space
space
space
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
27 เมษายน 2552
space
space
space

ผึ้ง(ตอนที่ 2)



อาหารสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการหรือโรคที่นำมาเสนอนี้ เป็นการศึกษาของประเทศจีน ซึ่งทางจีนได้มีการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ หากท่านผู้อ่านท่าใดได้เคยใช้ในการรักษาอาการ หรือโรคใดและได้ผล กรุณาแจ้งมายัง “หมอชาวบ้าน” เพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลศึกษา และเผยแพร่เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนรวมต่อไป








มีผู้กล่าวว่า ผึ้งเป็นสถาปนิกชั้นเลิศนั้น เป็นคำพูดที่เท็จจริงแค่ไหน?รวงรังของผึ้งทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล์ที่เป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าจำนวนมากเรียงกันเป็นรวงรัง เซลล์จะมีขนาดที่ต่าง ๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของผึ้ง เช่น ผึ้งหลวง เซลล์จะใหญ่ ผึ้งมิ้มจะมีขนาดเล็กที่สุด ส่วนจำนวนของเซลล์นั้น อาจมีจำนวนมากเป็นหมื่น ๆ เซลล์เดียวกับผึ้งเลี้ยงได้ รวงผึ้งนั้นเปรียบเสมือนบ้าน เซลล์ก็คือห้องที่อยู่ในบ้านนั่นเอง เซลล์เป็นที่อยู่อาศัยของผึ้งอ่อน ผึ้งนางพญาจะวางไข่ลงที่ฐานเซลล์ หลังจากนั้นตัวอ่อนจะค่อย ๆ เจริญเติบโต กลายเป็นดักแด้ เมื่อลอกคราบแล้วก็จะกลายเป็นผึ้ง

เซลล์จะมีขนาดกว้าง 0.20 นิ้ว (สำหรับผึ้งงาน) 0.25 นิ้ว (สำหรับผึ้งตัวผู้) ส่วนเซลล์ของผึ้งนางพญานั้น มีลักษณะพิเศษคือ เป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุด เป็นหลอดยาวอยู่ทางด้านล่างของรวงรังในลักษณะที่ห้อยหัวลง ผึ้ง (ยกเว้นนางพญา) เมื่อโตเต็มที่และจะไม่เข้าไปอยู่ในเซลล์อีก แต่จะอาศัยโดยเกาะห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ รวงรัง ในฤดูดอกไม้บาน เซลล์สำหรับวางไข่อาจเป็นที่เก็บน้ำผึ้งและเกสรได้อีกด้วย โดยปกติผึ้งจะเก็บน้ำผึ้งไว้ส่วนบนสุดของรวงรัง (ที่เราเรียกว่า หัวรวง) เซลล์ที่อยู่ต่ำลงมา จะเป็นที่เก็บเกสรและตัวผึ้งอ่อนเมื่อรวงรังชำรุดหรือเสียหาย ก็เป็นหน้าที่ของผึ้งงายที่จะต้องเป็นผู้ฝ่ายซ่อมแซม โดยใช่ไขผึ้งซึ่งได้จากต่อมไขผึ้ง 4 คู่ ทางด้านล่างส่วนท้องของผึ้งงาน (อายุ 12-18 วัน) ไขผึ้งที่ได้จะเป็นแผ่น ๆ ผสมกับน้ำลายให้อ่อนตัวลง แล้วจึงนำไปเชื่อมต่อ ๆ กัน เป็นเซลล์จนกลายเป็นรวงรัง


การแยกรังของผึ้ง
การแยกรังเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ผึ้งต้องการจะสร้างรังใหม่ ผึ้งนางพญาที่แก่แล้วมีโอกาสในการที่จะแยกรังมากกว่าผึ้งนางพญาที่มีอายุน้อยก่อนการแยกรัง 7-10 วัน ผึ้งงานจะสร้างหลอดนางพญาขึ้นตรงบริเวณด้านล่างของรวงรัง ขณะเดียวกันผึ้งนางพญาก็จะเพิ่มอัตราการวางไข่ เพื่อเพิ่มประชากรผึ้งให้มากข้นในเวลาสั้น ๆ มีการหาอาหารมากขึ้น เกือบทุกเซลล์ในรวงผึ้งจะเต็มไปด้วยน้ำผึ้ง เกสร นมผึ้ง หรือตัวอ่อน เมื่อประชากรผึ้งหนาแน่นขึ้น จนถึงจุดที่ไม่มีเซลล์ว่างให้ผึ้งนางพญาวางไข่ ผึ้งงานก็จะลดอาหารที่ให้กับนางพญา ทำให้ผึ้งนางพญาน้ำหนักลดลง

สัญญาที่แสดงถึงการแยกรัง จะเกิดขึ้นหลังจากผึ้งงานได้ปิดเซลล์ของนางพญาผึ้งตัวใหม่ วันหนึ่งในวันที่อากาศดีมีแสงแดด ขณะที่ผึ้งนางพญาตัวใหม่กำลังจะเกิดขึ้น ผึ้งจำนวนมากก็จะออกจากรวงรัง บ้างก็เกาะอยู่บนรวงรัง บ้างก็บินอยู่รอบ ๆ ผึ้งนางพญาตัวเดิมซึ่งมีน้ำหนักลดลงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ก็จะบินตามผึ้งงานไป มันไปหาแหล่งใหม่ที่จะสร้างรวงรังใหม่ สำหรับรวงรังเดิมนั้นผึ้งนางพญาตัวใหม่ก็จะปกครองต่อไป


นมผึ้ง (รอยัลเยลลี่)
นมผึ้งเป็นอาหารของผึ้งนางพญาและตัวอ่อน นมผึ้งจะถูกผลิตโดยผึ้งงานที่มีอายุประมาณ 5-15 วัน จามต่อมผลิตอาหาร ซึ่งเป็นต่อมที่อยู่ติดกับต่อมน้ำลายในบริเวณส่วนหัวของผึ้งงาน ต่อมนี้จะทำหน้าที่ผลิตนมผึ้ง ซึ่งมีสีขาวเหมือนนมหรือขาวครีม มีกลิ่นหอม รสหวานอมเปรี้ยว เผ็ด และฝาดเล็กน้อย

ในเมื่อนมผึ้งเป็นอาหาร สำหรับผึ้งนางพญา และผึ้งตัวอ่อนแล้ว เราจะเอามาได้อย่างไร?
โดยธรรมชาติ ผึ้งงานเมื่อเห็นว่าในเซลล์แต่ละเซลล์มีผึ้งตัวอ่อน มันก็จะหลั่งนมผึ้งออกมา มนุษย์จึงได้ศึกษาเลียนแบบและสร้างเซลล์หกเหลี่ยมขึ้น เมื่อมีเซลล์เกิดขึ้นก็เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทำให้ผึ้งงานเริ่มหลั่งนมผึ้งเพื่อไปเลี้ยงผึ้งอ่อน
ในระยะนี้มนุษย์จะนำเอาตัวอ่อนที่มีอายุ 18-24 ชั่วโมงใส่ลงไปในเซลล์หลังจากใส่ตัวอ่อนลงไปในเซลล์ประมาณ 3 วัน(70 ชั่วโมง) ก็จะได้นมผึ้งที่มีคุณภาพดีและปริมาณมากที่สุด แต่หลังจาก 72 ชั่วโมง ตัวอ่อนก็จะกินอาหารมากขึ้นและเลือกกินเฉพาะส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารดี คงเหลือไว้เฉพาะส่วนที่มีคุณภาพด้อยไว้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายไอศกรีม แต่เราจะเก็บนมผึ้งก่อนก็ไม่ดี เพราะมีปริมาณน้อย


เคยมีผู้ศึกษาพบว่า หลังจากใส่ตัวอ่อนลงไปในเซลล์ จะมีนมผึ้งในเซลล์ ประมาณ 79 มิลลิกรัม 48 ชั่วโมง มี 244 มิลลิกรัม 72 ชั่วโมง มี 400 มิลลิกรัม สรุปแล้วระยะที่เก็บนมผึ้งควรอยู่ในระยะ 60-70 ชั่วโมงเซลล์แต่ละเซลล์เฉลี่ยแล้วให้นมผึ้ง 200-250 มิลลิกรัม เพราะฉะนั้นนมผึ้ง 1 กิโลกรัม จะต้องใช้เซลล์ 4,000-5,000 เซลล์ โดยปกติแล้วผึ้ง รังหนึ่ง ๆ สามารถใส่เซลล์ตัวอ่อนได้ 200-300 เซลล์และเก็บนมผึ้งได้ 40-50 กรัม นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นมผึ้งหายากและมีราคาแพง

แทบไม่ต้องกล่าวถึงการทำเซลล์แล้วจับตัวอ่อนใส่ลงไปในเซลล์นั้นมีความยากลำบากเพียงไร สำหรับผึ้งงานตัวน้อย ๆ ค่อย ๆ หยดนมผึ้งทีละหยดลงในเซลล์นั้น มีความยากลำบากที่น่าทึ่งทีเดียว แม้แต่การจับตัวอ่อนออกจากเซลล์นั้นก็ยิ่งลำบาก จะต้องค่อย ๆ บรรจงคีบออกมา มิฉะนั้นผึ้งน้อยอาจจะท้องแตกและทำให้นมผึ้งสกปรก หลังจากนั้นก็ใช้พู่กันหรือหลอดแก้วเขี่ยนมผึ้งใส่ลงในขวด แล้วต้องรีบเก็บใส่ลงในตู้เย็นอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนี้คือกระบวนการอันลำบาก และยุ่งยากในการเก็บนมผึ้ง
สำหรับผึ้งนั้นมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก ในตัวอ่อนมีไขมัน 3.71% โปรตีน 15.4% นอกจกนี้ ยังมีวิตามิน เอ และดี วิตามินดี 6130-7430 หน่วยสากล น้ำมันตับปลา 100-600 หน่วยสากล เป็นต้น


ขอบคุณ หมอชาวบ้าน


Create Date : 27 เมษายน 2552
Last Update : 27 เมษายน 2552 7:16:42 น. 0 comments
Counter : 1203 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space