17.3 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
17.2 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร

ความคิดเห็นที่ 3-18
ฐานาฐานะ, 15 พฤษภาคม เวลา 09:29 น.

GravityOfLove, 46 วินาทีที่แล้ว
Gravity ตอบไม่ครอบคลุมใช่ไหมคะ
9:18 AM 5/15/2013
             คำว่า
             มโนสัญเจตนาหาร เจตนาเป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำคือ สังขาร

             มโนสัญเจตนาหาร หรือเจตนา หรือกรรม หรือสังขาร
             หากอนุโลมว่า เป็นคำเดียวกัน ก็ควรไปอีกหนึ่งขั้น
             คือ สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ
             เหมือนคำว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป.

             ค้นคำว่า ปฏิจจสมุปบาท
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปฏิจจสมุปบาท&detail=on

ความคิดเห็นที่ 3-19
GravityOfLove, 15 พฤษภาคม เวลา 09:33 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-20
ฐานาฐานะ, 15 พฤษภาคม เวลา 22:09 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า มหาตัณหาสังขยสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8041&Z=8506

             พระสูตรหลักถัดไป คือมหาอัสสปุรสูตร [พระสูตรที่ 39].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             มหาอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8507&Z=8743
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=459

             จูฬอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8744&Z=8866
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=479

ความคิดเห็นที่ 3-21
GravityOfLove, 14 พฤษภาคม เวลา 01:09 น.

             คำถามทบทวนพระสูตรที่ผ่านมา
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11540192/Y11540192.html#135
             ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น เป็นพื้นฐานของปัญญา จัดเข้าส่วน
ของการได้มาซึ่งปัญญา อันมีอาสวักขยญาณเป็นที่สุด
            โสณทัณฑสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=2833&Z=3477  

             ถ้าไม่ได้ดูในพระสูตรนี้ ไม่เพียงฌาน ๔ เท่านั้น อรูปฌาน ๔
ก็เป็นพื้นฐานของการได้มาซึ่งปัญญาเช่นกัน ใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 3-22
ฐานาฐานะ, 14 พฤษภาคม เวลา 01:24 น.

             ก็เป็นพื้นฐานของการได้มาซึ่งปัญญาเช่นกันครับ
             เช่น พระอนาคามี ก็ใช้อรูปฌาน ๔ เป็นฐานในการเข้านิโรธสมาบัติ.

ความคิดเห็นที่ 3-23
GravityOfLove, 14 พฤษภาคม เวลา 01:31 น.

โสณทัณฑสูตร
ปัญญา ได้แก่ วิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาน มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิญญาณ ทิพโสตญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ
------------------------
วิชชาที่ ๑-๗ เป็นโลกียะ
วิชชาที่ ๙ เป็นโลกุตตระ

อภิญญาที่ ๑ - ๕ เป็นโลกียะ
อภิญญาที่ ๖ เป็นโลกุตตระ

สมาบัติที่ ๑ - ๘ เป็นโลกียะ
สมาบัติที่ ๙ เป็นโลกุตตระ

ใช่ไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 3-24
ฐานาฐานะ, 14 พฤษภาคม เวลา 01:39 น.

             อภิญญาที่ ๖ เป็นโลกุตตระ
             วิชชาที่ ๘ เป็นโลกุตตระ
             แต่สมาบัติที่ ๙ เป็นโลกุตตระหรือโลกียะ
             ข้อนี้ น่าจะมีการอธิบายว่า ตรงไหนเป็นโลกุตตระ
ในเมื่อจิตก็ดับ ไม่มีอารมณ์อันจิตจะเสพ แล้วส่วนไหนเป็นโลกุตตระ.
             หากจะกล่าวว่า สมาบัติที่ ๙ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยบุคคล
คำนี้แน่นอน แต่สมาบัติที่ ๙ เป็นโลกุตตระหรือโลกียะ ขอติดค้างไว้ก่อน.

ความคิดเห็นที่ 3-25
ฐานาฐานะ, 14 พฤษภาคม เวลา 01:51 น.

             สัญญาเวทยิตกถา
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=16737&Z=16749

ความคิดเห็นที่ 3-26
GravityOfLove, 14 พฤษภาคม เวลา 01:54 น.

โอย อ่านไม่รู้เรื่อง กรุณาแปลค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-27
ฐานาฐานะ, 14 พฤษภาคม เวลา 01:58 น.

             ขอติดค้างไว้ก่อนครับ เพราะต้องศึกษาพร้อมอรรถกถาด้วย.

ความคิดเห็นที่ 3-28
GravityOfLove, 14 พฤษภาคม เวลา 02:00 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-29
GravityOfLove, 16 พฤษภาคม เวลา 05:15 น.

             คำถามมหาอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8507&Z=8743
             การนอน ๔ คือ กามโภคิไสยา เปตไสยา สีหไสยา ตถาคตไสยา
             ท่านอนสีหไสยา เหมือนท่านอนตถาคตไสยา ใช่ไหมคะ ต่างกันที่จุดประสงค์
คือสีหไสยา คือนอนหลับ ตถาคตไสยา คือ เข้าฌานด้วยท่าสีหไสยา
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-30
ฐานาฐานะ, 16 พฤษภาคม เวลา 11:09 น.

             ตอบว่า สันนิษฐานว่า
             กามโภคิไสยา เปตไสยา สีหไสยา เป็นการนอนด้วยท่าทาง
             คือ กามโภคิไสยา << นอนตะแคงซ้าย
             เปตไสยา << นอนหงาย
             สีหไสยา << นอนตะแคงขวา
             ตถาคตไสยา คือการเข้าฌานที่ 1 ถึง 4
             หากมีคำถามว่า ทำไมจึงจัดการเข้าฌานอยู่ในหมวดการนอน
             สันนิษฐานว่า การนอนหลับมีลักษณะสำคัญคือ
             1. ร่างกายนิ่งนาน 2. ไม่พูด

             [๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้
//84000.org/tipitaka/read/?21/246

ความคิดเห็นที่ 3-31
GravityOfLove, 16 พฤษภาคม เวลา 11:12 น.

ตถาคตไสยา นอนตะแคงขวาไหมคะ

ความคิดเห็นที่ 3-32
ฐานาฐานะ, 16 พฤษภาคม เวลา 11:40 น.  

             ไม่น่าจะกำหนดท่าทางครับ
             หากนั่งเข้าฌาน ก็จะน่าเป็นตถาคตไสยา

ความคิดเห็นที่ 3-33, 3-34
GravityOfLove, 16 พฤษภาคม เวลา 13:45 น.

เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ
เห็นมีคำว่า ไสยา ทำให้นึกว่า ต้องเป็นท่านอนเสมอ
นึกว่า ไสยา แปลว่า นอน

ย้ายไปที่



Create Date : 26 มิถุนายน 2556
Last Update : 23 มกราคม 2557 19:24:28 น.
Counter : 1117 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog