Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
16 กุมภาพันธ์ 2559
 
All Blogs
 
ยูโด มีแขกพิเศษมาสอนยูโดที่ มหาลัยจุฬา

ซ้อมวันนี้มี guest พิเศษมา อาจารย์Nigel Croftsเดินทางมาจากเชียงใหม่และเจาะจงแวะมาที่เบาะยูโดม.จุฬา

อาจารย์ท่านนี้ผมเคยหาโอกาสไปเยี่ยมถึงเชียงใหม่ และหาโอกาสที่อาจารย์เดินทางมากรุงเทพเพื่อขอความรู้ แต่ก็คลาดกันทุกครั้งไป คราวนี้ตื่นเต้นที่จะเจอมากๆ (มารอตั้งแต่สี่โมงสี่สิบ)

อาจารย์มากับฝรั่งอีกคนนึง ...เคยเจอที่ไหนนะ เช็คจากฮาร์ดดิสต์ในสมองจำได้ว่า เพื่อนคนนี้ชื่อ "ชอง" ในคลาสที่โคโดกังสมัยเริ่มฝึกซ้อม โลกเราแคบหรือสังคมยูโดเราโยงกันในวงจำกัด?

ในส่วนของเนื้อหาวันนี้ที่อาจารย์นำมาแนะนำค่อนข้างเป็นระดับชั้นกลางโดยต้องอาศัยการต่อยอดจากพื้นฐานให้แน่น แต่การสอนของอาจารย์สามารถนำไปใช้ได้จริงแม้แต่คนที่เพิ่งเริ่มรู้จักยูโดไม่นาน (ถ้าพื้นฐานแน่นกว่านี้ท่าที่ซ้อมกันในวันนี้จะสามารถแตกยอดออกไปได้หลากหลายกว่านี้) การสอนของอาจารย์เป็นแนววโรงเรียนอินเตอร์เป็น 2ways communication มีการถามตอบและมีการเปิดโอกาสให้ลองทำดู

เริ่มต้นกันที่ท่านอน
ท่าแรกคุสุเรคามิชิโฮกาตาเมะ
หุ่นนอนคว่ำอยู่ ทำอย่างไรในการพลิกหุ่นขึ้นมากดล๊อคโอไซโกมิ สำหรับท่านี้ผมมีเทคนนิคที่ชอบใช้อยู่แล้ว แต่วันนี้ก็เป็นอีกเทคนิคนึงที่เคยเรียนมาจากโคโดกัง
- เริ่มจากหุ่นนอนคว่ำ
- ถ้าจะเข้าทางแขนขวาของหุ่น เราก็จะใช้แขนขวาของเราล้วงผ่านรักแร้ฝั่งซ้ายของหุ่นเพื่อไปตะปบข้อมือขวาของหุ่น
- จากนั้นค่อยๆพลิกและขยับตัวอ้อมไปทางศรีษะของหุ่นจากด้านขวาอ้อมศรีษะไปทางด้านซ้าย
- จุดนี้อย่าใช้แรงในการดึง แต่ใช้การเบียด+บิดในการพลิกตัวหุ่นขึ้นมาครึ่งนึง
- (เสริม) ที่โคโดกังเพิ่มเติมคือใช้ไหล่ฝั่งขวาของเรากดติดกับช่วงไหล่ของหุ่นในขณะที่เบียดและบิดตอนอ้อมหัวของหุ่น
- หุ่นพลิกขึ้นมาครึ่งนึงแล้วสอดแขนขวาเข้าไปต่อพร้อมทั้งเอามือซ้าย จับสายหรือชายเสื้อของหุ่นมาไว้ในมือขวา
- ตอนนี้เราจะคุมแขนขวาของหุ่นได้ และพลิกมากดคุสุเรคามิชิโฮได้ง่าย
- อย่างที่บอกในตอนแรกถ้าเรารู้และมีพื้นฐานท่าหลากหลาย ตรงจุดนี้สามารถเปลี่ยนไปเป็นซังกะกุจิเมะ อุเดะการามิ จูจิกาตาเมะ หรือท่าอื่นๆที่เราถนัดและพาจังหวะของเราไปตรงนั้น

ท่าที่สองจูจิกาตาเมะ (ไม่ใช่พื้นฐานเบื้องต้นที่เราจะมาเรียนกันว่าจูจิกาตาเมะคืออะไร ท่ามันต้องทำยังไง ... ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าทุกคนรู้ว่าจูจิกาตาเมะคืออะไร)
- ที่จะซ้อมในวันนี้คือ ถ้ากำลังจะใส่จูจิแล้วหุ่นฝืนจับแขนตนเองด้วยแขนอีกข้าง จะทำอย่างไรให้ดึงมาใส่อาร์มบาร์
- เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น เราอยู่ด้านขวาของหุ่น (จะหักแขนขวา) ให้เอาแขนขวาของเราคล้องเข้าไปในแขนขวาของหุ่น
- จุดสำคัญคือให้บริเวณข้อมือ(แถวๆชีพจร) งัดกับบริเสณข้อมือของหุ่น ถ้าเราใส่ลึกไปจนถึงข้อพับของเราหรือข้อพับของหุ่น เราจะสู้แรงหุ่นไม่ได้
- พอแถวข้อมือขวาคล้องข้อมือขวาของหุ่นได้แล้ว เอามือขวาคว้ามาจับคอเสื้อฝั่งซ้ายของเรา (อย่าจับคอเสื้อขวาของเราเพราะมันจะหลวมและมีพื้นที่ขยับเพิ่มออกมา)
-คุมแขนซ้ายของหุ่นให้แขนตรง ดึงเข้าหาตัวให้ข้อศอกซ้ายของหุ่นตรง
- จากนั้นเอาแขนซ้ายคล้องเข้าไป ใช้บริเวณข้อมือเช่นกัน พอใส่เข้าไปได้ ให้พลิกข้อมือซ้ายตวัดไปในทิศทางด้านศรีษะของหุ่น
- หลุดแล้วก็มาใส่จูจิกาตาเมะได้

ต่อจากนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานแต่ละคนเป็นความหลากหลายต่อจากจูจิกาตาเมะ
- ตรงจุดนั้น ถ้าแขนของหุ่นแรงเยอะมากเราพลิกตัวเอาขามาล๊อคแขนหุ่นแทนได้ (ท่านี้ไม่เป็นโอไซโกมิแต่เป็นคันเซ็ตสึวาซะ ใช้ได้เพราะเป็นการหักบริเวณข้อศอกตามกฏกติกาของยูโด)
- ใช้ซังกะกุจิเมะ หรือจะเป็นอุเดะการามิก็ได้
- เชือดคอก็ได้
- หรือจะทำให้ข้อศอกของหุ่นเป็นมุมฉากแล้วดันไปเป็นท่าหักก็ได้

ถัดมาเป็นส่วนของท่ายืน ท่าที่อาจารย์แนะนำในวันนี้เป็นเรื่องของสเต็ปการทุ่มคือคุสุชิ สกุริ และคาเคะ โดยเริ่มจากการอธิบายว่าคุสุชิพื้นฐานคืออะไร
- คุสุชิพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องจุดศูนย์ถ่วง อธิบายง่ายๆคือการเอาเชือกห้อยลูกปิงปองเอาไว้ที่หว่างขา ถ้าเราดึงหรือดันจะไปในทิศทางใด ศูนย์ถ่วงจะเอียงออกไป ตรงนั้นแหละคือพื้นฐานคุสุชิของยูโด (ฉบับเต็มๆลองไปหาดูเกี่ยวกับเนื้อหาซัมเมอร์คอร์สของโคโดกัง)
- การทุ่มทุกครั้งเริ่มจากคุสุชิเสมอ แต่วันนี้อาจารย์แนะนำเพิ่มเติมในเรื่องคุสุชิที่แตกต่างออกไป การที่หุ่นเคลื่อนที่ทิศทางของแรงจะเปลี่ยนไป ตรงนั้นก็เป็นคุสุชิได้เช่นกัน หรือการหมุนตัววนออกข้างพาหุ่นเคลื่อนที่ตามมาด้วยก็เป็นจังหวะของคุสุชิเช่นกัน (ตรงนี้เป็นการสอนในระดับสูง เข้าใจยากซักนิด เพราะจะเห็นภาพชัดเจนเราจะต้องมีท่าทุ่มอย่างน้อยซักท่านึงก่อน ถึงเอามาปรับใช้กับจังหวะคุสุชิได้)

ถัดมาเป็นเรื่องของคอมบิเนชั่นของท่า ตรงส่วนนี้พื้นฐานเบื้องต้นที่อาจารย์เน้นคือซ้ายกับขวา หน้าหลัง ท่าต่อเนื่องที่แนะนำมีหลายท่าเช่น โอโซโตกับซาซาเอะ อุจิมาตะกับทานิโอโตชิ

อีกส่วนนึงที่สำคัญคือการทรานซิสต่อเนื่องระหว่างท่ายืนไปเป็นท่านอน อาจารย์ไนเจลยกตัวอย่างจังหวะของท่าที่เจอบ่อยมากในไทยมาให้ซ้อมกันคือ อิปปงเซโอนาเกะทิ้งเข่า (หรือถ้าไม่ทิ้งเราก็บังคับให้ทิ้งได้เช่นกัน) ตรงจุดนี้แบ่งการซ้อมออกเป็นสองส่วนคือการเบรคจังหวะของคู่ซ้อม และการใช้ท่าเชือดโอคุริเอริจิเมะ

การเบรคจังหวะของคู่ซ้อม
- ใช้สะโพกในการดันแรงสวนกลับ (เนื่องจากวันนี้เวลามีไม่มาก รายละเอียดเล็กๆอาจารย์ไนเจลไม่ได้พลาดไปเพียงแต่ไม่ได้อธิบายลงลึกในจุดนั้นๆ)
- สมมุติว่าจับขวาทั้งคู่ คู่ซ้อมเข้าท่ามา (เอาท่าที่เห็นชัดๆเช่นท่าฮาไรโกชิ)
- ใช้สะโพกบริเวณกึ่งกลางค่อนไปทางซ้ายดันสวนออกไป (จุดนี้มือใหม่ที่ยังเข้าท่าไม่เยอะ จะไม่มีแรงสะโพก และใช้ได้ไม่คล่อง)
- มือซ้ายที่จับแขนเสื้อของคู่ซ้อมให้ช่วยดันเสริมแรงออกไป ส่วนมือขวาดึงคอเสื้อหุ่นกลับมาเล็กน้อย (อาจารย์ไนเจลเพิ่มเติมเรื่องฝ่ามือซ้ายของเรา สามารถใช้ในการเบรคจังหวะได้โดยการดันไปนะหว่างหลังกับสะโพกของหุ่น การดันลักษณะนี้จะเห็นชัดเจนถ้าเจอท่าเซโอนาเกะหรืออิปปงเซโอนาเกะ)
- ย่อเข่าทั้งสองข้างเล็กน้อย ให้เห็นภาพง่ายๆคือทำให้สายรัดเราอยู่ต่ำกว่าสายรัดของคู่ซ้อม

ตรงนี้เป็นเรื่องของพื้นฐานการเบรคจังหวะถ้าคู่ซ้อมเข้าท่ามาแบบไม่ทิ้งตัว ต่อจากนั้นจะไปต่อท่าไหนแล้วแต่พื้นฐานการซ้อมแต่ละคน เช่นจะไปเป็นตัดหลัง อุระนาเกะ อุชิโร่โกชิ อุสุริโกชิ หรือเบียดมาด้านหน้าเป็นไทโอโตชิ โอโกชิ ฮาไรโกชิ อุจิมาตะ และอื่นๆเลือกกันตามความถนัดของแต่ละท่าน

ถัดมาเบรคไม่โดนทุ่มแต่คู่ซ้อมทิ้งตัว รวมถึงเราช่วยต่อแรงให้คู่ซ้อมทิ้งตัวลง วันนี้อาจารย์แนะนำในเรื่องของโอคุริเอริจิเมะ ตรงนี้เป็นท่าทรานซิสระหว่างท่ายืนไปนอน ใครชิงจังหวะความได้เปรียบตรงนั้นได้ก็จะเหนื่อยน้อยกว่าสำหรับท่านอน

ท่าโอคุริเอริจิเมะของอาจารย์ไนเจลเป็นท่าที่อธิบายท่านอนที่มีความคล้ายกับท่ายืนโดยท่านอนก็มีครบในเรื่องของคุสุชิ สกุริและคาเคะเช่นกัน
- สำหรับการอธิบายง่ายๆเราจะเซ็ตอัพโดยให้หุ่นนั่งเหยียดขาออกไป แล้วเราอยู่ด้านหลังของหุ่น
- แขนซ้ายล้วงผ่านใต้รักแร้ซ้ายของหุ่น ไปจับคอเสื้อด้านซ้ายของหุ่นดึงเปิดออก
- มือขวาทำเป็นงูฉก ผ่านคอทางด้านขวาของหุ่น (ไม่ล้วงผ่านใต้รักแร้) เอื้อมมาจับคอเสื้อด้านซ้ายของหุ่น พยายามจับให้เบียดชิดในมากที่สุด
- ตรงนี้แขนซ้ายสามารถช่วยดึงคอเสื้อมาให้มือขวาจับง่ายๆก็ทำได้ (จริงๆไม่ต้องลึกสุดก็ได้ถ้าเชือดเป็นใช้คอเสื้อของหุ่นช่วยได้ แต่เบื้องต้นสำหรับมือใหม่พยายามล้วงให้นิ้วโป้งเข้าไปลึกที่สุดจะเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า)
- มือซ้ายหมดหน้าที่แล้วให้เอื้อมต่อมาจับคอเสื้อหุ่นด้านขวาแทน
- ทีนี้จังหวะเชือด ห้ามทำเป็นเส้นตรง (ทำได้แต่เชือดติดลำบาก) ให้เราบิดดึงมาตามทิศทางของมือที่มีนิ้วโป้งใส่เข้าไปลึกๆในตอนแรก (ตอนนี้ใช้มือขวาก็ดึงทวิตมาทางด้านขวาเฉียงหลังเล็กน้อย)
- ท่าเชือดนี้ทรงพลังมากคนตัวเล็กใช้จัดการคนที่แรงเยอะกว่าได้ ถ้าเชือดถูกเพียงแค่สองนิ้วของมือขวาก็เชือดคนที่ตัวโตแรงเยอะกว่าสลบได้ไม่ยาก
- ตรงจุดนี้เป็นเรื่องของ variation (ตามพื้นฐาน) แขนซ้ายพลิกไปกดคอด้านหลังของหุ่นก็ได้ ทำต่อเป็นซังกะกุจิเมะก็ได้ ออกด้านข้างเป็นจูจิกาตาเมะก็ได้ ดันหักข้อศอกก็ได้
- อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมว่าหุ่นขัดขืนเอาแขนซ้ายแขนขวามาดึงคอเสื้อด้านซ้ายให้เชือดไม่ติด ตรงนี้เป็นเรื่องของหุ่นการดึงลักษณะนั้นไม่ได้ช่วยให้รอดจากการเชือด เพราะอย่างที่บอกการเชือดของอาจารย์เป็นการทวิตหมุนไปด้านขวาเฉียงหลัง ในขณะที่ทิศทางมือของหุ่นดึงแรงไปในทิศทางตรง (ถ้าเราเชือดดึงตรงๆไปด้านหลังก็จะยากและไม่ติดเพราะหุ่นออกแรงดึงต้านได้ง่าย)

อาจจะตกหล่นในส่วนของเนื้อหาไปบ้าง เพราะจำไม่ทันและจำไม่หมด ช่วงสุดท้ายก่อนที่จะเคารพเบาะ อาจารย์ได้สรุปรวมโดยใช้ประสบการณ์59ปีที่อยู่กับยูโดให้ฟัง
- เรื่องครูบาอาจารย์ เป็นสิ่งจำเป็น ยูโดเป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ อาจารย์บางท่านอายุมาก ตามวัย ท่านเหล่านั้นมีข้อจำกัดทางด้านร่างกายก็จริง อาจตะไม่สามารถแสดงให้เห็นในสิ่งที่สอนหรืออธิบายได้ทั้งหมด แต่การเรียนรู้กับอาจารย์เหล่านั้นมีค่าเสมอ เพราะเราเรียนรู้โดยผ่านซึมซับจากประสบการณ์ของอาจารย์
- เรื่องสายสีรุ่นพี่รุ่นน้อง สายสีและรุ่นพี่ต้องคอยช่วยเหลือดูแลไม่ให้เกิดหรือจำกัดสิ่งที่อาจจะเป็นอันตรายให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด การซ้อมรันโดริอย่าไปบี้ทุ่มกับสายที่ต่ำกว่าโดยเอาความสนุกหรือสะใจเป็นที่ตั้ง ถ้าอยากทุ่มไปซ้อมกับสายที่สูงกว่าดีกว่าเก่งกับรุ่นน้อง
- การทุ่มต้องมีคุสุชิ สกุริ คาเคะ ท่านอนก็เช่นกัน รวมถึงการจัดร่างกายให้เข้ากับท่าทุ่มที่จะใช้ ที่ญี่ปุ่นมีอาจารย์ที่มหาลัยเคยบอกไว้ว่ายูโดเป็นกีฬาสุภาพ สง่าผ่าเผย ท่างอตัวปวดท้อง เอียงตัวบิดเบี้ยวมันไม่สง่างามและการจัดลำดับร่างกายในลักษณะนั้นไม่สามารถทุ่มได้ (หรือทุ่มได้ก็เพราะโชคและความอ่อนหัดของคู่ซ้อม)

การซ้อมในวันนี้ ผมเฝ้าดู (ซ้อมไม่ได้เพราะเข่าพัง) แต่โดยรวมแล้วอาจารย์สายแดงขาว (6ดั้งขึ้นไป) แต่ละท่านมีความรู้ความสามารถที่ไม่สิ้นสุด วันนี้การสอนเป็นระดับกลาง ส่วนใหญ่(รวมทั้งผม)ยังเข้าไปไม่ถึงตรงจุดนั้น เช่นเรื่องการจับ ตัวอาจารย์เองไม่ว่าจะจับยังไงทิศทางไหนก็ทุ่มได้ ในขณะที่ผู้เรียนรวมถึงผม การจับยังไม่ลงตัวว่าจะจับแบบไหน จับธรรมดา จับคอ จับหลัง หรือจับมั่ว ตรงจุดนี้ก็เป็นการเน้นย้ำว่ายูโดอยากเก่งต้องฝึกซ้อม และไม่มีใครซ้อมแทนกันได้

ระหว่างการสอนอาจารย์ไนเจลทีการทุ่มให้ดูหลายครั้ง (สิบกว่าครั้ง) ถึงแม้ว่าอาจารย์มีปัญหาเรื่องสุขภาพรวมถึงหุ่นที่น้ำหนักตัวมากกว่า อาจารย์สามารถทุ่มได้เป๊ะทุกครั้ง และในการทุ่มทุกครั้งอาจารย์สามารถยืนรักษาสมดุลย์ได้ไม่ว่าหุ่นจะใหญ่หรือเล็ก ตรงกับท่าทุ่มในอุดมคติที่ผมถูกสอนมาตลอดคือทุ่มแล้วจะยังไงก็ตามเราต้องยืนรักษาสมดุลย์และเซฟคู่ซ้อมของเราให้ได้

ก็อยากให้มีโอกาสแบบนี้บ่อยๆ ให้อาจารย์หรือนักยูโดที่สนใจ มีโอกาสแวะเวียนมาไทย มากรุงเทพ ได้แวะมาฝึกซ้อม สอนให้ความรู้กับบุคคลที่สนใจในยูโด (ผมจะได้ค่อยรวบรวม จดบันทึกและคอยแอบขโมยวิชา)


Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2559 23:27:29 น. 2 comments
Counter : 1729 Pageviews.

 
ผมก็เป็นคนนึงที่เล่นยูโดนะคร้าบแต่สุดทางที่แมตชิงแชมป์เอเซียที่เวียดนามครับ T_T


โดย: เก่งครับ IP: 58.10.65.237 วันที่: 5 ตุลาคม 2559 เวลา:2:35:28 น.  

 
ซ้อมต่อไป ถ้ายังสนุกอยู่มันก็ไม่มีสุดทางครับ เห็นบางท่านอายุหกเจ็ดสิบยังเล่นได้อยู่เลย


โดย: ablaze357 วันที่: 15 ตุลาคม 2559 เวลา:12:04:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ablaze357
Location :
Chiba Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




「精力善用」「自他共栄」
Maximum efficient use of energy and mutual prosperity for self and others
New Comments
Friends' blogs
[Add ablaze357's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.