Group Blog
ยูโด ทั่วๆไป
judo black belt
ยูโดสายดำกับ67ท่าทุ่ม
<<
มกราคม 2555
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
15 มกราคม 2555
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ10 KANGEIKO judo winter training at japan
All Blogs
แข่งกับตัวเองให้ดีก่อนจะไปแข่งกับคนอื่น
หลักการซ้อมท่าทุ่มยูโด ท่าโคชิกุรุม่า
หลักการซ้อมท่าทุ่มยูโด ท่าฮิสะกุรุม่า
หลักการซ้อมท่าทุ่มยูโด ท่าซาซาเอะทรึริโกมิอาชิ
ไปซ้อมยูโดที่ญี่ปุ่นมา สี่อย่างที่ควรเน้นสำหรับมือใหม่
ยูโด มีแขกพิเศษมาสอนยูโดที่ มหาลัยจุฬา
ยูโด เซไกอิดชู around the world ท่าชุดสำหรับการซ้อมเนวาซะ
ยูโดสายดำ (ภาคเมืองไทย)4 - การปรับเปลี่ยนพื้นฐานอีกครั้ง
ยูโดสายดำ (ภาคเมืองไทย)3 - การปรับเปลี่ยนพื้นฐานอีกครั้ง
ยูโดสายดำ (ภาคเมืองไทย)2 - การปรับเปลี่ยนพื้นฐานอีกครั้ง
ตีแผ่ เนื้อหาการซ้อมยูโดที่โคโดกัง 1ปีสู่สายดำ
ยูโด - การจัดท่าเพิ่มความเร็วให้กับท่าทุ่มของเรา
Judo Timeline เส้นทางยูโดของผมในปี 2014
ยูโด คาตาเมะวาซะ แนวทางการซ้อมยูโดเนวาซะของมัธยมโคคุชิกัง
kodokan judo 精力善用 自他共栄 คำขวัญโคโดกังยูโด
kodokan judo concept แนวคิดโคโดกังยูโด
เกี่ยวกับเรื่องยูโด ในส่วนของ "ท่าอุจิโกมิ"
บทสรุปยูโดในรอบปี สิ่งที่เป็นเทคนิคยูโดเล็กๆน้อยๆที่ได้เรียนรู้มา
ซ้อมยูโดที่ฮ่องกง
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ ภาคโคเซ็นยูโด 1
ซ้อมยูโด ให้ถอยหลัง1ก้าว กลับไปซ้อมพื้นฐาน
โคโดกังยูโด คอร์สระดับสูงเรียนลัด5วัน
โคเซ็นยูโด การซ้อมยูโดภาคฤดูร้อน SHOCYUGEIKO judo summer training at japan 2013 3/3
โคเซ็นยูโด การซ้อมยูโดภาคฤดูร้อน SHOCYUGEIKO judo summer training at japan 2013 2/3
โคเซ็นยูโด การซ้อมยูโดภาคฤดูร้อน SHOCYUGEIKO judo summer training at japan 2013 1/3
หลักการซ้อมยูโดแบบญี่ปุ่นของเยาวชนโทไก 4/4
หลักการซ้อมยูโดแบบญี่ปุ่นของเยาวชนโทไก 3/4
หลักการซ้อมยูโดแบบญี่ปุ่นของเยาวชนโทไก 2/4
หลักการซ้อมยูโดแบบญี่ปุ่นของเยาวชนโทไก 1/4
สัมมนาศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น
พรุ่งนี้แล้ว สำหรับการแข่งยูโดครั้งแรกที่ตั้งใจอย่างเป็นทางการ
22เนวาซะการซ้อมยูโดภาคฤดูหนาว KANGEIKO judo winter training at japan 2013
การซ้อมยูโดภาคฤดูหนาว KANGEIKO judo winter training at japan 2013
ความทรงจำเกี่ยวกับยูโดในปี2012ของผม
ประสบการณ์ซ้อมยูโดครั้งแรกที่ โดโจของอำเภอ(ใกล้ๆบ้าน)
ได้มีโอกาสไปกินข้าวกับเพื่อนซี้ + ไปดูโดโจ(สนามยูโด)ของอำเภอใกล้ๆบ้าน
ยูโดกับระบบนึกคิด และการวางตัว ภาพสะท้อน20เดือนผ่านเข้ามาในหัว
ได้มีโอกาสกลับไปซ้อมยูโดที่โคโดกังอีกครั้ง กับ โออุจิการิ
หนังสือของผม เที่ยวอเมริกา4เมืองใหญ่
ยูโด2012 SHOCHUGEIKO mid-summer training at japan 10วันผมทำได้
ยูโดของผม สุดท้ายผมก็ได้สายดำของญี่ปุ่นมาจนได้ครับ
เพิ่มคลิป-การสอบสายครั้งล่าสุดถูกผมป่วนจนคู่ที่เหลือต้องเลิกแข่งไปครับ
ยูโดกับเทคนิคการช่วงชิงจังหวะจับ (เพิ่มรูปแล้วครับ)
พรุ่งนี้สอบยูโดเลื่อนสาย 1คิว (ครั้งที่เท่าไรแล้วครับ)
วิดีโอ-การสอบแข่งยูโด1คิวที่โคโดกัง (อีกครั้ง)
พรุ่งนี้สอบยูโดเลื่อนสาย 1คิว (อีกครั้ง)
วันนี้เจอเรื่องแย่แต่เช้า ดันไปมีเรื่องวิวาทกับคนญี่ปุ่นซะได้
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ10 KANGEIKO judo winter training at japan
ยูโด โคโดกัง คากามิ-บิรากิ2012 JUDO-KATA
99ความทรงจำเกี่ยวกับการซ้อมยูโดที่ญี่ปุ่นในเวลาที่ผ่านมา
วิดีโอ-การสอบแข่งยูโด1คิวที่โคโดกัง
พรุ่งนี้สอบยูโดเลื่อนสาย 1คิว
ยูโด-เจอแบบนี้ให้ผู้ใหญ่บางคนพูดก็ยังพูดไม่ออกเลย
ยูโด-ครั้งแรกของการรันโดริกับอาจารย์ผู้สอน
พักยกround6 อาจารย์ยูโดสายดำขั้น7 กับความเหมือน
การสอบสายยูโด2คิวที่โคโดกัง
พรุ่งนี้สอบยูโดเลื่อนสาย 2คิว
การสอบสายยูโด 3คิวที่โคโดกัง
เสพติดยูโดมากไป จนติดใจกับการทุ่มซะแล้ว
ท่ายูโด เซโอนาเกะ เซโอนาเกะ แล้วก็เซโอนาเกะ
การสอบสายยูโด 4คิวที่โคโดกัง
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ9
ยูโดวันนี้กับ2เรื่องประทับใจที่ได้เจอะเจอในการรันโดริ
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ8
ความหมายในสิ่งที่เรียกว่า柔道(judo-ยูโด)ของคนญี่ปุ่น
Judo kanto taikai at saitama การแข่งขันยูโดนักศึกษาเขตคันโต part2
Judo kanto taikai at saitama การแข่งขันยูโดนักศึกษาเขตคันโต part1
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ7
การสอบสายยูโด 5คิวที่โคโดกัง
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ6
พักยกRound5 การฝึกเปลี่ยนมาจับทางด้านซ้าย+ซ้อมยูโดครั้งที่2กับเด็กญี่ปุ่นม.ปลายเรื่องใจสู้ยกให้เลย
พักยกRound4 ประสบการณ์ซ้อมยูโดกับเด็กญี่ปุ่นม.ปลาย + ซ้อมเนวาซะ
Paris judo world championship 2011 - send-off party at kodokan Tokyo,japan
พักยกRound3 ยูโด-รันโดริกับเพื่อนที่โคโดกัง(อย่างเป็นทางการ) + ทำบัตรจอดรถหาย
พักยกRound2 ญี่ปุ่นวันทะเลกับรันโดริที่มหาลัย + ชุดยูโดmade in japanดีจริงเหรอ
พักยกRound1 ใจรักแต่ร่างกายไม่เอื้ออำนวย + ห้องฝึกกล้ามเนื้อสำหรับนักกีฬายูโดโอลิมปิค
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ5
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ4.5 SHOCHUGEIKO mid-summer training at japan
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ4
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ3
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ2
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ10 KANGEIKO judo winter training at japan
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ10 KANGEIKO winter training at japan
เป็นประเพณีของโคโดกังทุกๆปีที่จะต้องมีการฝึกภาคฤดูหนาวหลังจากปีใหม่ การฝึกฤดูหนาวนี้จะเป็นการฝึกซ้อมในช่วงเช้าแทนการฝึกในช่วงเย็น เวลาที่กำหนดไว้คือ ตีห้าครึ่งถึงเจ็ดโมงครึ่ง เป็นเวลาติดกัน10วัน ไม่เว้นวันหยุดหรือวันอาทิตย์
ใน10วันนี้ก็จะมีงานประเพณีใหญ่อีกงานหนึ่งของโคโดกัง คืองาน คากามิบิรากิ แปลเป็นไทยไม่ถูกเหมือนกัน แต่ความหมายน่าจะเป็นการเปิดฤกษ์ศักราชใหม่ ซึ่งก็จัดเป็นประจำทุกปี ปีนี้เป็นปีที่ 129 แล้ว ในงานนี้จะเริ่มต้นด้วยทักทายของเจ้าสำนัก ประธานโคโดกัง ตามมาด้วยตัวแทนรายงานผลประจำปีคร่าวๆและแผนการในปีนี้ แล้วก็จะเป็นการแสดงคาตะต่างๆโดยนักยูโดระดับสูง ส่วนใหญ่ก็เป็นระดับอาจารย์สายแดงขาวนั้นเอง ถัดมาก็จะเป็นการรันโดริ ระหว่างนักเรียนโคโดกัง กับนักกีฬายูโดของญี่ปุ่น เช่นนักกีฬาทีมชาติ นักกีฬาโอลิมปิค แชมป์รายการใหญ่ของญี่ปุ่น หรือว่า แชมป์ถ้วยโคโดกัง แล้วแต่ว่าจะติดต่อใครที่จะสามารถมาได้ในงานนี้ จากนั้นก็เป็นการกินโมจิ ตามประเพณีทั่วไปของญี่ปุ่น เป็นอันเสร็จพิธี งานนี้เพื่อความสะดวกจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกหรืออาทิตย์ที่2ของเดือนมกราคม
กลับมาเรื่องการฝึกซ้อมภาคฤดูหนาวกันดีกว่า ปีนี้วันที่กำหนดซ้อมคือ เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่6 ไปจนถึงวันอาทิตย์ที่15 การซ้อมนี้เริ่มตอนตีห้าครึ่ง ส่วนการเรียกรวมเช็คชื่อจะมี2รอบแล้วแต่ความสะดวกว่ามาทันรอบไหน คือมีรอบ หกโมงครึ่ง กับ เจ็ดโมงครึ่ง การเรียกรวมเช็คชื่อในรอบ6โมงครึ่ง คล้ายๆกับเป็นการแบ่งช่วงเวลาซ้อมไปในตัว คือรอบตี5ครึ่งถึง6โมงครึ่งจะเป็นการซ้อมเนวาซะ ส่วน6โมงครึ่งถึง7โมงครึ่งจะเป็นการซ้อมในท่ายืน แต่ใครจะไปทำอย่างอื่นก็ได้เช่นการรันโดริหรือว่าจะเน้นแต่การยืน หรือ การนอนอย่างเดียวก็ได้ เพราะว่ามันเป็น4สนามติด 2สนามนั้นอิสระสำหรับพวกยูโดระดับสูงจะทำอะไรก็ตามใจละกัน ส่วนอีก2สนามนั้นจะเป็นของเด็ก1สนามและก็สนามที่ผมซ้อมอยู่ประจำอีก1สนาม
เมื่อปีที่แล้ว ผมยังคิดเล่นๆอยู่เลยว่า เอาจริงเหรอจะมาทันเหรอ ตี5ครึ่ง ยังบอกเลยว่าถ้าจะมาทันก็ต้องตื่นตี3ครึ่ง ออกจากบ้านตี4 ขึ้นรถไฟตี4ครึ่ง ถึงสถานนีตี5ครึ่ง เดินไปที่โคโดกังอีก10นาที ก็คงประมาณ5.40 คนอื่นๆสามารถตื่นช้ากว่าหน่อยได้ ขึ้นอยู่กับการวิ่งรอบแรกของรถไฟด้วย บ้านผมรถไฟรอบแรกดันเป็นตอน 4.35 เรียกว่าตื่นเร็วกว่านี้ก็นั่งรถไฟรอบนี้อยู่ดี ไปยังไงจะให้ทัน5.30 คงเป็นไปไม่ได้ อาจารย์ที่ต้องเข้าร่วมก็อยู่ในอาการไม่ต่างกันเท่าไร บางคนไกลบางคนใกล้ วิธีตัดปัญหาที่ดีที่สุดคือ เช่าห้องพักของโคโดกังนอนมันซะเลยทั้ง10วัน แต่ว่าผมมีงานอย่างอื่นต้องทำด้วย แล้วก็มีติดเรียนด้วยการไปนอนที่นั้น10วันคนไม่ดีแน่ ก็ต้องตามที่คิดติดตลกไว้นั้นแหละ ตื่นตี3ครึ่งแล้วค่อยไปเริ่มซ้อมตอน5.40
วันแรกยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็เลยต้องรีบไปให้เร็วที่สุด ไปถึงเปลี่ยนชุดเริ่มขึ้นไปซ้อมตอน5.40 คนเยอะมากๆ มีทั้งเด็กตัวเล็กๆ ทั้งหญิงและชาย ไปจนถึงพวกแก่มากๆ กำลังวอร์มอัพกันอยู่ อาจารย์ทุกคนก็มากันหมด ทักทายแล้วจะหาที่หย่อนตัวลงไปในสนาม แทบจะไม่มีที่ต้องอยู่ขอบๆมุมๆสนาม เนื่องจากวันแรกจะมีพิธีเปิดตอนเรียกรวมครั้งแรก วันนี้ทุกคนเลยต้องใส่เต็มยศกันหมด รู้เลยว่าใครเป็นใคร สายอะไร ขาว ดำ(1-5ดั้ง) ขาวแดง(6-8ดั้ง) หรือว่าแดงล้วน(9-10ดั้ง) จากวันแรกจึงทำให้รู้ว่าวันต่อไปผมไม่ต้องรีบมาก็ได้ ตื่นมานั่งรถไฟตามปกติ แต่มาถึงแล้วนั่งบิดขี้เกียจอยู่ในห้องแต่งตัวจนถึง5.50 แล้วค่อยขึ้นไปซ้อมจะเป็นการเริ่มต้นซ้อมเนวาซะพอดี ก็เอาตามนี้จะกัน
