space
space
space
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
20 กรกฏาคม 2551
space
space
space

"กรดไหลย้อน"
"กรดไหลย้อน" โรคคู่คนไทย แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว

“โรคกรดไหลย้อน” เป็นอีกหนึ่งในโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยและอยู่คู่กับคนไทยมานาน แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จัก

หากพูดถึงโรคกรดไหลย้อนอาจจะฟังดูไม่ค่อยคุ้นหูนักสำหรับคนไทย แต่จริง ๆ แล้วโรคกรดไหลย้อน หรือ GERD (ย่อมาจากคำว่า Gastro Esophageal Reflux Disease) ไม่ใช่โรคใหม่สำหรับคนไทย เพราะหากกล่าวถึงอาการของโรคนี้ที่พบบ่อย เช่น อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยวแล้ว เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกันมานาน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการรวบรวมและนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนในงานประชุม วิชา การแพทย์ GI Summit 2007 ซึ่งเป็นงานประชุมวิชาการแพทย์ ระบบทางเดินอาหารนานาชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่จัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าใหม่ ๆ ในการวินิจฉัยและรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนปัญหาที่สำคัญของโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย เช่น โรคกระเพาะอาหาร มะเร็งในกระเพาะอาหาร

รวมถึงการรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน (GERD) ทั้งในแง่ของการเกิดโรค อาการแสดงออกของโรคกรดไหลย้อน และแนวทางการรักษา

อีกทั้งยังได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และปัญหาของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกา ยุโรป รวมถึงแพทย์ไทย และแพทย์จากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง อินเดีย เวียดนาม และกัมพูชา ฯลฯ ที่เข้าร่วมประชุมมากกว่า 300 คน

ศ.พญ.ชุติมา ประมูลสินทรัพย์ นายกสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานร่วมจัดงานประชุม GI Summit 2007 ดังกล่าว เปิดเผยว่า “ก่อนหน้านี้โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่พบบ่อยในประเทศแถบตะวันตก แต่ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาโรคกรดไหลย้อนเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้นในประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม สำหรับอุบัติการณ์ความชุกของโรคกรดไหลย้อนในคนไทยในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ ชัดแต่ในช่วง5 ปีที่ผ่านมาพบว่ามีแนวโน้มมากขึ้นเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆในแถบเอเชียและแปซิฟิก”

จากการศึกษาพบว่า ความชุกของโรคกรดไหลย้อนในปี 2539 พบประมาณร้อยละ 4.9 และสูงขึ้นถึงร้อยละ 9.2 ในปี 2544 หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า และพบความชุกของโรคกรดไหลย้อนในผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดร้อยละ 10-15

สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อนที่สำคัญเกี่ยวข้องกับความดันของหูรูดของ หลอดอาหารส่วนปลายลดลงต่ำกว่าในคนปกติ หรือเกิดมีการเลื่อนของ กระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร ทำให้กรดหรือน้ำย่อยต่าง ๆ จากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหารได้มากขึ้น

เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารหรือหลอดอาหาร กลไกการป้องกันเยื่อบุหลอดอาหารหรือความไวต่อการรับรู้ของเส้นประสาทต่อกรด หรือน้ำย่อยที่ไหลย้อนจากกระเพาะมาที่หลอดอาหารผิดปกติ หรืออาจเกิดจากเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

อาการที่สำคัญของโรคกรดไหลย้อนคือ อาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่อก หรือคอ อาการนี้จะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก หรือการนอนหงาย และอาการเรอเปรี้ยวจากกรดที่มีรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก

อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ อาทิ ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือกลืนลำบากในรายที่เป็นมาก หรือบางรายอาจมาด้วยอาการที่ไม่ใช่อาการทางหลอดอาหารเลย เช่น เจ็บหน้าอก จุกที่คอ คล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ เสียงแหบ ไอเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง หอบหืด นอนกรน หายใจเสียงดัง หรือมีกลิ่นปากโดยหาสาเหตุไม่ได้

สามารถพบโรคนี้ได้ตั้งแต่ทารกจนถึงเด็กโต ในเด็กเล็กอาการที่ควรนึกถึงโรคนี้ ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับได้.

เปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้อาการดีขึ้นได้ (จบ)

ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื้อรัง ไม่หายขาดเป็น ๆ หาย ๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

หากพบว่ามีอาการของโรคกรดไหลย้อนมาก กว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และอาการที่เกิดขึ้นรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา

ศ.พญ.ชุติมา ประมูลสินทรัพย์ นายกสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “อุป สรรคในการรักษาโรคกรดไหลย้อนมีหลายปัจจัย ผู้ป่วยหลายคนที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการปฏิบัติตัว หรือได้รับการวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบันเจริญรอยตามชาวตะวันตกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวัน ความอ้วน ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้อาการกรดไหลย้อนในคนไทยเพิ่มมากขึ้น”

สำหรับผู้ที่รู้สึกสงสัยว่าตนเองจะเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตบางอย่าง อาจทำให้อาการดีขึ้น และกลับเป็นซ้ำลดน้อยลง

เช่น ไม่รับประทานอาหารจนอิ่มแน่นท้อง หรือมากเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารย่อยยาก อาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลมบางชนิด ช็อกโกแลต

นอกจากนี้ควรลดน้ำหนักตัว งดการรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง นอนหัวสูง และหลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นบริเวณช่องท้อง

และนอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

ศ.นพ.นิโคสัส ทาลเลย์ แพทย์แผนกโรคทางเดินอาหารและโรคตับจากวิทยาลัยทางการแพทย์เมโยคลินิก สหรัฐอเมริกา หนึ่งในวิทยากรงานประชุมGI Summit 2007กล่าวถึงแนวโน้มของการรักษาโรคกรดไหลย้อนในอนาคตว่า เนื่องจากอาการของโรคกรดไหลย้อน มีหลายระดับ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการนำของโรคที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจแสดงออกด้วยอาการปวดแสบที่หัวใจ หรือมีอาการตื่นบ่อย ๆ ในตอนกลางคืน นอกจากนี้คนไข้จำนวนมากที่มาด้วยอาการปวดท้องคล้ายโรคกระเพาะอาหารและมีกรด ไหลย้อนขึ้นมา ซึ่งอาการเหล่านี้ก็อาจพบได้ในคนไข้โรคกระเพาะอาหาร หรือโรคที่เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารบางโรค

ดังนั้นการรักษาโรคกรดไหลย้อนให้ได้ผลดีจึงจำเป็นต้องวินิจฉัยจากอาการหรือ การส่องกล้องให้ได้ว่าคนไข้เป็นโรคกรดไหลย้อนหรือเป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือเป็นทั้งสองโรคร่วมกัน เพราะการให้ยากำจัดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคกระเพาะอาหารด้วย อาจทำให้ขนาดยาในการรักษาโรคกรดไหลย้อนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปด้วย

ศ.นพ.นิมิช วาคิล แพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย วิสคอนซิล สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการการประชุม กล่าวว่าได้มีการประชุมในระหว่างกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินอาหาร จำนวน 19 ประเทศ เพื่อรวบรวมการจำกัดความของอาการที่แสดงว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนทั้งจากการ สังเกตจากอาการ หรือจากการส่องกล้อง ซึ่งการจัดให้มีการประชุมดังกล่าวจะส่งผลดีในแง่ที่แพทย์จะสามารถนำการจำกัด ความของอาการโรคกรดไหลย้อนไปใช้เพื่อวินิจฉัยอาการของโรคได้เบื้องต้นโดยไม่ ต้องส่องกล้องหรือร่วมกับการส่องกล้อง ในการจำกัดความเพื่อจำแนกอาการโรคกรดไหลย้อนครั้งนี้จะพิจารณาจาก อาการที่พบบ่อย และอาการที่อาจเกิดที่อวัยวะอื่น ๆ จากการที่กรดไหลย้อนไปทำลาย

ที่ประชุมได้สรุปว่าอาการของโรคกรดไหลย้อนนอกจากจะพบว่ามีกรดไหลย้อนกลับ ขึ้นมาทางเดินอาหารแล้ว อาการอื่น ๆ ที่อาจจะพบในคนไข้โรคนี้ก็มี อาการไอเรื้อรัง คออักเสบ หอบหืดการหยุดหายใจ และการตื่นบ่อย ๆ ในระหว่างเวลานอน อาจต้องนำมาพิจารณาประกอบการวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อนด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจ และต้องการข้อมูลเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ //www.gerdthai.com


ขอบคุณ sk-hospital.com



Create Date : 20 กรกฎาคม 2551
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 4:32:19 น. 9 comments
Counter : 1186 Pageviews.

 
แม่ของถั่วงอกน้อย ก็ป่วยเป็นโรคนี้เหมือนกันค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะคะ


โดย: ถั่วงอกน้อยค่ะ วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:6:00:45 น.  

 
ขิบคุณนะคะสำหรับความรู้ใหม่ๆ


โดย: oHLa วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:8:29:58 น.  

 
ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ใหม่ๆ


โดย: oHLa วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:8:30:22 น.  

 
วันอาทิตย์อย่างนี้ ตื่นมาอัพบล็อคแต่เช้า(มืด) อีกแล้ว

ขยันจริงๆเลยค่ะ

พักผ่อนเยอะๆนะคะ


โดย: Shallow Grave วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:48:12 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะค๊ะ วิสกี้เองก็เป็นๆ หายๆ อยู่เหมือนกันแหละค่ะ


โดย: วิสกี้โซดา วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:11:02:50 น.  

 


โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:19:28 น.  

 
ขอบคุณค่ะ
เพิ่งรู้จักโรคนี้เหมือนกันค่ะ


โดย: สาวพิษณุโลก** วันที่: 20 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:53:01 น.  

 
โรคนี้เป็นกันเยอะเนอะ


โดย: supergaye วันที่: 21 กรกฎาคม 2551 เวลา:10:30:29 น.  

 
เราเป็นบ่อยค่ะ บางทีแน่นท้องจนปวดถึงหลังเลย


โดย: Chulapinan วันที่: 24 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:53:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space