space
space
space
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
18 พฤศจิกายน 2551
space
space
space

เก็บยาให้ถูกต้อง ไม่เสื่อมอายุก่อนเวลา



3 สถานที่ที่สำคัญที่ไม่ควรนำยาไปเก็บไว้ ได้แก่ ตู้เย็น ตู้ใส่ของในห้องน้ำ และลิ้นชักเก็บของในรถ









การเก็บรักษายาอย่างเหมาะสม มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของการรักษาโรคไม่น้อยเลย เพราะการเก็บรักษายาในสภาวะที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพก่อนวันหมดอายุที่กำหนดไว้
ในบ้านส่วนใหญ่จะมีตู้ยา ซึ่งมักเป็นยาสามัญประจำบ้านทั่วๆ ไป ส่วนยาที่ได้จากโรงพยาบาลหรือซื้อจากร้านยานั้น จะเก็บไว้ที่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ยาที่ต้องใช้ประจำทุกวันถ้าเก็บไว้ในตู้ยาคงไม่สะดวกในการใช้ เผลอๆ เก็บไปเก็บมาลืมใช้ก็เลยกลายเป็นไม่หายจากโรค

อย่างไรก็ตามมีอยู่ 3 สถานที่ที่สำคัญที่ ไม่ควรนำยาไปเก็บไว้ ได้แก่ ตู้เย็น ตู้ใส่ของในห้องน้ำ และลิ้นชักเก็บของในรถ

ตามปกติแล้วยาส่วนใหญ่ควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ซึ่งหมายถึงอุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส บริเวณที่เก็บยาไม่ควรมีแสงแดดส่องถึงและต้องปลอดภัยจากการหยิบจับของเด็กๆ ด้วย แต่ที่ไม่ควรเก็บยาใน 3 สถานที่ข้างต้นก็เพราะว่า

ตู้เย็น อุณหภูมิในตู้เย็นอยู่ที่ประมาณ 2-8 องศาเซลเซียส (ถ้าในช่องฟรีซก็ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส) ซึ่งยาหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งยาน้ำเชื่อม ยาแขวนตะกอน ทั้งหลาย ถูกตั้งตำรับมาให้คงตัวในอุณหภูมิห้องเท่านั้น เมื่อถูกเก็บในตู้เย็นจะไปมีผลกับการละลายของตัวยา ยาบางอย่างอาจตกตะกอน ทำให้ไม่สามารถนำมาใช้อีกได้

ตู้เก็บของในห้องน้ำ ปัญหาของห้องน้ำคือความชื้น การเก็บยาไว้ในตู้เก็บของในห้องน้ำอาจทำให้ยาชื้น และมีเชื้อรา (ที่ชื่นชอบความชื้นมาก) ขึ้นในผลิตภัณฑ์ยาอีกด้วย

ลิ้นชักใส่ของในรถ คนมีรถคงรู้อยู่แก่ใจว่ากว่าจะหาที่จอดได้แต่ละทียากเย็นเข็ญใจขนาดไหน ดังนั้นไม่ว่าคุณจะจอดรถไว้กลางแดดหรือที่อาคารจอดรถ ไม่มีทางเลยที่อุณหภูมิจะต่ำเท่าอุณหภูมิห้อง (ไม่อย่างนั้นคงไม่ต้องติดแอร์ในรถหรอก จริงมั้ย?) ยาที่อยู่ในเจ้าเก๊ะที่ว่าก็จะต้องผจญภัยกับอุณหภูมิสูง ซึ่งเป็นตัวเร่งการเสื่อมสลายของยาอย่างดี

ยาบางอย่างจำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น และถ้าจำเป็น เภสัชกรจะเน้นย้ำกับผู้รับยาตอนจ่ายยาอย่างแน่นอน ตัวอย่างของยาที่ต้องเก็บในตู้เย็น เช่น ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งและเติมน้ำเมื่อจะให้เด็กรับประทาน ยาหยอดตาที่เปิดแล้ว ยาขี้ผึ้งสำหรับเหน็บทางทวารหนัก เป็นต้น เหตุผลที่ต้องเก็บยาเหล่านี้ไว้ในตู้เย็นก็ไม่เหมือนกัน ยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งและเติมน้ำเมื่อจะรับประทานนั้น ส่วนใหญ่มีความคงตัวต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อุณหภูมิสูง จึงจำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรักษาความคงตัวของยาเอาไว้ ส่วนยาหยอดตา ที่จริงก่อนเปิดไม่ต้องเก็บในตู้เย็น แต่เมื่อเปิดใช้แล้ว ก็มีโอกาสที่เชื้อจุลินทรีย์ไม่พึงประสงค์จะปนเปื้อนเข้าไปในขวดยา การเก็บยาไว้ในตู้เย็นจะช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ แต่ถึงจะเก็บไว้ในตู้เย็นก็ตาม เมื่อครบ 1 เดือนแล้วก็ควรทิ้งไป ไม่ควรใช้ต่อแล้ว ส่วนยาขี้ผึ้งสำหรับเหน็บทางทวารหนักที่ต้องเก็บในตู้เย็นก็เพราะถ้าเอาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ขี้ผึ้งอาจจะเหลว เมื่อจะใช้ยาก็อาจจะอ่อนตัวและเหน็บไม่ได้

การเก็บยาอย่างถูกต้องมีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของยาอย่างมาก และมีผลต่อเนื่องไปถึงประสิทธิภาพของการรักษาโรคด้วย จึงควรเก็บยาในที่ที่เหมาะสม หากไม่ทราบหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเก็บรักษายา ติดต่อสอบถามข้อมูลที่ถูกต้องจากเภสัชกรเพื่อให้ยาที่ใช้อยู่มีคุณภาพสูงสุด

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today




Create Date : 18 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2551 6:07:31 น. 1 comments
Counter : 2394 Pageviews.

 
แล้วอย่างยาพ่นจมูก ยาพ่นคออ่ะ


โดย: p_tham วันที่: 18 พฤศจิกายน 2551 เวลา:8:50:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space