Group Blog
 
<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
15 มกราคม 2555
 
All Blogs
 
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ10 KANGEIKO judo winter training at japan

1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ10 KANGEIKO winter training at japan

เป็นประเพณีของโคโดกังทุกๆปีที่จะต้องมีการฝึกภาคฤดูหนาวหลังจากปีใหม่ การฝึกฤดูหนาวนี้จะเป็นการฝึกซ้อมในช่วงเช้าแทนการฝึกในช่วงเย็น เวลาที่กำหนดไว้คือ ตีห้าครึ่งถึงเจ็ดโมงครึ่ง เป็นเวลาติดกัน10วัน ไม่เว้นวันหยุดหรือวันอาทิตย์

ใน10วันนี้ก็จะมีงานประเพณีใหญ่อีกงานหนึ่งของโคโดกัง คืองาน คากามิบิรากิ แปลเป็นไทยไม่ถูกเหมือนกัน แต่ความหมายน่าจะเป็นการเปิดฤกษ์ศักราชใหม่ ซึ่งก็จัดเป็นประจำทุกปี ปีนี้เป็นปีที่ 129 แล้ว ในงานนี้จะเริ่มต้นด้วยทักทายของเจ้าสำนัก ประธานโคโดกัง ตามมาด้วยตัวแทนรายงานผลประจำปีคร่าวๆและแผนการในปีนี้ แล้วก็จะเป็นการแสดงคาตะต่างๆโดยนักยูโดระดับสูง ส่วนใหญ่ก็เป็นระดับอาจารย์สายแดงขาวนั้นเอง ถัดมาก็จะเป็นการรันโดริ ระหว่างนักเรียนโคโดกัง กับนักกีฬายูโดของญี่ปุ่น เช่นนักกีฬาทีมชาติ นักกีฬาโอลิมปิค แชมป์รายการใหญ่ของญี่ปุ่น หรือว่า แชมป์ถ้วยโคโดกัง แล้วแต่ว่าจะติดต่อใครที่จะสามารถมาได้ในงานนี้ จากนั้นก็เป็นการกินโมจิ ตามประเพณีทั่วไปของญี่ปุ่น เป็นอันเสร็จพิธี งานนี้เพื่อความสะดวกจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกหรืออาทิตย์ที่2ของเดือนมกราคม

กลับมาเรื่องการฝึกซ้อมภาคฤดูหนาวกันดีกว่า ปีนี้วันที่กำหนดซ้อมคือ เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่6 ไปจนถึงวันอาทิตย์ที่15 การซ้อมนี้เริ่มตอนตีห้าครึ่ง ส่วนการเรียกรวมเช็คชื่อจะมี2รอบแล้วแต่ความสะดวกว่ามาทันรอบไหน คือมีรอบ หกโมงครึ่ง กับ เจ็ดโมงครึ่ง การเรียกรวมเช็คชื่อในรอบ6โมงครึ่ง คล้ายๆกับเป็นการแบ่งช่วงเวลาซ้อมไปในตัว คือรอบตี5ครึ่งถึง6โมงครึ่งจะเป็นการซ้อมเนวาซะ ส่วน6โมงครึ่งถึง7โมงครึ่งจะเป็นการซ้อมในท่ายืน แต่ใครจะไปทำอย่างอื่นก็ได้เช่นการรันโดริหรือว่าจะเน้นแต่การยืน หรือ การนอนอย่างเดียวก็ได้ เพราะว่ามันเป็น4สนามติด 2สนามนั้นอิสระสำหรับพวกยูโดระดับสูงจะทำอะไรก็ตามใจละกัน ส่วนอีก2สนามนั้นจะเป็นของเด็ก1สนามและก็สนามที่ผมซ้อมอยู่ประจำอีก1สนาม

เมื่อปีที่แล้ว ผมยังคิดเล่นๆอยู่เลยว่า เอาจริงเหรอจะมาทันเหรอ ตี5ครึ่ง ยังบอกเลยว่าถ้าจะมาทันก็ต้องตื่นตี3ครึ่ง ออกจากบ้านตี4 ขึ้นรถไฟตี4ครึ่ง ถึงสถานนีตี5ครึ่ง เดินไปที่โคโดกังอีก10นาที ก็คงประมาณ5.40 คนอื่นๆสามารถตื่นช้ากว่าหน่อยได้ ขึ้นอยู่กับการวิ่งรอบแรกของรถไฟด้วย บ้านผมรถไฟรอบแรกดันเป็นตอน 4.35 เรียกว่าตื่นเร็วกว่านี้ก็นั่งรถไฟรอบนี้อยู่ดี ไปยังไงจะให้ทัน5.30 คงเป็นไปไม่ได้ อาจารย์ที่ต้องเข้าร่วมก็อยู่ในอาการไม่ต่างกันเท่าไร บางคนไกลบางคนใกล้ วิธีตัดปัญหาที่ดีที่สุดคือ เช่าห้องพักของโคโดกังนอนมันซะเลยทั้ง10วัน แต่ว่าผมมีงานอย่างอื่นต้องทำด้วย แล้วก็มีติดเรียนด้วยการไปนอนที่นั้น10วันคนไม่ดีแน่ ก็ต้องตามที่คิดติดตลกไว้นั้นแหละ ตื่นตี3ครึ่งแล้วค่อยไปเริ่มซ้อมตอน5.40

วันแรกยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรก็เลยต้องรีบไปให้เร็วที่สุด ไปถึงเปลี่ยนชุดเริ่มขึ้นไปซ้อมตอน5.40 คนเยอะมากๆ มีทั้งเด็กตัวเล็กๆ ทั้งหญิงและชาย ไปจนถึงพวกแก่มากๆ กำลังวอร์มอัพกันอยู่ อาจารย์ทุกคนก็มากันหมด ทักทายแล้วจะหาที่หย่อนตัวลงไปในสนาม แทบจะไม่มีที่ต้องอยู่ขอบๆมุมๆสนาม เนื่องจากวันแรกจะมีพิธีเปิดตอนเรียกรวมครั้งแรก วันนี้ทุกคนเลยต้องใส่เต็มยศกันหมด รู้เลยว่าใครเป็นใคร สายอะไร ขาว ดำ(1-5ดั้ง) ขาวแดง(6-8ดั้ง) หรือว่าแดงล้วน(9-10ดั้ง) จากวันแรกจึงทำให้รู้ว่าวันต่อไปผมไม่ต้องรีบมาก็ได้ ตื่นมานั่งรถไฟตามปกติ แต่มาถึงแล้วนั่งบิดขี้เกียจอยู่ในห้องแต่งตัวจนถึง5.50 แล้วค่อยขึ้นไปซ้อมจะเป็นการเริ่มต้นซ้อมเนวาซะพอดี ก็เอาตามนี้จะกัน