สำหรับการซ้อมช่วงเย็นในช่วงการฝึกภาคฤดูหนาวนี้ อาจารย์จะจัดวันให้ซ้อมเป็นพิเศษแค่2วัน สำหรับคนที่มาซ้อมเช้าไม่ได้จริงๆ การเช็คชื่อถึงแม้จะมาซ้อมเช้าและเย็นก็ถือว่าเช็คชื่อเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ในทุกๆปีการซ้อม2วันในช่วงเย็นจะเป็นการสอนท่านอนแบบพิเศษ ที่จะสอนเหมือนๆกันทุกปี คือเป็นการใช้ท่าต่อเนื่องในท่านอน เรียกว่าเป็นการแก้เกมกันทั้ง2ฝ่ายในท่านอน คือคนที่ถูกล๊อคอยู่จะแก้เกมโดยการโจมตีไปในจุดที่อ่อนที่สุดของคู่ต่อสู้ในขณะเดียวกันคู่ต่อสู้นั้นก็จะป้องกันจุดอ่อนของตัวเองแล้วพลิกกลับมาใช้ท่าล๊อคลำดับต่อไป เรียกได้ว่าเป็นการจู่โจมและป้องกันไปในตัวกับท่าต่อเนื่องทั้ง8ท่า ซึ่งถ้าใช้จนครบแล้วก็จะกลับมาอยู่ในท่าลำดับที่1เหมือนเดิน อันนี้ผมว่าเป็นเคล็ดวิชาเนวาซะขั้นพื้นฐานของโคโดกังเลยก็ว่าได้ ใครไม่มีซ้อมช่วงบ่ายน่าเสียดายมากๆ พลาดไปแล้วต้องรอปีหน้าใหม่
สรุปผลการซ้อมของการฝึกซ้อมภาคฤดูหนาว
เนวาซะ
พัฒนาขึ้นจนเจ้าตัวอย่างผมยังงงเองเลยครับ อาจารย์จะสอนให้วันละ2-3ท่า แล้วในวันต่อๆมาก็จะมีการทบทวนท่าเหล่านั้นก่อนที่จะขึ้นท่าใหม่ต่อไป
1.คู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่า ใช้แขนทั้งสองข้างสอดเข้าไปที่ข้อศอกเอาหน้าอกช่วยดันในขณะที่แขนทั้ง2ข้างในก็ช่วยดึงไปในตัว แล้วเข้าล๊อคในท่าคุสุเรเคซะ หรือไม่ก็ โยโกชิโห
2.เหมือนกับ1แต่ว่าคราวนี้คู่ต่อสู้เหยียดขาออกมากันการดึง จากการดันไปข้างหน้าก็ต้องดันไปเป็นเฉียงหน้าแทน ท่าล็อคเป็นคุสุเรเคซะ กับ โยโกชิโห
3.เหมือนกับ2 แต่คราวนี้มือที่จับบริเวณข้อศอกของคู่ต่อสู้เปลี่ยนเป็นดึงแขนเสื้อมือนึง ส่วนอีกมือดึงที่คอเสื้อ แล้วเปลี่ยนจากการดันเป็นการดึงมาทางเฉียงหลังแทน ท่าล็อคก็เป็นคุสุเรเคซะ กับ โยโกชิโห
4.ขึ้นคร่อมตัวคู่ต่อสู้ในท่าเต่า เอาขาใส่เข้าไปในเข่าทั้ง2ข้างของคู่ต่อสู้ มือทั้ง2ข้างล้วงเข้าไปทางใต้แขนของคู่ต่อสู้แล้วดึงคอเสื้อทั้ง2ข้างของคู่ต่อสู้แบะออก หมุนตัวจะซ้ายก็ได้ขวาก็ได้ ในจังหวะหมุนขาที่อยู่ด้านล่างต้องดึงออกมาถึงประมาณช่วงเข่า พอหมุนตัวขึ้นมาจะเข้าล๊อคในท่า ทัดเตชิโห
5.คู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่า เข้าทางด้านหน้าของคู่ต่อสู้ มือนึง่จับสายรัดคู่ต่อสู้กดลง อีกมือนึงล้วงเข้าไปใต้แขนแล้ววนกลับมาล๊อคกับมือที่จับสายรัดคู่ต่อสู้ เบี่ยงตัวไป90องศาจากด้านหน้าแล้วใช้หน้าอกดันช่วย สามารถใช้ล๊อคในท่า ทัดเตชิโห กับ โยโกชิโห
6.ซังกะกุจิเม จุดสำคัญคือการล็อคคอคู่ต่อสู้ด้วยขาก่อนการเข้าท่าต้องพยายามล็อคให้แคบเข้าไว้ในรูปสามเหลี่ยมตามชื่อท่า กับ การใช้ชายเสื้อคู่ต่อสู้ช่วยล๊อคแขนอันนี้ต้องทำให้ชำนาญก่อนที่จะพลิกขาล่างออกมากลายเป็นท่า คามิชิโห แต่ถ้าขาล๊อคแน่นในจังหวะแรกคู่ต่อสู้ก็อาจจะยอมตั้งแต่จังหวะนั้นแล้ว
7.อันนี้ง่ายมากแต่ทำจริงๆถ้าน้ำหนักเท่าๆกันหรือตัวตัวใหญ่กว่าก็ใช้ไม่ค่อยเห็นผล คู่ต่อสู้นอนคว่ำ ส่วนผู้ใช้ก็ใช้การดึงบริเวณศอกกับเข่าของคู่ต่อสู้ให้พลิกตัวขึ้นมาเพื่อจะกดในท่า โยโกชิโห (ท่าอื่นก็ได้แล้วแต่ใครจะถนัดท่าไหน) ปัญหาคือการดึง บางครั้งดึงยากอาจจะใช้เข่าช่วยกดบริเวณหลังของคู่ต่อสู้ได้เล็กน้อย
8.เหมือน7 แต่ดึงทางด้านในแทน ดึงด้านในยากกว่าการดึงด้านนอกเล็กน้อย เพราะต้องใช้แรงดึงขึ้นมาตรงๆแล้วค่อยบิดเล็กน้อยในจังหวะที่คู่ต่อสู้ถูกดึงขึ้นมาแล้วให้พลิกไปเป็นหงายแทน (ไม่ค่อยชอบ7กับ8 เพราะว่ามันเป็นท่าที่คนตัวใหญ่ใช้จัดการคนตัวเล็กที่แรงน้อยกว่า)
9.คล้ายๆกับการดึงในแบบที่7กับ8 แต่ว่าคู่ต่อสู้ตัวใหญ่กว่ามาก ก็แค่ดึงขาข้างที่อยู่ใกล้ข้างนึงแล้วเอาขาของเราสอดเข้าไปให้ลงเข่าไขว้ไปที่ขาด้านนอกของคู่ต่อสู้จากนั้นก็มาจัดการที่มือบ้าง ล้วงเข้าไปที่ต้นแขนแล้วหมุนมา แบบนี้จะหมุนง่ายเพราะว่าขาช่วยหมุนค้างไปครึ่งนึงแล้วเหลือแค่ช่วงบน พอหมุนตัวคู่ต่อสู้หงายได้จะอยู่ในท่า ทัดเตชิโห แต่ปัญหาคือขาที่เราช่วยเสริมแรงหมุนในตอนแรกจะกลายเป็นปัญหาให้คู่ต่อสู้ใช้ขาคล่อมเอาไว้ทำให้เวลานับในการล๊อคไม่ทำงาน ก็ต้องแก้กันหน่อยโดยการเขย่าขาข้างที่ถูกล๊อคให้หลวมหน่อยนึงเอียงไปทางขวาหรือซ้ายก็ได้ แล้วค่อยเอาขาอีกข้างนึงช่วยปัดออก หลังจากหลุดแล้วจะล๊อคต่อในท่า ทัดเตชิโห หรือท่าโยโกชิโหก็ได้
