3001 The Final Odyssey จอมจักรวาล 4




จอมจักรวาล 4 
3001 The Final Odyssey (1997)
โดย Arthur C.Clarke
สนพ. Thai Science Fiction แปลโดย ลักษณรงค์

"เราเป็นเพียงคนแปลกหน้าในกาลเวลาที่แปลกไปเท่านั้นเอง" 

ยานโกไลแอทปฏิบัติภารกิจราวกับโคบาลล่าดาวหาง เพื่อเก็บเศษดาวเคราะห์ที่มีสภาพน้ำแข็งหลุดลอยมาจากแถบไคเปอร์ หลังจากการอนุรักษ์หวงห้ามวงแหวนดาวเสาร์ เพื่อส่งกลับเข้าไปยังระบบสุริยะด้านใน มุ่งตรงสู่ดาวพุธและดาวศุกร์ในการปรับสภาพดาวเคราะห์ (Terraforming) ในระหว่างนั้นเรดาร์จับสัญญาณวัตถุโลหะขนาดเล็กได้ จึงต้องเปลี่ยนภารกิจกะทันหัน

วัตถุชิ้นนั้นคือร่างกายของมนุษย์ในประวัติศาสตร์อวกาศที่สูญหายไปกว่าพันปีอย่าง "แฟร้งค์ พูล" นั่นเอง 

หลังจากฟื้นจากการแช่แข็งในอวกาศอันแสนยาวนานพูลต้องค่อยๆปรับสภาพร่างกายที่อยู่ภายใต้สภาพแรงโน้มถ่วงต่ำมานาน ทั้งยังต้องปรับสภาพจิตใจและ
การรับรู้กับความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านไปกว่าพันปี บน "สตาร์ ซิตี้" 
ดินแดนที่ยุคสมัยของเขายังไม่มี มันคือ หอคอยักษ์ 4 แห่ง ดุจลิฟท์อวกาศที่เชื่อมต่อกันล้อมเป็นวงแหวนไปรอบโลก ณ เส้นศูนย์สูตร 

แต่คำถามที่ยังอยู่ในใจเขาลึกๆกว่าพันปีเรื่องแท่งหินโมโนลิธยังคงไม่สูญสลายไปแม้แต่น้อย ประกอบกับยานโกไลแอทกำลังจะกลับไปยังดาวแกนีมีด ดวงดาวที่ปรับสภาพให้มนุษย์อยู่อาศัยได้แล้วเขาจึงร่วมเดินทางกลับไปอีกครั้งเพื่อค้นหาคำตอบที่อาจจะสั่นสะเทือนอนาคตความเป็นอยู่เป็นไปของมนุษย์ทั้งปวงกับปริศนาที่รอคอยอยู่ ณ ดาวยูโรป้า ดวงดาวต้องห้ามของมนุษยชาตินั่นเอง

......................................................................................

นิยายเล่มที่ 4 เล่มสุดท้ายในชุด Space Odyssey และเป็นนิยายเล่มสุดท้ายที่ Arthur C.Clarke เขียนด้วยตัวเองคนเดียว หลังจากนั้น Clarke เขียนร่วมกับ
นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์คนอื่นๆทั้ง Stephen Baxter, Frederik Pohl, Michael P.Kube Mcdowell ไม่ได้เขียนนิยายเดี่ยวๆเองอีกเลย ซึ่งก็ไม่แปลกแล้วด้วยวัยที่ชรากว่า 80 ปีแล้วนั่นเอง 

แต่ละเล่มในชุดนี้ Clarke มีแรงบันดาลใจในการเขียนที่แตกต่างกันออกไป แน่นอน เล่มแรก 2001 นั้น Stanley Kubrick ต้องการสร้างหนังร่วมกับไอเดียจากเรื่องของ Clarke ซึ่งก็พัฒนามาจากเรื่องสั้น Sentinel อย่างที่เรารู้ๆกันนั่นเอง 2010 นั้นก็ได้แรงบันดาลใจจากการที่ยานสำรวจวอยเอจเจอร์เดินทางผ่านดาวพฤหัสบดี ส่วน 2061 นั้น Clarke วาดหวังจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับดาวพฤหัสบดีอีกครั้งจากการไปสำรวจดาวพฤหัสบดีและดาวบริวารของยานสำรวจกาลิเลโอ แต่เนื่องจากการระบิดของยานชาแลนเจอร์ ในปี ค.ศ. 1986 ทำให้ภารกิจของยานกาลิเลโอต้องเลื่อนไปด้วย จึงหันมาเขียนเรื่องเกี่ยวกับดาวหางฮัลเลย์ที่ผ่านเข้ามาในปีนั้นแทนและประจวบเหมาะกับชื่อเรื่อง 2061 ที่มันจะโคจรกลับมาอีกครั้งพอดี ก่อนที่ Clarke จะสมใจจริงๆใน 3001 หลังจากยานกาลิเลโอได้ไปสำรวจดาวพฤหัสบดีและดาวบริวารในปี ค.ศ.1995 รวมถึงการค้นพบหลักฐานดาวเคราะห์อื่นๆนอกจากดาวพลูโตในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) เป็นครั้งแรกอีกใน ปี ค.ศ.1992 ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันด้วย

ให้ข้อมูลเห็นภาพถึงความเป็นนักเขียนของ Clarke ไปพอสมควรแล้ว กลับมาที่อรรถรสในการเล่าเรื่องกันดีกว่า เล่มนี้ในความรู้สึกผม คือ ออกจะด้อยสุดในชุดเลย แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของนิยายวิทยาศาสตร์ที่ดี เพียงแต่ไม่ได้อยู่ในระดับที่ยอดเยี่ยมหรือเป็นมาสเตอร์พีซของ Clarke แล้ว และก็จบชุดตอบคำถามเรื่องแท่งหินโมโนลิธสีดำได้อย่างครบถ้วนแล้วล่ะ ถึงแม้ช่วงต้นๆจะตงิดๆในเรื่องการกลับมาของตัวละครอย่างแฟร้งค์ พูล ที่ดูน่าจะเหลือเชื่อไปนิดในตอนต้นเรื่องก็ตาม 

แล้ว Clarke ไม่เพียงสมใจเรื่องยานกาลิเลโอเท่านั้น แต่ยังสมใจในเรื่องวาดภาพเล่ารายละเอียดและบรรยากาศของลิฟท์อวกาศที่เล่าไว้ตั้งแต่เรื่อง สู่สวรรค์ (The Fountains Of Paradise) ให้เห็นภาพการใช้งานและชีวิตของผู้คนบน "สตาร์ ซิตี้" ทั้งยังสอดแทรกแนวความคิดเรื่องการศึกษาในอนาคตผ่านอุปกรณ์ไฮเทคอย่าง
"เบรนแคป" แหล่งสะสมข้อมูลความรู้ที่แม้แต่แฟรงค์ พูล ที่สูญหายไปกว่าพันปีก็ยังเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไดัในเวลาไม่นานนัก ในอนาคตผู้คนไม่ต้องมานั่งเล่าเรียนในห้องอีกต่อไป รวมถึงแนวความคิดด้านศาสนาในอนาคตไว้ในเล่มอีกด้วย 

แน่นอนที่สุดไฮไลท์ของเรื่องก็ได้รับการเฉลย นั่นคือ แท่งหินโมโนลิธสีดำปริศนา ดูเหมือน Clrke จะตั้งคำถามกับสิ่งที่มวลมนุษย์ได้วิวัฒนาการมาผ่านยุคสมัยต่างๆมาจนพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์อันมากมายจนเราดูเหมือนสิ่งมีชีวิตที่แสนประเสริฐที่สุดเผ่าพันธุ์หนึ่งในจักรวาลนี้ จริงๆแล้วมันเป็นสิ่งที่มนุษย์กระทำสรรสร้างมาด้วยตนเองล้วนๆหรือว่า มีสิ่งทรงภูมิปัญญาอันไกลโพ้นชักนำ ปลุกเร้า ดลใจช่วยเหลือให้เราพานพบความเจริญทางอารยธรรมผ่านแท่งหินที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์หรือตัวแทนของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาอันไกลโพ้นกันแน่...