สำหรับการซ้อมช่วงเย็นในช่วงการฝึกภาคฤดูหนาวนี้ อาจารย์จะจัดวันให้ซ้อมเป็นพิเศษแค่2วัน สำหรับคนที่มาซ้อมเช้าไม่ได้จริงๆ การเช็คชื่อถึงแม้จะมาซ้อมเช้าและเย็นก็ถือว่าเช็คชื่อเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ในทุกๆปีการซ้อม2วันในช่วงเย็นจะเป็นการสอนท่านอนแบบพิเศษ ที่จะสอนเหมือนๆกันทุกปี คือเป็นการใช้ท่าต่อเนื่องในท่านอน เรียกว่าเป็นการแก้เกมกันทั้ง2ฝ่ายในท่านอน คือคนที่ถูกล๊อคอยู่จะแก้เกมโดยการโจมตีไปในจุดที่อ่อนที่สุดของคู่ต่อสู้ในขณะเดียวกันคู่ต่อสู้นั้นก็จะป้องกันจุดอ่อนของตัวเองแล้วพลิกกลับมาใช้ท่าล๊อคลำดับต่อไป เรียกได้ว่าเป็นการจู่โจมและป้องกันไปในตัวกับท่าต่อเนื่องทั้ง8ท่า ซึ่งถ้าใช้จนครบแล้วก็จะกลับมาอยู่ในท่าลำดับที่1เหมือนเดิน อันนี้ผมว่าเป็นเคล็ดวิชาเนวาซะขั้นพื้นฐานของโคโดกังเลยก็ว่าได้ ใครไม่มีซ้อมช่วงบ่ายน่าเสียดายมากๆ พลาดไปแล้วต้องรอปีหน้าใหม่

สรุปผลการซ้อมของการฝึกซ้อมภาคฤดูหนาว
เนวาซะ –พัฒนาขึ้นจนเจ้าตัวอย่างผมยังงงเองเลยครับ อาจารย์จะสอนให้วันละ2-3ท่า แล้วในวันต่อๆมาก็จะมีการทบทวนท่าเหล่านั้นก่อนที่จะขึ้นท่าใหม่ต่อไป

1.คู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่า ใช้แขนทั้งสองข้างสอดเข้าไปที่ข้อศอกเอาหน้าอกช่วยดันในขณะที่แขนทั้ง2ข้างในก็ช่วยดึงไปในตัว แล้วเข้าล๊อคในท่าคุสุเรเคซะ หรือไม่ก็ โยโกชิโห

2.เหมือนกับ1แต่ว่าคราวนี้คู่ต่อสู้เหยียดขาออกมากันการดึง จากการดันไปข้างหน้าก็ต้องดันไปเป็นเฉียงหน้าแทน ท่าล็อคเป็นคุสุเรเคซะ กับ โยโกชิโห

3.เหมือนกับ2 แต่คราวนี้มือที่จับบริเวณข้อศอกของคู่ต่อสู้เปลี่ยนเป็นดึงแขนเสื้อมือนึง ส่วนอีกมือดึงที่คอเสื้อ แล้วเปลี่ยนจากการดันเป็นการดึงมาทางเฉียงหลังแทน ท่าล็อคก็เป็นคุสุเรเคซะ กับ โยโกชิโห

4.ขึ้นคร่อมตัวคู่ต่อสู้ในท่าเต่า เอาขาใส่เข้าไปในเข่าทั้ง2ข้างของคู่ต่อสู้ มือทั้ง2ข้างล้วงเข้าไปทางใต้แขนของคู่ต่อสู้แล้วดึงคอเสื้อทั้ง2ข้างของคู่ต่อสู้แบะออก หมุนตัวจะซ้ายก็ได้ขวาก็ได้ ในจังหวะหมุนขาที่อยู่ด้านล่างต้องดึงออกมาถึงประมาณช่วงเข่า พอหมุนตัวขึ้นมาจะเข้าล๊อคในท่า ทัดเตชิโห

5.คู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่า เข้าทางด้านหน้าของคู่ต่อสู้ มือนึง่จับสายรัดคู่ต่อสู้กดลง อีกมือนึงล้วงเข้าไปใต้แขนแล้ววนกลับมาล๊อคกับมือที่จับสายรัดคู่ต่อสู้ เบี่ยงตัวไป90องศาจากด้านหน้าแล้วใช้หน้าอกดันช่วย สามารถใช้ล๊อคในท่า ทัดเตชิโห กับ โยโกชิโห

6.ซังกะกุจิเม จุดสำคัญคือการล็อคคอคู่ต่อสู้ด้วยขาก่อนการเข้าท่าต้องพยายามล็อคให้แคบเข้าไว้ในรูปสามเหลี่ยมตามชื่อท่า กับ การใช้ชายเสื้อคู่ต่อสู้ช่วยล๊อคแขนอันนี้ต้องทำให้ชำนาญก่อนที่จะพลิกขาล่างออกมากลายเป็นท่า คามิชิโห แต่ถ้าขาล๊อคแน่นในจังหวะแรกคู่ต่อสู้ก็อาจจะยอมตั้งแต่จังหวะนั้นแล้ว

7.อันนี้ง่ายมากแต่ทำจริงๆถ้าน้ำหนักเท่าๆกันหรือตัวตัวใหญ่กว่าก็ใช้ไม่ค่อยเห็นผล คู่ต่อสู้นอนคว่ำ ส่วนผู้ใช้ก็ใช้การดึงบริเวณศอกกับเข่าของคู่ต่อสู้ให้พลิกตัวขึ้นมาเพื่อจะกดในท่า โยโกชิโห (ท่าอื่นก็ได้แล้วแต่ใครจะถนัดท่าไหน) ปัญหาคือการดึง บางครั้งดึงยากอาจจะใช้เข่าช่วยกดบริเวณหลังของคู่ต่อสู้ได้เล็กน้อย

8.เหมือน7 แต่ดึงทางด้านในแทน ดึงด้านในยากกว่าการดึงด้านนอกเล็กน้อย เพราะต้องใช้แรงดึงขึ้นมาตรงๆแล้วค่อยบิดเล็กน้อยในจังหวะที่คู่ต่อสู้ถูกดึงขึ้นมาแล้วให้พลิกไปเป็นหงายแทน (ไม่ค่อยชอบ7กับ8 เพราะว่ามันเป็นท่าที่คนตัวใหญ่ใช้จัดการคนตัวเล็กที่แรงน้อยกว่า)

9.คล้ายๆกับการดึงในแบบที่7กับ8 แต่ว่าคู่ต่อสู้ตัวใหญ่กว่ามาก ก็แค่ดึงขาข้างที่อยู่ใกล้ข้างนึงแล้วเอาขาของเราสอดเข้าไปให้ลงเข่าไขว้ไปที่ขาด้านนอกของคู่ต่อสู้จากนั้นก็มาจัดการที่มือบ้าง ล้วงเข้าไปที่ต้นแขนแล้วหมุนมา แบบนี้จะหมุนง่ายเพราะว่าขาช่วยหมุนค้างไปครึ่งนึงแล้วเหลือแค่ช่วงบน พอหมุนตัวคู่ต่อสู้หงายได้จะอยู่ในท่า ทัดเตชิโห แต่ปัญหาคือขาที่เราช่วยเสริมแรงหมุนในตอนแรกจะกลายเป็นปัญหาให้คู่ต่อสู้ใช้ขาคล่อมเอาไว้ทำให้เวลานับในการล๊อคไม่ทำงาน ก็ต้องแก้กันหน่อยโดยการเขย่าขาข้างที่ถูกล๊อคให้หลวมหน่อยนึงเอียงไปทางขวาหรือซ้ายก็ได้ แล้วค่อยเอาขาอีกข้างนึงช่วยปัดออก หลังจากหลุดแล้วจะล๊อคต่อในท่า ทัดเตชิโห หรือท่าโยโกชิโหก็ได้