10.คราวนี้มาเล่นท่านอนหงายกันบ้าง เริ่มจากนอนหงายทั้งคู่ คนที่จะเข้าล๊อคต้องเอาหน้าแข้งยันต้นขาของคู่ต่อสู้เอาไว้ (ให้ใช้หน้าแข้งนะครับส่วนเข่ายันลงพื้น ห้ามใช้เข่ายันลงไปที่ต้นขาของคู่ต่อสู้ในครับ ผิดกติกา) หลังจากนั้นหมุนตัวมาตามทางที่ยันเอาไว้ ในขณะที่มือนึงล้วงต้นขาไปจับบริเวณสายรัดคู่ต่อสู้เอาไว้ ส่วนอีกมืออ้อมไปล๊อคที่คอ ล๊อคได้แล้วขาก็พลิกออกมาเป็นท่าโยโชชิโห ขาข้างที่ใช้หน้าแข้งยันต้นขาคู่ต่อสู้นั้นให้พลิกออกมาเป็นจังหวะสุดท้าย (เอาอีกข้างพลิกตัวออกมาก่อน ไม่อย่างนั้นคู่ต่อสู้จะหมุนตัวหลบออกไปได้ง่าย)
11.เหมือน10แต่โหดกว่าตรงที่ตอนล้วงไปที่ต้นขาเพื่อไปจับที่สายรัดให้ล้วงลึกกว่านั้นไปจับที่คอเสื้อฝั่งตรงข้ามของคู่ต่อสู้ ออกแรงกดด้วย คู่ต่อสู้จะต้องรับภาระมากขึ้นบริเวณหลังที่งอตามแรงกดลงมา ส่วนที่เหลือเหมือนกับข้อที่10
12.อยู่ในท่านอนหงายด้วยกันเหมือนเดิม โดนคู่ต่อสู้ล๊อคลำตัวด้วยขาอยู่ ก็ให้เอาข้อศอกดันลงไปแล้วล้วงไปใต้ขาทั้ง2ข้าง อ้อมขึ้นไปจับบริเวณสายคาดเองทั้ง2ข้างแล้วดึงขึ้นมาจนแขนคู่ต่อสู้อยู่ในระยะที่จะเอาหน้าแข้งไปกดทับ(คล้ายกับข้อ9 แต่คราวนี้ใช้แข้งกดทับไปที่แขนคู่ต่อสู้แทนที่จะเป็นขาของคู่ต่อสู้) จุดสำคัญตรงนี้คือคนใช้ต้องหลังตั้งตรงห้ามงอ เพราะถ้างอแล้วแรงส่งมันอาจจะไม่มากพอที่จะดึงคู่ต่อสู้ขึ้นมาสูงพอที่จะถึงระยะเอาแข้งไปกดบริเวณแขน จากนั้นก็เอามืออ้อมไปล็อคคอ ส่วนขา2ข้างของคู่ต่อสู้ที่ถูกยกขึ้นมาก็ช่างมัน จังหวะนี้ยังไงคู่ต่อสู้ก็ต้องเอาขาลงเองอยู่แล้วก็แค่กดล็อคตามน้ำในท่าโยโกชิโห ส่วนขาที่เอาหน้าแข้งกดอยู่ที่แขนคู่ต่อสู้ก็กดมันค้างไว้อย่างนั้นแหละไม่ต้องเอาออก คู่ต่อสู้จะได้ดิ้นไม่ออก
13.เหมือน12แต่คล้าย11 จุดเริ่มต้นคือการล้วงไปที่ต้นขาอ้อมไปดึงสายรัดแล้วใช้หน้าแข้งกดแขนไว้ข้างนึง แขนข้างนึงที่จับสายรัดให้เอื้อมสูงขึ้นไปจับที่เสื้อตรงหน้าอกของคู่ต่อสู้(คล้ายกับข้อ10) จับได้แล้วคราวนี้เบี่ยงตัวไปอีกฝั่ง ปล่อยขาของคู่ต่อสู้เพียงข้างเดียวส่วนอีกข้างล๊อคเอาไว้อย่างนั้นแหละ จะเป็นการล๊อคในท่าโยโกชิโห อีกตามเคย
14.คราวนี้เราเป็นฝ่ายนอน ส่วนคู่ต่อสู้อยู่ด้านบนบ้าง เริ่มจากข้อเท้าทั้งให้พยายามอยู่ด้านในเข่าของคู่ต่อสู้ ดึงคู่ต่อสู้ลงมาให้แขนแยกไปซ้ายขวาอย่างละฝั่ง ส่วนตัวคู่ต่อสู้นั้นทับตัวเราลงมาเลย เลือกปัดแขนข้างนึงที่คู่ต่อสู้ยันพื้นอยู่นั้นออก(ปัดจากด้านใน) ในขณะที่ปัดขาข้างเดียวกับแขนข้างที่ปัดนั้นถีบเข่าคู่ต่อสู้ลงไป (ลักษณะจะคล้ายๆกับเก้าอี้4ขา แต่ถูกปัดออกไป2ขา เหลืออีกสองขา) ส่วนขาอีกฝั่งที่อยู่ด้านในเข่าตั้งแต่ตอนแรกนั้นยกขึ้น จะพลิกตัวหมุนกลับมาอยู่ด้านบนของคู่ต่อสู้ได้ง่ายๆ แขนที่บอกว่าให้ปัดแขนของคู่ต่อสู้จากทางด้านในนั้น หลังจากพลิกตัวขึ้นมาแล้ว จะทำให้มาอยู่ในจังหวะท่าล๊อคของทัดเตชิโหพอดี ท่านี้ฝึกชำนาญแล้วสะดวกดีครับ
15.เหมือน14 แต่คราวนี้แขนของคู่ต่อสู้ถูกดึงมาทางฝั่งเดียวกันทั้ง2ข้าง คราวนี้เราต้องเป็นฝ่ายดันตัวขึ้นเพื่อเอื้อมไปดึงสายรัดทางด้านหลังของคู่ต่อสู้หลังจากดึงได้แล้ว ขาอีกฝั่งนึง(ฝั่งที่มือไม่ได้เอื้อมไปดึงสายรัด) ให้เตะเข่าคู่ต่อสู้ขึ้นเพื่อพลิกตัวกลับมาด้านบน จังหวะนี้คู่ต่อสู้จะกลายเป็นอยู่ทางด้านล่างแทน ท่าที่ใช้ล๊อคได้สะดวกคือท่า คาตะกาตาเมะ กับท่า ทัดเตชิโห
16.ท่าล็อค อุเดการามิ เริ่มจากนอนหงายผู้ใช้อยู่ด้านล่าง ใช้มือดึงบริเวณข้อมือของคู่ต่อสู้เข้ามาแล้วใช้แขนอีกข้างใส่ท่าล๊อค อุเดการามิ การล็อคนอกจากจะทำให้คู่ต่อสู้ยอมด้วยความเจ็บ บางครั้งคู่ต่อสู้ยังไม่ยอมก็สามารถช่วยทำลายสมดุลย์พลิกคู่ต่อสู้ลงไปด้านล่างแทน เพื่อใช้ท่าล๊อค ทัดเตชิโห แทนได้
17.คาตะจุจิ จากท่านอนหงายอยู่ด้านล่างใช้คาตะจุจิ ถ้าล๊อคได้ก็ล๊อคไป ถ้าติดคอคู่ต่อสู้อยู่หรือว่าคู่ต่อสู้ใช้แขนกดสู้ ก็จะเกิดจังหวะที่จะพลิกคู่ต่อสู้ลงไปด้านล่างแทน แล้วค่อยล๊อคอีกครั้งอย่างจริงจังในท่าคาตะจูจิ หรือจะเปลี่ยนเป็นท่านอนนับเวลาท่าอื่นก็ได้แล้วแต่จังหวะจะพาไป
18.คุซุเรเคซะ จากท่าเต่า คนใช้อยู่ในท่าเต่า ส่วนคู่ต่อสู้เข้ามาจากด้านข้าง พอคู่ต่อสู้สอดแขนเข้ามาบริเวณต้นแขนให้ใช้ศอกหนีบเอาไว้ จุดที่เล็งไว้ควรจะเป็นบริเวณข้อมือของคู่ต่อสู้ เพราะจะทำให้คู่ต่อสู้ดิ้นหลุดลำบาก จากนั้นก็พลิกหมุนตัว1รอบ แขนข้างที่หนีบข้อมือคู่ต่อสู้อยู่นั้นเพื่อความหนาแน่นยิ่งขึ้นให้เอามือข้างนั้นจับคอเสื้อฝั่งตรงข้ามของตัวเอง ส่วนแขนอีกข้างจับล๊อคบริเวณเข่าคู่ต่อสู้เอาไว้ จุดสำคัญสุดท้ายคือห้ามนอนหงายเพราะเวลาจับล๊อคจะหยุดทันที ถือว่าไม่ได้เป็นท่าล๊อค ต้องยันตัวตะแคงเอาไว้ บางครั้งก็ต้องวัดใจเหมือนกันระหว่างเวลาที่เดินไปกับการที่คู่ต่อสู้ล๊อคคอในท่าคาตะจูจิอยู่ว่าใครจะทนกว่ากัน แต่ถ้าจังหวะแรกสามารถหนีบบริเวณข้อมือของคู่ต่อสู้ได้แล้ว กับนอนตะแคงได้ดีแล้วคู่ต่อสู้จะใช้คาตะจูจิได้ไม่ถนัด หรือกดคอลงมากันแขนคู่ต่อสู้ได้ จะทำให้คู่ต่อสู้ต้องเปลี่ยนเป็นดิ้นให้หลุดก่อนที่เวลาจะนับจนแพ้ไป
19.เหมือน18 แต่คู่ต่อสู้รู้ทันว่าจะม้วนตัวใช้คุซุเรเคซะ เลยจะก้าวขาข้ามมาอีกฝั่งเพื่อยันการหมุนตัวเอาไว้ ต้องรีบแก้เกมก่อน โดยการยกขากันไว้(คล้ายๆกับท่าหมาฉี่นั้นแหละ) พร้อมๆกับหมุนตัวไปในข้อ18
20.เหมือน18 แต่คู่ต่อสู้เข้ามาจากด้านหลัง อันนี้ต้องเพิ่มการเบี่ยงตัวไป90องศากับการใช้แขนอีกข้างที่ไม่ได้หนีบข้อมือคู่ต่อสู้นั้นดึงเข่าคู่ต่อสู้เอาไว้ แล้วค่อยหมุนตัวเหมือนกับข้อ18
21.วิธีสวนกลับเมื่อเจอกับท่า ซังกะกุจิเม จริงๆแล้ววิธีกันซังกะกุจิเมนั้นมีอยู่หลากหลาย ถ้าจะดีต้องกั้นตั้งแต่ก่อนที่ขาจะเข้ามาล๊อคแขนให้ได้ แต่ถ้าโดนล๊อคไปแล้วในจังหวะที่คู่ต่อสู้หมุนตัวลงไป ให้เอาแขนไปกันขาข้างที่จะมาล๊อคที่คอโดยการดันขึ้นไปด้านหลัง (ดันไปด้านบนอาจจะสู้แรงขาคู่ต่อสู้ไม่ไหวเพราะมีแรงโน้มถ่วงช่วยอยู่กับเราอยู่ในจังหวะเสียเปรียบด้านการประลองแรง แต่ถ้าดันไปด้านหลังก็พอจะหลุดออกมาได้) ส่วนแขนอีกข้าง จังหวะที่คู่ต่อสู้กำลังจะใช้ชายเสื้อหรือสายรัดช่วยล๊อคแขนข้างนั้นอยู่(โดยทั่วไป หลังจากที่ขาถูกแกะปลดจากการล๊อคได้ คู่ต่อสู้ต้องรีบล๊อคแขนต่อให้ได้เพื่อจะจับยึดในท่าคามิชิโหอยู่แล้ว)ให้รีบหนีบแขนคู่ต่อสู้เอาไว้แล้วค่อยๆยันตัวขึ้นไปอยู่ในท่าตะแคง ส่วนแขนอีกข้างก็จับเข่าคู่ต่อสู้เอาไว้ จะกลายเป็นอยู่ในท่า คุซุเรเคซะได้
22.อันนี้สอนวันสุดท้าย อาจารย์อีกท่านนึงเป็นผู้สอน คล้ายๆกับ15 คือเรานอนหงายคู่ต่อสู้กำลังจะคร่อมเรา ดึงแขนคู่ต่อสู้ให้ไปอยู่ฝั่งเดียวกันทั้ง2แขนมือนึงอ้อมไปจับสายรัด อีกมือนึงก็จับสายรัด จุดสำคัญคือว่าต้องกดมือข้างนึงของคู่ต่อสู้เอาไว้ที่หน้าอกก่อนหมุนตัวและหลังหมุนตัวก็ยังต้องกดอยู่ หมุนมาแล้วจะใส่เป็นท่าทัดเตชิโห หรือว่าท่าโยโกชิโหก็ได้
ทัตชิวาซะ(ท่ายืน)
การซ้อมในท่ายืนช่วง10วันนี้จะแตกต่างจากการซ้อมในช่วงเย็น นั้นคือมีอิสระมากกว่าช่วงเย็น หลักๆคือการฝึกเข้าท่านั้นเอง โดยมีอาจารย์ยืนดูอยู่หลายคน ถ้าใครจังหวะหรือแขนขาผิดไปอาจารย์ก็จะช่วยเตือนช่วยแก้ให้เป็นจังหวะที่ถูกต้อง ส่วนใครที่อยากจะรันโดริ ก็ให้ไปรันโดริในสนามข้างๆแทน 3-4วันแรกเป็นการฝึกเข้าท่าแบบไม่เคลื่อนไหว หลังจากนั้นแล้วก็ให้ฝึกเข้าท่าในแบบที่เคลื่อนไหวไปมา คู่ซ้อมก็หากันเอง พอไปซักพักหรือเบื่อแล้วก็เปลี่ยนคู่ซ้อมกันไป
ส่วนที่1
ผมเริ่มจากท่าถนัดก่อน โดยการเลือกคู่ซ้อมที่ตัวใหญ่ๆน้ำหนักเกิน100มาฝึกเข้าท่าในท่าเซโอนาเกะ ตอนนี้ก็พอจะมั่นใจมากกว่าเดิมว่าถ้าคู่ต่อสู้ที่น้ำหนักประมาณ100ก็สามารถยกและทุ่มในท่านี้ได้สบายๆแล้ว
ส่วนที่2
ท่าที่ผมอยากพัฒนาให้ใช้ได้คือท่า ฮาไรโกชิ จังหวะขาได้หมดแล้ว ส่วนจังหวะมือนั้นยังติดขัดอยู่ ไม่ค่อยมีเวลาในการซ้อมเข้าท่าซักเท่าไร เลยจับจุดไม่ได้ ใน10วันนี้ถือเป็นโอกาสในการแก้ไขส่วนนี้ให้ดีขึ้น ก็บรรจุอยู่ในโปรแกรมฝึกของผมทุกวันสำหรับวันแรกๆในท่านี้ จนรู้สึกว่าจับจุดการใช้มือให้เกิดแรงดึงได้แล้ว มือใช้ได้พอรวมกับขามันก็สมบูรณ์แบบ แต่วันหลังๆผมยังรู้สึกว่าท่านี้เคลื่อนไหวช้าไปไม่เหมาะที่จะเอามาใช้เมื่อจวนตัว เลยลองเปลี่ยนเป็นท่าฮาเนโกชิแทน ท่านี้สร้างความมั่นใจให้กับผมมากกว่าฮาไรโกชิซะอีก ถัดมาคือท่าอิปปงเซโอนาเกะแขนซ้าย ท่านี้ก็เป็นท่าที่ผมอยากฝึกให้ชำนาญเพราะว่าพอเจอกับคู่ต่อสู้จับซ้ายแล้วผมใช้เซโอนาเกะปกติไม่ค่อยจะออก เนื่องจากติดแขนกันอยู่ มีฝึกอยู่ทุกวันเหมือนกันในท่านี้แต่ผมว่ายังไม่สามารถเอาออกมาใช้จริงได้อยู่ดี คงต้องฝึกไปอีกซักระยะกับท่านี้ สุดท้ายอุจิมาตะ จังหวะได้หมดแล้ว(แรกๆขาดแต่จังหวะมือ แต่พอสามารถแก้ไขจังหวะะมือได้แล้วขาไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะว่าขาของผมฝึกรอไว้กว่า3เดือนแล้ว)แต่ว่ามันยังติดๆอยู่นิดหน่อยเพราะว่าตอนฝึกเข้าท่า ผมไม่อยากจะงัดหรือทุ่มคู่ต่อสู้ลงไปจริงๆเลยเบี่ยงตัวออกไปตวัดอากาศแทน ทำให้ตอนใช้จริงอาจจะติดๆขัดๆ ที่สำคัญยังไม่เร็วพอ สรุปแล้ว2ท่าหลังคงต้องฝึกฝนกันต่อไปอีกซักระยะหนึ่งถึงจะเอามาใช้จริงๆได้
ส่วนที่3
คือท่าหลอก ใน10วันนี้ฝึกอยู่3ท่า คือการเข้าไปในท่าโอโซโตการิแต่เป็นการใช้ท่าโออุจิการิแทน การเข้าท่าโอโซโตการิแต่เป็นการใช้ฮาเนโกชิ กับการเข้าไปใช้ฮาไรโกชิหรืออุจิมาตะแบบสเต็ปเดียว ท่าแรกง่ายหน่อยมันเลยเริ่มใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ส่วน2ท่าหลังต้องฝึกขาให้มีแรงเยอะกว่านี้ก่อนถึงจะใช้ได้คล่อง ก็เก็บไว้ฝึกกันต่อๆไปอีกนั้นแหละ
ส่วนที่4
คือท่าชุด ท่าชุดของผมมีอะไรบ้างก็พยายามงัดออกมาฝึกให้หมด
-โออุจิ3ครั้งอันนี้ฝึกแล้วรู้สึกว่าตัวเองจะเสียสมดุลย์ซะส่วนใหญ่ตอนใช้ต้องระวังการสวนกลับ
-โออุจิ+ไทโอโตชิ ท่านี้ผมว่าเป็นผู้เป็นคนที่สุดใช้แล้วมั่นคงกว่าท่าแรก
-โออุจิ + เดอาชิบารัย ท่านี้ตอนฝึกไม่ต้องอาศัยแรง แต่ต้องเน้นจังหวะซะมากกว่า ก็สำเร็จไปประมาณ70เปอร์เซนต์แล้ว
-โคอุจิ + เซโอนาเกะ บางครั้งมันก็ใช้ออกบางครั้งมันเข้าลึกไปก็หมุนตัวลำบาก ต้องกะจังหวะเข้าไปในท่าเซโอนาเกะให้ดีๆถึงจะเห็นผล
-โคอุจิ + ฮาเนโกชิ ท่านี้รู้สึกว่าฝึกแล้วเปลืองแรง แต่ก็ยังชอบ เพราะชอบฮาเนโกชิเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว ทั้งที่ท่านี้รู้สึกว่าฝึกยากตั้งแต่ตอนแรกๆละ
-ฮิสะกูรุม่า + ไทโอโตชิ อันนี้สเต็ปขาต้องแม่นมันถึงจะเกิดแรงดึงตามมา กำลังฝึกไปพร้อมๆกันกับท่า โออุจิ + ไทโอโตชิ
-เซโอนาเกะ + เซโอโอโตชิ ท่านี้กะไว้ว่าจะต้องฝึกให้ชำนาญให้ได้ เพราะต่อไปท่านี้จะกลายมาเป็นท่าไม้ตายของผมนั้นเอง เพียงแต่ว่าตอนฝึกต้องขอความร่วมมือกับคู่ซ้อมมากๆ ในการเบี่ยงตัวหลบออกมาอย่างเป็นธรรมชาติและในบางครั้งผมมักจะหยุดไม่ทันแล้วต้องตามน้ำทุ่มคู่ต่อสู้ลงไปในท่าเซโอโอโตชิ ท่านี้ผมเลยยังไม่สามารถฝึกให้สำเร็จได้ แบบว่าเกรงใจคู่ซ้อม กับ คู่ซ้อมบางคนยังหมุนตัวหลบออกมาไม่เป็นธรรมชาติเหมือนกับตอนรันโดริหรือว่าตอนแข่ง ตั้งใจว่าจะเอาไว้ค่อยๆฝึกตอนรันโดริจริงๆนั้นแหละ
-โออุจิ(แต่หมุนตัวลึกมากจนจะกลายเป็นไทโอโตชิที่โจมตีไปที่ขาซ้ายของคู่ต่อสู้) + ไทโอโตชิ หรือไม่ก็ใช้เป็นอุจิมาตะ ท่านี้เห็นอาจารย์ที่สอนเด็กม.ต้นที่สนามข้างๆสอนอยู่ สวนงามมาก น่าสนใจแต่ว่ายังไม่มีเวลาซ้อมซักเท่าไร ไว้ซ้อมคนเดียวให้ชำนาญแล้วค่อยไปซ้อมเข้าคู่กับเพื่อนอีกครั้ง
-โอโซโตการิ + ฮิสะกูรุม่าแบบกลับหลัง ท่านี้เพื่อนสอนมาเห็นว่าแปลกดีเลยซ้อมอยู่ซักพักแต่ว่าทำไม่สำเร็จ เพราะปิดจุดอ่อนไม่มิด เกิดโดนโอโซโตไคเอชิสวนกลับมาคงต้องล้มแทนแน่ๆ (คงต้องโยนทิ้งซะแล้ว เพราะว่าผมไม่ชอบเป็นคนเปิดเกมใช้โอโซโตการิอยู่แล้ว)
-ยังมีท่าชุดอีก2-3อย่างที่ไม่มีเวลาฝึกในช่วง10วันนี้ แต่เพราะว่าท่าชุดพวกนั้นไม่ยากเท่าไรและจุดสำคัญคือสเต็ปก้าวขาเลยเก็บเอาไว้ฝึกคนเดียวก็ได้
รันโดริ
-
เนวาซะ
ใน10วันนี้มีรันโดริในท่านอนทั้งหมด13ครั้ง (เริ่มตั้งแต่วันที่5วันละ2ครั้ง ส่วนวันสุดท้าย3ครั้ง) คู่ต่อสู้เป็นสายดำ10คน สายขาว3คน ผมชนะไป10ครั้ง บางครั้งที่โดยใส่ล๊อคก่อนก็มีแต่ว่าท่าป้องกันพร้อมกับโจมตี8ท่าต่อเนื่องที่เรียนไป2ครั้งในช่วงเย็นทำให้ผมหลุดออกมาได้หมดทุกครั้ง อาจเป็นเพราะว่าคู่ต่อสู้ไม่ว่าสายขาวหรือสายดำ มาไม่ทันที่อาจารย์สอนเนวะซะในแต่ละวันด้วยครับ เลยไม่ได้ทบทวนหรือว่าไม่รู้วิธีเข้าทำตามที่อาจารย์สอนให้ ส่วนคนที่ชนะผมนั้นเป็นสายดำโชดั้งคนนึง คนนี้ในวันซ้อมปกติก็เป็นคนสอนท่านอนผมซะส่วนใหญ่ อีกคนนึงมีอายุหน่อยมาจากสายโคเซ็นยูโดท่าพลิ้วมาก ส่วนอีกคนเป็นฝรั่ง3ดั้งคนๆนี้ทั้งแรงเยอะทั้งเทคนิคการเข้าทำชำนาญมาก จะไปชนะได้ยังไงหว่า
-
ทัตชิวาซะ
ช่วง10วันนี้ ผมถือว่าเป็นโอกาสทองของการฝึกเข้าท่าในท่าที่ไม่ถนัดหรือว่าท่าที่ต้องการปรับแต่งให้ชำนาญขึ้น ผมเลยไม่ได้เข้าไปในสนามรันโดริซักเท่าไร แต่ก็มีบางครั้งที่เข้าไปลองดู แต่ว่าก็เลือกคู่ต่อสู้ที่พอเหมาะกับตัวเองนะครับ ไม่ใช่ว่าไปเอาพวกอาจารย์มาเล่นด้วย คู่ต่อสู้ก็เป็นพวกเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันนี้แหละครับ รันโดริไปทั้งหมดแค่4ครั้งเอง กับสายดำ3ครั้ง และกับสายขาว1ครั้ง มีโดนทุ่มบ้างเป็นบางครั้ง แต่ว่าผมก็เอาคืนด้วยท่าชุดที่ฝึกๆมานี้แหละครับ แต่คนที่ทุ่มผมได้เยอะสุด(3ครั้ง)กลับเป็นสายขาวซะได้
เรื่องที่ชอบ
- การซ้อมครั้งนี้เรียกว่าตรงกับความต้องการของผมเลยครับ โดยเฉพาะท่านอน ก่อนหน้านี้ซ้อมรันโดริในท่านอน ผมไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงก็ได้แต่ป้องกันตัวในท่าเต่านั้นแหละ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าพอเริ่มเกมต้องสร้างจังหวะยังไง เคลื่อนที่ไปในท่าไหน ก็คงจะคล้ายๆกับท่ายืนนั้นแหละที่ต้องมีการวางแผนก่อนเล่น ไม่งั้นพอเล่นจริงมันคิดไม่ทันและจะสะเปสะปะไปมา
- ชอบที่อาจารย์แต่ละคน เป็นกันเองมากๆ มีหลายครั้งที่ซ้อมเข้าท่าด้วยกัน ก็รู้สึกว่าได้อะไรกลับมาเยอะมาก แถมการซ้อมใน10วันนี้ เป็นการซ้อมแบบคิดเอง เลือกเองว่าจะซ้อมยังไง ขอบเขตมันก็อิสระพอสมควร
- ชอบที่คู่ซ้อมส่วนใหญ่ตั้งใจซ้อมกันมาก คงจะจริง ถ้าไม่ตั้งใจก็คงไม่ตื่นเช้ามาซ้อมกันครับ มันเลยรู้สึกว่าซ้อมด้วยแล้วมีความก้าวหน้าเกิดขึ้น ทั้งท่ายืนและท่านอน
- อาจารย์ชมว่าท่าฮาเนโกชิสวยสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะการออกจังหวะของมือใช้ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว
- อาหารเช้าที่เป็นข้าวต้มแจกฟรี เติมฟรี ในทุกๆวันช่วงเช้าอร่อยมากครับ วันแรกๆน้ำหนักเพิ่มขึ้นมา แต่พอผ่านไปได้ซัก3-4วัน น้ำหนักก็เริ่มลดลงมาเล็กน้อย ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะกินข้าวต้มมื้อเช้าแล้วย่อยดีทำให้น้ำหนักลด หรือว่ากล้ามเนื้อตามแขนขา มันไม่ได้ยกน้ำหนักเลยหดเล็กลงทำให้น้ำหนักลดลงไป
เรื่องที่ไม่ชอบและต้องแก้ไข
- ง่วงนอน เพราะว่าตื่นเช้า ทำให้ต้องมาหลับช่วงบ่ายหรือว่าต้องนอนแต่หัวค่ำเพื่อตื่นมาตอนตี3ครึ่ง ทำให้ร่างกายทรุดโทรมไปบ้าง แต่แค่10วันก็ยังพอทนได้
- มีการแย่งคู่ซ้อมเกิดขึ้นครั้งนึง คู่กรณีคืออาจารย์ คือว่าคู่ซ้อมของผมเค้าต้องไปเรียนหนังสือต่อเลยเลิกก่อนเวลา พอผมยืนพักอยู่สักพัก อาจารย์Aก็เรียกให้ไปซ้อมเข้าท่าด้วย ในจังหวะที่เรียกผมแล้วนั้น อาจารย์Bอีกคนก็ดันมาเรียกอาจารย์A ไปเป็นคู่ซ้อมด้วย แต่ว่าอาจารย์A เรียกผมก่อนแล้ว ตามธรรมเนียมก็ต้องปฏิเสธอาจารย์Bไป แต่อาจารย์B กลับพูดด้วยน้ำเสียงไม่พอใจ(อาจจะเป็นน้ำเสียงแบบนั้นของเค้าอยู่แล้วก็ได้)ว่า ผมรอคุณแล้วก็เรียกคนมาซ้อมด้วย2ครั้งแล้วนะ แต่คุณก็ติดคนอื่นอยู่ในทุกครั้งที่ผมเรียก ได้ยินแบบนี้ผมก็เสียววาบซิครับ ไปไปมามากลับจะไปทำให้อาจารย์2คนผิดใจกัน ได้แต่บอกว่าอาจารย์Aก็ไปซ้อมกับอาจารย์Bเถอะครับ เพราะเดี๋ยวผมหาคนอื่นที่อยู่รอบๆมาเป็นคู่ซ้อมก็ได้ แต่อาจารย์Aก็ยืนยันว่ายังไงก็จะซ้อมกับผม วันนั้นผมเลยซ้อมด้วยอาการเกร็งๆพอสมควร
- โดนอาจารย์เตือนว่า อย่าฝึกท่าแปลกๆที่ไม่ได้สอนในคลาสปกติ ท่าที่วันนั้นผมใช้เล่นๆระหว่างที่กำลังพักเหนื่อยไม่ได้กะจะฝึกคือท่า เซโอนาเกะแบบจับสลับฝั่งแล้วก็เป็นการหมุนตัวแบบสลับฝั่งด้วย อาจารย์ดันมองมาพอดี ก็เลยโดนด่าไปตามระเบียบ แต่ก็จริงอย่างที่อาจารย์บอกนั้นแหละ ท่าแปลกๆบางครั้งใช้แล้วมันบาดเจ็บง่ายๆ เคยใช้ครั้งนึงกับรุ่นพี่ หัวผมชนกับฟันของรุ่นพี่อย่างจัง ยังดีที่ผมออกแรงไม่ถึงครึ่ง ไม่งั้นก็คงได้เลือดกันไปแล้ว
โดยรวมสรุปแล้ว ผมก็ยังงงๆอยู่ว่าผมทำได้ไง ตื่นมาตี3ครึ่งทุกวัน ปั่นจักรยานแบบหนาวๆ-2-3องศาทุกวันเพื่อไปขึ้นรถไฟเพื่อไปซ้อมที่โคโดกังได้ติดกันถึง10วัน บางวันไม่มีงานไม่ติดเรียนกลับบ้านมาก็มานอน บางวันมีงานหลังซ้อมแล้วก็ทำงานต่อ บางวันติดเรียนหลังซ้อมแล้วก็ยังไปเรียนต่อได้ ส่วนบางวันยิ่งหนักติดทั้งงานติดทั้งเรียนก็ยังผ่านพ้นไปได้ มีบางครั้งที่ซ้อมทั้งเช้าและเย็นอาจารย์ก็งงว่ามาทำไมทั้ง2เวลา เพราะว่าเช็คชื่อก็ถือเป็นแค่ครั้งเดียวอยู่ดี แต่ผมรู้สึกว่าผลลัพธ์มันคุ้มค่ามากโดยเฉพาะท่านอนต่อเนื่องทั้งป้องกันและโจมตี8ท่านั้นผมว่ามันสุดยอดมากๆ ถามว่าปีหน้าเอาอีกมั้ยก็ต้องดูก่อนถ้าเนื้อหาเหมือนเดิมก็คงไปเหมือนเดิมนั้นแหละ แต่ตอนนั้นเป้าหมายคงต่างกับตอนนี้เล็กน้อย วันนี้ตอนท้ายสุดพิธีปิดมีแจกใบประกาศ งงพอสมควรว่าคนที่ผมเคยซ้อมด้วยหลายท่านอยู่สายดำชั้นที่8มิน่าทำยังไงก็ได้แต่โดนทุ่มซะทุกครั้ง
Create Date : 15 มกราคม 2555
Last Update : 15 มกราคม 2555 8:34:44 น.
22 comments
Counter : 1224 Pageviews.
Share
Tweet
ยก Tong Sui มาฝากค่ะ
โดย:
Mitsubachi
วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:11:35:47 น.
ซ้อมติดกัน10วัน เป็นผมปวดตัวตาย สุดยอดมากเลยพี่
โดย: ครับ IP: 58.182.132.181, 202.156.9.11 วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:15:06:57 น.
ปกติซ้อมทุกวันจันทร์ถึงเสาร์อยู่แล้วครับ แต่อันนี้เหนี่อยตรงที่มันเป็นช่วงเช้า ตอนซ้อมถ้าไม่ได้รันโดริในท่ายืนหนักๆก็ไม่เป็นปัญหาครับ
พรุ่งนี้เริ่มกลับสู่ปกติซ้อมช่วงเย็น อาจจะเมื่อยเล็กน้อยเพราะว่าต้องปรับตัวกับการรันโดริกันอีกครั้ง
โดย:
ablaze357
วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:15:28:49 น.
กำลังมันส์เลยครับ ดันตัดเข้าโฆษณะซะได้ ไว้จะมาอ่านต่อครับ
โดย: ablaze357
ต้องขอกราบอภัยทานฮะ ด้วยว่าเกล้ากระผีม ต้องแต่งตัวออกไปกินอาหารกับญาติ เลยจำใจทิ้งติ่งไว้ให้ติดตามฮะ
เขียนเพิ่มแล้วผมจะปล่อยลมเพลมพัดมาสะกิดสีข้างท่านาฮะ
โดย:
โสมรัศมี
วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:15:38:29 น.
สุดยอดคะ
มีความอดทนและพยายามเป็นเลิศ
น้ำอยากมีความตั้งใจมุ่งมั่นแบบนี้บ้างจัง ซึ่งปกติมันล้มเหลวไม่เป็นท่าทุกที
โดย:
wendyandbas
วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:18:09:20 น.
ใกล้ได้สายดำยังครับ
มาเป็นกำลังใจให้
อย่าไปคิดมากวางแผนว่าจะทุ่มยังไง
จับทางการทรงตัวของคู่ต่อสู้ให้อยู่ เดี๋ยวก็ทุ่มได้
โดย: wind IP: 182.52.88.219 วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:21:39:29 น.
