space
space
space
<<
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
23 มีนาคม 2551
space
space
space

กินแกงกระตุ้นความจำ
กินแกงกระตุ้นความจำ

เครื่องเทศสำคัญในแกงเหลืองอย่างขมิ้น สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางประสาทและลดผลกระทบจากโรคเกี่ยวกับระบบเส้นประสาทอย่าง อัลไซเมอร์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ นอกจากนี้นักวิจัยยังยืนยันถึงประสิทธิภาพยอดเยี่ยมของเครื่องเทศในการต่อสู้กับปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ศัตรูร้ายทำลายเซลล์สมองโดยเฉพาะในหน่วยความจำ เมื่อเราอายุมากขึ้น ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะโจมตีเซลล์สมองมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่เปราะบางและไวต่อการถูกทำลายจากปฏิกิริยาดังกล่าวมากกว่าส่วนอื่นๆ
สมองจำต้องสร้างยีนที่ชื่อว่า Hemeoxygenase-1( HO-1) ขึ้นมาเพื่อต่อกรกับออกซิเดชั่น และยีนตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสมองถูกกระตุ้นเท่านั้น และสารกระตุ้นดังกล่าวก็พบมากในขมิ้นนั่นเอง นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยคาตาเนียในอิตาลี และนิวยอร์กยืนยันถึงประสิทธิภาพของสารสำคัญในขมิ้นที่มีผลต่อการกระตุ้นยีน HO-1ว่าช่วยยับยั้งไม่ให้เซลล์สมองถูกทำลายโดยออกซิเดนท์ได้เป็นอย่างดี

เมื่อสมองเกิดสภาวะออกซิเดชั่น เซลล์สมองจะเกิดการอักเสบและค่อยๆ ตายไปในที่สุด ส่งผลให้เซลล์เนื้อเยื่อของเส้นประสาทถูกทำลาย และนำไปสู่โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ขมิ้นจึงไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังบำรุงสมองเราให้เฉียบคมตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วยในประเทศอินเดีย แหล่งเครื่องเทศสำคัญของโลกและนิยมใช้ขมิ้นเป็นส่วนประกอบอาหารมีการทดลองเพื่อค้นหาคุณประโยชน์ของขมิ้นที่นอกเหนือไปจากสรรพคุณในการลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์อย่างกว้างขวาง และพบว่าสารแอนตี้ออกซิเดนท์ในขมิ้นเป็นกุญแจสำคัญในการถนอมอาหาร นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เมนูอาหารแต่โบราณหลายๆ จานมีขมิ้นเป็นส่วนประกอบ อีกทั้งยังได้สี กลิ่นและรสชาติเป็นของแถม

บรรดาเครื่องเทศต่างๆ นั้นมีสารปฏิชีวนะป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในอาหารได้มากกว่า เจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ เม็ดสีในเครื่องเทศคือส่วนที่มีสารปฏิชีวนะดังกล่าว นักวิจัยจากศูนย์โรคอัลไซเมอร์แห่งมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ ระบุว่า ขมิ้นมีสารสำคัญที่ไม่พบในเครื่องเทศชนิดอื่นในการยับยั้งไม่ให้ไม่ให้เกิดกลุ่มก้อนโปรตีนเล็กๆ ในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่เรียกว่า Amyloid Plaquesโดยสารในขมิ้นจะเข้าผ่ากลางกลุ่มโปรตีนดังกล่าวไม่ให้รวมตัวกัน

ดร. Sally Frautschy ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชาแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอแนะนำให้รับประทานขมิ้นให้ได้ 200 มิลลิกรัมต่อครั้ง อาทิตย์ละสี่ครั้งก็ถือว่าเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ขณะเดียวกัน เรายังพบสารแอนตี้ออกซิเดนท์ในเครื่องเทศชนิดอื่น อย่างขิงและอบเชย ซึ่งให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับขมิ้น รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์สมองได้เป็นอย่างดี

...รู้อย่างนี้แล้ว มื้อต่อไปต้องมีแกงขึ้นสำรับแล้วล่ะ


Create Date : 23 มีนาคม 2551
Last Update : 7 ตุลาคม 2551 17:03:28 น. 8 comments
Counter : 1143 Pageviews.

 
โชคดีที่อยู่ปักษ์ใต้
ได้ทานแกงเหลือง ปลาทอดขมิ้น
ปลาต้มส้มซึ่งใส่ขมิ้น
จะทานบ่อยๆ


โดย: ศุภมนัส IP: 124.157.216.49 วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:5:19:20 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: CrackyDong วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:5:44:57 น.  

 


โดย: Opey วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:7:10:31 น.  

 
ฮิฮิ ... นึกถึงเรื่องกิน ...

งั้นก็จัดข้าวแกงป่า + ไข่ต้ม

~ เอิ๊ก ~


โดย: เด็กน้อยตัวแสบ วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:9:25:41 น.  

 
แวะเข้ามาอ่าน ขอบคุณมากๆที่ให้ความรู้ แต่ทำไงดีล่ะไม่ชอบขมิ้น


โดย: ต้นแสงจันทร์ (nathanon ) วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:10:56:47 น.  

 
เค้าก็ชอบหม่ำ แกงเหลือง อร่อยดี


โดย: ~อ. แอบ ณ ค๊ะ~ IP: 202.149.24.129 วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:11:29:58 น.  

 
ยาแคปซูลขมิ้นชัน ที่มีสรรพคุณแก้ท้องอืด จุกเสียด ขับลม กินแล้วจะมีประโยชน์เหมือนขมิ้นที่ใส่แกงหรือไม่
ช่วยไขข้อข้องใจด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ


โดย: sirat IP: 125.26.79.122 วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:12:47:13 น.  

 
ถ้าทานขมิ้นชันชนิดแคปซูลต้องทานตามเวลาที่ต้องการใช้แก้เช่นรักษาลำไส้ใหญ่ เพื่อช่วยในเรื่องขับถ่าย ต้องทานเวลา 05.00-07.00
ขมิ้นที่ทานในแกงจะมีสมุนไพรตัวอื่นประสมเป็นยาด้วย จะเสริมฤทธิ์มากขึ้น


โดย: พิมพ์ IP: 222.123.96.209 วันที่: 23 มีนาคม 2551 เวลา:15:16:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space