Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
9 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
1ปียูโดกับการไล่ล่าสายดำ3

อาทิตย์แรก
วันถัดๆมา ก็เริ่มจะเจอพวกที่เพิ่งมาใหม่เหมือนผมรวมๆแล้วก็มีอยู่ประมาณ5-6คน วันปกตินั้นซ้อมที่ชั้นเจ็ดสนามในด้านขวา ปกติแล้วชั้นเจ็ดแบ่งออกเป็น4สนาม ที่ต้องเป็นสนามในด้านขวาก็เป็นเหตุผลของโคโดกังเช่นกัน เพราะว่าต้องที่มีการแข่งขันต่างๆของโคโดกังจะใช้สนามชั้น7 ทั้ง4สนามเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน ส่วนสนามหลักก็คือสนามชั้นเจ็ด ในด้านขวานั้นเอง หากซ้อมอยู่สนามนี้สม่ำเสมอแล้วต้องมีการแข่งขันเกิดขึ้นจะทำให้ไม่ตื่นสนามเท่าไร เรียกได้ว่าถ้าแข่งกันจริงๆนักเรียนโคโดกังจะเสมือนกับเล่นในบ้านยังไงยังงั้น
5โมงครึ่งไม่ขาดไม่เกินก็เรียกรวมตัว ทำความเคารพ เช็คชื่อ (แต่ละวันอาจารย์จะต่างกันไป ทุกคนตอนเช็คชื่อแล้วก็ต้องถามต่อว่ามาจากไหน อยากจะอัดเทปเอาไว้เลยว่า มาจากเมืองไทยครับตอนนี้ใช้วีซ่านักเรียนเรียนอยู่ที่ญี่ปุ่น)แล้วก็วอร์มอัพ หลังจากวอร์มอัพ ก็จะมีการตีลังกา กระโดดกระต่ายขาเดียว การล้มตัว และท่าเบสิคพื้นฐานต่างๆเช่น de-ashibarai กับพวกtai-sabaki ท่าเคลื่อนไหวไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างๆ เพื่อจะดึงคู่ต่อสู้เข้าไปในท่าทุ่มต่างๆ รวมๆแล้วจะกินเวลาประมาณ 40นาที ต่อจากนั้นก็จะพักกินน้ำแล้วก็แยกกลุ่มกันเรียน ตอนนี้ผมมองดูวพวกเริ่มต้นรวมทั้งตัวผม การเดินการเคลื่อนไหวต่างๆในท่าต่างๆจะติดๆขัดๆอยู่ เทียบกับพวกเรียนไปแล้วเดือนนึง หรือว่าพวกนานกว่านั้นแล้วคนละเรื่องเลย คิดอยู่ในใจว่าถ้าผ่านไปซักเดือนนึงมันจะทำให้คนที่ไม่เป็นอะไรเลยเปลี่ยนไปได้ขนาดนี้เลยหรือ อาทิตย์แรกที่เรียนก็คือการล้มตัว (อีกแล้ว) ล้มแล้วล้มอีก จากที่ติดๆขัดๆก็เริ่มที่จะเข้าที่เข้าทาง อาจารย์ของโคโดกังถือว่าเป็นมือโปรมากๆทั้งทางด้านยูโดและการสอน เข้าใจจุดเล็กๆน้อยๆและความปลอดภัยต่างๆของท่ายูโดรวมถึงการทุ่มคู่ต่อสู้ ทำให้การสอนเป็นไปอย่างธรรมชาติ จากเด็กใหม่แต่ละคนที่ยังงงๆกับการล้มตัว ก็เริ่มที่จะมั่นใจในการล้ม การเข้าท่าและการทุ่มท่าต่างๆก็จะค่อยๆตามมาจากง่ายไปยาก สำคัญสุดคือเรื่องความปลอดภัย
จากจุดนี้ผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นสำหรับกีฬายูโด ว่าทำไมถึงเรียกว่าเส้นทางแห่งความสุภาพ เพราะว่ายูโดเป็นกีฬาที่เล่นคนเดียวไม่ได้ การเริ่มต้นการซ้อมต้องอาศัยคู่ซ้อมเป็นหลักทำให้ต้องเน้นความสำคัญเรื่องการทำความเคารพซึ่งกันและกันนั้นเอง ส่วนการซ้อมออกมาดีหรือไม่ดี คู่ซ้อมมีผลประมาณ50เปอร์เซนต์ ถ้าคู่ซ้อมตัวแข็งกลัวล้มหรือว่าออกแรงต้านการทุ่มก็จะผิดไปจากปกติ หรือว่าถ้าคนทุ่มทุ่มไม่ถูกหลักก็จะทำให้คนล้มเจ็บหรืออาจจะถึงขั้นแขนขาหักก็เป็นได้ จุดสำคัญของการทุ่มคือต้องถูกท่า และต้องเซฟคนที่ถูกทุ่มให้ถูกหลักด้วย สำคัญที่สุดคือเรื่องแขนและระยะพื้นกับการดึงตัวคู่ต่อสู้ให้อยู่ในระยะที่ใช้การล้มตัวได้พอดี อันนี้ต้องอยู่ที่การค่อยเป็นค่อยไปในเก็บประสบการณ์ คู่ซ้อมแต่ละคนระยะก็จะต่างกันเล็กน้อย สำหรับผมเจอทั้งแบบที่ทุ่มต่ำไป(คนทุ่มดึงมือต่ำไป)ไหล่หรือไม่ก็หลังจะลงไม่เป็นธรรมชาติรู้สึกว่าจะจุกในช่องท้อง ส่วนอีกแบบคือระยะล้มห่างเกินไป(คนทุ่มดึงมือไว้สูงกว่าที่ควรจะเป็น)การใช้มือช่วยเชฟหรือทำอุเกมิจะทำได้ไม่เต็มที่ พูดง่ายๆก็คือเจ็บทั้งสองแบบ อีกประเภทหนึ่งก็คือ พวกบ้าพลัง พวกนี้จะเป็นยูโดนิดหน่อยแรงเยอะแต่ท่าทุ่มจะโหดร้ายเกินกว่ามือใหม่เช่นท่า seoinage หรือท่าippon seoinage คนทุ่มล่อมันซะแนวดิ่ง180องศา+กับเหวี่ยงเร็วๆ มือใหม่ต่อให้ทำukemiถูกต้องยังไงก็เจ็บ(เจอมาแล้วครั้งนึงแน่นหน้าอกเลย) ก็ได้แต่ภาวนาให้เจอคู่ซ้อมทุ่มและเซฟในแบบที่ถูกต้องเท่านั้นเอง อาทิตย์แรกท่าที่อาจารย์สอนต่างๆ จุดประสงค์ไม่ได้กะให้เอาไว้เรียนท่าทุ่มเท่าไร แต่ว่ากะจะให้เรียนการล้มตัวหรือว่าอุเกมิซะมากกว่า ในทางกลับกันก็ให้คนทุ่มจำและจับระยะตอนทุ่มให้ถูกต้องเท่านั้นเอง แต่ดูเหมือนว่าน้อยคนนักจะใส่ใจในเรื่องระยะการทุ่มคู่ต่อสู้ ไม่อยากจะนับว่าการที่จะผ่านไปในชั้นที่สูงกว่าผมคงต้องเจ็บตัวเพราะเรื่องการไม่ใส่ใจในระยะการทุ่มของคู่ซ้อมกี่ครั้ง อาทิตย์แรกออกจะน่าเบื่อเกี่ยวกับท่าที่เรียนคือ de-ashibarai, hizaguruma และก็เนวาซะ ท่าkesa-gatameขั้นพื้นฐาน



Create Date : 09 กรกฎาคม 2554
Last Update : 24 กรกฎาคม 2554 21:37:44 น. 0 comments
Counter : 878 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.