ขอบคุณคับ แต่ที่ผมเอาตัวรอดมาได้จนถึงตอนนี้ก็เพราะการวางแผนนี่แหละครับ เพื่อนผมหลายคนหาด่าว่าตอนอยู่บนสนามแข่งกับตอนรันโดริ ต่างกันมากๆ ตอนแข่งเค้าหาว่าผมเป็นยูโดแบบaggressive เดินเข้าฉะอย่างเดียวไม่ดูตาม้าตาเรือ ส่วนตอนรันโดริโคตรหมูเลย(~_~;) คงเพราะตอนแข่งผมคิดแผนไว้หมดก่อนลงแข่งแล้วถ้าไม่ใช้ก็เสียดายอุตส่าห์เปลืองสมองคิด
โดย:
ablaze357
วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:5:43:54 น.
แวะมาสวัสดีตอนเช้าค่ะ อากาศเย็นๆ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
โดย:
nampalo76
วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:8:56:53 น.
สวัสดียามเช้าหรือสายๆ หว่า ?? แฮะๆๆ
เพื่อนได้รางวัลคะ ตามไปอ่านว่าได้อะไรมาบ้างนะคะ
โดย:
wendyandbas
วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:9:45:19 น.
เขียนต่อไปนะ รออ่านอยู่ เล่นยูโดมาจะ1ปีแล้ว แต่ยังทุ่มใครไม่ได้เลย ทั้งๆที่แรงก้อมีเยอะตัวก้อใหญ่
โดย: Pankpond IP: 127.0.0.1, 203.146.200.62 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:11:42:56 น.
คาดว่าคงจะขาดสิ่งที่เรียกว่า timing หรือว่าจังหวะเวลาในการเข้าทำครับ อันนี้สำคัญกว่าแรงอีกครับ
ตอนฝึกเข้าท่าต้องเริ่มจากค่อยๆเข้าครับ ขอความร่วมมือกับคู่ซ้อมด้วยนะครับ บางครั้งปัญหามิใช่ตัวเรา แต่เป็นคู่ซ้อมก็มีครับ เช่นการงอหลัง การหยุดในบางจังหวะเพราะกลัวถูกทุ่ม การก้าวขาที่ไม่เป็นจังหวะ ที่แย่สุดคือการทุ่มมั่วหรือว่าทุ่มแล้วไม่ช่วยดึง (อันสุดท้ายเจอบางครั้ง อยากกระโดดชกหน้าเลยครับ)
โดย:
ablaze357
วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:12:36:03 น.
จะฝึกเพิ่มแรงดึง ให้มือ ตัว ขา ทำงานร่วมกันได้อย่างดี นี่ต้องเริ่มฝึกยังไงครับ ผมมักจะออกแรงแต่แขน ส่วนลำตัวไม่ค่อยตาม ขานี่ขยับช้าสุด จึงคิดว่านี่คงจะเป็นส่วนที่ทำให้จังหวะในการทุ่ม ผมจึงไม่สามารถทุ่มใครได้เลยตอนรันโดริครับ
โดย: Pankpond IP: 127.0.0.1, 203.146.200.62 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:12:50:02 น.
ปัญหาเดียวกันเลยครับ อย่าเพิ่งพูดถึงตอนรันโดริครับ เอาแค่ฝึกเข้าท่ากับคู่ซ้อมก่อน
ผมจับด้านขวานะคับ
1.มือขวาจับคอ มือซ้ายจับแขนใช่มั้ยครับ มือซ้ายต้องจับให้เราคุมแขนเค้าอยู่(จับด้านบนแบบสามารถดึงแล้วดึงกดแขนเค้าตามจังหวะที่เราคุมได้
2.ก้าวขาขวาออกไปทำมุมเป็น3เหลี่ยม (จุดที่วางขา แต่ละท่าไม่เหมือนกันนะคับ ต้องลองดูเองหรือให้อาจารย์ช่วยดูให้) วางถูกจุดตอนทุ่มจะสะดวก
3.จุดนี้ทำพร้อมกัน3อย่างคือ
มือขวาดึงเข้ามาแรงไม่พอใช้แขนทั้งท่อนไปจนถึงข้อศอกเข้าช่วยครับ (ท่าจะคล้ายกับกำปั้นหันขึ้นฟ้า)แขนทั้งท่อนนาบไปบริเวณระหว่างลำตัวกับรักแร้คู่ซ้อม
มือซ้ายดึงขึ้นให้เหมือนกับเรามองนาฬิกาข้อมือ
จุดที่ดึงท่าแต่ละท่าไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าจะดึงไปข้าง ดึงไปเฉียง
หมุนตัว ตอนหมุนต้องฝึกดูเอง ว่าทำยังไงแรงหมุนจากขาจะส่งไปช่วยมือซ้ายในการดึง
หน้ามองตรงนะคับ หลังหมุนตัวดึงแล้วหน้าจะต้องมองไปข้างหน้า (มองไปทางเดียวกับคู่ต่อสู้แหละคับ) ถ้าก้มแรงจะหายไปบางส่วน
ที่เหลือก็ท่าใครท่ามันแล้วครับ
โดย:
ablaze357
วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:14:35:39 น.
ใช้ตอนรันโดริหรือตอนแข่งมันยากครับ จำไว้ว่าให้ทำกลับกันแล้วคู่ต่อสู้จะช่วยเราเองครับ
ถ้าอยากดึงให้ดันก่อนแล้วค่อยดึง
ส่วน
ถ้าอยากดันก็ให้ดึงก่อนแล้วค่อยดัน
แรกๆยากหน่อยแต่ทำไปซักพักจะคุมอยู่ครับ
โดย:
ablaze357
วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:14:41:34 น.
ชื่นชมในความมานะพยายามของคุณมากค่ะ เอาใจช่วยให้ได้สายดำไว ๆ ค่า
อำภัยที่แวะมาเยี่ยมช้า งานยุ่งนิดหน่อยค่ะ ต้องขอบคุณมากที่แวะไปแสดงความยินดีนะคะ
ก็เพราะเพื่อน ๆ ช่วยกันโหวตให้ ถึงได้สายสะพายมาต่อท้ายชื่ออีกปี ถือเป็นกำลังใจในการเขียนบล็อกจริง ๆ ค่ะ
โดย:
haiku
วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:21:32:51 น.
พี่เพลินว่า...มันยากส์อะ แล้วก็ต้องมีใจให้อย่างเยอะเลยเนอะ...เดินต่อไป..ทาเคชิ
โดย:
normalization
วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:22:40:14 น.
เอาใจช่วยค่ะ สู้ต่อไปนะ
โดย:
thainurse@norway
วันที่: 17 มกราคม 2555 เวลา:17:19:08 น.
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
แล้วก็แบบว่ามันมีเรื่อวให้ บ่นๆๆ ไปอะค่ะ แต่ไม่อยากระบุว่าบ่นใคร อะไร เดี่ยวเค้าเสียหาย 555
โดย:
pinepeace
วันที่: 18 มกราคม 2555 เวลา:9:01:57 น.
เรื่องผี ตอนจบมาแล้วฮะ
ปล. โปรดพก ยันตร์ ฮู้ สายสิญปลุกเสก มาด้วย
ด้วยความปรารถดีจาก ผู้พบและนำมาเขียน
โดย:
โสมรัศมี
วันที่: 18 มกราคม 2555 เวลา:19:15:06 น.
แฮ่ะๆ มีรูปประกอบท่าด้วย ก็ดีนะคะ
โดย:
npmail
วันที่: 19 มกราคม 2555 เวลา:22:45:31 น.
แงๆๆๆๆๆ ยาวอ่ะ
ป้าไม่มีเวลาอ่าน
ไม่มีรูปประกอบเลย
สู้ๆ นะ
โดย: sticker-dicut (
เสี่ยวเฟย
) วันที่: 20 มกราคม 2555 เวลา:9:38:46 น.
ภาพประกอบไม่มีครับ ไว้ชำนาญมากๆก่อนแล้วค่อยมาลงภาพประกอบตอนนี้เอารูปที่ผมซ้อมเล่นๆกับเพื่อนเมื่อวานนี้ดูไปก่อนละกันครับ
โดย:
ablaze357
วันที่: 20 มกราคม 2555 เวลา:13:18:52 น.
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ablaze357
Location :
Chiba Japan
[ดู Profile ทั้งหมด]
ให้ทิปเจ้าของ Blog
[
?
]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [
?
]
「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
Free counters
New Comments
Friends' blogs
ablaze357
normalization
Webmaster - BlogGang
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
ยก Tong Sui มาฝากค่ะ