ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
11 พฤษภาคม 2555

เตือนภัย"ด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน"ขับสารพิษถึงขั้นตาบอด-ตาย

เตือนภัย"ด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน"ขับสารพิษถึงขั้นตาบอด-ตาย




วันนี้ (11 พ.ค.) นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์  รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า จากกรณีรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่ง มีการพูดคุยกับผู้ที่เคยสัมผัสกับพิษร้ายของแมลงชนิดหนึ่ง ที่มีขนาดเล็ก แต่มีพิษมหาศาล เพียงแค่สัมผัสถูกพิษที่ออกจากร่างกายของแมลงชนิดนี้ก็ทำให้เกิดแผลพุพองขนาดใหญ่ได้นั้น  จากการตรวจสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าแมลงชนิดนี้มีชื่อทางการว่าด้วงก้นกระดก หรือ แมลงก้นกระดก หรือแมลงเฟรชชี่ พบมากในช่วงเปิดเทอมที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งแมลงต้องการความชื้นเพื่อการขยายพันธุ์ 

จึงขอเตือนประชาชนระวังอันตรายจากแมลงมีพิษดังกล่าว ลักษณะทางกายภาพของแมลงชนิดนี้คือ

เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก มีความยาวเพียง4-7 มิลลิเมตร  มีลักษณะจำเพาะคือปีกคู่แรกแข็งและสั้นมีสีมันวาว ปีกคู่สองมีขนาดใหญ่แต่จะมองไม่เห็นเด่นชัด ลำตัวเล็กเรียว  ส่วนท้องยาวโผล่ออกมานอกปีกสังเกตเห็นได้ง่ายโดยจะชอบงอส่วนท้องขึ้นๆลงๆเมื่อเกาะอยู่กับที่  มีลักษณะสีสันต่างกัน ชนิดที่พบบ่อยในประเทศไทยนั้น   ส่วนท้องมีสีส้ม ชาวบ้านชอบเรียกแมลงชนิดนี้ว่าด้วงปีกสั้น ด้วงก้นกระดก หรือ ด้วงก้นงอนตามลักษณะของท้องที่งอขึ้นๆลงๆ  แมลงชนิดนี้มีสารพิษชื่อสารเพเดอริน (Paederin)  เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เป็นผื่นคันหรือแผลพุพอง ผิวหนังไหม้แดง ปวดแสบปวดร้อน มีไข้ และถ้าถูกพิษบริเวณดวงตาอาจทำให้ตาบอดได้  มีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ตามบริเวณพื้นดินชื้น เช่นตามกองมูลสัตว์ พื้นดิน ในกองไม้  แต่จะชอบบินเข้ามาเล่นแสงไฟในบ้านเรือนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนที่เผลอไปสัมผัสได้


รมช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ส่วนด้วงน้ำมัน เป็นแมลงปีกแข็งเช่นเดียวกับด้วงก้นกระดกแต่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัวยาว3-3.5 เซนติเมตร

ปีกคู่หน้ามีแถบสีเหลืองสลับดำอย่างละ 3 แถบ ชาวบ้านเรียกว่า ด้วงไฟถั่วหรือด้วงไฟเดือนห้า อันตรายของด้วงน้ำมันมักเกิดจากมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกแมลงกินได้จึงนำไปรับประทานอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้ารับประทานมากกว่า 3 ตัวขึ้นไป

ผู้ป่วยที่บริโภคด้วงน้ำมันเข้าไปจะมีอาการคออักเสบ

กลืนอาหารลำบาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อุจจาระร่วง อาเจียนเป็นเลือด ความดันโลหิตลดลง ปัสสาวะเป็นเลือด สลบ และเสียชีวิตจากภาวะหายใจล้มเหลว  ด้วงน้ำมันถ้าถูกรบกวนหรือถูกต้องตัวจะขับของเหลวสีเหลืองอ่อนที่มีสารพิษแคนทาริดิน (cantharidin) ออกจากข้อต่อของส่วนขา ถ้าพิษถูกผิวหนังจะเป็นตุ่มพุพองอักเสบ โดยสารแคนทาริดินนี้จะไม่ถูกทำลายโดยความร้อนจากการหุงต้มหรือเผาไฟ แม้ผู้รับประทานจะนำด้วงน้ำมันไปผ่านความร้อนก็ยังได้รับอันตรายจากแมลงชนิดนี้

โดยปกติแมลงทั้งสองชนิดนี้จะไม่กัดคน แต่ถ้าบังเอิญถูกแมลงไต่ตามร่างกายแล้วไปตบตีหรือทำให้ลำตัวแตกหักพิษในตัวแมลงจะถูกขับออกมา เป็นลักษณะของเหลวแล้วซึมเข้าร่างกายจะทำให้เกิดอาการแพ้ดังกล่าว  ดังนั้นหากร่างกายสัมผัสถูกพิษให้รีบล้างน้ำสะอาด หรือเช็ดด้วยแอมโมเนียทันที  และไม่ควรสัมผัสบริเวณที่ถูกพิษเพราะอาจเกิดการลุกลามหรือติดเชื้อซ้ำ ควรทาแผลด้วยยาปฏิชีวนะประเภทครีม แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเป็นนานควรไปพบแพทย์

นอกจากนี้เราสามารถป้องกันตัวเองได้โดยลดความสว่างของแสงไฟเวลากลางคืน หรือปิดมุ้งลวดป้องกันแมลงให้มิดชิดเนื่องจากด้วงก้นกระดกมักเข้ามาเล่นแสงไฟในตอนกลางคืน




Create Date : 11 พฤษภาคม 2555
Last Update : 11 พฤษภาคม 2555 21:35:35 น. 0 comments
Counter : 3462 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ข่าวดี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


New Comments
[Add ข่าวดี's blog to your web]