หลักการซ้อมยูโดแบบญี่ปุ่นของเยาวชนโทไก 4/4
48.การเทรนนิ่งขา -วิ่ง100เมตร, 400เมตร 1500เมตร -วิ่งขึ้นบันไดประมารณตึก6ชั้น ตัวโตวิ่งแบบหลายขั้นก็ได้ -กระโดดขาเดียวขึ้นบันได ประมาณ10-15ก้าว ตัวโตโดดขึ้นครั้งละหลายขั้นก็ได้ -กระโดดขึ้นแบบสองขา -วอร์มอัพเล็กน้อยแล้วใช้ประมาณ30นาทีในการฝึกขากับบันไดก่อนเริ่มซ้อมยูโด ที่โทไกมักใช้ช่วยเช้าในการฝึกวิ่งรูปแบบต่างๆ
49.เวทเทรนนิ่ง -น้ำหนักใช้ประมาณทำให้ยกได้8-10ครั้ง -4ท่า พาวเวอร์คลิน, สคว๊ซ, เบนเพรส, เดทดริฟต์ 



50.เนวาซะเทรนนิ่ง 
-ทำสม่ำเสมอตอนวอร์มอัพก่อนการซ้อมทุกครั้ง -บริตจ์ -บริตจ์ หน้า-หลัง -บริตจ์แบบตีลังกา สำหรับเนวาซะเทรนนิ่งหนังสือเล่มนี้อธิบายไว้น้อยมาก ของโคโดกังที่ผมจะต้องทำทุกครั้งตอนวอร์มอัพจะมีการหมุนขา ถีบจักรยาน พับขาล๊อคในท่าซังกากุ หมุนขาบิดสะโพก และอีกหลายๆอย่างแต่ผมไม่รู้ว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไรบ้าง
51.เซอร์กิตเทรนนิ่ง  ทำ7อย่างให้ครบภายใน20วินาที กี่ยกแล้วแต่ชอบ -วิ่งอยู่กับที่ -ยืนอยู่ก้มลงไปเอามือกับขาแตะพื้นแล้วเปลี่ยนเป็นท่าวิดพื้น -วิดพื้น -ซิทอัพ เอามือแตะกับขา -ไฮกิง (ไม่รู้ว่าภาษาไทยคืออะไร แต่คล้ายๆกับการซิทอัพแบบคว่ำหน้า -กระโดดงอเข่าแล้วกอดขาตัวเอง -กระโดดหมุนตัวไป(ซ้าย-ขวา)
52.โรปเทรนนิ่ง  เอาเชือกยาวประมาณ50เมตรผูกกับยางรถยนต์(ขนาดยางแล้วแต่ชอบ) แล้วดึงเข้าหาตัว เป็นการฝึกบาลานต์การทรงตัวและการถ่ายเทแรงไปที่ขาในขณะที่มือออกแรงดึง ทำประมาณ5รอบ
53.ทั่วไป การเรียงลำดับคนในทีมสำหรับการแข่งแบบทีม5คน คนแรกกับคนที่สองต้องเก่งไว้ก่อนเพราะถ้า2คนแรกชนะได้จะเป็นการกดดันทีมฝั่งตรงข้าม
54.ทั่วไป อุจิโกมิไม่ใช่การวอร์มอัพก่อนซ้อม สิ่งสำคัญของยูโดคือการออกท่าได้ถูกต้องแม่นยำในจังหวะที่ทุ่มได้ ดังนั้นอุจิโกมิถือเป็นสิ่งสำคัญในการซ้อมยูโด ทุกครั้งที่เข้าท่าต้องคำนึงถึง คุสุชิ สกุริ คาเคะ อีกอย่างนึงที่เพิ่มมาคือ นาเกะ หรือการทุ่มลงพื้นในจังหวะสุดท้าย ตรงนี้ผมเจอกับตัวเองในท่าฮาเนะโกชิ คือผมไม่ค่อยได้ซ้อมนาเกะโกมิซักเท่าไหร่ ทำให้ตอนทุ่มจริงของผมมักจะไปหยุดในตอนท้ายสุดอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆที่คุสุชิ สกุริ คาเคะทำได้ตรงจังหวะแล้วขาดแต่การบิดตัวในจังหวะทุ่มสุดท้ายที่หยุดชะงักไป ดังนั้นซ้อมอุจิโกมิแล้วก็ไม่ควรมองข้ามการซ้อมนาเกะโกมิด้วย
55.ทั่วไป อย่าซ้อมเพราะถูกบังคับให้ซ้อมแต่ให้ซ้อมเพราะว่าอยากซ้อมเอง ตัวเราเองคุมการซ้อมของตัวเราเอง ถ้าอยากเก่งก็ต้องหมั่นฝึกซ้อม ตอนที่ซ้อมเป็นคู่เป็นทีมก็ต้องตั้งใจทั้งตอนเป็นอุเกและโทริ จะได้พัฒนาฝีมือขึ้นไปพร้อมๆกัน
56.ทั่วไป ตอนแข่งให้จับในแบบที่ตนเองถนัด การซ้อม การรันโดริ อาจจะมีหลากหลายรูปแบบที่ใช้จับ เช่นจับขวา จับซ้าย หรือรูปแบบอื่นๆเปลี่ยนไปตามคู่ซ้อม แต่สำหรับตอนแข่งแล้ว ให้เน้นการจับที่ตนเองถนัดอย่าไปเปลี่ยนตามคู่ต่อสู้ด้วยเหตุผลที่ว่าการจับในแบบที่ตนเองถนัดและซ้อมมาใช้ลำบาก ให้มั่นใจในรูปแบบการจับที่เราฝึกซ้อมมาจะดีที่สุด
57.ทั่วไป โจมตีด้วยการจู่โจมก่อน รูปแบบการจับการเข้าทำมีหลากหลาย แต่สำหรับโทไกแล้วเน้นการบุกเพื่อการบุก หรือที่เรียกว่า 'ใส่ก่อนได้เปรียบ' การแข่งในบางครั้งการใช้รูปแบบรอสวนอาจจะใช้ได้ดี แต่การสร้างโอกาสให้ตัวเองในการทุ่มควรทำในรูปแบบบุกเข้าไปก่อนทั้งการชิงจังหวะและการขยับตัว ทั้งนี้ต้องซ้อมให้ชำนาญในเรื่องชิงจังหวะจับถึงจะใช้จริงได้อย่างมีประสิทธภาพ
58.ทั่วไป อย่าไปเน้นเรื่องความเร็วให้เน้นการเข้าท่าที่ถูกต้องให้ได้ซะก่อน คุสุชิ สกุริ คาเคะ เน้นสามสิ่งนี้ก่อนถ้าทำได้ถูกต้องแล้วความเร็วจะตามมาเอง แต่ถ้าเน้นความเร็วแต่ท่าไม่ถูกต้องก็ทุ่มไม่ได้อยู่ดี
59.ทั่วไป การซ้อมควรจะหลากหลาย เพื่อให้พัฒนาพร้อมๆกันในหลายๆด้าน อย่าซ้อมแค่แบบเดียวตลอดเวลา ควรซ้อมหลากหลายเมนู การเพิ่มจำนวนครั้ง แก้ไขจุดอ่อนของตนเอง ที่สำคัญต้องเข้าใจว่าจะซ้อมเมนูไหนเพื่อพัฒนาสิ่งไหน
60.ทั่วไป กฏของยูโดมีการเปลี่ยนแปลง กติกามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดต้องติดตามและปรับเมนูการซ้อมให้อัพเดทเหมาะสมกับกฏกติกาที่ใช้ในการแข่งขันด้วย
จบแล้วครับ60ข้อ ไม่น่าเชื่อว่าผมจะอ่านหนังสือญี่ปุ่นจบทั้งเล่มได้ (≧∇≦)ถ้าไม่ใช่หนังสือยูโดคงทำไม่ได้แน่ๆ ผมว่าเล่มนี้มีหลักการเล่น ความคิดพื้นฐานที่ยูโดญี่ปุ่นใช้กัน ที่เน้นในหนังสือเล่มนี้สรุปออกมาได้คงจะมีดังนี้ -หมั่นฝึกซ้อมบ่อยๆ ซ้อมเองได้เองไม่ซ้อมก็ไม่ได้ -ในการซ้อมแต่ละอย่าง การเข้าท่าแต่ละครั้ง ต้องทำให้ถูกต้องตามหลัก คุสุชิ สกุริ คาเคะ -การชิงจังหวะจับ เมื่อจับได้แล้วให้ออกท่าทันที อย่าแค่จับค้างไว้เฉยๆเป็นการเสียโอกาสเราเอง -เรื่องของการควบคุมจิตใจที่ต้องพยายาม แม้ว่าจะเหนื่อยอยู่หรือจะเป็นแค่การซ้อมก็ตาม
Create Date : 27 มีนาคม 2556 |
|
9 comments |
Last Update : 27 มีนาคม 2556 11:39:51 น. |
Counter : 5073 Pageviews. |
|
 |
|