Against The Fall Of Night ประหนึ่งจะเย้ยรัตติกาล




ประหนึ่งจะเย้ยรัตติกาล Against The Fall Of Night (1953)
โดย Arthur C.Clarke
สนพ. ณ บ้านวรรณกรรม แปลโดย ยรรยง เต็งอำนวย

"เราไม่เคยพูดกันถึงเรื่องราวในอดีตเลย ฉันใหัเธอดูบันทึกนั่นเก็เพราะเธออยากดูมาก อย่าไปกังวงลถึงมันมากนักเลย ตราบเท่าที่เรายังเป็นสุขอยู่ เราจะไม่มีที่อยู่แค่ไหนก็ไม่เห็นจะสำคัญ ผู้คนที่เธอเห็นจากบันทึกน่ะมีที่ว่างเยอะแยะ แต่เขาก็สุขสบายไม่เท่าเรา" 

นครไดอาสปาร์ที่เต็มไปด้วยหอคอยตึกสูงเสียดฟ้าหลากสีสันราวกับสายรุ้ง ล้อมรอบด้วยทะเลทรายอันกว้างใหญ่ไพศาลสุดลูกหูลูกตา ไร้ซึ่งมหาสมุทรที่แห้งขอดจนเป็นดินสีเทา ดำเนินกิจกรรมของนครภายใต้เครื่องจักรที่มนุษย์ยุคบรรพบุรุษสร้างขึ้น อันเป็นที่มั่นพึ่งพิงแห่งสุดท้ายของมนุษย์บนโลกที่ผ่านช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์กว่า 5 ร้อยล้านปี ผ่านการเล่าขานว่าครั้งหนึ่งนั้น มนุษย์โลกเคยยิ่งใหญ่เดินทางท่องอวกาศ ครอบครองดวงดาวต่างๆได้นับไม่ถ้วน ใช่เพียงแต่ระบบสุริยะของเราเท่านั้น แต่เพราะพบเจอกับ "ผู้บุกรุก" มนุษย์จึงพ่ายแพ้อย่างราบคาบถอยร่นกลับมาอยู่ในนครภายใต้กำแพงแห่งนี้เป็นเวลายาวนานแสนนานมาแล้ว

อัลวิน เด็กหนุ่มคนแรกในรอบ 7 พันปีของนครไดอาสปาร์ที่มีแต่มนุษย์อมตะอายุยืนยาวกว่าพันๆปี จึงไม่แปลกที่เขาจะซุกซนรู้สึกสงสัยผิดแปลกไปจากพลเมืองผู้อาวุโสทั้งหลาย ชอบมองดวงดาวบนท้องฟ้าโดยเฉพาะกลุ่มดาวหลากสี 7 ดวง แล้วด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงนำเขาไปพบกับทางลับที่เชื่อมต่อออกไปสู่โลกภายนอก พบกับเรื่องราวชีวิตของผู้คนที่ผิดแปลกไปจากเขา พบกับชายชราที่มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับ "ผู้เลิศล้ำ" อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จนอาจจะพลิกผันประวัติศาสตร์ที่เล่าขานสืบต่อกันมากว่าหลายร้อยล้านปี พัดพามวลมนุษย์ให้หวนกลับไปท่องอวกาศได้อีกครา!  

.......................................................................................

นิยายเรื่องยาวเล่มแรกเลยก็ว่าได้ของ Arthur C.Clarke ที่ได้รับการตีพิมพ์ในแมกกาซีน Startling Stories ในปี ค.ศ.1948 ก่อนที่ Clarke จะปรับปรุงเพิ่มเติมจนได้รับการตีพิมพ์มาเป็นเล่มอีกทีในปีค.ศ.1953 แล้วก็ยังดัดแปลงเพิ่มเติมเนื้อหาให้ยาวขึ้นพร้อมกับ เปลี่ยนชื่อเป็น The City And The Stars ในปี ค.ศ.1956 อีกครั้ง นับว่าเป็นนิยายในต้นยุค '50s ของ Clarke ที่มีเรื่อง สุดสิ้นกลิ่นน้ำนม (Childhood's End) โดดเด่นที่สุด ก่อนที่จะ ไปโด่งดังสุดๆกับนิยายที่สร้างชื่อเสียงให้อย่าง 2001 A Space Odyssey ในปลายยุค '60s ต่อเนื่องด้วยผลงานกวาดรางวัลในต้นยุค'70sอย่าง ดุจดั่งอวตาร (Rendezvous With Rama) ซึ่งถือว่าเป็นช่วงพีคสุดๆของ Clarke เลย

ดูช่วงเวลาในการเขียนเล่มนี้อยู่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านมาไม่นานและก็อยู่ในยุคเริ่มต้นของยุคทองนิยายวิทยาศาสตร์ (Golden Age) ซึ่งก็เป็นช่วงที่ยังไม่มีการเดินทางไปสำรวจอวกาศจริงๆจังๆ ยังไม่มีการเดินทางไปออกไปนอกโลกสู่อวกาศกันเลย 

ผมคิดเอาเองว่า Clarke น่าจะสร้างภาพของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สะท้อนผ่าน "นครไดอาสปาร์" ที่ผ่านการเล่าขานเรื่อง 
"ผู้บุกรุก" ที่เปรียบเสมือนผ่านสงครามมาเหมือนกัน ดูเป็นโลกหลังหายนะครั้งยิ่งใหญ่ ไร้ซึ่งชีวิตชีวาและธรรมชาติอันสวยงามและที่ 
อัลวินชอบมองดวงดาวก็เปรียบเสมือนตัวแทนของมนุษย์จริงๆที่ Clarke น่าจะวาดหวังไว้ว่าในอนาคตมนุษย์จะออกเดินทางไปสู่อวกาศได้ในยุคที่ยังไม่มีการเดินทางออกไปนอกโลกเลย

แล้วตัวละครอย่างเด็กหนุ่ม "อัลวิน" นี่แหละที่สะท้อนให้เห็นถึงพลังของเด็กและคนหนุ่มที่มีความอยากรู้อยากเห็น มีความฉงนสงสัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละเป็นจุดเริ่มต้นที่ผมคิดว่า Clarke เห็นว่ามีอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ที่จะเป็นแรงผลักดันจุดประกายให้เราออกเดินทางข้ามกำแพง ฝ่าความกลัวจากเรื่องเล่าในประวัติศาสตร์ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จนน่าจะนำมนุษย์ออกไปท่องอวกาศได้สำเร็จจริงๆ ไม่ใช่ผู้มีชีวิตอมตะยืนยาวกว่าพันๆปีที่ดูจะไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ แนวความคิดเรื่องชีวิตอมตะของ Clarke ช่างตรงกับ Asimov ในชุดหุ่นยนต์จริงๆ 

ยังมีประเด็นที่น่าจะเข้ายุคเข้าสมัยแม้แต่ในยุคปัจจุบัน ก็คือ ความแตกต่างของเมืองที่พึ่งแต่เครื่องจักรอย่างนครไดอาสปาร์ มีความสะดวกสบาย ผู้คนกลับไม่ค่อยได้พบปะกัน ไม่มีความสามารถในการอ่านจิตใจ สีหน้าท่าทาง เข้าไม่ถึงใจคนที่ได้ร่วมเสวนาด้วย ตรงกันข้ามกับผู้คนจากอีกเมืองที่อยู่กับธรรมชาติมีป่าเขาลำเนาไพรไดัพบปะติดต่อกันบ่อยๆ เวลามีเรื่องราวอะไรก็รู้กันทั้งเมืองแทบไม่ต้องเรียกประชุมกัน 

ถ้าจุดประสงค์ของนิยายเล่มนี้ของ Clarke หมายจุดประกายความหวังของมนุษย์ในการเดินทางท่องอวกาศในยุคที่ยังเป็นสิ่งที่ยังต้องฝันอยู่ ให้สมกับชื่อเรื่อง "ประหนึ่งจะเย้ยรัตติกาล" ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะภายใต้เงื่อนไขความกลัวที่เราสร้างขึ้นมาเองเหมือนกำแพงทะเลทรายที่ล้อมรอบนครในเรื่อง หรือความกลัวในเรื่องที่เล่าต่อๆกันมาจนเป็นประวัติศาสตร์อันยาวนานซึ่งก็ไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ดุจเมฆทะมึนปกปิดความหวังของมนุษย์ให้มืดมิดหรืออาจจะถึงขั้นหลอกลวงตัวเราเอง หรือแม้แต่ประเด็นว่านี่เป็นนิยายฝันเฟื่องไม่สมจริง ยิ่งในยุคที่ Clarke เขียนยิ่งไม่ต้องพูดถึง ก็ Clarke สมมติให้เรื่องราวผ่านไปตั้งหลายร้อยล้านปีแล้ว ใครอยากพิสูจน์ก็เชิญตามมา (555) 

เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีการเล่าเรื่องที่สนุกบนเงื่อนไขที่สร้างขึ้น ผ่านการผจญภัยแบบเด็กๆทำให้อ่านได้ง่ายเลย มีจุดเฉลยที่พลิกผันทำให้ทึ่งแบบเอามาคิดได้ แถมยังเป็นจุดเริ่มในการทิ้งคำถามเรื่องสิ่งทรงภูมิปัญญาที่เหนือกว่ามนุษย์อันเป็นสัญลักษณ์ในนิยายเล่มต่อๆมาของ Clarke ด้วยไม่ว่าจะใน Childhood's End หรือแม้แต่ชุด A Space Odyssey อันโด่งดังด้วย 

