Group Blog
 
 
เมษายน 2560
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
6 เมษายน 2560
 
All Blogs
 
ไปซ้อมยูโดที่ญี่ปุ่นมา สี่อย่างที่ควรเน้นสำหรับมือใหม่



มันเป็นเรื่องยาก ที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อเกี่ยวกับการซ้อมยูโด เอาเป็นว่าใครจะซ้อมแบบไหนยังไงก็แล้วแต่ชอบ แล้วแต่เลือกกันเลยละกัน

① อุเกมิ
เรื่องนี้วนเวียนไปมา ปัญหาของการซ้อม สาเหตุตัวโต ก็มาจากอุเกมิส่วนนึง อุเกมิคือการตบเบาะ อย่าไปมองว่าอุเกมิต้องตบแบบนั้น ต้องทำแบบนี้ แต่ควรจะมองว่าตบยังไงให้ปลอดภัยกับตัวเรา เอาเป็นว่าแปดในสิบยังคงตบตามความเชื่อของตนเอง โดยที่ทำไปแบบไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร

- ทำไมต้องตบเบาะ?
ถามโง่ๆ ก็เพื่อช่วยเซฟตนเองในขณะที่ล้มหรือขณะที่ถูกทุ่ม

- แล้วจุดล่อแหลมคือตรงไหน?
คอสิคร้าบ ตอนล้มหงายหลังลงพื้นเราถึงต้องยกคอขึ้น (มองสายคาดก็ได้) เพื่อให้หัวไม่ฟาดพื้น

- หัวไม่ฟาดพื้น แต่หลังลงเต็มมันก็อัมพาตแดกได้นะ!!

เพราะแบบนี้เราถึงต้องกระจายแรงให้มันออกไปสู่ขา สู่แขน เพื่อที่หลังจะได้ไม่ต้องรับภาระตอนล้มลงไป แต่ลองไปมองดูคนที่ตบเบาะกัน เอาท่าที่สี่ละกันเห็นกันชัดๆ มากกว่าครึ่งหลังลงไปแล้วมือค่อยตบตาม ตบเพื่อ? (อันนี้ไม่มีคำตอบ ต้องหาคำตอบกันเอง)

- คนเรามีสามสิบสองส่วน อะไรผิดปกติไปซักส่วนมันก็ไม่ดี แขนขาก็สำคัญ เราถึงต้องตบเบาะให้ชำนาญ พอล้มลงอย่างแรกคือจะได้ไม่เอามือยัน ไม่เอามือท้าว ไม่ท้าวไม่ยันมันก็จะได้ไม่หัก ท่าที่ฝึกให้ตอบสนองการไม่ยันมือน่าจะเป็นท่าที่เจ็ดแบบเบสิก ชำนาญแล้วสูงขึ้นหน่อยเป็นท่าที่แปด อย่างที่บอกหลังสำคัญถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงที่จะเอาหลังลง การตบด้านข้างชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าด้านข้าง ตอนลงเอาลงข้างเดียวพอไม่ต้องลงเต็มหลัง ถ้าตบแล้วตามองเพดานได้ชัดๆ คือผิดแล้ว ตามันต้องมองที่มือข้างที่ตบสิ ถึงจะถูกต้อง (มองเพดาน=ลงเต็มหลังสองข้าง ไม่เอาไม่ใช่)

- มาถึงตบเบาะด้านข้างกันบ้าง เอาท่าที่ห้าละกัน กลิ้งกับพื้นไปๆมาๆ ท่านี้เป็นพื้นฐานของการม้วนตัวตบเบาะแล้วยืน รวมถึงฝึกการบิดสะโพกไปในตัว การเข้าท่าจำพวกหมุนตัวได้ท่าที่ห้านี้แหละมาช่วยให้คล่อง กับในส่วนของเนวาซะ ความคล่องตัวส่วนนึงก็มาจากตบเบาะท่าที่ห้า ดังนั้นตอนซ้อมท่าที่ห้าใครคิดแค่ว่าเป็นการกลิ้งไปมาแล้ว...ผิดถนัดจริงๆ

- ดูกันที่ขามั้ง ยาวไปก็ไม่ดีสะเทือนเข่า (เดี๋ยวเอ็นยืด) หดสั้นเข้ามามากไปก็ไม่ดีแรงส้นลงพื้นสะท้อนกลับมาที่เข่าเช่นกัน นิ้วขาทั้งขาซ้ายกับขวาควรอยู่แนวเดียวกัน เช่นเดียวกับส้นเท้าที่วางในแนวเดียวกัน ระยะห่างขาสองข้างใกล้กันตอนล้มเร็วๆ ขาตีกัน เข่าชนกัน เจ็บจริงๆ ถ้าวางขาห่างกันเกินไปดูทุเรศ สมดุลย์พัง ขาไหนลงก่อน แรงน้ำหนักเทไปข้างนั้น ขาข้างนั้นจะเจ็บได้ง่ายๆ ตบเบาท่าที่ห้าไม่ชำนาญ พอล้มจริงหรือพอถูกทุ่ม การพลิกตัวไม่ดีขามักจะไขว้กัน ไขว้กันยังไม่ทำไรก็เจ็บละ

- ตบเบาะเป็นเรื่องน่าเบื่อ ทุกๆคนมักจะละเลยไป ไปซ้อมท่าทุ่มกลัวว่าทุ่มคนอื่นไม่ได้ อยากรันโดริทั้งที่ตบเบาะไม่ได้ สุดท้ายก็เจ็บ เจ็บแล้วก็หายเลิกเล่นกันไป (อุเกมิทำหน้าที่ของมันในการสกรีนคนออกไปได้บางส่วน) ตบเบาะไม่เป็น นอกจากจะทำตัวเองเจ็บแล้ว ยังเป็นตัวถ่วงคู่ซ้อมอีกต่างหาก ยังไง? เดี๋ยวมีแจกแจงในส่วนของอุเกะ

- ที่ญี่ปุ่นเก่งไม่เก่ง มองแค่ตอนวอร์มม้วนตัวตบเบาะก็รู้ละว่าฝีมือประมาณไหน


② อุเกะ
- "อุเกะ" เอาให้เข้าใจง่าย คือ คนที่ถูกกระทำ หรือคนที่ถูกทุ่มนั้นเอง ความหมายนี้รวมไปถึงคู่ซ้อมตอนที่เป็นหุ่นให้เราซ้อมด้วย

- อุเกะสำคัญ(มากกกก) ฝีมือจะเก่งหรือพัฒนาขึ้นไปได้อยู่ที่ความกรุณาของอุเกะ ในทางกลับกันถ้าเจออุเกะไม่ดี (จริงๆอยากใช้คำว่าส้นตีน) มันจะปรับท่าของเราให้ค่อยๆเพี้ยนออกไป

- มีความเชื่อผิดๆในบางครั้ง เคยมั้ยสำหรับการเข้าซ้อมท่าทุ่มในบางครั้ง ยกตัวอย่างนายเอซ้อมเข้าท่าทุ่มนายบีด้วยท่าโอโซโตการิ นายเอซ้อมเข้าท่าทุ่มยังไงก็ทุ่มนายบีไม่ได้ซักที แต่พอนายบีลองเข้าท่าทุ่มดูบ้างกลับทุ่มนายเอได้ง่ายๆและงดงาม  คนรอบข้างที่มองอยู่รวมถึงตัวนายบี อาจจะมองว่าไอ้เอห่วยวะ ซ้อมตั้งนานกะอีแค่ทุ่มหุ่นที่ไม่เคลื่อนไหวยังทำไม่ได้ซักที แต่อีบีทำไม่กี่ครั้งก็ทุ่มได้ละ ... ใครจะรู้ละว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากนายเอ แต่เป็นที่นายบีมีปัญหากับการเป็นอุเกะที่ดี

- อุเกะที่ดีต้องมีสามอย่าง หนึ่งคือตบเบาะเป็น ตบเบาะเป็นจะไม่กลัวถูกทุ่ม พอไม่กลัวถูกทุ่ม โทริเข้าท่ามาก็จะไม่เกร็งต้าน ไม่บิดตัว ไม่งอตัว ท่าที่ผ่านเข้ามาโทริก็จะเป็นฝ่ายควบคุมได้ทั้งหมด การทุ่มก็จะครบวงจร พอซ้อมด้วยกันบ่อยๆจนชำนาญ โทริก็จะใช้ท่าทุ่มที่ซ้อมมาใช้ทุ่มจริงได้ สองคืออุเกะต้องปรับแต่งได้ ตอนที่เป็นอุเกะไม่ใช้เวลาพักเหนื่อย แต่ต้องทำตัวเป็นกระจกให้กับโทริ ท่าเพี้ยนท่าผิดอุเกะจะรู้สึกได้ การเข้าท่าไม่ได้มีแค่แบบเดียว บางครั้งขยับตัวเคลื่อนไหวเข้าท่า หรือการซ้อมเข้าท่าต่อเนื่อง อุเกะเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งเสริมการซ้อมของโทริ อุเกะที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับการซ้อมไม่ได้ การซ้อมในระดับสูงขึ้นไปจะไปได้ช้ามาก สามคือความเชื่อใจ เชื่อใจในตัวโทริหรือตัวคู่ซ้อม มั่นใจว่าโทริทุ่มไปแล้วสามารถช่วยเซฟตัวอุเกะได้ ตรงนี้ช่วงซ้อมต้องไปตกลงกันเองระหว่างอุเกะกับโทริ บางครั้งมั่นใจเชื่อใจโทริมากจนเกินไป โดนทุ่มทีจุกราวกับตกตึก...ดังแอ้ก

- ช่วงรันโดริคู่ซ้อมที่ถูกทุ่ม(อุเกะ)ก็เป็นตัวแปรอีกตัวนึงที่สำคัญ รันโดริเป็นการฝึกซ้อม ไม่มีผู้ชนะแต่ถ้าผู้แพ้อาจจะมีอยู่! ช่วงรันโดริโดนทุ่มแล้วสิ่งที่ควรทำคือการตบเบาะเพราะเราโฟกัสในเรื่องการฝึกซ้อมไม่ใช่แต้มแพ้ชนะ อุเกะที่คิดถึงแต่เรื่องแพ้ชนะโดนทุ่มแล้วจะพยายามไปดึงโทริให้ร่วงลงมาด้วย ตรงจุดนี้คนที่เข้าใจยูโดจะรู้ได้ทันทีว่าเป็นพวกมือใหม่วัยละอ่อน ผู้แพ้ในการซ้อมคงเป็นทั้งอุเกะและโทริ รวมถึงอาจจะบาดเจ็บจากการกระทำตรงนั้นด้วย

- รันโดริในบางครั้งกับท่านที่มีฝีมือเหนือกว่า ไม่ใช่ว่าเขาเหล่านั้นจะทุ่มเราไม่ได้ เพียงแต่มันมีคำถามเกิดขึ้นในใจว่า เราคู่ควรกับการเป็นอุเกะถูกทุ่มรึเปล่า!? ถ้าเรายังไม่พร้อมโดนทุ่ม เค้าก็อาจจะไม่อยากทุ่มเราก็ได้ ทุ่มแล้วโดนลากลงไปพร้อมกับเจอเข่าที่ตั้งรอไว้...ใครจะอยากทุ่ม


③ โทริ
- "โทริ" คือคนลงมือกระทำ หรือคนเข้าท่าทุ่มคู่ซ้อม

- โทริทำงานสัมพันธ์กับอุเกะ ถ้าอุเกะทำตัวยาก งานของโทริก็ยากตามไปด้วย ถ้าอุเกะทำให้ง่ายแต่โทริทำตัวยากเอง ทุ่มลงไปแล้วควบคุมไม่ได้ไม่เซฟอุเกะ อุเกะก็ไม่อยากจะให้ทุ่มอีก ความเชื่อใจก็หมดไป ตอนเป็นหุ่นให้ทุ่มก็ออกแรงเกร็งต้าน บิดตัวออกข้าง งานง่ายของโทริก็กลายเป็นเรื่องยากขึ้นมา การซ้อมที่ควรจะพัฒนาต่อไปกลายเป็นชะงักและต้องกลับไปเริ่มต้นกันใหม่ที่ความไว้เนื้อเชื่อใจ

- การซ้อมเข้าท่ามีหลายแบบ แต่ละแบบมีลูกเล่นไม่เหมือนกัน มีทั้งแบบซ้อมเรื่องแรง ซ้อมเรื่องความเร็ว ซ้อมเรื่องของจังหวะ และอื่นๆแล้วแต่ตกลงกันระหว่างอุเกะกับโทริ แต่รูปแบบพื้นฐานแรกสุดที่โทริกับอุเกะสมควรเอาออกมาปูพื้นฐานกันคือการซ้อมแบบเน้นในเรื่องของคุสุชิและใช้แรงที่น้อยที่สุดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

- แรงชนแรงไม่ใช่ยูโด แต่การฉวยโอกาสเอาแรงฝั่งตรงข้ามมาใช้ประโยชน์ถึงจะเป็นยูโด ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าแรงที่เราปล่อยออกไปมันจะไม่ใช่ของเราทั้งหมด และแรงของเรานั้น เราก็อาจจะควบคุมมันไม่ได้ทั้งหมด รูปแบบปกติในการซ้อมเข้าท่า หรือซ้อมรันโดริ แรงมีสิบใช้แค่ห้าหรือหกก็น่าจะเพียงพอแล้ว 

ยกตัวอย่างนายเอเป็นโทริเข้าท่ากับนายบีที่เป็นอุเกะ ในท่าอุจิมาตะ หลักยูโดต้องมีคุสุชิ สกุริ คาเคะ ไล่ตามกันมา
! นายเอตั้งใจออกแรงเต็มที่เพื่อจะสร้างคุสุชิ กลายเป็นเกร็งมือ เกร็งแขน เกร็งตัว ดึงหุ่นนายบีให้เสียหลักได้แต่ด้วยความที่ออกแรงเกร็งตัวแข็งทำให้นายเอเสียหลักไปด้วย นอกจากนี้หุ่นนายบีที่ถูกดึงเข้ามา น้ำหนักยังเทมาทับนายเอด้วย ยิ่งทำให้การขยับตัวเข้าท่าในจังหวะถัดไปลำบากยิ่งขึ้น แบบนี้ถือว่าเป็นโทริที่ไม่ดี
! นายเอรู้ว่าออกแรงเยอะไม่ดี งั้นเปลี่ยนเป็นไม่ต้องดึงเยอะ เข้าท่าไปแล้วจะยกควบคุมหุ่นในจังหวะคาเคะทำไม่ได้ เลยเพิ่มแรงออกไปในจังหวะทุ่ม ออกแรงเยอะไป แรงมันเหวี่ยงสะบัด ทำให้ควบคุมหุ่นไม่ได้ ทุ่มได้แต่ต้องล้มทับ หรือทุ่มได้แต่เซฟหุ่นไม่ได้ แบบว่าพาหุ่นขึ้นแต่ตอนลงช่างหัวมัน โทริแบบนี้ อุเกะก็ควรหลีกให้ไกล ไม่งั้นคงได้แค่คำว่าขอโทษตอนที่อุเกะเจ็บตัวไปแล้ว

- เปลี่ยนจากสถานการณ์ตอนเข้าท่า เป็นตอนรันโดนิดูบ้าง ตอนรันโดริท่าที่เจอบ่อยคือท่าอุจิมาตะ (มีอีกหลายท่าแต่เอาตัวอย่างท่านี้ก่อน) คู่ซ้อมใส่ท่าเข้ามา คุสุชิคืออะไร?ไม่สนใจไม่ต้องมีก็ได้... สกุริคืออะไร?ไม่รู้วะ! พยายามที่จะเอาขางัดเพื่อที่จะทุ่ม และคิดไปเองว่าถ้าหัวก้มต่ำลงขาจะงัดได้สูงขึ้น จังหวะคาเคะแทนที่จะควบคุมทิศทางในการทุ่มกลับการเป็นว่ายืนทรงตัวให้ดียังลำบากเลย แล้วขณะที่โทริทรงตัวให้ดียังลำบาก แต่ก็ยังพยายามใส่แรงเพิ่มเข้าไปราวกับว่ากำลังแข่งแกรนด์สแลมอยู่ประมาณนั้น!!! คือกลายเป็นว่าอุเกะอย่างกรูต้องคอยประคองเซฟโทริไปด้วยและค่อยๆประคองตัวล้มลงให้เจ็บน้อยที่สุด เพราะแน่นอนว่าโทริยังเอาตัวเองไม่รอด จะคาดหวังให้มันมาเซฟหุ่นหลังจากทุ่มคงไม่ต้องคิดถึงจุดนั้นหรอก ดีไม่ดียังจะล้มทับเป็นของแถมอีก อันนี้คือทุ่มคู่ซ้อมได้จริง? และมีความภูมิใจที่ทุ่มคู่ซ้อมได้? (ท่าอื่นที่เจอบ่อยคืออิปปงหรือโอโซโตที่สอดมือเข้ามาแล้วจะพยายามเอาหัวตัวเองปักพื้น)

- หลายๆท่าของยูโดอาศัยหลักของคานงัดคานดีด เข้าท่าให้ตรงจังหวะมันก็ทุ่มได้แล้ว ไม่ต้องไปใส่แรงฝืนเพิ่มเข้าไปในขณะทุ่ม โทริบางคนเพิ่งเริ่มเล่นไปนานตอนซ้อมเข้าท่าหรือรันโดริชอบไปซ้อมใช้ท่าทิ้งตัว ใช่,มันดูง่าย สำหรับพวกฝีมือเท่าๆกันระดับเริ่มต้น แต่มันจะใช้ไม่ออกเมื่อขึ้นไปเจอกับระดับที่สูงกว่า แถมเปอร์เซนต์เจ็บหรือไปทำคนอื่นเจ็บก็มีมากซะด้วย
! คนที่ใช้ฮาไรมากิโกมิได้อาจจะใช้ฮาไรโกชิไม่ได้ก็ได้ แต่ คนที่ใช้ฮาไรโกชิได้จะเป็นเรื่องง่ายมากที่จะไปใช้ฮาไรมากิโกมิ

- โทริอยากซ้อมแบบเน้นแรง ขอให้บอก!!! จับมาเข้าท่าสามคนซักร้อยครั้ง ได้แรงเต็มๆแบบไม่มีคนเจ็บตัวด้วย


④ รันโดริ
- เป็นการเอาท่าที่ซ้อมเข้าท่ามาลองหาจังหวะใช้จริง ที่สำคัญคือเป็นการซ้อม!!! ไม่ใช่การแข่งขัน

- ซ้อมหาจังหวะเข้าท่า ไม่ใช่ซ้อมหาจังหวะกันท่า บางคนกันแม่งอย่างเดียว กันโคตรเก่งท่าไม่ออก คู่ซ้อมก็ซวยไป เหนื่อยเปล่าแต่ไม่ได้ผลอะไรกลับมาจากการซ้อม ถึงตอนแข่งก็ไปกันท่าละกันเผื่อได้เหรียญทองมาแล้วจะภูมิใจ

- รันโดริไม่ใช่จะต้องเอาให้ตายกันไปข้าง แรงออกได้แต่พอประมาณ คอนเซ็ปท์คือการใช้แรงให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เรียนรู้ศึกษาหาจังหวะ ไม่ใช่เอาแรงไปชนแรงให้มันเสี่ยงบาดเจ็บ โดนทุ่มก็ตบเบาะ โดนอีกก็ตบอีก แล้วถ้าโดนอีกเรื่อยๆในจังหวะเดิมๆมันจะกลายเป็นจังหวะที่เรียนรู้ได้ (อยู่ที่ว่าจะใส่ใจกับมันมั้ย) คนที่ทุ่มได้ก็เซฟหุ่นด้วย จะได้มีหุ่นซ้อมกับเราไปนานๆ ท่าพิศดารถ้าไม่ชัวร์อย่าใช้ เจ็บแล้วไม่อยากฟังคำว่า"ขอโทษ" ซ้อมท่าไรมา เอาออกมาใช้ด้วย (เคยเห็นบางคนซ้อมเข้าท่าแต่ฮาไร ตอนรันใช้เซโอนาเกะทิ้งตัวแบบดูแล้วรู้ว่าไม่เคยซ้อมมา)

- เอาเค้าขึ้นไปได้ต้องพาเค้าลงได้ด้วย หลายๆครั้งที่พบเจอคือเราซ้อมมาแต่เข้าท่า เราก็เลยเข้าท่าเข้าไป แต่เราไม่ต่อยได้ซ้อมนาเกะโกมิ (ซ้อมเข้าท่าทุ่ม) ทำให้ไม่รู้ว่าจะเอาคู่ซ้อมลงยังไง กลายเป็นปล่อยทิ้งเฉยๆ บางคนยิ่งหนัก ทุ่มแล้วยืนไม่อยู่ ต้องล้มทับทุกครั้ง ที่ยืนไม่อยู่เป็นเพราะขาของเรายังไม่คุ้นเคยกับน้ำหนักของเราตอนผสมกับของเพื่อนคู่ซ้อมระหว่างการทุ่ม การซ้อมเข้าท่ายกหุ่นแต่ไม่ทุ่ม (คอนโทรลให้หุ่นขาลอยจากพื้น) เป็นวิธีนึงที่จะเสริมฐานของเราให้แข็งแรงพอที่จะทุ่มแล้วยืนทรงตัวอยู่ได้

- คนที่ทุ่มทุกครั้งแล้วไม่สามารถยืนทรงตัวอยู่ได้ ตรงนั้นเป็นการเปิดเผยให้เห็นจุดอ่อนที่ขา สาเหตุบางครั้งเกิดจากใช้ท่าทิ้งตัวเป็นอาชีพ ทุ่มแล้วขาช่วงล่างไม่เคยรับภาระน้ำหนักของหุ่นคู่ซ้อม ถ้าใช้อาชิวาซะ (เทคนิคท่าทุ่มด้วยขา) จู่โจมเข้าไปจะทุ่มบุคคลจำพวกนี้ได้ง่าย



Create Date : 06 เมษายน 2560
Last Update : 6 เมษายน 2560 17:32:29 น. 2 comments
Counter : 2833 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse


 
ablaze357 Sports Blog ดู Blog


โดย: Sweet_pills วันที่: 7 เมษายน 2560 เวลา:23:24:17 น.  

 

โหวดค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 11 เมษายน 2560 เวลา:4:19:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.