10.คราวนี้มาเล่นท่านอนหงายกันบ้าง เริ่มจากนอนหงายทั้งคู่ คนที่จะเข้าล๊อคต้องเอาหน้าแข้งยันต้นขาของคู่ต่อสู้เอาไว้ (ให้ใช้หน้าแข้งนะครับส่วนเข่ายันลงพื้น ห้ามใช้เข่ายันลงไปที่ต้นขาของคู่ต่อสู้ในครับ ผิดกติกา) หลังจากนั้นหมุนตัวมาตามทางที่ยันเอาไว้ ในขณะที่มือนึงล้วงต้นขาไปจับบริเวณสายรัดคู่ต่อสู้เอาไว้ ส่วนอีกมืออ้อมไปล๊อคที่คอ ล๊อคได้แล้วขาก็พลิกออกมาเป็นท่าโยโชชิโห ขาข้างที่ใช้หน้าแข้งยันต้นขาคู่ต่อสู้นั้นให้พลิกออกมาเป็นจังหวะสุดท้าย (เอาอีกข้างพลิกตัวออกมาก่อน ไม่อย่างนั้นคู่ต่อสู้จะหมุนตัวหลบออกไปได้ง่าย)

11.เหมือน10แต่โหดกว่าตรงที่ตอนล้วงไปที่ต้นขาเพื่อไปจับที่สายรัดให้ล้วงลึกกว่านั้นไปจับที่คอเสื้อฝั่งตรงข้ามของคู่ต่อสู้ ออกแรงกดด้วย คู่ต่อสู้จะต้องรับภาระมากขึ้นบริเวณหลังที่งอตามแรงกดลงมา ส่วนที่เหลือเหมือนกับข้อที่10

12.อยู่ในท่านอนหงายด้วยกันเหมือนเดิม โดนคู่ต่อสู้ล๊อคลำตัวด้วยขาอยู่ ก็ให้เอาข้อศอกดันลงไปแล้วล้วงไปใต้ขาทั้ง2ข้าง อ้อมขึ้นไปจับบริเวณสายคาดเองทั้ง2ข้างแล้วดึงขึ้นมาจนแขนคู่ต่อสู้อยู่ในระยะที่จะเอาหน้าแข้งไปกดทับ(คล้ายกับข้อ9 แต่คราวนี้ใช้แข้งกดทับไปที่แขนคู่ต่อสู้แทนที่จะเป็นขาของคู่ต่อสู้) จุดสำคัญตรงนี้คือคนใช้ต้องหลังตั้งตรงห้ามงอ เพราะถ้างอแล้วแรงส่งมันอาจจะไม่มากพอที่จะดึงคู่ต่อสู้ขึ้นมาสูงพอที่จะถึงระยะเอาแข้งไปกดบริเวณแขน จากนั้นก็เอามืออ้อมไปล็อคคอ ส่วนขา2ข้างของคู่ต่อสู้ที่ถูกยกขึ้นมาก็ช่างมัน จังหวะนี้ยังไงคู่ต่อสู้ก็ต้องเอาขาลงเองอยู่แล้วก็แค่กดล็อคตามน้ำในท่าโยโกชิโห ส่วนขาที่เอาหน้าแข้งกดอยู่ที่แขนคู่ต่อสู้ก็กดมันค้างไว้อย่างนั้นแหละไม่ต้องเอาออก คู่ต่อสู้จะได้ดิ้นไม่ออก

13.เหมือน12แต่คล้าย11 จุดเริ่มต้นคือการล้วงไปที่ต้นขาอ้อมไปดึงสายรัดแล้วใช้หน้าแข้งกดแขนไว้ข้างนึง แขนข้างนึงที่จับสายรัดให้เอื้อมสูงขึ้นไปจับที่เสื้อตรงหน้าอกของคู่ต่อสู้(คล้ายกับข้อ10) จับได้แล้วคราวนี้เบี่ยงตัวไปอีกฝั่ง ปล่อยขาของคู่ต่อสู้เพียงข้างเดียวส่วนอีกข้างล๊อคเอาไว้อย่างนั้นแหละ จะเป็นการล๊อคในท่าโยโกชิโห อีกตามเคย

14.คราวนี้เราเป็นฝ่ายนอน ส่วนคู่ต่อสู้อยู่ด้านบนบ้าง เริ่มจากข้อเท้าทั้งให้พยายามอยู่ด้านในเข่าของคู่ต่อสู้ ดึงคู่ต่อสู้ลงมาให้แขนแยกไปซ้ายขวาอย่างละฝั่ง ส่วนตัวคู่ต่อสู้นั้นทับตัวเราลงมาเลย เลือกปัดแขนข้างนึงที่คู่ต่อสู้ยันพื้นอยู่นั้นออก(ปัดจากด้านใน) ในขณะที่ปัดขาข้างเดียวกับแขนข้างที่ปัดนั้นถีบเข่าคู่ต่อสู้ลงไป (ลักษณะจะคล้ายๆกับเก้าอี้4ขา แต่ถูกปัดออกไป2ขา เหลืออีกสองขา) ส่วนขาอีกฝั่งที่อยู่ด้านในเข่าตั้งแต่ตอนแรกนั้นยกขึ้น จะพลิกตัวหมุนกลับมาอยู่ด้านบนของคู่ต่อสู้ได้ง่ายๆ แขนที่บอกว่าให้ปัดแขนของคู่ต่อสู้จากทางด้านในนั้น หลังจากพลิกตัวขึ้นมาแล้ว จะทำให้มาอยู่ในจังหวะท่าล๊อคของทัดเตชิโหพอดี ท่านี้ฝึกชำนาญแล้วสะดวกดีครับ

15.เหมือน14 แต่คราวนี้แขนของคู่ต่อสู้ถูกดึงมาทางฝั่งเดียวกันทั้ง2ข้าง คราวนี้เราต้องเป็นฝ่ายดันตัวขึ้นเพื่อเอื้อมไปดึงสายรัดทางด้านหลังของคู่ต่อสู้หลังจากดึงได้แล้ว ขาอีกฝั่งนึง(ฝั่งที่มือไม่ได้เอื้อมไปดึงสายรัด) ให้เตะเข่าคู่ต่อสู้ขึ้นเพื่อพลิกตัวกลับมาด้านบน จังหวะนี้คู่ต่อสู้จะกลายเป็นอยู่ทางด้านล่างแทน ท่าที่ใช้ล๊อคได้สะดวกคือท่า คาตะกาตาเมะ กับท่า ทัดเตชิโห

16.ท่าล็อค อุเดการามิ เริ่มจากนอนหงายผู้ใช้อยู่ด้านล่าง ใช้มือดึงบริเวณข้อมือของคู่ต่อสู้เข้ามาแล้วใช้แขนอีกข้างใส่ท่าล๊อค อุเดการามิ การล็อคนอกจากจะทำให้คู่ต่อสู้ยอมด้วยความเจ็บ บางครั้งคู่ต่อสู้ยังไม่ยอมก็สามารถช่วยทำลายสมดุลย์พลิกคู่ต่อสู้ลงไปด้านล่างแทน เพื่อใช้ท่าล๊อค ทัดเตชิโห แทนได้