แต่ต่อให้เราตอบคำถามไปทางไหน ในเมื่อเราเดินทางมาถึงจุดนี้กันแล้ว ความสงสัยทั้งหมดนั้นคงไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่อยู่ในมือมนุษย์ทุกผู้ทุกคนบนโลกใบนี้ว่า จะ
ร่วมกันสรรสร้างสิ่งดีๆหรือทำลายล้างกันต่างหาก

"ผมมองเห็นแมลงปีกแข็งตัวหนึ่งนอนหงายท้องแกว่งขาทั้งหลายไปมาอยู่บน
พื้นทราย...

...เขาเดินเข้าไปเอาเท้าเขี่ยให้มันพลิกตัว พอเห็นมันบินจากไป ผมก็เปรยขึ้นว่า "คิดดีแล้วหรือที่ทำอย่างนั้น มันอาจจะไปเกาะกินดอกเบญจมาสดอกงามของใครก็ได้" 

เขาตอบว่า "คุณอาจพูดถูก แต่ผมขอยกประโยชน์ของความสงสัยทั้งหมดให้แก่โอกาสนั้น"

"...ผมเชื่อว่ามันสะท้อนให้เห็นถึงทัศนวิสัยของฮัลแมนที่ยกประโยชน์ของความสงสัยทั้งหมดให้กับมนุษยชาติ..."

บางที Arthur C.Clarke ที่อายุครบ 100 ปี พอดีในวันนี้ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของ
แท่งหินโมโนลิธยั่วเย้าพวกเราหรือมองลงมาจากฟากฟ้ามวลหมู่ดาวในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ดูกิจกรรมต่างๆทั้งดีและไม่ดีของผู้คนบนโลกใบนี้และรอวันที่
มวลมนุษย์จะทะยานออกไปสรรสร้างสิ่งดีงามให้แก่จักรวาล จนอาจจะพบกับ Arthur C.Clarke ในรูปแบบอื่นๆในสักวันหนึ่งก็เป็นได้

แด่... 

Arthur C.Clarke (16 ธ.ค.1917-19 มี.ค 2008) 100 ปีชาตกาล นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งจักรวาลนี้

"ผู้ที่จะไม่แปลกหน้าไปแม้กาลเวลาจะแปลกไป 100 ปีตามอายุขัย หรือ 1,000 ปีเหมือนในหนังสือชุดนี้"

ป.ล1 น่าจะจบการฉลองในวาระนี้ที่ดำเนินการอ่านและรีวิวมาตั้งแต่เดือนเกิดของผมในเดือน ก.ย. จวบจนเดือน ธ.ค. เดือนละเล่มบวกกับการดูหนัง 2001 A Space Odyssey เฉลิมฉลอง ณ โรงหนังสุดคลาสสิกอย่าง สกาล่า ในเดือน ก.ย.ที่ได้รีวิวแล้วเช่นกัน เพียงเท่านี้ล่ะครับ 

โปรดอดใจรอ "แสงโลก Earthlight" ที่จะนำ กลับมาตีพิมพ์ด้วย (เผื่อจะนำทางผมกลับโลก ได้ อิอิ)

ป.ล.2 รีวิวนี้เขียนขึ้นในวันที่ 16 ธ.ค.2017 ในวันครบรอบ 100 ปี Arthur C.Clarke พอดี อัพไว้ในเฟซแต่เพิ่งอัพบล็อกครับ แล้วตัวเลข 3001 ก็ช่างประจวบเหมาะพอดี เพราะเลข 3 ประหนึ่งแทนตัว Clarke ซึ่งเป็น 1 ใน Big Three ของวงการนิยายวิทยาศาสตร์ และเลข 001 ถ้าไล่จากหลังก็จะได้ 100 พอดี

คะแนน 7.7/10



Create Date : 31 ธันวาคม 2560
Last Update : 31 ธันวาคม 2560 23:47:37 น.
Counter : 2155 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 755059
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]



New Comments
ธันวาคม 2560

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog