรรม ...
             เรียกว่า นหาตกะ เพราะอาบล้างอกุศลธรรม ...
             เรียกว่า เวทคู เพราะรู้แจ้งอกุศลธรรม (ด้วยเวททั้งหลายคือมรรคญาณ ๔) ...
             เรียกว่า โสตติยะ เพราะให้หลับซึ่งอกุศลธรรม ...
             เรียกว่า อริยะ เพราะห่างไกลจากอกุศลธรรม ...
             เรียกว่า อรหันต์ เพราะกำจัดอกุศลธรรมอันนำให้เกิดในภพใหม่
มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติ ชรา มรณะต่อไป
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

แก้ไขตาม #3-36

ความคิดเห็นที่ 3-36
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 19:26 น.  

GravityOfLove, วันพฤหัส เวลา 14:28 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค
             ๙. มหาอัสสปุรสูตร ว่าด้วยธรรมทำความเป็นสมณพราหมณ์
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=8507&Z=8743&bgc=seashell&pagebreak=0
2:28 PM 5/16/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน
             ขอติงเล็กน้อย คือ
             กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป คือ ควรศึกษาว่า

             ๒. เราทั้งหลายจะมีกายสมาจารบริสุทธิ์
             <<< ไม่ต้องเว้นบรรทัด.

ความคิดเห็นที่ 3-37
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 19:28 น.

             คำถามในมหาอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=8507&Z=8743

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. หากจะสรุปใจความใหญ่ให้เหลือ 1-2 บรรทัด
             คุณ GravityOfLove จะสรุปว่าอย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 3-38
GravityOfLove, 18 พฤษภาคม เวลา 19:40 น.

ขอบพระคุณค่ะ
-------------------------------------------
             ตอบคำถามในมหาอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=8507&Z=8743

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. ธรรมที่ทำให้สมกับเป็นสมณะและพราหมณ์ คือมีหิริ โอตตัปปะ ...
จนถึงบรรลุอาสวักขยญาณเป็นที่สุด
             ๒. การเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น คือ
             ตื่นบำเพ็ญสมณะธรรม (ปฏิบัติกรรมฐาน เดินจงกรม) ๒๐ ชั่วโมง
             นอน ๔ ชั่วโมง
             ๓. ภิกษุที่ประพฤติธรรมความเป็นสมณะและพราหมณ์ได้เช่นนี้ เรียกว่า
สมณะ พราหมณ์ นหาตกะ เวทคู โสตติยะ อริยะ อรหันต์
             ๔. เหตุที่ทรงแสดงพระสูตรนี้เพราะมหาชนให้ความเคารพนับถือพระภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้อย่างมาก ดังนั้นภิกษุต้องทำตัวให้สมกับที่มหาชนเคารพ
             ๕. หิริมีภายในเป็นสมุฏฐาน โอตตัปปะมีภายนอกเป็นสมุฏฐาน
             หิริเป็นอัตตาธิปไตย โอตตัปปะเป็นโลกาธิปไตย.
             หิริดำรงอยู่ในสภาพความละอาย โอตัปปะดำรงอยู่ในสภาพความกลัว.
             ๖. หิริและโอตตัปปะ ชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก เพราะรักษาโลก
             ๗. หิริโอตตัปปะ เป็นเทวธรรม (เทพ ๓) และเป็นปฏิปทาเครื่องขัดเกลากิเลส
(ในสัลเลขสูตร หิริ ข้อ ๓๘, โอตตัปปะ ข้อ ๓๙)
             ๘. มรรค (มรรคมีองค์ ๘) เรียกว่า สามัญญะ
             ผลและนิพพาน เรียกว่า ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ
             ๙. ธรรมสำหรับละกามฉันท์  
(จากอรรถกถามหาสติปัฎฐานสูตร //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=273&p=4 )
                         ๑. การถืออสุภนิมิตเป็นอารมณ์
                         ๒. การประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภภาวนา
                         ๓. การรักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
                         ๔. ความรู้จักประมาณในโภชนะ
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. พูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ (เป็นที่สบาย).
             ธรรมสำหรับละพยาบาท             
                         ๑. การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์
                         ๒. การประกอบเนืองๆ ซึ่งเมตตาภาวนา
                         ๓. การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน
                         ๔. การทำให้มากซึ่งการพิจารณา
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. การพูดแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
             ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ             
                         ๑. การกำหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกิน
                         ๒. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
                         ๓. การใส่ใจถึงอาโลกสัญญา (คือความสำคัญว่าสว่างๆ)
                         ๔. การอยู่กลางแจ้ง
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย
             ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ             
                         ๑. ความสดับมาก
                         ๒. ความสอบถาม
                         ๓. ความชำนาญในวินัย
                         ๔. ความคบผู้เจริญ
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
             ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา             
                         ๑. ความสดับมาก
                         ๒. ความสอบถาม
                         ๓. ความชำนาญในวินัย
                         ๔. ความมากด้วยความน้อมใจเชื่อ
                         ๕. ความมีกัลยาณมิตร
                         ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
-------------------------------------------
             2. หากจะสรุปใจความใหญ่ให้เหลือ 1-2 บรรทัด
             คุณ GravityOfLove จะสรุปว่าอย่างไร?
             เมื่อบวชเป็นพระภิกษุในศาสนานี้แล้ว ควรต้องทำตัวให้สมกับเป็นพระภิกษุ
ให้สมกับความเคารพนับถือและไทยทานที่ได้รับ ผู้ถวายก็ได้อานิสงส์ การบวชก็ไม่สูญเปล่า

ความคิดเห็นที่ 3-39
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 19:56 น.  

GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
             ขอบพระคุณค่ะ
-------------------------------------------
             ตอบคำถามในมหาอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=8507&Z=8743
...
7:39 PM 5/18/2013

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             หิริดำรงอยู่ในสภาพความละอาย โอตัปปะดำรงอยู่ในสภาพความกลัว.
แก้ไขเป็น
             หิริดำรงอยู่ในสภาพความละอาย โอตตัปปะดำรงอยู่ในสภาพความกลัว.

             ปฏิปทาในพระสูตรนี้ ใจความใหญ่ก็คือ
             ตราบใดที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน อย่าหยุดเพียงแค่กุศลธรรมในระหว่างๆ
พึงเพียรต่อไปในกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไป จนถึงสามัญญัตถะ.
             เทียบเคียงคำว่า อุปัญญาตธรรม.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปัญญาตธรรม

ความคิดเห็นที่ 3-40
ฐานาฐานะ, 18 พฤษภาคม เวลา 20:07 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาอัสสปุรสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8507&Z=8743

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬอัสสปุรสูตร [พระสูตรที่ 40].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8744&Z=8866
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=479

             สาเลยยกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8867&Z=9055
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=483

             เวรัญชกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9056&Z=9219
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=488

             มหาเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493

             จูฬเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9420&Z=9601
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505

ความคิดเห็นที่ 3-41
GravityOfLove, 18 พฤษภาคม เวลา 21:30 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๔. มหายมกวรรค          
             ๑๐. จูฬอัสสปุรสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ (สมณสามีจิปฏิปทา)
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8744&Z=8866&bgc=seashell&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่อังคราชกุมาร เขตอังคชนบท
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             หมู่ชนย่อมรู้จักพวกเธอว่า สมณะๆ และพวกเธอก็ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ
             เมื่อมีชื่ออย่างนี้ มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาว่า
             - เราทั้งหลายจะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่ดียิ่งของสมณะ ดังนี้ จึุงจะสมกับชื่อและที่ปฏิญญาไว้
             - เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ปัจจัย ๔ ที่ทายกถวายก็จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
             - บรรพชานี้ก็ไม่สูญเปล่า มีผล มีความเจริญ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปัจจัย_4

             ภิกษุที่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง คือ
             1. ละกิเลสต่อไปนี้คือ
             ๑. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา)
             ๒. พยาบาท
             ๓. ความโกรธ
             ๔. ความผูกโกรธ
             ๕. ความลบหลู่
             ๖. ความตีเสมอ
             ๗. ความริษยา
             ๘. ความตระหนี่
             ๙. ความโอ้อวด
             ๑๐. มายา
             ๑๑. ความปรารถนาบาปอกุศลธรรม
             ๑๒. ความเห็นผิด
             กิเลสเหล่านี้เป็นดุจน้ำฝาด อันเป็นเหตุให้เกิดในอบาย มีวิบากเป็นทุกข์
             บรรพชาของภิกษุที่ละกิเลสเหล่านี้ไม่ได้ เป็นดุจอาวุธสองคมที่ชื่อ มตชะ
             (ซ่อนคมไว้ข้างใน เท่ากับซ่อนกิเลสไว้ข้างใน)

             หากไม่ละกิเลส ๑๒ ประการนั้น แ้ม้จะประพฤติดังต่อไปนี้ ก็ไม่เรียกว่าเป็นสมณะ คือ
               - บุคคลที่ครองผ้าสังฆาฏิ (ผ้าซ้อนของลัทธิภายนอก)
              - บุคคลถือเพศเปลือยกาย
              - บุคคลที่หมักหมมด้วยธุลี
              - บุคคลลงอาบน้ำ (วันละสามครั้ง)
              - บุคคลอยู่โคนไม้เป็นวัตร
              - บุคคลอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
              - บุคคลอบกายเป็นวัตร
              - บุคคลกินภัตตามวาระ (เช่น เดือนละครั้ง หรือครึ่งเดือนต่อครั้ง)
              - บุคคลที่ท่องมนต์
              - บุคคลที่มุ่นผม
             เพราะหากปฏิบัติเช่นนี้แล้วละกิเลสได้ บรรดาญาติคงให้ปฎิบัติเช่นนี้ตั้งแต่เกิดแล้ว
             พระองค์ทรงเห็นว่า บุคคลบางคนในโลกนี้แม้ปฏิบัติดังนั้นอยู่ แต่ก็ยังมีกิเลส
             จึงไม่ตรัสว่า เป็นสมณะ เพียงด้วยการปฏิบัตินั้น
             ภิกษุจะชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ ก็ด้วยการละเสียได้ซึ่งกิเลส
อันเป็นมลทิน เป็นโทษ เป็นดังว่าน้ำฝาดของสมณะ อันเป็นเหตุให้เกิดในอบาย มีวิบากเป็นทุกข์

             2. เมื่อละกิเลสได้แล้ว ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากบาปอกุศลธรรม
ทั้งปวงนี้ ปราโมทย์ก็เกิด ปีติก็เกิด
             เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว นามกายก็สงบ
             เมื่อนามกายสงบแล้ว ก็เสวยสุข
             เมื่อมีสุข จิตก็ตั้งมั่น มีจิตสหรคตด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแผ่ไปสู่ทุกทิศ
             สระโบกขรณี มีน้ำใสสะอาด มีคนกระหายน้ำมาดื่มน้ำในสระนี้ ย่อมบรรเทาความกระหาย
ความร้อนได้ ฉันใด
             กุลบุตรไม่ว่าจากสกุลใดๆ (กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร) มาบวชเป็นบรรพชิต
มาถึงพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงแสดง แล้วเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น
             ย่อมได้ความสงบจิตในภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
             เรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่งของสมณะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พรหมวิหาร_4

             ถ้าทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ
ด้วยความรู้ยิ่งโดยตนเอง ถึงพร้อมแล้วในชาตินี้ ตรัสว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2

             พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

แก้ไขตาม #3-42

ความคิดเห็นที่ 3-42
ฐานาฐานะ, 20 พฤษภาคม เวลา 01:40 น.

             คำถามในจูฬอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8744&Z=8866

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง
             2. กิเลส 12 ชนิดในพระสูตรนี้
             ขอให้คุณ GravityOfLove เรียงโทษจากมากไปหาน้อย
ตามที่เห็นว่า มีโทษมากน้อย ตามลำดับ.
             3. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว น้อมนำมีประพฤติปฏิบัติขัดเกลาอย่างไร?

ความคิดเห็นที่ 3-43
GravityOfLove, 20 พฤษภาคม เวลา 11:18 น.

             ตอบคำถามในจูฬอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8744&Z=8866

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง
             ๑. เหตุที่ทรงแสดงพระสูตรนี้เพราะมหาชนให้ความเคารพนับถือพระภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้อย่างมาก
             ดังนั้นภิกษุต้องทำตัวให้สมกับที่มหาชนเคารพ
             ๒. ภิกษุที่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง
             ๓. หากไม่ละกิเลส ๑๒ ประการนั้น แ้ม้จะประพฤติหรือแต่งกาย เช่น
อยู่โคนไม้เป็นวัตร ครองผ้าสังฆาฏิ ก็ไม่เรียกว่าเป็นสมณะ ผู้สิ้นอาสวะทั้งหลาย
------------------------------------------------------
             2. กิเลส 12 ชนิดในพระสูตรนี้
             ขอให้คุณ GravityOfLove เรียงโทษจากมากไปหาน้อย
ตามที่เห็นว่า มีโทษมากน้อย ตามลำดับ.
             ๑. ความเห็นผิด (๑๒) ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดต่อไปก็ผิดต่อๆ กันไปด้วย
             กุศลกรรมต้องมีความเห็นชอบเป็นเบื้องต้น ดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร? คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นตรง
//84000.org/tipitaka/read/?19/687

             สัมมาทิฏฐิ เป็นข้อแรกในอริยมรรคมีองค์ ๘
             ดังนั้นเริ่มที่ต้องมีสัมมาทิฏฐิก่อน
             ถ้ายังมีความเห็นผิด ก็ไม่สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้เลย
             สัมมาทิฏฐิที่ยังมีสาสวะแม้เป็นระดับโลกียะ ก็ยังสามารถเจริญไปสู่
สัมมาทิฏฐิที่ไม่มีสาสวะได้ (โลกุตตระ)
             สัมมาทิฏฐิที่ยังอาสวะ เ่ช่น ความเห็นว่าทำดีมีผล ทำชั่วมีผล

            ๒. ความปรารถนาบาปอกุศลธรรม (๑๑)
            น่าจะเทียบเคียงได้กับ ตัณหา (ความทะยานอยาก)
            ตัณหาเป็นกิเลสอย่างละเอียด ละได้ด้วยอรหัตมรรคเท่านั้น

             ๓. อภิชฌา (๑ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา), พยาบาท (๒)
             เทียบเคียงได้กับกามราคะ ในนิวรณ์ข้อ ๑ และ ๒ ตามลำดับ
             นิวรณ์เป็นสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม ไม่ให้บรรลุคุณความดี
เป็นอกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง
             เมื่อขาดปัญญา ก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการแยกแยะเหตุผล ดีชั่ว
คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น
             ความพยาบาท (๒), ความโกรธ (๓), และความผูกโกรธ (๔) คือปฏิฆะ
             กามราคะและปฏิฆะ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค

             ๔. ข้อที่เหลือ (ข้อ ๕ - ๑๐) ได้แก่ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา
ความตระหนี่ ความโอ้อวด และมายา เป็นกิเลสอย่างหยาบ
             กิเลสเหล่านี้แม้ไม่ได้ตัดมรรค ผล นิพพาน แต่ก็ทำให้ไปเกิดในทุคติได้
             กิเลสอย่างหยาบเหล่านี้ ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค
------------------------------------------------------
             3. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว น้อมนำมีประพฤติปฏิบัติขัดเกลาอย่างไร
             กิเลสมีหลายระดับ ความเพียรในการละกิเลสจึงมีหลายระดับ
แต่อย่างไรต้องมีสัมมาทิฏฐิก่อน
             หากไม่มีสัมมาทิฏฐิ จะบรรลุธรรมไม่ได้เลย
             กิเลสเหล่านี้นำไปเกิดในทุคติ มีวิบากเป็นทุกข์
เพราะฉะนั้นให้เพียรพยายามละให้ได้
            อาินิสงส์จากการละกิเลส มีทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ เช่น
การไม่พยาบาท มีความเมตตา ทำให้จิตใจผ่องใส และเ็ป็นที่รักของคนรอบข้าง
เป็นอานิสงส์ปัจจุบัน
           อานิสงส์ในสัมปรายภพ เช่น ได้เกิดในสุคติภพ ได้เป็นอุปนิสัยปัจจัยต่อๆ ไป

ย้ายไปที่



Create Date : 26 มิถุนายน 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 6:47:09 น.
Counter : 836 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog