17.5 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร
การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก
17.4 พระสูตรหลักถัดไป คือมหาตัณหาสังขยสูตร

ความคิดเห็นที่ 3-44
ฐานาฐานะ, 20 พฤษภาคม เวลา 23:31 น.

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
             ตอบคำถามในจูฬอัสสปุรสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8744&Z=8866
11:17 AM 5/20/2013
11:19 AM 5/20/2013

             ตอบคำถามได้ดี ขอขยายความดังนี้ :-
             ๒. ความปรารถนาบาปอกุศลธรรม (๑๑)
             น่าจะเทียบเคียงได้กับ ตัณหา (ความทะยานอยาก)
             ตัณหาเป็นกิเลสอย่างละเอียด ละได้ด้วยอรหัตมรรคเท่านั้น

             ความปรารถนาบาปอกุศลธรรม หรือความปรารถนาลามก
หรือ ปาปิจฉา ก็เทียบเคียงกับตัณหา (ความทะยานอยาก) ก็จริงอยู่
             ตัณหา มีทั้งอย่างละเอียด อย่างหยาบ
             แต่ความปรารถนาลามก เป็นอย่างหยาบ (หยาบมาก) มีความคด
ความเท็จ ในความปรารถนาลามกนั้น ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า
             ความปรารถนาลามกนี้ ละได้โสดาปัตติมรรค.

             ความปรารถนาลามก เป็นไฉน
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=11934&w=ความปรารถนาลามก%20เป็นไฉน

             ขยายความบางคำตามความเข้าใจดังนี้ :-
             อภิชฌา (๑ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) เป็นเหตุแห่งการแสวงหา การขโมย ฯลฯ
             พยาบาท เป็นเหตุแห่งการประทุษร้ายผู้อื่น
             ความมักโกรธ หรือโกรธบ่อย โกรธง่าย เป็นเหตุให้ขัดข้องในอารมณ์ต่างๆ
             ความผูกโกรธ โกรธต่อเนื่อง โกรธนานด้วยเหตุการณ์เก่าๆ ไม่คลายความโกรธ
             ความลบหลู่ เป็นเหตุให้ทำลายคุณของผู้อื่น
             ความตีเสมอ เป็นเหตุแห่งการแข่งดี ทะเลาะวิวาท
             ความริษยา ความไม่ยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข ความเจริญ ได้โภคทรัพย์
ความริษยานี้ เป็นเหมือนการอยู่ใกล้ได้เห็นได้รู้ความเจริญของผู้อื่น อันเป็นผลมาจาก
เหตุในอดีตก็ตาม เหตุในปัจจุบันก็ตาม แล้วมีความทุกข์ใจ ไม่ยินดีไม่แช่มชื่น
ส่อนัยว่า ควรอยู่ใกล้ได้เห็นได้รู้ความเสื่อม หรือว่า ควรไปในที่เสื่อม (อบาย).
             แต่ควรละนัยของการไม่ยินดีในลาภสักการะที่ไม่ชอบธรรมของผู้อื่น
เช่น เห็นผู้อื่นได้ลาภจากการขโมย ได้การเคารพนับถือจากการแสดงอสัทธรรม
ไม่ยินดีต่อผู้นั้น เพราะพิจารณาเหตุการได้มาว่าไม่ชอบธรรม มีวิบากเป็นทุกข์
การไม่ยินดีนั้น ไม่จัดเป็นริษยา.
             ความตระหนี่ เป็นเหตุไม่ให้ ไม่แบ่งปันแก่ผู้อื่น เหนียวแน่น
ทั้งทำให้ไม่แกล้วกล้า เพราะตระหนี่นั้น.

             การที่บุคคลขัดเกลาอยู่อย่างนี้ แม้ยังไม่ได้บรรลุอริยมรรคเลยก็ตาม
ก็เป็นปัจจัยในอนาคตต่อไป ทั้งยังเป็นบุคคลที่รองรับพระธรรมเทศนาได้ง่าย.
             นึกถึงวัตรของท้าวสักกะ เรียกว่า วัตรบท
             วัตรบทนี้ ท้าวสักกะได้ประพฤติมา
             ทั้งในสักกปัญหสูตร ก็แสดงว่า ท้าวสักกะขวนขวายหาความรู้เนืองๆ
             เพราะเหตุที่ในก่อน ท้าวสักกะประพฤติธรรมมานานนี้เอง
น่าจะเป็นเหตุแห่งพระดำริของพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
             [๒๕๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า
             ท้าวสักกะนี้เป็นผู้บริสุทธิ์สิ้นเวลานาน จักตรัสถามปัญหาข้อใดข้อหนึ่งกะเรา
ท้าวเธอจักถามปัญหานั้นทุกข้อ ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่ถามปัญหาที่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์
             อนึ่ง เราอันท้าวเธอตรัสถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความใด ท้าวเธอจักทรงทราบ
ข้อความนั้นได้พลันทีเดียว ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=5727&Z=6256#254

             สรุปว่า ควรฝึกฝนขัดเกลาต่อเนื่องไป.

             ๗. เรื่องท้าวสักกะ [๒๑]
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=7
             คำว่า วัตรบท
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วัตรบท

ความคิดเห็นที่ 3-45
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 00:03 น.

ขอบพระคุณค่ะ

ตัณหา มีทั้งอย่างละเอียด อย่างหยาบ
แต่ความปรารถนาลามก เป็นอย่างหยาบ (หยาบมาก)

<<< นึกไม่ถึงเลยค่ะ ว่าคือความปรารถนาลามกนี่เอง
และความปรารถนาลามกเป็นกิเลสหยาบมาก

ความคิดเห็นที่ 3-46
ฐานาฐานะ, 21 พฤษภาคม เวลา 00:48 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า จูฬอัสสปุรสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8744&Z=8866

             พระสูตรหลักถัดไป คือสาเลยยกสูตร [พระสูตรที่ 41].
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             สาเลยยกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=8867&Z=9055
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=483

             เวรัญชกสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9056&Z=9219
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=488

             มหาเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9220&Z=9419
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493

             จูฬเวทัลลสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=9420&Z=9601
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505

ความคิดเห็นที่ 3-47
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 01:05 น.

             ทบทวนพระสูตรที่ผ่านมา
             พระธรรมเปรียบเหมือนทุ่น
             เมื่อข้ามฝั่งได้แล้ว ก็ต้องสละหมดทั้งกุศลธรรมและอกุศลธรรม
แต่ถ้าข้ามฝั่งยังไม่ได้ (ยังไม่ถึงวิมุตติ) ก็ยังต้องเพียรรักษากุศลธรรมให้มั่นคง

             มิจฉาทิฎฐิ เช่น ไำม่เชื่อว่าทำดีมีผล ทำชั่วมีผล เป็นกิเลสกางกั้นการบรรลุธรรม
เพราะจะไม่สามารถเจริญไปสู่สัมมาทิฏฐิแบบไม่มีอาสวะได้เลย

             อลคัททูปมสูตร
//84000.org/tipitaka/read/?12/280

             อักขณสูตร [บางส่วน]
             อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขา
เป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมดี กรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า
ไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้
ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้ว
สั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย
ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖ ฯ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4639&Z=4716

             [๒๘๒] อภัพพสัตว์เป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรม
เป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่มีฉันทะ มี
ปัญญาทราม ไม่อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้
เป็นอภัพพสัตว์ ฯ
             [๒๘๓] ภัพพสัตว์เป็นไฉน สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม
เป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา
อาจย่างเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นภัพพสัตว์ นี้เป็นญาณ
ในฉันทะเป็นที่มานอน และกิเลสอันนอนเนื่องแห่งสัตว์ทั้งหลาย ของ
พระตถาคต ฯ
//84000.org/tipitaka/read/?31/282-283

             อรรถกถาอาสยานุสยญาณนิทเทส
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=277&p=1#ภัพพาภัพพนิทเทส

ความคิดเห็นที่ 3-48
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 09:04 น.

             กรุณาอธิบายค่ะ
             คำว่า "ไม่มีที่จบ" คือยกเอาพระสูตรหรือชาดกที่ไม่มีขั้นตอนมาแล้วชักเอาเรื่องที่พอจะเข้ากับพระสูตรหรือชาดกนั้น ได้ข้อเปรียบหรือวัตถุมาแล้วกลับไปกล่าวถ้อยคำที่นอกเรื่องไปเสียหมด. คำที่ยกมาแล้วก็สักแต่ว่ายกขึ้นมาเท่านั้นเอง.
             เขาย่อมถึงความเป็นผู้อันผู้อื่นพึงต่อว่าว่า "เขาย่อมกล่าวสูตรหรือหนอ? หรือชาดก. พวกเราไม่เห็นการจบหรือที่สุดของสูตรหรือชาดกนั้น" แม้ผู้นี้ก็ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมกถึกย่านไทร ย่อมทำบทที่ยกขึ้นมาตั้งให้สักแต่ว่ายกมาตั้งไว้ เท่านั้นแล้วก็ว่าไปเรื่อยเปื่อยแบบข้างๆ คูๆ อย่างนั้นแหละ เหมือนอย่างรากย้อยของกิ่งต้นไทร ย้อยลงไปในที่ๆ มันไปแล้วๆ ถึงที่ซึ่งมันหย่อนลงแล้วๆ แล้วก็ย่อมเจริญอีกนั่นเทียวมันไปได้แบบนี้นั่นแหละ ตั้งกึ่งโยชน์บ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง ตั้งอยู่เป็นแนวทีเดียว ฉันใดก็ฉันนั้น.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=483&bgc=floralwhite
             ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-49
ฐานาฐานะ, 21 พฤษภาคม เวลา 20:57 น.

             น่าจะหมายถึงพวกธรรมกถึกที่ยกหรือพระสูตรชาดกมาแล้ว
โดยมีเพียงอนุสนธิเชื่อมเล็กน้อย ยกมาโดยสักว่ายกมาเป็นหัวข้อ
แล้วแสดงธรรมอื่นๆ นอกเรื่อง เรื่อยเปื่อย โดยไม่ได้ตั้งอยู่ในบทที่ยกมาเลย
             ผู้ฟังได้ยินชื่อพระสูตรหรือชาดกแล้ว แต่เมื่อจะกำหนดใจความ
ของพระสูตรหรือชาดกนั้นๆ ก็กำหนดไม่ได้ เพราะพวกธรรมกถึกแสดงอย่างอื่น
เรื่อยเปื่อยไป จึงกล่าวว่า "เขาย่อมกล่าวสูตรหรือหนอ? หรือชาดก.
พวกเราไม่เห็นการจบหรือที่สุดของสูตรหรือชาดกนั้น"
             คือผู้ฟังได้ยินชื่อพระสูตรหรือชาดก แต่พวกธรรมกถึกไม่แสดง
เนื้อความให้จบ ผู้ฟังจึงจับความไม่ได้.
             สันนิษฐานล้วน.

ความคิดเห็นที่ 3-50
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 21:01 น.

เข้าใจที่สันนิษฐานล้วนแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3-51
GravityOfLove, 21 พฤษภาคม เวลา 21:18 น.

             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๕. จูฬยมกวรรค  
             ๑. สาเลยยกสูตร ทรงโปรดชาวบ้านสาละ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8867&Z=9055&bgc=papayawhip&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ลุถึงพราหมณคามชื่อสาละของชาวโกศล
             พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละได้สดับข่าวนี้ และทั้งเคยได้ยิน
กิตติศัพท์อันงามของพระองค์ (พระพุทธคุณ ๙ ประการ)
             ได้ยินว่า พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์
             แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
             การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเป็นการดี
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พุทธคุณ_9

             จึงได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วได้ทูลถามดังนี้ว่า
             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต และนรก หลังจากตายแล้ว
             อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
หลังจากตายแล้ว
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต และนรก หลังจากตายแล้ว
เพราะเหตุประพฤติไม่เรียบร้อย (วิสมจริยา ประพฤติไม่สม่ำเสมอ ลุ่มๆ ดอนๆ)
คือ ไม่ประพฤติธรรม (อธรรมจริยา)
             สัตว์บางพวกในโลกนี้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว
เพราะเหตุประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
             พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นยังไม่เข้าใจดี จึงทูลขอพระองค์
ให้ทรงอธิบายโดยละเอียด

อกุศลกรรมบถ ๑
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
             ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางกาย มี ๓ อย่าง
ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง
             ความไม่ประพฤติธรรมทางกาย ๓ อย่าง คือบุคคลบางคนในโลกนี้
             ๑. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด พอใจในการประหาร
และการฆ่า ไม่มีความละอาย ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งปวง
             ๒. เป็นผู้ถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้ คือ ลักทรัพย์เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
ของบุคคลอื่น (เครื่องบริขารที่ก่อให้เกิดความยินดี) ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า
ที่เจ้าของมิได้ให้ อันนับว่าเป็นขโมย
             ๓. เป็นผู้ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ถึงความสมสู่ในพวกหญิงที่
มารดา บิดา มารดาและบิดา พี่ชาย พี่สาว และญาติรักษา
             พวกหญิงที่มีสามี ที่อิสรชนหวงห้าม (ที่กฏหมายคุ้มครอง)
             ที่สุดแม้หญิงที่เขาคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย (หญิงที่เขาหมั้นไว้)

             ความไม่ประพฤติธรรมทางวาจา ๔ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
             ๑. เป็นผู้กล่าวเท็จ คือ ไปในที่ประชุมหรือไปในหมู่ชน หรือไปในท่ามกลางญาติ
หรือไปในท่ามกลางขุนนาง หรือไปในท่ามกลางราชสกุล หรือถูกนำไปเป็นพยาน
             เมื่อถูกถามแล้ว ไม่รู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็น
เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็น
             เป็นผู้กล่าวคำเท็จทั้งรู้อยู่ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง
เพราะเหตุเห็นแก่สิ่งเล็กน้อยบ้าง
             ๒. เป็นผู้ส่อเสียด คือ ได้ฟังข้างนี้แล้ว นำไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายพวกข้างนี้บ้าง
             ยุพวกที่พร้อมเพรียงกันให้แตกกันไปบ้าง ส่งเสริมพวกที่แตกกันบ้าง
ส่งเสริมพวกที่แตกกันแล้วบ้าง
             ชอบใจในคนที่แตกกันเป็นพวก ยินดีในความแตกกันเป็นพวก
ชื่นชมในพวกที่แตกกัน และกล่าววาจาที่ทำให้แตกกันเป็นพวก
             ๓. เป็นผู้มีวาจาหยาบ คือ กล่าววาจาที่เป็นโทษหยาบ อันเผ็ดร้อนแก่ผู้อื่น
อันขัดใจผู้อื่น อันใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบจิต
             ๔. เป็นผู้กล่าวคำเพ้อเจ้อ คือ พูดในเวลาไม่ควรพูด พูดเรื่องที่ไม่เป็นจริง
พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็นธรรม พูดไม่เป็นวินัย
             กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
โดยกาลไม่สมควร

             ความไม่ประพฤติธรรมทางใจ ๓ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้
             ๑. เป็นผู้มีความโลภมาก คือ เพ่งเล็งทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ
ของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราเถิด
             ๒. เป็นผู้มีจิตพยาบาท คือ มีความดำริในใจอันชั่วช้าว่า
ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่าบ้าง จงถูกทำลายบ้าง จงขาดสูญบ้าง อย่าได้มีแล้วบ้าง
             ๓. เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ผลแห่งทานที่ให้แล้วไม่มี
ผลแห่งการบูชาไม่มี ผลแห่งการเซ่นสรวงไม่มี ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี
             โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ทั้งหลายที่เป็นอุปปาติกะไม่มี
             สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า
ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอนให้ผู้อื่นรู้ไม่มีอยู่ในโลก

กุศลกรรมบถ ๑๐
             ความประพฤติเรียบร้อย คือ ความประพฤติธรรมทางกายมี ๓ อย่าง
ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง
              (เนื้อความตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบถ ๑๐)

             ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม หากหวังว่า
             เมื่อตายไปแล้วขอให้ได้เกิดเป็นกษัตริย์มหาศาลเถิด ก็เป็นไปได้
... พราหมณ์มหาศาล ... คฤหบดีมหาศาล ... ก็เป็นไปได้
             เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ... เทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ...
เทวดาชั้นดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ... ก็เป็นไปได้
(เทวโลก ๖ ชั้น)
             เทวดาที่เนื่องในหมู่พรหม (พรหมกายิกา ๓ ชั้น) ... เทวดาชั้นอาภา  
(เทวดาชั้นปริตตาภา ... เทวดาชั้นอัปปมาณาภา ... เทวดาชั้นอาภัสสรา) ...
เทวดาชั้นปริตตสุภา ... เทวดาชั้นอัปมาณสุภา ... เทวดาชั้นสุภกิณหกะ ...
เทวดาชั้นเวหัปผละ ... เทวดาชั้นอวิหา ... เทวดาชั้นอตัปปา ...
เทวดาชั้นสุทัสสา ... เทวดาชั้นสุทัสสี ... เทวดาชั้นอกนิฏฐะ ... ก็เป็นไปได้
(ตรัสรูปพรหมที่มีสัญญา ๑๕ ชั้นเท่านั้น เพราะอสัญญีภพนั้น พวกดาบสและ
ปริพพาชกภายนอก (ศาสนา) สะสมกัน)
             เทวดาผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึงวิญญาณัญจายตนภพ
... เทวดาผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพ ... เทวดาผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
... ก็เป็นไปได้ (อรูปพรหม ๔ ชั้น)
             ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรม หากหวังว่า
             เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะ
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในชาตินี้เถิด ก็เป็นไปได้
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ_2

             เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว
             พวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านสาละได้กราบทูลสรรเสริญ
พระภาษิตของพระองค์ แล้วทูลขอเป็นอุบาสกผู้ถึงไตรสรณะตลอดชีวิต

แก้ไขตาม #3-52, #3-65

ความคิดเห็นที่ 3-52
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 02:19 น.  

GravityOfLove, 11 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๕. จูฬยมกวรรค
             ๑. สาเลยยกสูตร ทรงโปรดชาวบ้านสาละ
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8867&Z=9055&bgc=papayawhip&pagebreak=0
...
9:18 PM 5/21/2013

             ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน
             ขอติงเล็กน้อยดังนี้ :-
             (เนื้อความตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบท ๑๐)
แก้ไขเป็น
             (เนื้อความตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบถ ๑๐)
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
เทวดาชั้นเวหัปผละ (รวมอสัญญีภพ) ... เทวดาชั้นอวิหา ... เทวดาชั้นอตัปปา ...
             แก้ไขเป็น
เทวดาชั้นเวหัปผละ ... เทวดาชั้นอวิหา ... เทวดาชั้นอตัปปา ...
             ในพระสูตรนี้ไม่มีคำว่า อสัญญีภพ ทั้งในอรรถกถาก็กำชับว่า
ส่วนอสัญญภพ พวกดาบสและปริพพาชกภายนอกสะสมกัน ฉะนั้น จึงไม่ทรงแสดงในที่นี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=483

ความคิดเห็นที่ 3-53
ฐานาฐานะ, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 02:24 น.

             คำถามในสาเลยยกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8867&Z=9055

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             2. การแสดงธรรมโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่อตัดมานะของผู้ฟังก่อน แล้วจึงทรงแสดงโดยละเอียดในภายหลัง
ดังในพระสูตรนี้ ได้เคยพบมาก่อนหรือไม่ และในพระสูตรใด?

ความคิดเห็นที่ 3-54
GravityOfLove, 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 07:44 น.

ขอบพระคุณค่ะ
ถ้าเอาอสัญญีำภพออก ก็จะนับรูปพรหม ๑๖ ชั้นไม่ครบนะคะ จะเหลือ ๑๕ ชั้นเท่านั้น
ส่งผลต่อเทวโลกรวม ๒๖ ชั้นด้วย
และจะต้องตัดวงเล็บคำว่า รูปพรหม ๑๖ ออกด้วยหรือไม่คะ
แก้ไขอย่างไรดีคะ
---------------------
             ตอบคำถามในสาเลยยกสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8867&Z=9055

             1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑.  ความประพฤติไม่เรียบร้อย คือ ความไม่ประพฤติธรรมทางกาย มี ๓ อย่าง
ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต และนรก
             ๒. ความประพฤติเรียบร้อย คือ ความประพฤติธรรมทางกาย มี ๓ อย่าง
ทางวาจามี ๔ อย่าง ทางใจมี ๓ อย่าง เป็นเหตุให้เหล่าสัตว์บางพวกในโลกนี้หลังจากตาย
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
             ๓.  ถ้าบุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม
หากหวังว่า เมื่อตายไปแล้ว
ขอให้ได้เกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล ฯลฯ เป็นพรหม
หรือพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ
อันไม่มีอาสวะในชาตินี้ก็เป็นไปได้
             ๔. การถามมีสองอย่างคือ
                  ๑ การถามแบบชาวบ้าน เช่น "พระคุณเจ้า อะไรเป็นกุศล
อะไรเป็นอกุศล" << การถามในพระสูตรนี้คือข้อนี้
                  ๒ การถามแบบนักบวช เช่น "ท่านผู้เจริญ เหล่านี้หรือหนอ
เป็นอุปาทานขันธ์ ๕"
             ๕. พระสูตรนี้เป็น พระธรรมเทศนาบุคคลาธิษฐาน
             ๖. คำว่า "เสด็จเที่ยวจาริก" คือ กำลังเสด็จเที่ยวจาริกแบบไม่รีบร้อน
             ๗. ด้วยอาการเพียงแต่แลดูด้วยความเพ่งเล็งเท่านั้น
ยังไม่ถือว่าเป็นอกุศลกรรมบถ
ต่อเมื่อน้อมมาเป็นของตนว่า "ทำอย่างไรหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของของฉัน
ฉันพึงวางอำนาจให้เป็นไปในของสิ่งนี้" ดังนี้ จึงถือว่าเป็นอกุศลกรรมบถ
             ๘. ด้วยเหตุเพียงความโกรธ ยังไม่ถือว่าเป็นอกุศลกรรมบถ
ถ้าคิดว่า "จงถูกฆ่า" เป็นต้น จึงถือว่าเป็นอกุศลกรรมบถ
             ๙. เทวโลก ๒๖ ชั้น
             ๑๐. กุศลกรรมบถ ๑๐ ข้อ ก็คือ ศีล
             การบริกรรมกสิณ ย่อมสําเร็จแก่ผู้มีศีลเท่านั้น
--------------------
             2. การแสดงธรรมโดยย่อที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่อตัดมานะของผู้ฟังก่อน แล้วจึงทรงแสดงโดยละเอียดในภายหลัง
ดังในพระสูตรนี้ ได้เคยพบมาก่อนหรือไม่ และในพระสูตรใด?
            จูฬกัมมวิภังคสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=7623&Z=7798
             อรรถกถา :-
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงหักมานะของมาณพนั้นว่า
มานะนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอะไร เราย่อมรู้สิ่งที่ตรัสนั้นแล อย่าได้มี ดังนี้ จึงตรัสทำให้แทงตลอดได้โดย
ยากว่า เราจักแสดงทำให้แทงตลอดได้ยากตั้งแต่เบื้องต้นเทียว แต่นั้น มาณพจักขอเราว่า
             ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ ขอพระองค์จงทรงแสดงทำให้ปรากฏแก่ข้าพระองค์
โดยพิสดาร ลำดับนั้น เราจักแสดงแก่เขาในเวลาร้องขอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นประโยชน์แก่มาณพนั้น ดังนี้.
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=579
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/02/Y11736976/Y11736976.html#70

ย้ายไปที่



Create Date : 26 มิถุนายน 2556
Last Update : 22 มิถุนายน 2557 6:49:24 น.
Counter : 598 Pageviews.

0 comments

แก้วมณีโชติรส
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]



มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
27
28
29
30
 
 
All Blog