อ้อ ผมสังเกตเองอีกอย่าง นี่คือนิยายเล่มแรกของ Arthur C.Clarke ตัวเอกในเรื่องก็ชื่อ Alvin แถมนิยายยังชื่อ Against The Fall Of Night ไม่รู้ว่า Clarke ตั้งใจให้ขึ้นต้นด้วย A ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกเหมือนชื่อของ Clarke เองหรือไม่และนิยายตั้งชื่อได้เพราะทั้งต้นฉบับและฉบับแปลเลย

"เป็นความสุขอย่างที่สุดที่ได้เฝ้าดูเงาหลากสีบนดาวเคราะห์แห่งแสงสว่างชั่วนิรันดร์" 

ป.ล.ผมไม่รู้ว่าต้นฉบับแปลจากเรื่องยาวขนาดสั้นในแมกกาซีนปี.ค.ศ.1948 หรือจากนิยายในปี ค.ศ.1953 แต่ถ้าให้เดาคงแปลจากฉบับนิยายมั้ง

เครดิตรูปจากร้าน bookdd 

คะแนน 8.3/10



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2561
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2561 18:23:45 น.
Counter : 1405 Pageviews.

6 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณแม่ไก่

  
อ่านรีวิวแล้วน่าอ่านแฮะ

เราไม่ได้อ่านแนวนี้นานมากแล้วค่ะ ในกองดองก็ไม่มีแนวนี้เลยอ้ะ


เห็นด้วย

เราว่าหนังดีนะ แต่ไม่ได้ว้าวขนาดเชียร์ให้ได้ออสการ์

แต่ก็ต้องดูหนังเรื่องอื่นๆ ด้วยอะแหละ ถ้ามันไม่มีดีกว่านี้ก็คงได้อะมั้งนะ

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Literature Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
toor36 Literature Blog ดู Blog
สมาชิกหมายเลข 755059 Book Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:19:52:26 น.
  
เรื่องนี้ ผมซื้อไว้นานมากแล้ว เห็นเล่มบางๆอย่างนี้ แต่ไม่มีโอกาสหยิบมาอ่านสักทีครับ เห็นทีว่าจะต้องหยิบมาอ่านดูบ้างแล้ว
โดย: สามปอยหลวง วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:8:19:08 น.
  
คุณสาวไกด์ใจซื่อ ขอบคุณที่โหวตให้ครับ แนวนี้ยังมีไม่ค่อยหลากหลายมากนักครับ ตอนนี้ก็มีแค่ สนพ.เวลา, โพสต์ที่พิมพ์ไตรภาค Three Body Problem และก็สนพ.โซลิส น้องใหม่ ที่เพิ่งออก Old Man's War ไปไม่นานครับ

คุณสามปอยหลวง อ่านง่ายเรื่องนึงของ Clarke เลยครับ อาจจะเพราะเป็นผลงานการเขียนช่วงต้นๆเลย กว่าจะหาได้ก็ยากพอสมควรเลยครับเล่มนี้ ไม่คิดว่า สนพ.นี้จะเคยทำแนวนี้ด้วยครับ
โดย: leehua (สมาชิกหมายเลข 755059 ) วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:15:55:32 น.
  
ขอบคุณที่แวะไปทักทายกันนะคะ
แนวนี้ไม่เคยอ่านเลยค่า
รีวิวได้น่าสนใจดีค่ะ

นี่ก็รอดูบุพเพสันนิวาสออนแอร์คืนนี้เช่นกัน^^
โดย: JinnyTent วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:19:19:12 น.
  
เลิกติดตามสนพ.นี้มาะยะหนึ่งแล้ว เพิ่งรู้ว่าเขามีแนวๆนี้ออกมาด้วย ดูน่าสนใจเชียว

แวะมาเชียร์เรื่องเล่าของเหล่าปีศาจฯทั้ง 2 เล่มค่ะ คิดว่าน่าจะตรงแนวจขบ.
ขอบคุณที่ผ่านไปทักทายที่บล็อกค่า
โดย: แม่ไก่ วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:13:07:10 น.
  
คุณ JinnyTent นิยายวิทยาศาสตร์เป็นแนวที่คนอ่านเฉพาะกลุ่ม อ่านกันยังไม่แพร่หลายมากนักครับ

คุณแม่ไก่ ปกติผมไม่ได้ตามสนพ.นี้เลยครับ เล่มนี้ก็ได้มาจากบูธมือสองในงานหนังสือ เพราะไม่คิดว่าเขาจะพิมพ์แนวนี้ด้วย

เหล่าปิศาจน่าสนใจจริงๆครับ
โดย: leehua (สมาชิกหมายเลข 755059 ) วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:0:42:46 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 755059
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]



New Comments
กุมภาพันธ์ 2561

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
 
 
All Blog