17.คาตะจุจิ จากท่านอนหงายอยู่ด้านล่างใช้คาตะจุจิ ถ้าล๊อคได้ก็ล๊อคไป ถ้าติดคอคู่ต่อสู้อยู่หรือว่าคู่ต่อสู้ใช้แขนกดสู้ ก็จะเกิดจังหวะที่จะพลิกคู่ต่อสู้ลงไปด้านล่างแทน แล้วค่อยล๊อคอีกครั้งอย่างจริงจังในท่าคาตะจูจิ หรือจะเปลี่ยนเป็นท่านอนนับเวลาท่าอื่นก็ได้แล้วแต่จังหวะจะพาไป

18.คุซุเรเคซะ จากท่าเต่า คนใช้อยู่ในท่าเต่า ส่วนคู่ต่อสู้เข้ามาจากด้านข้าง พอคู่ต่อสู้สอดแขนเข้ามาบริเวณต้นแขนให้ใช้ศอกหนีบเอาไว้ จุดที่เล็งไว้ควรจะเป็นบริเวณข้อมือของคู่ต่อสู้ เพราะจะทำให้คู่ต่อสู้ดิ้นหลุดลำบาก จากนั้นก็พลิกหมุนตัว1รอบ แขนข้างที่หนีบข้อมือคู่ต่อสู้อยู่นั้นเพื่อความหนาแน่นยิ่งขึ้นให้เอามือข้างนั้นจับคอเสื้อฝั่งตรงข้ามของตัวเอง ส่วนแขนอีกข้างจับล๊อคบริเวณเข่าคู่ต่อสู้เอาไว้ จุดสำคัญสุดท้ายคือห้ามนอนหงายเพราะเวลาจับล๊อคจะหยุดทันที ถือว่าไม่ได้เป็นท่าล๊อค ต้องยันตัวตะแคงเอาไว้ บางครั้งก็ต้องวัดใจเหมือนกันระหว่างเวลาที่เดินไปกับการที่คู่ต่อสู้ล๊อคคอในท่าคาตะจูจิอยู่ว่าใครจะทนกว่ากัน แต่ถ้าจังหวะแรกสามารถหนีบบริเวณข้อมือของคู่ต่อสู้ได้แล้ว กับนอนตะแคงได้ดีแล้วคู่ต่อสู้จะใช้คาตะจูจิได้ไม่ถนัด หรือกดคอลงมากันแขนคู่ต่อสู้ได้ จะทำให้คู่ต่อสู้ต้องเปลี่ยนเป็นดิ้นให้หลุดก่อนที่เวลาจะนับจนแพ้ไป

19.เหมือน18 แต่คู่ต่อสู้รู้ทันว่าจะม้วนตัวใช้คุซุเรเคซะ เลยจะก้าวขาข้ามมาอีกฝั่งเพื่อยันการหมุนตัวเอาไว้ ต้องรีบแก้เกมก่อน โดยการยกขากันไว้(คล้ายๆกับท่าหมาฉี่นั้นแหละ) พร้อมๆกับหมุนตัวไปในข้อ18

20.เหมือน18 แต่คู่ต่อสู้เข้ามาจากด้านหลัง อันนี้ต้องเพิ่มการเบี่ยงตัวไป90องศากับการใช้แขนอีกข้างที่ไม่ได้หนีบข้อมือคู่ต่อสู้นั้นดึงเข่าคู่ต่อสู้เอาไว้ แล้วค่อยหมุนตัวเหมือนกับข้อ18

21.วิธีสวนกลับเมื่อเจอกับท่า ซังกะกุจิเม จริงๆแล้ววิธีกันซังกะกุจิเมนั้นมีอยู่หลากหลาย ถ้าจะดีต้องกั้นตั้งแต่ก่อนที่ขาจะเข้ามาล๊อคแขนให้ได้ แต่ถ้าโดนล๊อคไปแล้วในจังหวะที่คู่ต่อสู้หมุนตัวลงไป ให้เอาแขนไปกันขาข้างที่จะมาล๊อคที่คอโดยการดันขึ้นไปด้านหลัง (ดันไปด้านบนอาจจะสู้แรงขาคู่ต่อสู้ไม่ไหวเพราะมีแรงโน้มถ่วงช่วยอยู่กับเราอยู่ในจังหวะเสียเปรียบด้านการประลองแรง แต่ถ้าดันไปด้านหลังก็พอจะหลุดออกมาได้) ส่วนแขนอีกข้าง จังหวะที่คู่ต่อสู้กำลังจะใช้ชายเสื้อหรือสายรัดช่วยล๊อคแขนข้างนั้นอยู่(โดยทั่วไป หลังจากที่ขาถูกแกะปลดจากการล๊อคได้ คู่ต่อสู้ต้องรีบล๊อคแขนต่อให้ได้เพื่อจะจับยึดในท่าคามิชิโหอยู่แล้ว)ให้รีบหนีบแขนคู่ต่อสู้เอาไว้แล้วค่อยๆยันตัวขึ้นไปอยู่ในท่าตะแคง ส่วนแขนอีกข้างก็จับเข่าคู่ต่อสู้เอาไว้ จะกลายเป็นอยู่ในท่า คุซุเรเคซะได้

22.อันนี้สอนวันสุดท้าย อาจารย์อีกท่านนึงเป็นผู้สอน คล้ายๆกับ15 คือเรานอนหงายคู่ต่อสู้กำลังจะคร่อมเรา ดึงแขนคู่ต่อสู้ให้ไปอยู่ฝั่งเดียวกันทั้ง2แขนมือนึงอ้อมไปจับสายรัด อีกมือนึงก็จับสายรัด จุดสำคัญคือว่าต้องกดมือข้างนึงของคู่ต่อสู้เอาไว้ที่หน้าอกก่อนหมุนตัวและหลังหมุนตัวก็ยังต้องกดอยู่ หมุนมาแล้วจะใส่เป็นท่าทัดเตชิโห หรือว่าท่าโยโกชิโหก็ได้

ทัตชิวาซะ(ท่ายืน)
การซ้อมในท่ายืนช่วง10วันนี้จะแตกต่างจากการซ้อมในช่วงเย็น นั้นคือมีอิสระมากกว่าช่วงเย็น หลักๆคือการฝึกเข้าท่านั้นเอง โดยมีอาจารย์ยืนดูอยู่หลายคน ถ้าใครจังหวะหรือแขนขาผิดไปอาจารย์ก็จะช่วยเตือนช่วยแก้ให้เป็นจังหวะที่ถูกต้อง ส่วนใครที่อยากจะรันโดริ ก็ให้ไปรันโดริในสนามข้างๆแทน 3-4วันแรกเป็นการฝึกเข้าท่าแบบไม่เคลื่อนไหว หลังจากนั้นแล้วก็ให้ฝึกเข้าท่าในแบบที่เคลื่อนไหวไปมา คู่ซ้อมก็หากันเอง พอไปซักพักหรือเบื่อแล้วก็เปลี่ยนคู่ซ้อมกันไป

