Ready Player One สมรภูมิเกมซ้อนเกม




สมรภูมิเกมซ้อนเกม Ready Player One (2011)
โดย Ernest Cline 
สนพ.น้ำพุ แปลโดย อมรรัตน์ อาศิรวาท

"คนรุ่นผมนึกไม่ออกเลยว่าโลกที่ไม่มีโอเอซิสจะเป็นยังไง มันเป็นมากกว่าเกมหรือแหล่งรวมความบันเทิง เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตตั้งแต่เริ่มจำความได้เลยทีเดียว เราเกิดมาในโลกที่บิดเบี้ยวและโอเอซิสก็เป็นเหมือนที่หลบภัยอันแสนอบอุ่นเพียงแห่งเดียวเพียงแค่คิดว่าโลกจำลองใบนี้จะถูกไอโอไอยึดครอง พวกเราก็รู้สึกขนพองสยองเกล้าไปตามๆกัน คนที่เกิดมาในยุคที่ไม่มีโอเอซิสไม่มีวันเข้าใจ สำหรับพวกเรามันใหัความรู้สึกเหมือนมีคนมาขู่ว่าจะขโมยดวงอาทิตย์ไป หรือจะคิดเงินถ้าเรามองขึ้นไปบนฟ้า"

ค.ศ.2045 พาร์ซิวาล อวตารของ เวด วัตต์ส เด็กหนุ่มจากสลัมแสต็กก็เป็นคนแรกที่ทลายกำแพงความยากสร้างความตื่นตะลึงแก่ทั้งโลก ครอบครองกุญแจทองแดงดอกแรกสำเร็จหลังจากล่วงเลยผ่านเข้าสู่ปีที่ 5 ของการตามไล่ล่า "ไข่อีสเตอร์" ของเหล่าอวตารทั้งหลายในโอเอซิส โลกเสมือนจริงที่มีแทบทุกอย่างของผู้สร้างอย่าง เจมส์ ฮัลลิเดย์ ที่ทิ้งพินัยกรรมไว้ก่อนตายว่า เพียงใครหาไข่อีสเตอร์ได้ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนแสวงหากุญแจ 3 ดอก จากการเล่นเกมที่เขาสร้างก่อนก็จะได้โลกโอเอซิส มูลค่ากว่า 5 แสนล้านดอลลาร์ไปครอบครอง 

ในยุคที่โลกแห่งความเป็นจริงเต็มไปด้วยความสิ้นหวัง ความอดอยาก สิ่งแวดล้อมย่ำแย่ พลังงานขาดแคลน มีอาชญากรรมเต็มไปหมด แถมยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง ไอโอไอ ที่เพียบพร้อมทั้งทุนทรัพย์ บุคลากรและเทคโนโลยี ครอบครองจนเกือบจะผูกขาดกิจการเชื่อมต่อโลกไซเบอร์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย มีหรือที่ไอโอไอจะไม่มุ่งหวังฮุบโอเอซิสเป็นของตนเองให้ได้ 

พาร์ซิวาลและอวตารคนอื่นๆไม่เพียงต้องแข่งขันกันเองแล้วยังต้องเจอกับคู่ต่อกรที่พร้อมสรรพทุกอย่าง 

โลกเสมือนจริงจะเป็นดินแดนสิ้นหวังอีกแห่งของอวตารตัวเล็กๆหรอกหรือ 

...............................................................................

นิยายที่ใช้แก่นหลักเป็นการผจญภัยไขปริศนาผ่านการเล่นเกมในโลกเสมือนจริง ท่ามกลางบรรยากาศป๊อปคัลเจอร์ของเกม หนัง เพลงทั้งในยุค '70s '80s และหนังที่ดัดแปลงจากนิยายเรื่องนี้กำลังเข้าโรงอยู่ในตอนนี้ 

หนังสือไม่ได้เล่าเรื่องไปอย่างรวดเร็วอย่างที่ผมคิด ถึงแม้จะปริศนาให้ไขแค่ 3 อย่างรวมถึงประตูที่ต้องผ่านไปเจออะไรอีกก็ตามก็ยังนับว่าไม่มากอยู่ดี ถ้าตัดเรื่องการไขปริศนาซึ่งคนอ่านจะมีส่วนร่วมส่วนลุ้นได้น้อยมาก แค่ไล่อ่านตามที่นักเขียนบอกเล่าเท่านั้นแล้ว เกมที่กล่าวถึงต้องเป็นคนที่ชอบเล่นเกมถึงจะอิน (ส่วนนี้นับเป็นความอ่อนด้อยของผมเอง เพราะไม่ได้เป็นคนชอบเล่นเกม) หนังก็เช่นกัน ยิ่งเพลงแล้วเอ่ยถึงบางๆ ไม่ได้ลงลึกมากนักแค่ตัวเอกกำลังเปิดเพลงนั้นๆ เพราะ ฮัลลิเดย์ชอบ มีแค่ 2112 ของวง Rush ที่นำมาใช้ได้คุ้มหน่อย 

ที่สำคัญผมรู้สึกว่า ตัวฮัลลิเดย์เองที่ถึงแม้จะเป็นตัวละครสมมติแต่รายละเอียดที่จะทำให้ผู้อ่านอย่างเรารู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ หรือ 
เส้นทางชีวิตของเขามันยังจับคนอ่านไม่ได้มากพอที่จะเชื่อว่า เราอยากจะรู้ทุกอย่างของเขา ขุดค้นทุกเรื่องของเขา ถ้าไม่นับในแง่เพื่อเอามาไล่ล่ารางวัลจากการเล่นเกมเท่านั้น 

ถ้าเทียบกับหนังแล้วก็มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกันไป ปริศนาในหนังอาจจะดูง่าย เข้าใจได้ง่ายกว่า และก็มีจุดเชื่อมต่อที่เข้าถึงคนดูได้มากกว่าอ่าน เห็นปมในบางอย่างของตัวละครได้ชัดเจนกว่า ยิ่งมิตรภาพของแต่ละคนก็ยิ่งชัด ในหนังสือถ้าไม่นับพาร์ซิวาลกับเอชที่เหลือออกจะแข่งขันกันมากกว่า ก่อนจะมาผนึกพลังกันในตอนจบ แต่ที่หนังสือทำได้ดีกว่าคือ ไอโอไอ ดูร้ายสมจริงมากกว่า มุ่งทำทุกวิถีให้เป็นฝ่ายชนะ สมเป็นศัตรูเอกของกันเตอร์ อวตารไล่ล่าไข่ทุกคนที่ต้องกลัว ถึงขั้นทำให้มีคนตายจริงๆก็ทำเลยไม่ลังเเลและพาร์ซิวาลดูจะฉลาดและมีการวางแผนบางอย่างที่ซับซ้อนเพื่อบรรลุเป้าหมายมากกว่าในหนัง

มีอยู่ 2 สิ่งที่หนังและหนังสือต้องการสื่อประเด็นที่ตรงกันพอสมควรก็คือ "มิตรภาพ" ระหว่างเจมส์ ฮัลลิเดย์กับออกเด็น มอร์โรว์ 2 ผู้ก่อตั้งโอเอซิส ซึ่งส่งต่อทอดมายังพาร์ซิวาลและผองเพื่อนนั่นคือ 

"ไม่มีใครในโลกที่จะได้ทุกอย่างตามต้องการ และนั่นคือความงดงาม"

อยู่ที่คุณจะเลือกให้น้ำหนักกับสิ่งไหนระหว่างเงินทองหรือมิตรภาพ 

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าจะคุ้นชินยิ่งกว่าสำหรับทุกคน ซึ่ง Cline เหมือนจะเตือนเราผู้ใช้และเสพโลกโซเชียลต่างๆและเกมออนไลน์ที่คล้ายๆกับโอเอซิสอยู่บ้างเหมือนกันว่า เราควร ให้ความสำคัญกับโลกที่เป็นจริงของเรามากกว่าโลกเสมือนหรือโลกที่เราสรรสร้างสมมติขึ้นที่อาจจะทำให้หลบหลีกพึ่งพิง มีที่ยืน มีตัวตน หรือสร้างความสุขได้มากกว่าก็ตามที

"ฉันสร้างโอเอซิสขึ้นมาเพราะรู้สึกว่า โลกความเป็นจริงมันไม่น่าอยู่ ฉันไม่รู้จะคุยกับคนอื่นในชีวิตจริงยังไง ฉันกลัวโลกข้างนอกมาตลอดชีวิต จนกระทั่งรู้ว่ามันกำลังจะจบสิ้นแล้ว ตอนที่รับรู้เรื่องนี้ฉันทั้งหวาดกลัว ทั้งเจ็บปวด  เพราะมันเป็นที่เดียวที่เธอจะหาความสุขที่แท้จริงได้ เพราะชีวิตในความเป็นจริง ก็คือ เรื่องจริง เธอเข้าใจใช่ไหม"

แม้ดูเหมือนผมจะชอบหนังมากกว่าหนังสือ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้าใครอยากเก็บบรรยากาศของยุคนั้นราวกับไปเยี่ยมบ้านเกิดของคนที่เติบโตมาทัน ไม่ว่าจะผ่านเกม หนัง เพลง แม้น...

"บ้านเกิดเราจะไม่มีวันเป็นเหมือนเดิมในวันที่กลับไปอีกครั้ง"

ก็ต้องลองเสพหนังสือและหนังทั้ง 2 สื่อด้วย ตัวเองอาจจะชอบมากกว่าผมก็เป็นได้

อ้อ... ในหนังสือมีเอ่ยถึงนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์อยู่ 4 คนได้ นั่นคือ William Gibson, Kurt Vonnegut, Philip K.Dick และ Cory Doctorow ซึ่งแต่ละคนจะมีสไตล์ที่ออกจะแปลกๆและเนิร์ดทั้งหมดเลย 

ป.ล.มีข่าวว่า Ernest Cline มีโครงการจะเขียนเล่มต่อจากนี้ และ Andy Weir คนเขียน The Martian ได้เขียนเรื่องสั้นแบบแฟนฟิค "Lacero" ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโนแลน ซอร์เรนโต้ ผอ.ของไอโอไอ โดยเฉพาะเอาไว้ด้วย

คะแนน 7.9/10



Create Date : 29 เมษายน 2561
Last Update : 29 เมษายน 2561 16:40:49 น.
Counter : 4346 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณออโอ

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 755059
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]



New Comments
เมษายน 2561

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
 
 
All Blog