space
space
space
<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
25 พฤษภาคม 2551
space
space
space

ทอนซิล... ตัดทิ้งดีหรือไม่?
หลายคนมักถาม ต่อมทอนซิล มีหน้าที่อย่างไร และถ้าจำเป็นต้องตัดทิ้งจะเกิดผลเสียต่อร่างกายบ้างหรือไม่

ต่อมทอนซิลนั้น ก็คือต่อมน้ำเหลือง 2 ต่อมที่อยู่ในช่องปาก หน้าที่หลักคือ เป็นด่านแรกที่ดักจับและทำลายเชื้อโรค หน้าที่รองคือ สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย โรคนี้มักเป็นในเด็กอายุก่อน 10 ขวบ เนื่องจากภูมิคุ้มกันยังน้อย ส่วนใหญ่จะไม่พบในวัยกลางคนไปแล้ว

โรคของต่อมทอนซิลส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากเชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อวัณโรค โรคนี้มักมีอาการไม่รุนแรง แต่มีส่วนน้อยที่เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส (Streptococcus) หรือไวรัสบางชนิดทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ที่สำคัญคือ การอุดกั้นทางเดินหายใจ เนื่องจากต่อมทอนซิลอยู่ในช่องปากพอดี หากมีการอักเสบและโตมากก็จะมีการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ การติดต่อโดยการหายใจ ไอ จาม หรือใช้ภาชนะที่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำร่วมกันกับผู้ติดเชื้อ

อาการสำคัญที่พบบ่อยคือ มีไข้ เจ็บคอ แต่ที่แตกต่างจากโรคเจ็บคอทั่วไปคือ คนไข้จะกลืนลำบาก น้ำลายจะไหลออกมาเป็นที่สังเกต และหากเจ็บคอมาก ๆ ก็จะอาเจียนออกมา เนื่องจากอาหารหรือน้ำที่รับประทานเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคืองลำคอที่เจ็บอยู่

ปัจจุบันการรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ จะใช้ยาปฏิชีวนะเป็นหลักสำคัญในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่จะหายหรืออาการดีขึ้นจากการให้ยา ทำให้อัตราการผ่าตัดลดลง สำหรับยาปฏิชีวนะก็มีด้วยกันหลายชนิด แนะนำว่าควรรับประทานตามที่แพทย์สั่งและรับประทานให้ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 7-10 วัน ซึ่งในบางรายอาจต้องรักษาแบบประคับประคองร่วมด้วย เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ดื่มน้ำมากๆ หรืออาจต้องให้น้ำเกลือถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ หรือให้อาหารอ่อนๆ ในระยะแรก ๆ

ใครบ้างต้องตัดต่อมทอนซิล
ลักษณะคนไข้ที่ต้องผ่าตัดต่อมทอนซิลทิ้งนั้น จะมีการอักเสบบ่อยมากเกิน 7 ครั้งต่อปี หรือเกิน 5 ครั้งติดกัน 2 ปี หรือ 3 ครั้งติดกัน 3 ปี โดยเฉพาะทุกครั้งที่อักเสบแล้วเป็นหนองหรือเป็นมากจนร่างกายทรุดโทรม ซึ่งการอักเสบนี้ควรได้รับการตรวจจากแพทย์และยืนยันว่าเป็นต่อมทอนซิลอักเสบจริง เช่น ทอนซิลเป็นหนอง หรือมีอาการไข้ นอกจากนี้คนไข้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะหลายชนิดไม่ดีขึ้น หรือในกรณีต่อมทอนซิลอักเสบ ก้อนโตมากจนอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้หายใจหรือรับประทานลำบาก รวมทั้งในรายที่ก้อนโตผิดปกติหรือต่อมข้างใดข้างหนึ่งโตผิดปกติและสงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งในต่อมทอนซิล เราจะตัดออกมาตรวจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ด้วย

ดีหรือไม่ที่ตัดทิ้ง
การตัดทอนซิลที่อักเสบเรื้อรังออก ทำให้ไม่ติดเชื้อบ่อย ร่างกายแข็งแรงขึ้น สำหรับคนไข้เด็ก ทางเดินหายใจก็จะโล่งขึ้นด้วย ในการตัดต่อมทอนซิลทิ้งนั้นไม่มีข้อเสีย เมื่อเราตัดสินใจตัดทิ้งตามข้อบ่งชี้ที่ถูกต้อง มักจะเป็นต่อมที่ไม่ทำงานแล้ว หมายถึงจะไม่ฆ่าเชื้อโรค แต่กลับเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคแทน อย่างไรก็ตามยังมีต่อมน้ำเหลืองในช่องคอที่ทำงานจับเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลอีกมาก

ดูแลตัวเองเมื่อไร้ต่อมทอนซิล
ข้อแนะนำสำหรับคนไข้ที่ตัดต่อมทอนซิลทิ้ง มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. ควบคุมอาหารหลังผ่าตัด จะต้องรับประทานอาหารเหลวเท่านั้น เพื่อไม่ให้เจ็บคอและไม่ให้เลือดออกจากแผล
2. หลังจาก 7 วันแรกที่ตัด ให้รับประทานอาหารอ่อนและไม่ร้อนด้วย เพื่อไม่ให้เลือดออกอีก
3. หลังจาก 14 วันไปแล้ว ก็ไม่มีปัญหา เพียงรับประทานทานยาปฏิชีวนะหลังผ่าตัดและป้อนน้ำสะอาดให้เสมอ

คนปกติจะไม่ค่อยเป็นต่อมทอนซิลอักเสบอยู่แล้ว ถ้าเกิดเป็นขึ้นมา การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื้อรังคือ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับยาและคำแนะนำ และเมื่อมีการติดเชื้อควรรักษาให้หาย รับประทานยาตามที่หมอสั่ง อย่าหยุดยาเองเมื่อรู้สึกว่าดีขึ้นและอย่าซื้อยารับประทานเอง เพื่อไม่ให้เกิดการดื้อยาและเกิดเป็นการอักเสบเรื้อรังได้


ข้อมูลจาก sk-hospital.com



Create Date : 25 พฤษภาคม 2551
Last Update : 7 ตุลาคม 2551 18:29:53 น. 2 comments
Counter : 1411 Pageviews.

 
เราก็เป็นอาการแบบนี้เหมือนกัน
แต่ไม่อยากตัดเลย เจี๋ยว... จึ๋ย


โดย: หน่อไม้ฝรั่งผัดกุ้ง วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:33:31 น.  

 
รักษาได้ก็รักษาก่อน เพื่อนผมยังหายเลยครับ


โดย: ใสซื่อดื้อตาใส วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:10:12:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space