14.8 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร. การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก 14.7 พระสูตรหลักถัดไป คือกกจูปมสูตรและอลคัททูปมสูตร. ความคิดเห็นที่ 4-62 ความคิดเห็นที่ 4-63 GravityOfLove, 22 มีนาคม เวลา 23:00 น. ในอรรถกถา เรื่องพระตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม ถือว่าเป็นบทธรรมหรือไม่คะ ประทับเรื่องนี้ด้วยค่ะ ตอบว่า ไม่ค่อยเข้าใจคำถามครับ จะถามว่า มีในธรรมบทหรือไม่? หรืออย่างไร? << นำเนื้อหาในอรรถกถาไปตอบในคำถามที่ว่า ประทับบทธรรมใด ได้หรือไม่คะ -------------------------- คำถามข้อที่ ๓ ตอบไม่ถูกซักข้อ แต่มีตรงบ้างคือ เกี่ยวกับเรื่องสำนักนี้ คิดว่าลิงค์หมดแค่นั้นค่ะ ก็เลยได้ลิงค์ไม่ตรง ตอนตอบคำถามนึกไม่ออกค่ะ พอเฉลยก็นึกออก (เลยเชียว) ความคิดเห็นที่ 4-64 ฐานาฐานะ, 22 มีนาคม เวลา 23:25 น. GravityOfLove, 20 นาทีที่แล้ว ในอรรถกถา เรื่องพระตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม ถือว่าเป็นบทธรรมหรือไม่คะ ประทับเรื่องนี้ด้วยค่ะ ตอบว่า ไม่ค่อยเข้าใจคำถามครับ จะถามว่า มีในธรรมบทหรือไม่? หรืออย่างไร? << นำเนื้อหาในอรรถกถาไปตอบในคำถามที่ว่า ประทับบทธรรมใด ได้หรือไม่คะ นำเนื้อหาในอรรถกถามาตอบได้ครับ. -------------------------- คำถามข้อที่ ๓ ตอบไม่ถูกซักข้อ แต่มีตรงบ้างคือ เกี่ยวกับเรื่องสำนักนี้ คิดว่าลิงค์หมดแค่นั้นค่ะ ก็เลยได้ลิงค์ไม่ตรง ตอนตอบคำถามนึกไม่ออกค่ะ พอเฉลยก็นึกออก (เลยเชียว) <<< รับทราบครับว่า พอเฉลยก็นึกออก (เลยเชียว) ความคิดเห็นที่ 4-65 ฐานาฐานะ, 22 มีนาคม เวลา 23:46 น. คำถามชุดที่ 2 ขอเวลานึกก่อน อาจนึกออกวันพรุ่งนี้ หรือนึกไม่ออกก็ได้. ความคิดเห็นที่ 4-66 GravityOfLove, 22 มีนาคม เวลา 23:52 น. ค่ะ จะดูว่าเกร็งคำถามตรงหรือไม่ ความคิดเห็นที่ 4-67 ฐานาฐานะ, 23 มีนาคม เวลา 12:45 น. คำถามชุดที่ 2 ในรถวินีตสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4938&Z=5108 1. กถาวัตถุ 10 ประการ เคยได้ศึกษาจากลิงค์ใดมาก่อนหรือไม่? 2. พระสูตรนี้น่าจะเกิดขึ้นช่วงเวลาใด? 3. ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นเลิศทางด้านใด หรือไม่ อย่างไร? ความคิดเห็นที่ 4-68 GravityOfLove, 23 มีนาคม เวลา 16:23 น. ตอบคำถามชุดที่ 2 ในรถวินีตสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4938&Z=5108 1. กถาวัตถุ 10 ประการ เคยได้ศึกษาจากลิงค์ใดมาก่อนหรือไม่? นอกจากกระทู้แรก เรื่องการสนทนาในห้องศาสนา ยังมีอีกหรือคะ ขอนึก ... จำได้ว่าเคยเรียน แต่นึกไม่ออกว่าที่ไหนค่ะ ถ้านึกอะไรไม่ออก ไปที่ทสุตรสูตรและสังคีติสูตรเลย ... ปรากฏว่า ไม่มีค่ะ มีแต่กถาวัตถุ ๓ ลองไล่ทีละกระทู้จากข้างหลังไปข้างหน้า ... เจอแล้วค่ะ ตอบว่า ในเมฆิยสูตร อย่างไรก็ตาม กถาวัตถุ 10 ประการนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ ในเมฆิยสูตร ดังนี้ว่า พระพุทธพจน์ :- อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิต คือ อับปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสนกถา นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ฯ เมฆิยสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=23&A=7531 //2g.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12560599/Y12560599.html#124 กระทู้ที่ ๑๑ เห็นว่า อ่านได้เร็ว แนะนำสองพระสูตรเลย คือ เมฆิยสูตร และอลคัททูปมสูตร //topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#29 กระทู้ที่ ๑ ---------------------------------------------------- 2. พระสูตรนี้น่าจะเกิดขึ้นช่วงเวลาใด? ไม่แน่ใจคำถามค่ะ เกิดตอนที่พระพุทธองค์ประทับที่พระเชตวันค่ะ (ตอนพระเถระทั้งสองสนทนากัน) จากพุทธกิจ ๔๕ พรรษา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพรรษาที่ ๑๔ เพราะพระเถระทั้งสองท่านอาจยังไม่เคยพบกัน พ.๑๔ พระเชตวัน (พระราหุลอุปสมบทคราวนี้) พ.๒๑-๔๔ ประทับสลับไปมา ณ พระเชตวันกับบุพพาราม พระนครสาวัตถี (รวมทั้งคราวก่อนนี้ด้วย อรรถกถาว่าพระพุทธเจ้าประทับที่เชตวนาราม ๑๙ พรรษา ณ บุพพาราม ๖ พรรษา) //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธกิจ แต่ประเดี๋ยวก่อนค่ะ นึกถึงตอนต้นๆ ในเนื้อความพระสูตร >> ครั้งนั้น ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศจำนวนมาก จำพรรษาแล้ว ในชาติภูมิ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ตอบว่า หลังจากออกจากการจำพรรษาแล้วไม่นาน ไหนๆ ก็ดูพุทธกิจ ๔๕ พรรษาแล้ว ถ้าถามต่อว่า เป็นพรรษาที่เท่าใด สามารถระบุได้หรือไม่คะ Gravity สันนิษฐานว่า พ.๒-๓-๔ พระเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ (ระยะประดิษฐานพระศาสนา เริ่มแต่โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ได้อัครสาวก ฯลฯ เสด็จนครกบิลพัสดุ์ครั้งแรก ฯลฯ อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นอุบาสกถวายพระเชตวัน พรรษาที่ ๓ น่าจะประทับที่พระเชตวัน นครสาวัตถี) ---------------------------------------------------- 3. ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นเลิศทางด้านใด หรือไม่ อย่างไร? << เก็งข้อนี้ถูก ตอบว่า เป็นเลิศด้านธรรมกถึก พระปุณณมันตานีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นธรรมกถึก (นักเทศน์) เอตทัคคบาลี //84000.org/tipitaka/read/?20/146-152 คำว่า ธรรมกถึก //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรมกถึก ความคิดเห็นที่ 4-69 ฐานาฐานะ, 23 มีนาคม เวลา 21:31 น. GravityOfLove, 3 ชั่วโมงที่แล้ว ตอบคำถามชุดที่ 2 ในรถวินีตสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4938&Z=5108 ... 4:22 PM 3/23/2013 คำถามที่ 1 ตอบได้ถูกต้องครับ. คำถามที่ 2 สันนิษฐานว่า ถูกต้องครับ เนื่องจาก ในอรรถกถา (หน้าต่างที่ 2) ได้กล่าวถึงพระเจ้าสุทโธทนมหาราช คือ เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรจะเดินทาง ได้ทูลพระเจ้าสุทโธทนมหาราช แสดงว่า พระเจ้าสุทโธทนมหาราชยังทรงพระชนม์อยู่ (ยังไม่ปรินิพพาน) อรรถกถารถวินีตสูตร //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=292&p=2 จึงสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นพรรษา 2-3-4 เพราะขณะนั้นยังไม่มีพระภิกษุณี. คำว่า พุทธกิจ ๔๕ พรรษา //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธกิจ_๔๕_พรรษา คำถามที่ 3 ตอบได้ถูกต้องครับ. ความคิดเห็นที่ 4-70 ฐานาฐานะ, 23 มีนาคม เวลา 21:37 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า รถวินีตสูตร จบบริบูรณ์. พระสูตรหลักถัดไป คือนิวาปสูตรและปาสราสิสูตร. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ นิวาปสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5109&Z=5383 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=301 ปาสราสิสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5384&Z=5762 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=312 จูฬหัตถิปโทปมสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=5763&Z=6041 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=329 มหาหัตถิปโทปมสูตร //84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=6042&Z=6308 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340 ย้ายไปที่ |
แก้วมณีโชติรส
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog
All Blog
Link |
||||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
GravityOfLove, 2 นาทีที่แล้ว
ตอบคำถามในรถวินีตสูตร
//84000.org/tipitaka/v.php?B=12&A=4938&Z=5108
...
9:29 PM 3/22/2013
คำถามข้อที่ 1 ตอบได้ดีครับ
คำถามข้อที่ 2 ประทับบทธรรมส่วนใดมากที่สุด และรองที่สุด.
ประทับใจวิสุทธิ ๗ มากที่สุด
- ตรงที่ท่านอุปมาเหมือนรถ ๗ ผลัด ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
- ตรงที่ว่าพระสูตรนี้นี่เอง (หรือเปล่า ที่คุณฐานาฐานะเคยเล่าให้ฟัง) ที่ท่านพระโฆษาจารย์
นำมาเป็นแนวทางในการรจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ตอบว่า พระสูตรนี้ ถูกต้องครับ
คำว่า วิสุทธิ_7
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิสุทธิ_7 (คัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งหมด.)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=คัมภีร์วิสุทธิมรรคทั้งหมด.&detail=on
คำว่า วิสุทธิมรรค
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิสุทธิมรรค
บทธรรมที่ประทับใจรองลงมาคือ แม้วิสุทธิ ๗ ก็ยังเป็นธรรมที่มีอุปาทาน
ดังนั้นจึงไม่ถือว่า นิพพาน เพราะนิพพานจะไม่มีปัจจัยใดๆ ทั้งสิ้น เช่น อุปาทาน ปรุงแต่ง
ปรินิพพานที่หาปัจจัยปรุงแต่งมิได้ เรียกว่า อนุปาทาปรินิพพาน
ในอรรถกถา เรื่องพระตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม ถือว่าเป็นบทธรรมหรือไม่คะ
ประทับเรื่องนี้ด้วยค่ะ
ตอบว่า ไม่ค่อยเข้าใจคำถามครับ จะถามว่า มีในธรรมบทหรือไม่? หรืออย่างไร?
สีหสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=2801
อุรุเวลสูตรที่ ๑
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=510&Z=554
คำถามข้อที่ 3 เป็นการทดสอบความจำ และความละเอียดในการอ่าน.
3. การไม่คลุกคลีด้วย 5 ประการ นัยของการไม่คลุกคลี 5 อย่างนี้
คุณ GravityOfLove เคยได้ศึกษามาก่อนหรือไม่
หรือว่า ผมเคยให้ลิงค์ที่มีนัยนี้มาก่อนหรือไม่? และด้วยลิงค์ใด?
เฉลยว่า เห็นคำว่า (แต่อย่าเข้าไปใกล้) ในคำตอบที่ 3
ก็มองหาลิงค์นัยตรงๆ ก็ไม่เห็นมี คำนี้มีขยายความใน #135
สรุปว่า ผมเคยให้ลิงค์ที่มีนัยนี้มาก่อน ในกระทู้ที่ 1 #135
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html#135 #135
คำว่า (แต่อย่าเข้าไปใกล้) คำนี้เพื่อประโยชน์ของคุณ GravityOfLove
1. เข้าไปใกล้ด้วยกาย ก็คบค้าสมาคมกับพวกเขา ย่อมอาจคล้องตามได้
เมื่อคล้องตาม ก็เป็นเข้าไปใกล้ด้วยใจ.
2. เข้าไปใกล้ด้วยกาย เมื่อไม่เห็นด้วยกับเขา ก็อาจทะเลาะกัน
ทำร้ายกันได้ ทั้งสองกรณีนี้ ไม่เป็นผลดีต่อคุณเลย อย่างน้อยๆ ก็เสียเวลา.
ความเกี่ยวข้องมี ๕ อย่าง
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296&p=2#ความเกี่ยวข้องมี_๕_อย่าง
พอนึกได้หรือยังหนอ?
กระทำเภสัชด้วยสมอดองเท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง นี้ชื่อว่ายถสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย
แก้ไขเป็น
กระทำเภสัชด้วยสมอดองเท่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่ง นี้ชื่อว่ายถาสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย