Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 
โคโดกังยูโด คอร์สระดับสูงเรียนลัด5วัน


คอร์สนี้เสียตังค์เรียน แต่ที่น่าสนใจเพราะว่าซ้อมแค่5วันแต่เป็น5วันที่ซ้อมตั้งแต่ตอนเช้า9.30ไปจนถึง20.00 (วันอาทิตย์ถึงแค่17.00)ก่อนจะลงเรียนคิดอยู่หลายตลบว่าเรียนไปจะคุ้มมั้ย รันโดริก็ได้แค่นิดหน่อยถ้ามีการทุ่มกันก็น่ากลัวอีก แต่สุดท้ายแล้วหลังจากจบคอร์สเนวาซะภาคฤดูร้อน10วันก็คิดว่าน่าจะพอไปได้อยู่ อาการมันดีขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าซ้อมอย่างระวังคงไม่มีปัญหา

ศุกร์ที่26 กรกฏาคม 2013

วันนี้เริ่มต้นวันแรกกับพิธิเปิดตอน9.30แล้วก็เจอเรื่องน่าเบื่อคือมีอาจารย์มาสอนเป็นภาคทฤษฏีแทนก็พูดเกี่ยวกับจุดประสงค์ของยูโดที่แท้จริง การฝึกซ้อม การสอนควรเป็นแบบไหนไม่ค่อยได้ฟังเท่าไหร่ และก็จับใจความได้บ้างไม่ได้บ้างจากนั้นก็เริ่มกันกับเรื่องของศูนย์ถ่วงช่วงเช้าก็ยังเป็นภาคทฤษฏีผสมกับทดลองเคลื่อนศูนย์ถ่วงกับการทำคุสุชิ เล็กๆน้อยๆแต่ว่าก่อนที่จะเริ่มต้นทดลองเคลื่อนศูนย์นั้น ต้องมีการวอร์มอัพก่อนวอร์มมันเข้าไป ปกติยืดเส้นยืดสายไม่มีปัญหา ปัญหาอยู่ตรงตีลังกา ทำอุเกมิกับพวกเรื่องของการคลาน ทำเอบิ ปกติพื้นที่ใช้แค่1สนามยูโดแต่ว่าตอนนี้ใช้เต็มเท่ากับต้องคลานไปเป็น2สนามครึ่ง เหนื่อยถลอกอีกต่างหากคราวนี้ผิวหนังถลอกออกเป็นสีแดงมีน้ำซึมๆ หลายจุดเลย ตั้งแต่ข้อศอก เข่า ขาแต่ช่างมันถลอกจนชินแล้ว ให้วอร์มอยู่นาน ร้อนแล้วก็เหงื่อออกเยอะมากแต่มาให้ซ้อมเคลื่อนศูนย์ถ่วง กับ การทำคุสุชิ หรือการbreak balance แล้วก็หยุดพักเที่ยงแค่คิดเล่นๆว่าหลังจากพักเที่ยงแล้วจะซ้อม มันต้องวอร์มกันใหม่รึเปล่า

เป็นจริงอย่างที่คิดหลังจากพักเที่ยงจะซ้อมช่วงบ่ายก็เริ่มวอร์มกันใหม่ เหนื่อยอีกรอบ ถลอกเพิ่มอีกรอบคงจะต้องเป็นไปอีกหลายรอบกว่าจะครบ5วัน แต่จากการวอร์มอัพ การคลาน ตีลังกา ตบเบาะทำให้รู้ว่าพื้นฐานที่โคโดกังสอน เรียนอยู่ก่อนหน้านี้มันทำให้ได้เปรียบกว่าคนอื่นทั้งยังเป็นท่าที่สวยงาม ซ้อมโชว์ได้เลย เรียกว่าเหมาะสมกับการเป็นลูกศิษย์ในสำนักโคโดกังนี้จริงๆ

เริ่มต้นจากท่าง่ายๆที่เป็นพื้นฐาน คือเดอาชิบารัยเริ่มที่จะนิดเรื่องการทำลายศูนย์ถ่วงคู่ต่อสู้ การทำไทซาบากิ ตลอดจนวิธีเข้าท่าตรงจุดนี้ดูแล้วพื้นฐานโคโดกังยังไงก็ยังแน่นกว่าสายดำคนอื่นๆที่บางคนไทซาบากิยังใช้ไม่ออกหรือว่าการทำคุสุชิยังใช้ได้ไม่ตรงเท่าไหร่

ถัดจากการซ้อมเดอาชิบารัย ก็เป็นฮิสะกุรุม่าเหมือนเดิม เริ่มจากการเข้าที่จะส่วนค่อยๆเป็นค่อยๆไปแต่ว่าเวลาซ้อมตอนเข้าคู่เข้าท่ามีไม่เยอะ จุดที่ต้องระวังของฮิสะกุรุม่าคือการเข้าทำเป็นแบบมายซาบากิ (การเคลื่อนตัวเป็นวงกลมไปด้านหน้า)เห็นบางคนเข้าท่ามักจะเป็นการใช้อุชิโร่ซาบากิ(การเข้าการโดยการเคลื่อนตัวเป็นวงกลมไปด้านหลัง)

ต่อจากฮิสะกุรุม่าก็เป็นท่าซาซาเอะทรึริโกมิอาชิท่านี้เป็นการสอนเพื่อปูพื้นไปสู่ท่า2ชั้นคือ โอโซโตการิ+ซาซาเอะอาจารย์ที่มาสอนทำได้สวยมากๆเป็นการเข้าโอโซโตการิแล้วมีการกระโดดเล็กน้อยมาเป็นซาซาเอะผมลองทำดูแล้วกระโดดยังไงก็ไม่เหมือน

จากนั้นมีเวลาอีกเล็กน้อยก็เป็นการสอนในส่วนของท่าเซโอนาเกะ แต่เวลาไม่พอ ไม่แน่ท่านี้อาจจะเรียนกันต่อในวันพรุ่งนี้

รันโดริ วันนี้ได้รันไป4ครั้งกล้าๆกลัวๆที่จะรันกับคู่ต่อสู้แถมมีบางคนเห็นตัวผมแบบนี้แล้วไม่กล้าที่จะรันด้วยอีกต่างหากพยายามบอกแล้วว่าเล่นเบาๆนะเป็นแค่การซ้อม ที่สำคัญกระดูกเพิ่งหักมา ก็4คู่ไม่โดนทุ่มเลย เรียกว่าคู่ต่อสู้ไม่มีโอกาสเข้าทำต่างหากเพราะว่าวันนี้เล่นแบบใช้การคุมคุมิเทะ ทำให้คิดไปถึงคำสอนของอาจารย์ท่านนึงที่เคยสอนมาว่ายูโดการจะทุ่มนั้นต้องใช้สองมือเป็นหลัก มือเดียวทุ่มไม่ได้พอผมจัดการชิงจับให้คู่ต่อสู้จับไม่ถนัดและจับไม่ครบ2มือแล้วการเข้าทำของคู่ต่อสู้เลยไม่น่ากลัวเท่าไหร่ กลับกัน พอผมจับได้สองมือแล้วผมเข้าท่าทันที(อันนี้เอามาจากหนังสือที่เคยแปล ว่าถ้าจับแล้วให้เข้าท่าทันทีอย่าปล่อยให้คู่ต่อสู้ตั้งตัวได้) ท่าที่ใช้แน่นอนอยู่แล้ว ท่าถนัดของผมโคอุจิการิ ไม่ได้รันโดริมาเกือบ2เดือนเต็มๆแต่ว่าท่านี้ก็ยังใช้ได้อย่างคล่องแคล่วปิดท้ายไม่ลืมที่จะฝากอุจิมาตะให้คู่ซ้อมทั้ง4คนเป็นรางวัลคนละครั้งไป(ปกติอุจิมาตะผมจะพยายามใช้กับคนที่คู่ควรเท่านั้นเพราะกลัวว่าเดี๋ยวเล่นแรงไป แต่วันนี้รันกับสายดำถือว่าศักดิ์ศรีเท่ากันก็แจกกันไปซะคนละดอก)แต่ด้วยแขนซ้ายผมยังขยับและดึงขึ้นไม่ถนัดทำให้อุจิมาตะที่ออกมามันจะเตี้ยๆต่ำๆไปหน่อยแต่ยังไงก็ยังทุ่มได้แถมยืนขาเดียวแล้วไม่ล้มด้วย(ล้มไม่ได้เพราะกลัวกระเทือนถูกกระดูกที่หัก)เลิกในส่วนของคอร์สนี้แล้วก็ยังไปซ้อมตามปกติในคอร์สของโรงเรียนโคโดกังที่ซ้อมเป็นประจำอยู่แล้ว

เสาร์ที่27 กรกฏาคม 2013

วันนี้เริ่มเข้มข้นเพราะไม่มีภาคทฤษฏี เริ่มตอนเช้าก็วอร์มอัพสังเกตุตอนเปลี่ยนชุดยูโดทุกคนจะมีแผลที่ข้อศอกทั้งสองข้างใหญ่เล็กต่างกันไปก็แสดงว่าทุกคนเจอท่าวากิชิเมะ ที่เป็นท่าคลานตอนวอร์มอัพเล่นงานกันทุกคนหลายคนตั้งตัวทันด้วยการพันเทป แต่ผมไม่ชอบพันเทปเลยปล่อยมันไปแบบนั้นวันนี้แผลก็ยิ่งเพิ่มมาอีก พรุ่งนี้ไม่ชอบเทปก็ต้องพันแล้วเดี๋ยวมันจะลงลึก(ตอนนี้โดนน้ำก็แสบไปทั่วๆแล้ว)

เริ่มต้นการสอนด้วยการวนเอาอาจารย์แต่ละคนออกมาสอน ในท่าที่ตัวเองถนัดวันนี้เริ่มจากโคโซโตการิชอบคอร์สนี้ตรงที่ผู้เรียนมีพื้นฐานมากันเยอะน้อยต่างกันไปและท่าที่อาจารย์เอามาสอนจะไม่มาสอนแบบพื้นฐานเริ่มต้นว่าจะต้องเข้ายังไงแต่จะเป็นการสอนเข้าท่าแบบเคลื่อนไหวแล้วค่อยไปเติมแต่งเทคนิคของอาจารย์แต่ละคนเพิ่มเข้าไป โคโซโตการิเป็นการเรียนต่อจากเมื่อวานอาจารย์สอนท่านี้โดยเป็นการเข้าทำขณะอุเกเดินหน้าเข้ามาลักษณะการเข้าทำจะคล้ายๆกับเดอาชิบารัย แต่ก็มีอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างบารัยกับ การิ ที่เป็นเหมือนกับการปัดทั้ง2ท่า

ถัดมาเป็นโอคุริอาชิบารัยเริ่มต้นอาจารย์เกริ่นนำท่านี้โดยการเอานาเกะโนะกาตะมาอธิบายแต่ว่าในการแข่งขันถ้าจะไปขยับตัวปัดแบบนาเกะโนะกาตะมันใช้ยากอาจารย์เลยเอามาสอนแบบเป็นการที่อุเกเดินถอยหลังแล้วโทริเข้าทำในจังหวะนั้นท่านี้ทำให้นึกไปถึงท่า ฮาไรทรึริโกมิอาชิ แต่มุมปัดมันต่างกันหน่อยท่านี้ถ้าใช้ได้สวยงามมาก เทคนิคก็เหมือนกับการเข้าทำแบบนาเกะโนะกาตะนั้นแหละคือจังหวะที่คู่ต่อสู้ถอยหลังมันจะมีจังหวะ(นิดนึง)ที่ขาสองข้างของคู่ต่อสู้เข้าไปติดกันให้ปัดไปจังหวะนั้น

ตามมาด้วย โออุจิการิท่านี้อาจารย์เริ่มต้นจากการเข้าท่าพื้นฐานก่อนเพราะท่านี้เป็นดาบสองคมถ้าพื้นฐานการเข้าทำไม่ดีแล้วโดนสวนกลับง่ายมากๆขาแรกเข้าไปตรงกลางขาสองตามไปไขว้(พื้นฐานของโคโดกังโคอุจิกับโออุจิที่แท้จริงจะเป็นแบบไขว้ขาหลังแต่ที่ผมชอบนั้นผมปรับแต่งไปแล้วเป็นแบบขาไม่ไขว้เพราะมันสามารถที่จะใช้ท่าต่อเนื่องได้เร็วกว่าแบบไขว้ขา)มือกดลงแยกออก คางของเราจะอยู่ที่ไหล่ของคู่ต่อสู้(ขาเดียวกับฮิกิเทะ)พื้นฐานตรงกันแล้ว ก็ค่อยสอนแบบที่เข้าทำในจังหวะที่อุเกเดินหน้าเข้ามาจากนั้นก็เป็นแบบที่อุเกรู้ว่าเราถนัดท่านี้ในจังหวะที่เดินหน้าเข้ามาขาไม่ตามออกมาทำให้เกี่ยวด้วยโออุจิการิไม่ได้แต่ถ้าขาไม่ออกมามันจะง่ายมากต่อการใช้ท่าฮาไรโกชิ หรือ โคชิกุรุม่าเพราะขาอีกข้างมันกดน้ำหนักลงไปแล้วขยับไม่ได้

ถัดมาเป็นคิวของโคอุจิการิ ท่านี้ไม่มีอะไรแปลกใหม่สำหรับผมถือเป็นการทบทวนเรื่องมือเรื่องขาว่าทำถูกต้องมั้ยเท่านั้นเองเพราะว่าท่านี้ผมมีอาจารย์ระดับเจ็ดดั้งที่มีท่าไม้ตายเป็นโคอุจิการิสอนมาเมื่อ2ปีที่แล้ว การสอนใกล้เคียงกันเป็นการสอนในจังหวะเข้าแบบเดินหน้าและถอยหลัง จุดที่เน้นคือเรื่องขาสอง กับเรื่องของจังหวะเวลา

ก่อนพักเที่ยงท่าสุดท้ายที่เรียนคือไทโอโตชิมีเน้นหลายๆส่วนของร่างกายเพื่อรักษาสมดุลย์ของตัวเองและเป็นการป้องกันการส่วนกลับของคู่ต่อสู้ เช่นเรื่องขาด้านหลังที่ต้องวางตรงไหนมันถึงจะใช้จังหวะงอขาออกแรงสปริงช่วยในการทุ่มการเอียงตัว การวางขาแรกที่ต้องไม่ไกลเกินไปจะได้ไม่เสียหลักและทิศทางในการทุ่มคู่ต่อสู้คือเป็นด้านหน้าของเรา อาจารย์เอาท่าโออุจิการิมารวมกับไทโอโตชิเป็นท่าต่อเนื่องจุดนี้เหมือนเดิมคือมีอาจารย์7ดั้งอีกท่านนึงเคยสอนไว้เมื่อ2ปีที่แล้วอย่างว่า5วันเรียนลัดเนื้อหาเข้มข้น แต่สำหรับเด็กโคโดกังอย่างผมเรียนระยะยาวเก็บสะสมวันละนิดวันละหน่อยท่าที่เอามาสอนประมาณครึ่งกว่าๆเป็นท่าที่เคยเรียนรู้มาแล้วทั้งนั้น(เพียงแต่จะได้หรือหรือว่าจำได้รึเปล่าก็เท่านั้นเอง) ที่น่าสนใจคือในขณะที่อาจารย์สอนท่านี้มีการแนะนำการใช้เข้าทำในขณะที่การจับเป็นแบบเก็งกังโยตสึ ถือว่าเป็นการเรียนรู้เรื่องคุมิเทะหรือการชิงจับเพิ่มเติม

เท่าที่ผมสังเกตุและรับรู้ได้มาตั้งแต่การเรียนที่โคโดกังหรือว่าในคอร์สตรงนี้สิ่งที่เน้นและเป็นหลักของโคโดกังส่วนใหญ่คือท่าขา ซึ่งผมว่ามันสำคัญมากๆเพราะว่าท่าขาส่วนใหญ่ใช้กับคนที่น้ำหนักตัวเยอะกว่าได้ง่ายๆถ้าเข้าใจในจังหวะอีกทั้งเป็นการสร้างสมดุลย์ สร้างพื้นฐานให้กับท่าอื่นๆด้วย

ตอนเที่ยงไปหาหมอเอ็กซเรย์กระดูก หมอบอกว่ายังเร็วไปที่จะรันโดริอยากจะบอกว่าเมื่อวานผมรันไป4ครั้งแล้ว แต่ก็เกรงใจหมอได้แต่ตอบว่าครับๆจะระวังตัวให้มากขึ้น ระหว่างทางเจออิโนอุเอะ กับ ซุซุกิและอีก2คนไม่รู้ใครแต่คงเป็นนักยูโดเพราะว่าหูบี้แบนคิดว่ามาแถวนี้ต้องมีอะไรเกี่ยวกับโคโดกังแน่ๆ

หลังเที่ยงมาเล่นของหนักหลายท่าเลย เริ่มต้นกับท่าที่ผมชอบที่สุดนั้นก็คือ ฮาเนโกชิ อาจารย์ลองทุ่มให้ดูในจังหวะที่โทริเดินหน้าเข้าทำเรียกได้ว่าเพิ่งเคยเห็นของจริงว่ามันเป็นท่าที่ใช้ได้จริง(จริงๆแล้วก่อนหน้านั้นเคยโดยทุ่มขณะรันโดริกับอาจารย์8ดั้งแต่เป็นฮาเนโกชิสเต็ปเดียว) อาจารย์เข้าท่าให้ดูแล้วมันตราตรึงจริงๆจังหวะกับความเร็วนั้นผมให้เต็ม10เลย พื้นฐานของท่าฮาเนโกชิผมก็พอเข้าใจอยู่แต่เป็นการเดินหน้าเข้าทำผมคงจะยังต้องฝึกต่อไปให้มันสามารถใช้เหมือนอาจารย์และนำไปใช้จริงให้ได้

ต่อมาก็เป็นอุจิมาตะ ท่านี้ช่วงหลังๆผมให้ความสนใจมากๆแต่เนื้อหาในวันนี้ก็ไม่ใช้เรื่องใหม่ คือการใช้อุจิมาตะแบบสเต็ปเดียวเพียงแต่ที่อาจารย์เอามาสอน มีเพิ่มเคล็ดลับที่ผมไม่เคยรู้เข้าไปอีกเล็กน้อยคือว่าอุจิมาตะสเต็ปเดียวจะใช้ได้ดีกับการจับแบบเก็งกังโยตสึถ้าไปใช้กับไอโยตสึมันทำยากมากเป็นท่าที่ผมต้องเรียนรู้เพิ่มเติมให้มากๆเพราะว่าปกติตอนนี้ผมสามารถใช้อุจิมาตะแบบเห็นผลได้ก็ใช้กับการจับแบบไอโยตสึถ้าสามารถใช้กับเก็งกังโยตสึได้จะเป็นกี่สเต็ปก็ไม่เป็นไร

ถัดมาเป็น โซเดทรึริโกมิโกชิที่ต้องสอนหลังจากอุจิมาตะเพราว่าการหมุนขาเข้าท่าเป็นลักษณะเดียวกับการใช้อุจิมาตะสเต็ปเดียวนั้นเองท่านี้งงอยู่ว่าโคโดกังจะสอนให้กับเด็กประถมกับเด็กม.ต้นแต่ถ้าเป็นคลาสที่ผมเรียนอยู่มันไม่มีเนื้อหาท่านี้ และอาจารย์ไม่เคยสอนเลยสมัครที่ผมพยายามปั้นท่าเซโอนาเกะให้เป็นท่าไม้ตายของผมนั้นท่านี้ผมสนใจและเรียนรู้จากหลายๆที่จะมันพอจะใช้ได้บ้างเล็กน้อยแต่โคโดกังไม่สอนผมเลยเก็บท่านี้ขึ้นตอนนี้ถือว่าเรียนรู้เคล็ดลับการขยับขาหมุนตัวเพิ่มเข้ามา ไว้ผมใช้อุจิมาตะสเต็ปเดียวได้แล้วจะมาพัฒนาท่านี้ต่อไป

ท่าสุดท้ายมีอาจารย์พิเศษอายุแค่23ปีแต่ถือว่าญี่ปุ่นขณะนี้ถ้าเป็นรุ่น66กิโลกรัมแล้ว คนนี้ถือว่าเก่งสุดแล้วอาจารย์ท่านนี้คือตัวแทนทีมชาติญี่ปุ่นที่จะไปแข่งโอลิมปิค2016ที่บราซิล(ที่เจออิโนะอุเอะและพวกพ้องก็คงเพราะว่ามาเรื่องเอานักกีฬามาสอนในคอร์สนี้นี้แหละ)ท่าที่เอามาสอนคือท่าไม้ตายนั้นเองท่าเซโอนาเกะหลังจากเรียนรู้แล้วถือว่าเป็นการเปลี่ยนทฤษฏีของท่าเซโอนาเกะก็ว่าได้คือว่าให้ความสนใจกับทรึริเทแทนที่จะไปสนใจที่ฮิกิเทะ คุสุชิ สกุริ คาเคะแต่สิ่งที่สำคัญก่อนหน้าคุสุชิคือการ ผ่อนคลายมือทรึริเทะ(เรียนรู้การชิงจับเพิ่มเติมมาอีกส่วนนึง)วันนี้ถือเป็นการเจาะลึกในท่าเซโอนาเกะทฤษฏีใหม่ก็ว่าได้ มีทั้งแบบเก็งกังโยตสึแบบที่คู่ต่อสู้ออกแรงต้านไม่ว่าจะเป็นมือฮิกิเทะหรือว่าทรึริเทะ วันนี้อาจารย์ท่านนี้มาสอนหลักๆ2ท่าคือท่าเซโอนาเกะในแบบผ่อนคลายก่อนทำคุสุชิ ส่วนอีกท่านึงก็คือเซโอนาเกะในแบบอุชิโร่ไทซาบากิ(แบบถอยหลังหมุนตัว) ท่าเซโอนาเกะผมไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่แต่ที่ผมสนใจคือการเคลื่อนไหวแบบอุชิโร่ไทซาบากิ เพราะว่ามันเป็นส่วนนึงในการเข้าอุจิมาตะของผมการทำอุชิโร่ไทซาบากิของอาจารย์ท่านนี้ มันแปลกเพราะว่าลดลงไปเหลือ2สเต็ปในขณะที่แบบทั่วไปจะเป็น3สเต็ปแต่ถ้าใครใช้ท่าเซโอนาเกะเป็นหลักถือว่าได้ไปเต็มๆเลย

ถัดจากนี้เป็นการรันโดริ วันนี้รันไป5คู่เลือกแบบพอดีคำเพราะยังไม่สามารถให้ใครทุ่มได้ก็เลือกโดยใช้สายตาว่าคนที่เลือกมานั้นต่อให้ทุ่มเทเต็มที่ยังไงก็ไม่สามารถที่จะทุ่มผมได้แม้แต่ครั้งเดียววันนี้ก็ยังผ่านไปได้ด้วยดีวันนี้คิดไว้ก่อนรันโดริแล้วว่าจะลองกดปุ่มสั่งอุจิมาตะดูว่ามันจะมาตามที่สั่งมั้ยคือกะไว้ว่า 5วินาทีก่อนหมดเวลาจะทุ่มด้วยอุจิมาตะ(เอาแบบว่าคู่ซ้อมหลังลงพื้นแล้วก็หมดเวลาพอดี) ก็ทำได้ทั้ง5ครั้งกระดูกหักครั้งนี้มีสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาคือตอนนี้ทุ่มด้วยอุจิมาตะจะสามารถยืนขาเดียวแบบเอาขาอีกข้างชี้ขึ้นโดยที่ไม่ล้มได้แล้วในขณะที่มือก็ประคองแขนคู่ต่อสู้เอาไว้ได้ด้วยเหมือนจะใจดีที่ประคองแขนช่วยเซฟเอาไว้แต่แท้จริงแล้วเป็นการฝึกสำหรับเรื่องเนวาซะต่อไปถ้าอุจิมาตะลงไม่เต็มจะได้ใช้เนวาซะต่อซะเลยหมดไปอีกวัน พรุ่งนี้เริ่มในส่วนของเนวาซะ ขากลับระหว่างทางแวะกินข้าวพอกินเสร็จฝนตกชนิดหนักมากๆ เปียกเป็นลูกหมาตกน้ำทำให้คิดว่าถ้ารู้แบบนี้ไม่กินข้าวรีบกลับมาน่าจะดีกว่า

อาทิตย์ที่28 กรกฏาคม 2013

เริ่มต้นเหมือนทุกวันคือการวอร์มอัพทุกๆคนที่มาซ้อมคงคิดเหมือนผมว่าไม่ชอบการทำวากิชิเมะโดยการไถลตัวไปตามพื้นเพราะว่าทุกคนมีแผลที่ข้อศอกเหมือนกันแต่อาจารย์ก็ยังบอกให้ทำแล้วทุกคนก็ตั้งใจทำกันเต็มที่เหมือนเดิม(คนที่ไม่ทำก็ไม่ทำเหมือนเดิมนั้นแหละ)

วันนี้เริ่มการซ้อมการสอนด้วยท่า โอโซโตการิก่อนอื่นเช็คความถูกต้องในการเข้าท่าก่อนแล้วอาจารย์ก็สอนในสเต็ปพื้นๆโดยการเข้าท่าในจังหวะท่าเราเดินหน้า(อุเกถอยหลัง)ถัดจากนี้เป็นแบบจังหวะที่เราเดินถอยหลัง(อุเกะเดินหน้าเข้ามา)สิ่งสำคัญในแบบที่เราถอยหลังคือเราต้องคุมมือทรึริเทะให้ดีๆโดยการดึงให้คู่ต่อสู้เอาขาเดินตามเข้ามาในขณะเดียวกันก็ต้องขยับขาในการย่ำอยู่กับที่1ครั้งเพื่อให้มันไปอยู่ในจังหวะเหมือนการเข้าท่าทั่วไป

วันนี้เริ่มต้นท่านอน กันด้วยท่าพื้นฐานเฉพาะของโคโดกัง คือเซไก้อิตชู หรือว่า around the world การเรียนการเข้าท่านอนชุดนี้ ผมเรียนมาแล้ว3ครั้ง(อย่างว่าผมเด็กโคโดกังคอร์สระยะยาว)ทำให้วันนี้กลายเป็นการสอนคู่ซ้อมผมในท่าชุดอันนี้ ถือว่าเป็นการทบทวนไปในตัวด้วยเพราะว่าแต่ละการขยับแฝงไปด้วยความรู้ในเรื่องเนวาซะเยอะมาก

จากนั้นอาจารย์ก็สอนการวนตัวในขณะที่อยู่ในท่าเต่าขึ้นมาในขณะที่อยู่ในท่าเต่าให้เอามือขวาโอบเอวคู่ต่อสู้เอาไว้คอเราเข้าไปอยู่ที่เอวอีกฝั่งนึงแล้วก็ยกขาซ้ายตั้งขึ้นเอาคอช่วยดันคู่ต่อสู้ลงพื้นพร้อมๆกับการวนตัวขึ้นไปอยู่ด้านบนคู่ต่อสู้ท่านี้ถ้าทำจนชำนาญมันน่าจะช่วยได้เยอะในการตัดสินกันด้วยท่านอน

อีกอย่างอันนี้ยากไปหน่อย คือท่าโยโกวากาเระฉบับท่านอนการที่คู่ต่อสู้ดันน้ำหนักเข้ามาปะทะกันให้ใช้แรงของคู่ต่อสู้โดยการที่เราทิ้งขาข้างนึงลงพื้นพร้อมกับการทุ่มคู่ต่อสู้ไปด้านหลังก่อนที่จะตามไปกดคล้ายๆกับท่าโยโกวากาเระของท่ายืน

ก่อนพักเที่ยงมีรันโดริในท่านอนอยากบอกว่าเด็กมัธยมของญี่ปุ่น ฝีมือเรียกว่าเก่งเลยละในท่านอนถ้าผมไม่ได้เรียนคอร์ส10วันเนวาซะจากอาจารย์มัสสึมุระมาแล้ว คงแพ้ไม่เป็นท่าแน่ๆยังดีที่เอาท่าที่เรียนมาออกมาปรับใช้จู่โจมและป้องกันได้

หลังเที่ยงคล้ายๆกับการเรียนภาคทฤษฏีแต่เป็นการลงมือปฏิบัติ เรียนในส่วนของการเข้าท่าโดยอาศัยน้ำหนักตัวช่วยในการเข้าท่าคือการเข้าท่าต้องเพิ่มพื้นที่อาจจะถอยหลังก่อนในการสร้างแรงเหวี่ยงในระหว่างที่เราขยับตัวถอยหลังถ้าเราเอาน้ำหนักตัวมาช่วยกดคู่ต่อสู้มันจะเห็นผลดียิ่งขึ้นการกดต้องไม่ใช้การกดจากมือ เพราะการกดจากมือของเราเป็นการที่ทำให้ตัวเราลอยขึ้นไปในทางยูโดแล้วถือว่าผิดมหันต์ต้องเป็นการกดโดยใช้ขาหรือว่าการปล่อยให้น้ำหนักตัวเราลงไปกองที่ขา(เหมือนกับหมดแรงเป็นลมทำนองนั้น)จากนั้นจังหวะที่ขยับตัวเข้าไปเข้าท่าให้ผ่อนแรงออกทั้งหมดแล้วกระตุกขึ้นตามทิศทางที่เราต้องการมันจะไปตามที่เราควบคุม

จากนั้นเป็นอาจารย์พิเศษจากกรมตำรวจมาสอนท่าไม้ตายท่าที่เรียนวันนี้คือ โออุจิการิพื้นฐานคล้ายกันจากการเรียนเรื่องการทิ้งน้ำหนักตัวเอามาปรับใช้อาจารย์แนะนำหลายส่วนมากๆ ทั้งในส่วนการเข้าท่าแบบเดินหน้า(แบบปกติทั่วไป)การเข้าแบบถอยหลัง โดยการให้เราเบียงตัวออกไปด้านข้างแล้วปัดเป็นวงกลมจุดนี้ต้องอาศัยทรึริเทะในการดึงคู่ต่อสู้เข้ามาเล็กน้อยในขณะที่ฮิกิเทะดันออกไปเล็กน้อยพอขาคู่ต่อสู้ตามเข้ามาแล้วก็ค่อยเป็นการวางมือในรูปแบบพื้นฐานทั่วไปที่สอนอีกท่าคือท่าพลิกเกี่ยวเปลี่ยนมุนของโออุจิการิ โดยการอาศัยแรงต้านของคู่ต่อสู้เป็นตัวทุ่มการเข้าท่าเหมือนกับอุจิมาตะเคเคนแต่คู่ต่อสู้ออกแรงต้านถ้าเราพลิกเปลี่ยนมุมทุ่มเป็นโออุจิการิแล้วคู่ต่อสู้จะล้มแบบหงายไปเลยจากนั้นเป็นท่าต่อเนื่องของโออุจิการิ +อุจิมาตะอุจิมาตะที่ใส่เข้าไปไม่ได้เป็นแบบดึงเข้ามาหาตัวแต่เป็นแบบดันออกไปตามแรงเหวี่ยงในจังหวะแรกของโออุจิการิ(ท่านี้ยากไป)

รันโดริวันนี้ท่ายืนก็สนุกแต่ว่าข้าวเที่ยงกินน้อยไปหน่อย เล่นแป็บเดียวก็หมดแรงแล้ว ทุ่มได้ไม่ค่อยดีนักแต่ก็ยังไม่ถูกคนอื่นทุ่มนับว่าเป็นเรื่องดีของกระดูกแล้วครับ

จันทร์ที่29 กรกฏาคม 2013

เริ่มต้นกับการวอร์มอัพ (ทุกคนอยากจะเลี่ยงแต่ก็เลี่ยงไม่ได้)ในแต่ละวันจะมีการเพิ่มท่าวอร์มอัพเข้าไปอีก วันนี้เพิ่มมาอีกท่าคือเป็นท่าที่จับคู่กับเพื่อนแล้วใช้ขาปัดให้ลอยขึ้นไป เหนื่อยแทบแย่แล้วท่านี้ก็จะบรรจุไว้ในการวอร์มอัพสำหรับวันพรุ่งนี้อีกต่างหาก

ช่วงเช้าเรียนเนวาซะ วันนี้เรียนการเข้าทำ2แบบคือการเข้าทำในขณะที่เราอยู่ด้านล่าง กับการเข้าทำในขณะที่เราอยู่ด้านบนการเข้าทำในแบบที่เรานอนหงายอยู่ข้างล่างก็คงไม่พ้นท่า โอบิฮิกิไคเอชิเริ่มต้นจากขั้นพื้นฐานก่อนคือการที่เราอยู่ข้างล่างแล้วดึงแขนคู่ต่อสู้ให้ปัดไปแล้วเอาหน้าอกกดไว้พร้อมๆกับเอาแขนของเราไปจับสายรัดด้านหลังกระเถิบเข้าไป1ก้าวแล้วเอาอีกมือไปจับสายเข็มขัดจากนั้นก็ใช้ขาเหวี่ยงขึ้นไปพร้อมกับเข้าท่าโยโกชิโฮจุดสำคัญอยู่ที่ขาที่ต้องทำการไขว้สลับกัน

จากนั้นก็ปรับแต่งมาใช้แบบที่คู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่าและแบบที่คู่ต่อสู้นอนคว่ำอยู่บนพื้นวิธีการคล้ายๆกันคือเอามือซ้ายจับคอเสื้อด้านหลัง มือขวาจับสายเข็มขัดขาขวาอยู่ช่วงสะโพกซ้ายของคู่ต่อสู้จากนั้นออกแรงยกตัวคู่ต่อสู้ขึ้นเอาขาอีกฝั่งใส่เข้าไปใต้ตัวคู่ต่อสู้จากนั้นก็เอามือซ้ายไปจับสายเข็มขัดจากนั้นก็เหมือนเดิม ท่านี้สามารถปรับเป็นท่าหักแขนได้ด้วยคือถ้าแขนคู่ต่อสู้ยื่นออกมาเพื่อพยุงตัวเราสามารถใช้ข้อศอกเราเกี่ยวให้ตึงออกไปแล้วดันท้องกดเป็นการหักบริเวณข้อศอก

โอบิฮิกิไคเอชิสามารถปรับเป็นท่าล๊อคคอก็ได้คือช่วงที่ใส่เข้าไปถ้าเราวนมือให้คอคู่ต่อสู้อยู่ใต้รักแร้ก่อนที่จะเอาอีกมือไปจับที่สายรัดแล้วเหวี่ยงตัวก็กดได้เหมือนกันลักษณะเหมือนท่าคาคาเอะชิเมะที่ผมเพิ่งเรียนมาจากอาจารย์มัตสึมุระ (โคเซ็นยูโด)

จากนั้นเป็นการเรียนการเข้าท่าในแบบที่เราอยู่ด้านบนก่อนอื่นเอามือซ้ายปัดขาขวาของคู่ต่อสู้ออกไปพร้อมๆกับตวัดขาขวาของเราออกมาจากขาคู่ต่อสู้(คล้ายกับการตวัดในท่าอุจิมาตะ) สำคัญต้องเข้าทำเร็ว เอาเข่ากดลงไปที่บริเวณรักแร้ขวาของคู่ต่อสู้ในขณะเดียวกันแขนขวาอยู่ที่คอเสื้อซ้ายคู่ต่อสู้ให้ดึงขึ้นเป็นการคุมคู่ต่อสู้ให้ขยับตัวไม่ได้ถ้ากดลงคู่ต่อสู้จะดิ้นได้ แล้วก็เข้าท่าธรรมดาอย่างเคซะกาตาเมะ

บางครั้งคู่ต่อสู้จะหมุนตัวหลบออกไปทางซ้ายก็ให้หมุนตัวผ่านไปทางหัวของคู่ต่อสู้เอาเข่าซ้ายกดลงไปบริเวณหน้าอกซ้ายของคู่ต่อสู้ก็จะดิ้นออกไปไม่ได้แล้วจากนั้นใส่ล๊อคมือขวาของคู่ต่อสู้กับชายเสื้อของคู่ต่อสู้เองแล้วดึงถอยหลังกดในท่าคามิชิโฮกาตาเมะ

ท่านี้ปรับเปลี่ยนได้หลายแบบ สามารถเปลี่ยนเป็นจูจิกาตาเมะก็ได้ในจังหวะที่เราคุมคู่ต่อสู้โดยที่เข่าขวาของเรากดบริเวณรักแร้ส่วนมือขวาจับคอเสื้อคู่ต่อสู้ดึงเข้าหาตัวถ้าจุดนั้นเอาขาซ้ายพาดบนคอคู่ต่อสู้แล้วใส่จูจิกาตาเมะก็ทำได้

มีเวลาเหลืออยู่อีกหน่อยในช่วงเช้า ก็เป็นการรันโดริในส่วนของเนวาซะวันนี้ไปรันใกล้ๆกับอาจารย์พออาจารย์คนใหม่ของโคโดกังเห็นท่าที่ใช้ออกไปแล้วถึงกับถามชื่อเลยทีเดียวว่าเป็นใครและเรียนยูโดมาจากไหนท่าที่เตะตาอาจารย์มีอยู่2ท่า คือคู่ต่อสู้ผมจะใช้ซังกะกุจิเมะ(พื้นฐานทั่วไปของเด็กม.ปลายญี่ปุ่นคงเป็นท่านี้ละมั้งทำให้อ่านทางได้ง่าย)ผมก็ล่อให้ใช้ออกมาแล้วสวนกลับด้วยคุสุเรเคซะกาตาเมะ ส่วนอีกท่าเป็นท่าพื้นๆแต่ว่าผมเข้าได้เป๊ะมาก(เอามาจากการเรียน10วันจากอาจารย์มัสสึมุระนั้นแหละ)ค่อยๆเป็นสเต็ปแบบไม่รีบร้อนจนไปจบกันที่การกดในท่าคามิชิโฮกาตาเมะคุยกับอาจารย์ไปหน่อยนึงถึงร้องอ๋อว่าเด็กโคโดกังนั้นเองไม่แปลกที่ใช้ท่าพวกนี้ออกไปได้

หลังเที่ยงมีเวลาหน่อยนึงก่อนที่จะมีอาจารย์พิเศษมาสอนท่าประจำตัวของท่านก็เรียนกันในท่ารัดคอรอกันไปก่อน เรียนรัดคอ3ท่าของโอคุริเอริจิเมะท่าแรก ใช้กับตอนที่คู่ต่อสู้นอนคว่ำแผ่อยู่บนพื้นเอามือซ้ายล้วงไปดึงคอเสื้อด้านขวาแล้วทิ้งเข่าขวาไปบนหลังคู่ต่อสู้ตามด้วยเข่าซ้ายไปที่บริเวณไหล่ขวาด้านหลังของคู่ต่อสู้จากนั้นก็ดึงรัดเป็นอันเสร็จพิธี

แบบที่2 เป็นท่าพื้นฐานในการเข้าโอคุริเอริจิเมะใช้กับคู่ต่อสู้ที่อยู่ในท่าเต่า

แบบที่3 เป็นสิ่งที่ผมตามหามานานแล้วคือใช้กับคู่ต่อสู้ที่อยู่ในท่าเต่าแต่ผมตามหามานานเพื่อเอามาใช้จัดการกับท่าเซโอนาเกะ พอหลบเซโอนาเกะของคู่ต่อสู้ออกมาได้แล้วเอาขาซ้ายก้าวข้ามคอคู่ต่อสู้มือขวายังอยู่ที่คอเสื้อซ้ายคู่ต่อสู้แบบนั้นแหละจากนั้นทิ้งตัวไปด้านหลังเหมือนนั่งทับพร้อมๆกับเอามือซ้ายล้วงไปที่รักแร้ซ้ายของคู่ต่อสู้พอหมุนตัวไปแล้วยกแขนซ้ายคู่ต่อสู้ขึ้นพร้อมกับการใช้แขนขวาในการดึงรัดคอ

อาจารย์พิเศษวันนี้เป็นแชมป์โลกยูโดเมื่อปีที่แล้วในรุ่น100กิโลกรัมวันนี้มาสอนท่าอุจิมาตะกับท่า โออุจิการิ ท่าอุจิมาตะไม่ใช่ของใหม่แบ่งเป็น3รูปแบบเป็นแบบปกติ แบบสเต็ปเดียว แล้วก็แบบเคเค็นสิ่งที่ไม่ปกติคือเค้ารู้จักหลอกล่อคู่ต่อสู้ให้กดแขนของเค้าเอาไว้ถ้าเจอกับพวกเก็งกังโยตสึแล้วอาศัยจังหวะนั้นทำคุสุชิโดยการดันแขนข้างที่โดนกดนั้นเข้าไปที่ตัวคู่ต่อสู้แล้วใส่อุจิมาตะ

แบบสเต็ปเดียว เคยเรียนมาแล้วแต่เป็นท่าฮาเนโกชิ จากอาจารย์8ดั้งเท่าที่ดูคนที่มาเรียนในคอร์สนี้ส่วนใหญ่ยังทรงตัวโดยขาข้างเดียวได้ไม่ดีนัก(แบบนี้ต้องไล่กลับไปฝึกเดอาชิบารัยอีกซักครึ่งปี) อาจารย์ท่านนี้ถึงได้บอกว่าเป็นท่าระดับสูงเพราะการจะทรงตัวโดยขาข้างเดียวที่เข้าใช้อุจิมาตะสเต็ปเดียวต้องใช้เวลาในการฝึกฝนนานพอควร

แบบเคเค็น อันนี้ก็ไม่ใช้ของใหม่ เคยเรียนจากอาจารย์ที่โคโดกังแล้วคือมือซ้ายต้องกดมือของคู่ต่อสู้ลงแล้วหมุนเป็นวงกลมที่แปลกใหม่เพิ่มเข้ามาคือการก้าวขาเป็นการก้าวขาหลัง(ขาซ้าย)ออกข้างกว่าปกติแล้วเอาขาขวาเข้าปัดเลย

โออุจิของอาจารย์ท่านนี้เป็นแบบดันให้ล้มไปด้านข้างสามารถปรับเปลี่ยนเป็นอุจิมาตะได้ด้วยและที่พิเศษคือการทุ่มเปลี่ยนทิศทางในท่าโออุจิการิ อันนี้น่าสนใจมากๆ

วันนี้รันโดริ แล้วโดนสายขาวเกี่ยวเดอาชิบารัยล้มซะได้แต่ถือว่าจังหวะที่เค้าใช้มันเป๊ะมากๆ ยังไงก็ต้องล้ม สายขาวคนนี้ก็คือคู่ซ้อมของผมในวันนี้ตั้งแต่ช่วงเช้านี้เองวันนี้เห็นจุดอ่อนของนักเรียนม.ปลายแล้ว คือท่าเนวาซะเด็กพวกนี้ยังไม่รู้จักวิธีการเอาชายเสื้อของคู่ต่อสู้มาล๊อคแขนของคู่ต่อสู้เองแล้วอาจารย์ก็ไม่ทันสังเกตุด้วยทำให้เด็กพวกนี้ยังต้องงงกันต่อไปกับวิธีการใช้ชายเสื้อล๊อคแขน พรุ่งนี้วันสุดท้ายแล้วแต่วันนี้เหนื่อยมากๆ ซ้อมกับคอร์สโรงเรียนปกติแทบจะทำการวอร์มอัพไม่ได้เลย

วันสุดท้ายอังคารที่30 กรกฏาคม 2013

วันนี้มีซ้อมแค่ช่วงเช้า ส่วนช่วงบ่ายเป็นการแข่งขันเริ่มต้นกันที่วอร์มอัพเหมือนเคย จากนั้นเป็นเนวาซะ วันนี้สอนท่าสุดคลาสสิคที่ใช้กันมาเป็นสิบๆปีแล้วคือการขึ้นคล่อมด้านบนเอามือล้วงไปจับที่ชายเสื้อทั้งสองข้างก้มลงหมุนตัวพร้อมกับล๊อคแขนข้างนึงให้อยู่ในท่าทัตเตชิโฮท่านี้เรียนเป็นครั้งที่4แล้วมั้ง จากคลาสโคโดกังสองครั้ง จากอาจารย์มัสสึมุระแล้วก็วันนี้เรียนอีกครั้งนึง

ถัดมาเป็นการเข้าท่านอนพิศดาร แต่ใช้ได้ผลดีตอนที่คู่ต่อสู้อยู่ในท่าเต่า มือซ้ายจับคอเสื้อด้านหลังมือขวาล้วงไปใต้เป้ากางเกงไปจับเข็มขัดพร้อมกับพลิกตัว1รอบเอาเข่าขวากดที่ระหว่างช่วงไหล่กับข้อศอกซ้ายของคู่ต่อสู้ในขณะที่ขาซ้ายของเราฝ่าเท้าต้องเหยียบพื้นเพื่อที่จะทรงตัวได้ดียิ่งขึ้นก้นของคู่ต่อสู้ถูกยกลอย มันเป็นการบังคับคู่ต่อสู้ให้เอาก้นลงมาเองเพื่อที่จะได้ให้เรากดในท่า โยโกชิโฮกาตาเมะ

จากนั้นเป็นส่วนของท่ายืน ท่านี้เป็นท่าไม้ตายของอาจารย์ผู้สอน คือท่าโคชิกุรุม่า ท่านี้อาศัยแรงของคู่ต่อสู้ที่ดันขึ้นมาเป็นตัวทุ่ม เริ่มจากจับแบบปกติกดคู่ต่อสู้ให้ก้มตัวลง พอคู่ต่อสู้ดันขึ้นมาก็เข้าประชิดเอาแขนล๊อคคอแล้วทุ่ม ใช้ฮิกิเทะไปล็อคคอแล้วหมุนไปทางทรึริเทะทรึริเทะแอบช่วยดึงช่วงคอคู่ต่อสู้ด้วย ปัญหาสำหรับผมในท่านี้คือ การหมุนตัวถ้าจับขวาต้องหมุนไปทางขวา(ทางตรงข้ามกับท่าที่ใช้ปกติจำพวกเซโอนาเกะหรือว่าฮาไรโกชิ)ทางนี้ผมหมุนตัวได้ช้า ดังนั้นก็ต้องปรับเปลี่ยนเป็นการจับสองมือที่ช่วงคอของคู่ต่อสู้มันก็จะสามารถหมุนไปทางขวาแบบปกติได้

ต่อมาเป็นท่าที่ผมต้องการศึกษามากสุดในช่วงนี้ก็คือท่า โทโมนาเกะแบบด้านข้างท่านี้ก็เหมือนกันเป็นการหมุนตัวไปทิศทางตรงข้ามกับของที่ผมใช้อยู่ถ้าจับขวาให้เอาเท้าขวาก้าวออกไปทางด้านซ้ายแล้วพลิกตัวมาด้านขวาเอาขาซ้ายเตะไปที่ช่วงท้องด้านขวาของคู่ต่อสู้มือฮิกิเทะให้ทำคุสุชิลงด้านล่างพอถีบไปแล้วก็ใช้แขนสองข้างคุมทิศทางของคู่ต่อสู้ทางไหนก็ได้ ถ้าล้มได้ก็เป็นใช้ได้ อีกจุดที่น่าสนใจคือถ้ามือทรึริเทของเราอยู่ที่คอคู่ต่อสู้ตอนถีบหมุนไปแล้วคู่ต่อสู้จะเอาแขนข้างที่เราไม่ได้จับไว้เป็นการทรงตัวในท่าล้อเกวียนทำให้ไม่ได้แต้มดังนั้นถ้าจะดีต้องจับแขนเสื้อทั้งสองข้างของคู่ต่อสู้ก่อนที่จะทุ่มท่านี้

ช่วงบ่ายไม่ได้แข่ง ก็ไปช่วยเป็นกรรมการ คิดถูกแล้วที่ไม่แข่งเพราะว่ามีพวกเก่งๆทั้งต่างชาติ กับเด็กม.ปลาย ออกมาวาดลวยลายกันเต็มที่ถึงแม้การแข่งครั้งนี้ผลแพ้ชนะจะไม่มีก็ตาม แต่มันก็ยังเล่นกันเต็มที่

คอร์สนี้ไปเรียนคนเดียวไม่มีเพื่อนเลยคนอื่นเค้ามากันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ผมก็เป็นตัวแปลกอยู่คนเดียวในนั้นเพราะว่ากลุ่มต่างชาติเค้าก็อยู่เป็นกลุ่มของเค้ากลุ่มเด็กนักเรียนเค้าก็อยู่กันเป็นกลุ่มๆ หัวเดียวกระเทียมลีบ แต่ไม่สนใจเพราะว่าถ้าเทียบกันตามกลุ่มก้อนแล้ว ผมถือว่าเป็นเจ้าถิ่นเพราะเป็นเด็กโคโดกังอยู่คนเดียว แถมยังสื่อสารได้ทั้งภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษอีกทั้งเรื่องการวอร์มอัพ หรือว่าการทำอะไรที่เป็นธรรมเนียมของโคโดกังผมก็สบายอยู่แล้ว พวกต่างชาติเค้าก็เลยต้องมาเกาะกลุ่มกันที่ผม2วันแรกซ้อมกับคนฮ่องกง(คนนี้นิสัยดีมาก)วันที่3ซ้อมกับเด็กม.ปลาย (โรงเรียนอิชิกาว่าโคเกียว)วันที่4ก็เป็นเด็กโรงเรียนอิชิกาว่าโคเกียวเหมือนกันแต่เปลี่ยนคนวันสุดท้ายก็ยังเป็นเด็กโรงเรียนอิชิกาว่าโคเกียวอีกเหมือนกันแต่ก็เปลี่ยนคนเสียดายที่ปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่อยู่ญี่ปุ่น ไม่อย่างงั้นปีหน้าก็น่าจะมาอีก พวกวิชาความรู้ที่ได้มาใหม่มันก็ดีแต่สิ่งที่ได้มามากกว่าความรู้พวกนี้คือจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายหลักของยูโด




Create Date : 30 กรกฎาคม 2556
Last Update : 30 กรกฎาคม 2556 21:22:27 น. 0 comments
Counter : 2154 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.