space
space
space
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
space
space
21 กุมภาพันธ์ 2552
space
space
space

การสูบบุหรี่อาจทำให้รูปทรงของหัวใจเปลี่ยนไป




การได้รับควันบุหรี่เป็นประจำสามารถเพิ่มระดับของฮอร์โมนความเครียด โนเรพีเนฟรีน (norepinephrine) และเอนไซม์ในหัวใจ ที่สามารถทำให้รูปร่างของหัวใจห้องล่างซ้ายเปลี่ยนแปลงไปได้ จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งอิลลินอยส์ในชิคาโก

ในการศึกษาโดย ใช้หนูทดลอง การได้รับควันบุหรี่ติดต่อกัน 5 สัปดาห์มีความเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเอนไซม์ที่ชื่อว่า โปรทีนคิเนซิสชนิดกระตุ้นด้วยไมโทเจน (mitogen-activated protein kinases) ที่ควบคุมการทำงานเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเซลล์ และกล้ามเนื้อหัวใจ การกระตุ้นเอนไซม์นี้อาจเป็นปัจจัยสำคัญของโรคเกี่ยวกับหัวใจที่เกิดจากการ สูบบุหรี่ รายงานโดยมาเรี่ยนน์ พิอาโน่ (Mariann Piano) หัวหน้าทีมวิจัยและศาสตราจารย์ด้านชีวพฤติกรรมสุขศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาล มหาวิทยาลัยแห่งอิลลินอยส์ในชิคาโก






โรคหัวใจอาจเกิดจากปฏิกิริยาที่ซับซ้อนขององค์ประกอบจำนวนมากในควันบุหรี่ เธอกล่าว
"ควันบุหรี่ประกอบไปด้วยสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนิโคทิน" พิอาโน่กล่าว "อย่างไรก็ตาม ผลของนิโคทินที่มีต่อหัวใจและหลอดเลือดนั้นก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่" จนถึงวันนี้ การทดลองในคนเกี่ยวกับการใช้นิโคทินในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การสูบบุหรี่ยัง ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงต่อหัวใจและหลอดเลือด แม้แต่ในคนไข้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจก็ตาม พิอาโน่กล่าว นี่แสดงให้เห็นว่าต้องมีการศึกษาสารทั้งหมดในควันบุหรี่

ในการศึกษาใหม่ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารยุโรปเกี่ยวกับหัวใจล้มเหลว (European Journal of Heart Failure) ฉบับเดือนพฤศจิกายนนั้น

หนูทดลองจะได้รับทั้งควันบุหรี่และอากาศปกติ หลังจาก 5 สัปดาห์ผ่านไป หนูทดลองจะได้รับการตรวจด้วยการอัลตร้าซาวน์ดหัวใจ (Echocardiography) เนื้อเยื่อหัวใจจะถูกตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์และการวิเคราะห์ด้วยวิธี เวสเทิร์น บลอท (Western blot) ซึ่งเ้ป็นวิธีตรวจหาโปรตีนแบบเจาะจงในเนื้อเยื่อตัวอย่าง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการได้รับควันบุหรี่นั้นเกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดของรูปทรงหัวใจห้องล่างซ้ายซึ่งเป็นห้อง หลักที่ใช้สูบฉีดเลือด และยังเกี่ยวข้องกับการเพิ่มระดับของเอนไซม์ที่ถูกกระตุ้นแล้วในกล้ามเนื้อ หัวใจ นักวิจัยยังพบปริมาณที่เพิ่มขึ้นของโนเรพีเนฟรีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาเมื่อความเครียดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง สรีรวิทยา โดยพบในตัวอย่างปัสสาวะของหนูทดลอง

พิอาโน่ กล่าวอีกว่า นี่เป็นการศึกษาครั้งแรกที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของหัวใจห้อง
ล่างที่เกิดจากการสูบบุหรี่นั้นเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นของโปรทีนคิเนซิ สชนิดกระตุ้นด้วยไมโทเจน เธอได้รับรางวัล แคเธอรีน เอ. เลมไบรท์ ประจำปี พ.ศ. 2551 จากสมาคมหัวใจอเมริกัน สำหรับความสามารถในการวิจัยด้านหัวใจและหลอดเลือด ในงานประชุมประจำปีของสมาคมฯ ที่นิว ออร์ลีนส์ วันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา งาน วิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ผู้ร่วมวิจัยได้แก่ กู่เหลียงจื้อ (Lianzhi Gu) นักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกในสาขาชีวพฤติกรรมสุขศาสตร์ ชามิม ชาวดูรี (Shamim Chowdhury) นักวิจัยด้านสรีรวิทยาและชีวฟิสิกส์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และ ดร. เดวิด กรีเนน (David Greenen) ศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยา


Cigarette Smoke Could Alter Shape Of Heart






Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2552 7:47:59 น. 0 comments
Counter : 1383 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space