ส่วนที่1 ผมเริ่มจากท่าถนัดก่อน โดยการเลือกคู่ซ้อมที่ตัวใหญ่ๆน้ำหนักเกิน100มาฝึกเข้าท่าในท่าเซโอนาเกะ ตอนนี้ก็พอจะมั่นใจมากกว่าเดิมว่าถ้าคู่ต่อสู้ที่น้ำหนักประมาณ100ก็สามารถยกและทุ่มในท่านี้ได้สบายๆแล้ว

ส่วนที่2 ท่าที่ผมอยากพัฒนาให้ใช้ได้คือท่า ฮาไรโกชิ จังหวะขาได้หมดแล้ว ส่วนจังหวะมือนั้นยังติดขัดอยู่ ไม่ค่อยมีเวลาในการซ้อมเข้าท่าซักเท่าไร เลยจับจุดไม่ได้ ใน10วันนี้ถือเป็นโอกาสในการแก้ไขส่วนนี้ให้ดีขึ้น ก็บรรจุอยู่ในโปรแกรมฝึกของผมทุกวันสำหรับวันแรกๆในท่านี้ จนรู้สึกว่าจับจุดการใช้มือให้เกิดแรงดึงได้แล้ว มือใช้ได้พอรวมกับขามันก็สมบูรณ์แบบ แต่วันหลังๆผมยังรู้สึกว่าท่านี้เคลื่อนไหวช้าไปไม่เหมาะที่จะเอามาใช้เมื่อจวนตัว เลยลองเปลี่ยนเป็นท่าฮาเนโกชิแทน ท่านี้สร้างความมั่นใจให้กับผมมากกว่าฮาไรโกชิซะอีก ถัดมาคือท่าอิปปงเซโอนาเกะแขนซ้าย ท่านี้ก็เป็นท่าที่ผมอยากฝึกให้ชำนาญเพราะว่าพอเจอกับคู่ต่อสู้จับซ้ายแล้วผมใช้เซโอนาเกะปกติไม่ค่อยจะออก เนื่องจากติดแขนกันอยู่ มีฝึกอยู่ทุกวันเหมือนกันในท่านี้แต่ผมว่ายังไม่สามารถเอาออกมาใช้จริงได้อยู่ดี คงต้องฝึกไปอีกซักระยะกับท่านี้ สุดท้ายอุจิมาตะ จังหวะได้หมดแล้ว(แรกๆขาดแต่จังหวะมือ แต่พอสามารถแก้ไขจังหวะะมือได้แล้วขาไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะว่าขาของผมฝึกรอไว้กว่า3เดือนแล้ว)แต่ว่ามันยังติดๆอยู่นิดหน่อยเพราะว่าตอนฝึกเข้าท่า ผมไม่อยากจะงัดหรือทุ่มคู่ต่อสู้ลงไปจริงๆเลยเบี่ยงตัวออกไปตวัดอากาศแทน ทำให้ตอนใช้จริงอาจจะติดๆขัดๆ ที่สำคัญยังไม่เร็วพอ สรุปแล้ว2ท่าหลังคงต้องฝึกฝนกันต่อไปอีกซักระยะหนึ่งถึงจะเอามาใช้จริงๆได้

ส่วนที่3 คือท่าหลอก ใน10วันนี้ฝึกอยู่3ท่า คือการเข้าไปในท่าโอโซโตการิแต่เป็นการใช้ท่าโออุจิการิแทน การเข้าท่าโอโซโตการิแต่เป็นการใช้ฮาเนโกชิ กับการเข้าไปใช้ฮาไรโกชิหรืออุจิมาตะแบบสเต็ปเดียว ท่าแรกง่ายหน่อยมันเลยเริ่มใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ส่วน2ท่าหลังต้องฝึกขาให้มีแรงเยอะกว่านี้ก่อนถึงจะใช้ได้คล่อง ก็เก็บไว้ฝึกกันต่อๆไปอีกนั้นแหละ

ส่วนที่4 คือท่าชุด ท่าชุดของผมมีอะไรบ้างก็พยายามงัดออกมาฝึกให้หมด
-โออุจิ3ครั้งอันนี้ฝึกแล้วรู้สึกว่าตัวเองจะเสียสมดุลย์ซะส่วนใหญ่ตอนใช้ต้องระวังการสวนกลับ
-โออุจิ+ไทโอโตชิ ท่านี้ผมว่าเป็นผู้เป็นคนที่สุดใช้แล้วมั่นคงกว่าท่าแรก
-โออุจิ + เดอาชิบารัย ท่านี้ตอนฝึกไม่ต้องอาศัยแรง แต่ต้องเน้นจังหวะซะมากกว่า ก็สำเร็จไปประมาณ70เปอร์เซนต์แล้ว
-โคอุจิ + เซโอนาเกะ บางครั้งมันก็ใช้ออกบางครั้งมันเข้าลึกไปก็หมุนตัวลำบาก ต้องกะจังหวะเข้าไปในท่าเซโอนาเกะให้ดีๆถึงจะเห็นผล
-โคอุจิ + ฮาเนโกชิ ท่านี้รู้สึกว่าฝึกแล้วเปลืองแรง แต่ก็ยังชอบ เพราะชอบฮาเนโกชิเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว ทั้งที่ท่านี้รู้สึกว่าฝึกยากตั้งแต่ตอนแรกๆละ
-ฮิสะกูรุม่า + ไทโอโตชิ อันนี้สเต็ปขาต้องแม่นมันถึงจะเกิดแรงดึงตามมา กำลังฝึกไปพร้อมๆกันกับท่า โออุจิ + ไทโอโตชิ
-เซโอนาเกะ + เซโอโอโตชิ ท่านี้กะไว้ว่าจะต้องฝึกให้ชำนาญให้ได้ เพราะต่อไปท่านี้จะกลายมาเป็นท่าไม้ตายของผมนั้นเอง เพียงแต่ว่าตอนฝึกต้องขอความร่วมมือกับคู่ซ้อมมากๆ ในการเบี่ยงตัวหลบออกมาอย่างเป็นธรรมชาติและในบางครั้งผมมักจะหยุดไม่ทันแล้วต้องตามน้ำทุ่มคู่ต่อสู้ลงไปในท่าเซโอโอโตชิ ท่านี้ผมเลยยังไม่สามารถฝึกให้สำเร็จได้ แบบว่าเกรงใจคู่ซ้อม กับ คู่ซ้อมบางคนยังหมุนตัวหลบออกมาไม่เป็นธรรมชาติเหมือนกับตอนรันโดริหรือว่าตอนแข่ง ตั้งใจว่าจะเอาไว้ค่อยๆฝึกตอนรันโดริจริงๆนั้นแหละ
-โออุจิ(แต่หมุนตัวลึกมากจนจะกลายเป็นไทโอโตชิที่โจมตีไปที่ขาซ้ายของคู่ต่อสู้) + ไทโอโตชิ หรือไม่ก็ใช้เป็นอุจิมาตะ ท่านี้เห็นอาจารย์ที่สอนเด็กม.ต้นที่สนามข้างๆสอนอยู่ สวนงามมาก น่าสนใจแต่ว่ายังไม่มีเวลาซ้อมซักเท่าไร ไว้ซ้อมคนเดียวให้ชำนาญแล้วค่อยไปซ้อมเข้าคู่กับเพื่อนอีกครั้ง
-โอโซโตการิ + ฮิสะกูรุม่าแบบกลับหลัง ท่านี้เพื่อนสอนมาเห็นว่าแปลกดีเลยซ้อมอยู่ซักพักแต่ว่าทำไม่สำเร็จ เพราะปิดจุดอ่อนไม่มิด เกิดโดนโอโซโตไคเอชิสวนกลับมาคงต้องล้มแทนแน่ๆ (คงต้องโยนทิ้งซะแล้ว เพราะว่าผมไม่ชอบเป็นคนเปิดเกมใช้โอโซโตการิอยู่แล้ว)
-ยังมีท่าชุดอีก2-3อย่างที่ไม่มีเวลาฝึกในช่วง10วันนี้ แต่เพราะว่าท่าชุดพวกนั้นไม่ยากเท่าไรและจุดสำคัญคือสเต็ปก้าวขาเลยเก็บเอาไว้ฝึกคนเดียวก็ได้

รันโดริ
-เนวาซะ ใน10วันนี้มีรันโดริในท่านอนทั้งหมด13ครั้ง (เริ่มตั้งแต่วันที่5วันละ2ครั้ง ส่วนวันสุดท้าย3ครั้ง) คู่ต่อสู้เป็นสายดำ10คน สายขาว3คน ผมชนะไป10ครั้ง บางครั้งที่โดยใส่ล๊อคก่อนก็มีแต่ว่าท่าป้องกันพร้อมกับโจมตี8ท่าต่อเนื่องที่เรียนไป2ครั้งในช่วงเย็นทำให้ผมหลุดออกมาได้หมดทุกครั้ง อาจเป็นเพราะว่าคู่ต่อสู้ไม่ว่าสายขาวหรือสายดำ มาไม่ทันที่อาจารย์สอนเนวะซะในแต่ละวันด้วยครับ เลยไม่ได้ทบทวนหรือว่าไม่รู้วิธีเข้าทำตามที่อาจารย์สอนให้ ส่วนคนที่ชนะผมนั้นเป็นสายดำโชดั้งคนนึง คนนี้ในวันซ้อมปกติก็เป็นคนสอนท่านอนผมซะส่วนใหญ่ อีกคนนึงมีอายุหน่อยมาจากสายโคเซ็นยูโดท่าพลิ้วมาก ส่วนอีกคนเป็นฝรั่ง3ดั้งคนๆนี้ทั้งแรงเยอะทั้งเทคนิคการเข้าทำชำนาญมาก จะไปชนะได้ยังไงหว่า

-ทัตชิวาซะ ช่วง10วันนี้ ผมถือว่าเป็นโอกาสทองของการฝึกเข้าท่าในท่าที่ไม่ถนัดหรือว่าท่าที่ต้องการปรับแต่งให้ชำนาญขึ้น ผมเลยไม่ได้เข้าไปในสนามรันโดริซักเท่าไร แต่ก็มีบางครั้งที่เข้าไปลองดู แต่ว่าก็เลือกคู่ต่อสู้ที่พอเหมาะกับตัวเองนะครับ ไม่ใช่ว่าไปเอาพวกอาจารย์มาเล่นด้วย คู่ต่อสู้ก็เป็นพวกเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันนี้แหละครับ รันโดริไปทั้งหมดแค่4ครั้งเอง กับสายดำ3ครั้ง และกับสายขาว1ครั้ง มีโดนทุ่มบ้างเป็นบางครั้ง แต่ว่าผมก็เอาคืนด้วยท่าชุดที่ฝึกๆมานี้แหละครับ แต่คนที่ทุ่มผมได้เยอะสุด(3ครั้ง)กลับเป็นสายขาวซะได้

เรื่องที่ชอบ
- การซ้อมครั้งนี้เรียกว่าตรงกับความต้องการของผมเลยครับ โดยเฉพาะท่านอน ก่อนหน้านี้ซ้อมรันโดริในท่านอน ผมไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไงก็ได้แต่ป้องกันตัวในท่าเต่านั้นแหละ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าพอเริ่มเกมต้องสร้างจังหวะยังไง เคลื่อนที่ไปในท่าไหน ก็คงจะคล้ายๆกับท่ายืนนั้นแหละที่ต้องมีการวางแผนก่อนเล่น ไม่งั้นพอเล่นจริงมันคิดไม่ทันและจะสะเปสะปะไปมา

- ชอบที่อาจารย์แต่ละคน เป็นกันเองมากๆ มีหลายครั้งที่ซ้อมเข้าท่าด้วยกัน ก็รู้สึกว่าได้อะไรกลับมาเยอะมาก แถมการซ้อมใน10วันนี้ เป็นการซ้อมแบบคิดเอง เลือกเองว่าจะซ้อมยังไง ขอบเขตมันก็อิสระพอสมควร

- ชอบที่คู่ซ้อมส่วนใหญ่ตั้งใจซ้อมกันมาก คงจะจริง ถ้าไม่ตั้งใจก็คงไม่ตื่นเช้ามาซ้อมกันครับ มันเลยรู้สึกว่าซ้อมด้วยแล้วมีความก้าวหน้าเกิดขึ้น ทั้งท่ายืนและท่านอน

- อาจารย์ชมว่าท่าฮาเนโกชิสวยสมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะการออกจังหวะของมือใช้ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว

- อาหารเช้าที่เป็นข้าวต้มแจกฟรี เติมฟรี ในทุกๆวันช่วงเช้าอร่อยมากครับ วันแรกๆน้ำหนักเพิ่มขึ้นมา แต่พอผ่านไปได้ซัก3-4วัน น้ำหนักก็เริ่มลดลงมาเล็กน้อย ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะกินข้าวต้มมื้อเช้าแล้วย่อยดีทำให้น้ำหนักลด หรือว่ากล้ามเนื้อตามแขนขา มันไม่ได้ยกน้ำหนักเลยหดเล็กลงทำให้น้ำหนักลดลงไป

เรื่องที่ไม่ชอบและต้องแก้ไข
- ง่วงนอน เพราะว่าตื่นเช้า ทำให้ต้องมาหลับช่วงบ่ายหรือว่าต้องนอนแต่หัวค่ำเพื่อตื่นมาตอนตี3ครึ่ง ทำให้ร่างกายทรุดโทรมไปบ้าง แต่แค่10วันก็ยังพอทนได้

- มีการแย่งคู่ซ้อมเกิดขึ้นครั้งนึง คู่กรณีคืออาจารย์ คือว่าคู่ซ้อมของผมเค้าต้องไปเรียนหนังสือต่อเลยเลิกก่อนเวลา พอผมยืนพักอยู่สักพัก อาจารย์Aก็เรียกให้ไปซ้อมเข้าท่าด้วย ในจังหวะที่เรียกผมแล้วนั้น อาจารย์Bอีกคนก็ดันมาเรียกอาจารย์A ไปเป็นคู่ซ้อมด้วย แต่ว่าอาจารย์A เรียกผมก่อนแล้ว ตามธรรมเนียมก็ต้องปฏิเสธอาจารย์Bไป แต่อาจารย์B กลับพูดด้วยน้ำเสียงไม่พอใจ(อาจจะเป็นน้ำเสียงแบบนั้นของเค้าอยู่แล้วก็ได้)ว่า ผมรอคุณแล้วก็เรียกคนมาซ้อมด้วย2ครั้งแล้วนะ แต่คุณก็ติดคนอื่นอยู่ในทุกครั้งที่ผมเรียก ได้ยินแบบนี้ผมก็เสียววาบซิครับ ไปไปมามากลับจะไปทำให้อาจารย์2คนผิดใจกัน ได้แต่บอกว่าอาจารย์Aก็ไปซ้อมกับอาจารย์Bเถอะครับ เพราะเดี๋ยวผมหาคนอื่นที่อยู่รอบๆมาเป็นคู่ซ้อมก็ได้ แต่อาจารย์Aก็ยืนยันว่ายังไงก็จะซ้อมกับผม วันนั้นผมเลยซ้อมด้วยอาการเกร็งๆพอสมควร

- โดนอาจารย์เตือนว่า อย่าฝึกท่าแปลกๆที่ไม่ได้สอนในคลาสปกติ ท่าที่วันนั้นผมใช้เล่นๆระหว่างที่กำลังพักเหนื่อยไม่ได้กะจะฝึกคือท่า เซโอนาเกะแบบจับสลับฝั่งแล้วก็เป็นการหมุนตัวแบบสลับฝั่งด้วย อาจารย์ดันมองมาพอดี ก็เลยโดนด่าไปตามระเบียบ แต่ก็จริงอย่างที่อาจารย์บอกนั้นแหละ ท่าแปลกๆบางครั้งใช้แล้วมันบาดเจ็บง่ายๆ เคยใช้ครั้งนึงกับรุ่นพี่ หัวผมชนกับฟันของรุ่นพี่อย่างจัง ยังดีที่ผมออกแรงไม่ถึงครึ่ง ไม่งั้นก็คงได้เลือดกันไปแล้ว


โดยรวมสรุปแล้ว ผมก็ยังงงๆอยู่ว่าผมทำได้ไง ตื่นมาตี3ครึ่งทุกวัน ปั่นจักรยานแบบหนาวๆ-2-3องศาทุกวันเพื่อไปขึ้นรถไฟเพื่อไปซ้อมที่โคโดกังได้ติดกันถึง10วัน บางวันไม่มีงานไม่ติดเรียนกลับบ้านมาก็มานอน บางวันมีงานหลังซ้อมแล้วก็ทำงานต่อ บางวันติดเรียนหลังซ้อมแล้วก็ยังไปเรียนต่อได้ ส่วนบางวันยิ่งหนักติดทั้งงานติดทั้งเรียนก็ยังผ่านพ้นไปได้ มีบางครั้งที่ซ้อมทั้งเช้าและเย็นอาจารย์ก็งงว่ามาทำไมทั้ง2เวลา เพราะว่าเช็คชื่อก็ถือเป็นแค่ครั้งเดียวอยู่ดี แต่ผมรู้สึกว่าผลลัพธ์มันคุ้มค่ามากโดยเฉพาะท่านอนต่อเนื่องทั้งป้องกันและโจมตี8ท่านั้นผมว่ามันสุดยอดมากๆ ถามว่าปีหน้าเอาอีกมั้ยก็ต้องดูก่อนถ้าเนื้อหาเหมือนเดิมก็คงไปเหมือนเดิมนั้นแหละ แต่ตอนนั้นเป้าหมายคงต่างกับตอนนี้เล็กน้อย วันนี้ตอนท้ายสุดพิธีปิดมีแจกใบประกาศ งงพอสมควรว่าคนที่ผมเคยซ้อมด้วยหลายท่านอยู่สายดำชั้นที่8มิน่าทำยังไงก็ได้แต่โดนทุ่มซะทุกครั้ง


Create Date : 15 มกราคม 2555
Last Update : 15 มกราคม 2555 8:34:44 น. 22 comments
Counter : 1308 Pageviews.

 


ยก Tong Sui มาฝากค่ะ


โดย: Mitsubachi วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:11:35:47 น.  

 
ซ้อมติดกัน10วัน เป็นผมปวดตัวตาย สุดยอดมากเลยพี่


โดย: ครับ IP: 58.182.132.181, 202.156.9.11 วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:15:06:57 น.  

 
ปกติซ้อมทุกวันจันทร์ถึงเสาร์อยู่แล้วครับ แต่อันนี้เหนี่อยตรงที่มันเป็นช่วงเช้า ตอนซ้อมถ้าไม่ได้รันโดริในท่ายืนหนักๆก็ไม่เป็นปัญหาครับ

พรุ่งนี้เริ่มกลับสู่ปกติซ้อมช่วงเย็น อาจจะเมื่อยเล็กน้อยเพราะว่าต้องปรับตัวกับการรันโดริกันอีกครั้ง


โดย: ablaze357 วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:15:28:49 น.  

 
กำลังมันส์เลยครับ ดันตัดเข้าโฆษณะซะได้ ไว้จะมาอ่านต่อครับ



โดย: ablaze357


ต้องขอกราบอภัยทานฮะ ด้วยว่าเกล้ากระผีม ต้องแต่งตัวออกไปกินอาหารกับญาติ เลยจำใจทิ้งติ่งไว้ให้ติดตามฮะ

เขียนเพิ่มแล้วผมจะปล่อยลมเพลมพัดมาสะกิดสีข้างท่านาฮะ



โดย: โสมรัศมี วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:15:38:29 น.  

 
สุดยอดคะ

มีความอดทนและพยายามเป็นเลิศ

น้ำอยากมีความตั้งใจมุ่งมั่นแบบนี้บ้างจัง ซึ่งปกติมันล้มเหลวไม่เป็นท่าทุกที


โดย: wendyandbas วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:18:09:20 น.  

 
ใกล้ได้สายดำยังครับ
มาเป็นกำลังใจให้

อย่าไปคิดมากวางแผนว่าจะทุ่มยังไง
จับทางการทรงตัวของคู่ต่อสู้ให้อยู่ เดี๋ยวก็ทุ่มได้


โดย: wind IP: 182.52.88.219 วันที่: 15 มกราคม 2555 เวลา:21:39:29 น.  

 
ขอบคุณคับ แต่ที่ผมเอาตัวรอดมาได้จนถึงตอนนี้ก็เพราะการวางแผนนี่แหละครับ เพื่อนผมหลายคนหาด่าว่าตอนอยู่บนสนามแข่งกับตอนรันโดริ ต่างกันมากๆ ตอนแข่งเค้าหาว่าผมเป็นยูโดแบบaggressive เดินเข้าฉะอย่างเดียวไม่ดูตาม้าตาเรือ ส่วนตอนรันโดริโคตรหมูเลย(~_~;) คงเพราะตอนแข่งผมคิดแผนไว้หมดก่อนลงแข่งแล้วถ้าไม่ใช้ก็เสียดายอุตส่าห์เปลืองสมองคิด


โดย: ablaze357 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:5:43:54 น.  

 
แวะมาสวัสดีตอนเช้าค่ะ อากาศเย็นๆ รักษาสุขภาพด้วยนะคะ


โดย: nampalo76 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:8:56:53 น.  

 
สวัสดียามเช้าหรือสายๆ หว่า ?? แฮะๆๆ

เพื่อนได้รางวัลคะ ตามไปอ่านว่าได้อะไรมาบ้างนะคะ


โดย: wendyandbas วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:9:45:19 น.  

 
เขียนต่อไปนะ รออ่านอยู่ เล่นยูโดมาจะ1ปีแล้ว แต่ยังทุ่มใครไม่ได้เลย ทั้งๆที่แรงก้อมีเยอะตัวก้อใหญ่


โดย: Pankpond IP: 127.0.0.1, 203.146.200.62 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:11:42:56 น.  

 
คาดว่าคงจะขาดสิ่งที่เรียกว่า timing หรือว่าจังหวะเวลาในการเข้าทำครับ อันนี้สำคัญกว่าแรงอีกครับ

ตอนฝึกเข้าท่าต้องเริ่มจากค่อยๆเข้าครับ ขอความร่วมมือกับคู่ซ้อมด้วยนะครับ บางครั้งปัญหามิใช่ตัวเรา แต่เป็นคู่ซ้อมก็มีครับ เช่นการงอหลัง การหยุดในบางจังหวะเพราะกลัวถูกทุ่ม การก้าวขาที่ไม่เป็นจังหวะ ที่แย่สุดคือการทุ่มมั่วหรือว่าทุ่มแล้วไม่ช่วยดึง (อันสุดท้ายเจอบางครั้ง อยากกระโดดชกหน้าเลยครับ)


โดย: ablaze357 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:12:36:03 น.  

 
จะฝึกเพิ่มแรงดึง ให้มือ ตัว ขา ทำงานร่วมกันได้อย่างดี นี่ต้องเริ่มฝึกยังไงครับ ผมมักจะออกแรงแต่แขน ส่วนลำตัวไม่ค่อยตาม ขานี่ขยับช้าสุด จึงคิดว่านี่คงจะเป็นส่วนที่ทำให้จังหวะในการทุ่ม ผมจึงไม่สามารถทุ่มใครได้เลยตอนรันโดริครับ


โดย: Pankpond IP: 127.0.0.1, 203.146.200.62 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:12:50:02 น.  

 
ปัญหาเดียวกันเลยครับ อย่าเพิ่งพูดถึงตอนรันโดริครับ เอาแค่ฝึกเข้าท่ากับคู่ซ้อมก่อน

ผมจับด้านขวานะคับ
1.มือขวาจับคอ มือซ้ายจับแขนใช่มั้ยครับ มือซ้ายต้องจับให้เราคุมแขนเค้าอยู่(จับด้านบนแบบสามารถดึงแล้วดึงกดแขนเค้าตามจังหวะที่เราคุมได้

2.ก้าวขาขวาออกไปทำมุมเป็น3เหลี่ยม (จุดที่วางขา แต่ละท่าไม่เหมือนกันนะคับ ต้องลองดูเองหรือให้อาจารย์ช่วยดูให้) วางถูกจุดตอนทุ่มจะสะดวก

3.จุดนี้ทำพร้อมกัน3อย่างคือ
มือขวาดึงเข้ามาแรงไม่พอใช้แขนทั้งท่อนไปจนถึงข้อศอกเข้าช่วยครับ (ท่าจะคล้ายกับกำปั้นหันขึ้นฟ้า)แขนทั้งท่อนนาบไปบริเวณระหว่างลำตัวกับรักแร้คู่ซ้อม
มือซ้ายดึงขึ้นให้เหมือนกับเรามองนาฬิกาข้อมือ
จุดที่ดึงท่าแต่ละท่าไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าจะดึงไปข้าง ดึงไปเฉียง
หมุนตัว ตอนหมุนต้องฝึกดูเอง ว่าทำยังไงแรงหมุนจากขาจะส่งไปช่วยมือซ้ายในการดึง
หน้ามองตรงนะคับ หลังหมุนตัวดึงแล้วหน้าจะต้องมองไปข้างหน้า (มองไปทางเดียวกับคู่ต่อสู้แหละคับ) ถ้าก้มแรงจะหายไปบางส่วน

ที่เหลือก็ท่าใครท่ามันแล้วครับ



โดย: ablaze357 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:14:35:39 น.  

 
ใช้ตอนรันโดริหรือตอนแข่งมันยากครับ จำไว้ว่าให้ทำกลับกันแล้วคู่ต่อสู้จะช่วยเราเองครับ

ถ้าอยากดึงให้ดันก่อนแล้วค่อยดึง
ส่วน
ถ้าอยากดันก็ให้ดึงก่อนแล้วค่อยดัน

แรกๆยากหน่อยแต่ทำไปซักพักจะคุมอยู่ครับ


โดย: ablaze357 วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:14:41:34 น.  

 
ชื่นชมในความมานะพยายามของคุณมากค่ะ เอาใจช่วยให้ได้สายดำไว ๆ ค่า

อำภัยที่แวะมาเยี่ยมช้า งานยุ่งนิดหน่อยค่ะ ต้องขอบคุณมากที่แวะไปแสดงความยินดีนะคะ ก็เพราะเพื่อน ๆ ช่วยกันโหวตให้ ถึงได้สายสะพายมาต่อท้ายชื่ออีกปี ถือเป็นกำลังใจในการเขียนบล็อกจริง ๆ ค่ะ




โดย: haiku วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:21:32:51 น.  

 
พี่เพลินว่า...มันยากส์อะ แล้วก็ต้องมีใจให้อย่างเยอะเลยเนอะ...เดินต่อไป..ทาเคชิ


โดย: normalization วันที่: 16 มกราคม 2555 เวลา:22:40:14 น.  

 
เอาใจช่วยค่ะ สู้ต่อไปนะ


โดย: thainurse@norway วันที่: 17 มกราคม 2555 เวลา:17:19:08 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ
แล้วก็แบบว่ามันมีเรื่อวให้ บ่นๆๆ ไปอะค่ะ แต่ไม่อยากระบุว่าบ่นใคร อะไร เดี่ยวเค้าเสียหาย 555


โดย: pinepeace วันที่: 18 มกราคม 2555 เวลา:9:01:57 น.  

 


เรื่องผี ตอนจบมาแล้วฮะ
ปล. โปรดพก ยันตร์ ฮู้ สายสิญปลุกเสก มาด้วย
ด้วยความปรารถดีจาก ผู้พบและนำมาเขียน



โดย: โสมรัศมี วันที่: 18 มกราคม 2555 เวลา:19:15:06 น.  

 
แฮ่ะๆ มีรูปประกอบท่าด้วย ก็ดีนะคะ


โดย: npmail วันที่: 19 มกราคม 2555 เวลา:22:45:31 น.  

 
แงๆๆๆๆๆ ยาวอ่ะ
ป้าไม่มีเวลาอ่าน
ไม่มีรูปประกอบเลย

สู้ๆ นะ


โดย: sticker-dicut (เสี่ยวเฟย ) วันที่: 20 มกราคม 2555 เวลา:9:38:46 น.  

 
ภาพประกอบไม่มีครับ ไว้ชำนาญมากๆก่อนแล้วค่อยมาลงภาพประกอบตอนนี้เอารูปที่ผมซ้อมเล่นๆกับเพื่อนเมื่อวานนี้ดูไปก่อนละกันครับ



โดย: ablaze357 วันที่: 20 มกราคม 2555 เวลา:13:18:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.