space
space
space
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
6 กรกฏาคม 2551
space
space
space

พยาธิตัวจี๊ด
พยาธิตัวจี๊ด (Gnathostoma spinigerum)เป็นพยาธิตัวกลมที่ก่อให้เกิดโรคที่เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต หรือเกิดความพิการได้ แม้จะพบได้ไม่บ่อยเท่าพยาธิชนิดอื่นๆ แต่มีความรุนแรงได้มาก พยาธิตัวจี๊ดชนิดนี้เป็นตัวก่อโรคที่สำคัญในคนบริเวณแถบเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะประเทศไทย พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2379 ได้จากก้อนเนื้องอกในกะเพาะอาหารของเสือที่ตายในสวนสัตว์กรุงลอนดอน ต่อมาปี



พ.ศ. 2432 มีรายงานการตรวจพบในไทยโดยพบพยาธิตัวจี๊ดจากเต้านมหญิงไทย
เป็นครั้งแรก ในระหว่างปี พ.ศ. 2476 ถึง พ.ศ. 2480 ศ.นพ.เฉลิม พรหมมาศ และ
ศ.นพ.สวัสดิ์ แดงสว่าง ได้ทำการศึกษาและรายงานวงจรชีวิตพร้อมกับแสดงให้เห็นว่า กุ้งไรและปลาน้ำจืด เป็นโฮสต์กลางที่สำคัญของตัวอ่อนระยะที่ 1 และ 2 ตามลำดับ

จากนั้นมีรายงานการเกิดโรคในอวัยวะต่างๆ เรื่อยมา โดยมีรายงานการตรวจพบจากประเทศไทยมากที่สุดเนื่องจากคนไทยชอบกินอาหารดิบๆ เช่น ปลาน้ำจืดอย่างสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะส้มฟัก มักถูกกล่าวถึงบ่อยในรายงานการติดเชื้อพยาธิตัวจี๊ด นอกจากนี้ยังมี ปลาร้า ลาบดิบ แหนมสด และปลาเผาที่ปรุงไม่สุก เป็นต้น พบว่า
คนไทยป่วยเป็นโรคนี้ถึงปีละ 1,200-15,00 คน ประเทศไทยมีรายงานการระบาดของพยาธิชนิดนี้ในหมู่ประชากรเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีรายงานการตรวจพบที่ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซึย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า
มาเลเชีย โรคพยาธิตัวจี๊ด บางครั้งเรียกว่า Yangtze edema หรือ choko-fushu ในภาษาญี่ปุ่น

สาเหตุ



ตัวแก่ของพยาธิตัวจี๊ดทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 1.5-3.0 ซม. มีลักษณะลำตัวกลมยาว หัวคล้ายลูกฟักทอง ทั้งหัว และตัวจะมีหนาม อาศัยอยู่ที่ผนังกระเพาะอาหารของแมวและสุนัข หลังจากผสมพันธุ์ ตัวเมียจะปล่อยไข่ลงไปในกระเพาะอาหาร ถูกขับถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ ต่อมาเกิดการฟักตัว และเจริญเติบโตเป็น
ตัวอ่อนหลายระยะ ตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ดในระยะติดต่อมีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัย แต่มีหนามน้อยกว่าและมีขนาดเล็กกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้ม ซึ่งฝังตัวอยู่ในเนื้อของสัตว์พาหะ ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ จากนั้นจะไปเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะที่สามในปลา ไก่ กบ งู และหนู เป็นต้น

ส่วนพยาธิที่พบในคนจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ และมีขนาดยาวประมาณ 0.4-0.9 ซม. ในประเทศไทยมีสัตว์ประมาณ 44 ชนิดที่ตรวจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ ได้แก่ ปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด สัตว์จำพวกนก รวมทั้งเป็ดและไก่ สัตว์จำพวกหนู กระแต ส่วนสัตว์ที่เป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดมีหลายชนิด รวมทั้งสุนัข และแมว

การสำรวจปลาไหลในเขตจังหวัดภาคกลาง พบว่ามีการกระจายของพยาธิตัวจี๊ดอยู่หลายจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี สระบุรี เป็นต้น อาหารที่ปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารหมักที่ทำจากปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก ปลาร้า ปลาเจ่า หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ พบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่เช่นกัน

วงจรชีวิตของพยาธิตัวจี๊ด

ตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้ และตัวเมียจะอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของสุนัข และแมว หลังจากพยาธิผสมพันธุ์แล้ว พยาธิตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมากับอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ เมื่อไข่ลงน้ำจะฟักตัวออกมาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวกุ้งไรจะกินตัวอ่อนระยะนี้และไปเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 เมื่อปลากินกุ้งไรที่มีพยาธิ พยาธิจะเจริญในปลาเป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ เข้าไปฝังอยู่ตามกล้ามเนื้อของสัตว์เหล่านี้

ถ้าสุนัข หรือแมวกินปลานี้เข้าไป พยาธิก็จะไปเจริญเป็นตัวแก่ในกระเพาะอาหาร แต่ถ้าคนกินปลาซึ่งมีพยาธิระยะติดต่อเข้าไป พยาธิก็จะคืบคลานหรือไชไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ยังไม่มีรายงานว่าพยาธินี้เจริญเป็นตัวแก่จนสามารถออกไข่ได้ในคน แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานพบตัวแก่ในอวัยวะของคนได้ แต่ไม่บ่อยนัก

การติดต่อ

พยาธิตัวจี๊ดสามารถติดต่อไปในคนทุกเพศทุกวัย โดยการกินตัวอ่อนระยะติดต่อที่ปะปนอยู่ในเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาน้ำจืด หรืออาจติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์โดยไชผ่านทางรก นอกจากนี้พยาธิยังสามารถไชเข้าทางผิวหนังบริเวณที่เป็นแผล โดยเฉพาะในคนบางกลุ่มที่ใช้เนื้อสัตว์สดๆ เช่น กบ ปลา พอกแผล เพื่อทำให้หายเร็วขึ้น
การติดต่อของพยาธิชนิดนี้ในคน เกิดได้โดยคนรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ประเภท ปลา, กบ, ไก่ เป็นต้น เมื่ออาหารที่มีพยาธิปะปนอยู่ ถูกย่อย ในกระเพาะอาหาร พยาธิตัวแก่จะหลุดออกมา และเริ่มชอนไชเข้าไปใน อวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ตา ปอด ช่องท้อง ทางเดินปัสสาวะ สมองไขสันหลัง เป็นต้น ก่อให้เกิดความผิดปกติในระบบต่างๆ
โรคพยาธิตัวจี๊ดติดต่อโดยการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก เช่น ปลา ไก่ กบ เป็นต้น ตัวอ่อนของพยาธิที่อยู่ในเนื้อสัตว์เหล่านี้จะไชผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่กระแสเลือดไปยังตับและไปสู่อวัยวะหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ ผิวหนัง ปอด ตา สมอง เป็นต้น
คนติดโรคได้โดยทานปลาดิบที่มีตัวอ่อนระยะที่สามของพยาธิตัวจี๊ด สัตว์อื่นๆ ก็เช่นกันสามารถติดโรคนี้ได้ถ้าทานปลาที่มีตัวอ่อนชนิดนี้ เช่น ไก่ หมู หรือนก เป็นต้น เมื่อคนทานเนื้อของสัตว์ดังกล่าวแบบดิบๆ สุกๆ ก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากคนไม่ใช่ที่อยู่ตามธรรมชาติในวงจรชีวิตของพยาธิชนิดนี้ ตัวอ่อนไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ในร่างกายคนได้ จึงเดินเพ่นพล่านไปตามเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งเมื่อเดินไปตามชั้นผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังบวม เรียกว่าบวมเคลื่อนที่ ตัวอ่อนที่เคลื่อนนี้อาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 12 ปี
อาการ



อาการจะเกิดภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังจากรับประทานปลาดิบหรือเนื้อดิบของสัตว์ที่มีตัวอ่อนอยู่ โดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายไหล ใบหน้าร้อน คัน เป็นลมพิษ บางรายอาจมีอาการจุกเสียดแน่นหรือปวดท้อง

อาการที่เกิดจากพยาธิไชอยู่ใต้ผิวหนัง ตามลำตัว แขน ขา และบริเวณใบหน้า ทำให้บวมแดงบริเวณนั้นหรือเห็นเป็นรอยทางแดงๆ ตามแนวที่พยาธิไชผ่านไป อาการบวมแดงนี้ จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วจะหายไปเองแม้ไม่ได้รับการรักษา หลังจากนั้นอาจจะบวมขึ้นมาใหม่ในบริเวณอื่นใกล้ๆ กัน บางครั้งทำให้เกิดเป็นก้อนคล้ายเนื้องอกตามอวัยวะต่างๆ บางรายพบว่าพยาธิไชไปตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง พบเป็นก้อนนูนใต้ผิวหนัง ซึ่งเคลื่อนที่ได้

อาการของผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติตามแต่ตำแหน่งที่พยาธิไชเข้าไป พยาธิอาจไชไปอวัยวะที่สำคัญอื่นๆ เช่น ตา ปอด กระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะถ้าไปที่สมองจะทำให้อาเจียน คอแข็ง ปวดตามเส้นประสาทได้
สำหรับอาการทางระบบประสาท มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก บางรายมีอาการเป็นทันทีภายในเวลาไม่ถึงนาที เช่น มีอาการปวดที่แขน ขา ลำตัว หรือปวดศีรษะ มักจะเป็นลักษณะปวดร้าวรุนแรงวิ่งไปตามเส้นประสาท คล้ายไฟช็อต นอกจากนี้ยังพบอาการแขนขาชา หรืออ่อนแรง ปากเบี้ยว กรอกตาไม่ได้ ซึ่งมักเป็นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพยาธิไชเข้าไขสันหลังหรือสมอง ในบางกรณีทำให้เกิดภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง คนไข้จะซึมลงหมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ตัวพยาธิสามารถไชไปตามที่ต่างๆ ก่อให้เกิดการทำลาย เซลล์ประสาท มีเลือดออกในเนื้อสมอง และมีสมองบวม ทำให้ผู้ป่วย มีอาการเลวลงได้

ในกรณีที่พบในลำไส้ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง อาจพบก้อนโตในท้อง มีเลือดออกในทางเดินอาหารและลำไส้ หรือพบลำไส้อุดตัน ส่วนมากพบทำให้เกิดโรคที่ลำไส้ใหญ่ หรือพบที่ทวารหนัก มีรายงานทำให้เกิดไส้ติ่ง และ
ช่องท้องอักเสบ ถ้าไปที่ปอด จะทำให้ปอดและเยื่อหุ้มปอดเกิดการอักเสบ กรณีไปที่ลูกตา ทำให้ตาบวม และแดง มองภาพไม่ชัด โดยมากพบตัวแก่ระยะสามในช่องส่วนหน้าของลูกตา หรือพบพยาธิตัวแก่ทำให้เกิดแผลที่กระจกตาดำ

การวินิจฉัย

การจะบอกว่าเป็นโรคพยาธิตัวจี๊ดแน่นอน ต้องตรวจพบตัวพยาธิ ซึ่งอาจจะไชออกมาทางผิวหนังเอง แต่โดยทั่วไปมักไม่พบพยาธิแม้จะผ่าเข้าไปในบริเวณที่บวม
ดังนั้นการที่จะบอกว่าเป็นโรคนี้ จึงมักดูจากอาการของโรคว่ามีอาการเจ็บ ปวด บวมเคลื่อนที่ได้ และมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือไม่
เจาะเลือด หรือน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจด้วยวิธีทางอิมมูโนวินิจฉัย หรือตรวจโดยใช้เทคนิคพิเศษทางปฏิกิริยาอิมมูน หรือตรวจปฎิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อพยาธิ์ตัวจี๊ดที่ผิวหนัง
การตรวจน้ำไขสันหลัง ตรวจหาระดับโปรตีน น้ำตาล ตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดแดง หรือเห็นลักษณะของ
น้ำไขสันหลังเป็นสีแดงเรื่อ ตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดขาว 200-300 ตัว พบว่าเป้นชนิดอิโอซิโนฟิลร้อยละ
30-50
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง สามารถช่วยบ่งบอกถึงตำแหน่งที่เกิดพยาธิสภาพได้ โดยครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย อาจพบลักษณะเลือดออกในสมอง โพรงน้ำในสมองอุดกั้น หรือลักษณะของการระคายเยื่อหุ้มสมอง
การรักษา

โดยทั่วไปจะรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดบวม ยาแก้แพ้แก้คัน เป็นต้น
แพทย์อาจพิจารณาให้ยารักษาโรคพยาธิ เช่น อัลเบนดาโซน ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละครั้ง หรือวันละสองครั้ง เป็นเวลา 21 วันติดต่อกัน ตัวยาเป็นสารไนโตรอิมิดาโซลสังเคราะห์ ออกฤทธิ์โดยจับกับทูบูลิน ยับยั้งการสร้างไมโครทูบุล ลดการดูดซึมกลูโคส และยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์ฟูมาเรตรีดักเทสในตัวพยาธิ ระดับยาในน้ำไขสันหลังคิดเป็นร้อยละ 40 ของระดับยาในเลือด
หากพบว่าพยาธิตัวจี๊ดไช มาตามผิวหนัง หรือนัยน์ตาสามารถผ่าตัดออกได้ แต่มักมีปัญหาคือ พยาธิ จะไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ทำให้การผ่าตัดนำตัวพยาธิออกนั้น ทำได้ลำบาก
หากพยาธิไชเข้าสมอง หรือไขสันหลังแล้ว จะไม่สามารถผ่าตัดได้
การป้องกัน

ไม่รับประทานเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ เช่น อาหารประเภท ยำ ลาบ หมก พล่า รวมทั้งปลาร้า ปลาเจ่า ส้มฟัก ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกแล้ว
ไม่ใช้เนื้อสด โดยเฉพาะเนื้อกบ เนื้อปลา พอกบริเวณบาดแผล
ให้ความรู้เรื่องสาเหตุและการป้องกันโรคพยาธิแก่ประชาชน การป้องกันถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับโรคพยาธิตัวจี๊ด

ข้อมูลจาก //www.bangkokhealth.com/


Create Date : 06 กรกฎาคม 2551
Last Update : 8 ตุลาคม 2551 4:28:51 น. 2 comments
Counter : 1832 Pageviews.

 
อยากรู้ว่าพยาธิกินอะไรเป็นอาหาร


โดย: Shinee IP: 117.47.220.173 วันที่: 26 มิถุนายน 2552 เวลา:16:58:00 น.  

 
สวยจังค่ะ เนื้อหาดีและมีเพลงฟังด้วย ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ


โดย: pumka IP: 61.90.67.37 วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:23:05:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space