space
space
space
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
29 เมษายน 2551
space
space
space

น้ำแร่ เพื่อบริโภค

น้ำแร่ เพื่อบริโภค



น้ำแร่เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว สำหรับคนไทยในแง่ของน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในพิธีกรรมตลอดจนการนำมาอาบแช่รักษาโรคต่างๆ

กระแสของการนำน้ำแร่มาบริโภคเพิ่ฝเป็นที่นิยมในช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีนี้เอง โดยการนำเข้าน้ำแร่จากต่างประเทศซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ต่อมามีการผลิตได้ภายในประเทศ ทำให้น้ำแร่เพื่อบริโภคมีราคาที่ถูกลงใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวดทั่วไป

น้ำแร่ธรรมชาติ (Natural mineral water) หมายถึง น้ำที่ได้จากแหล่งน้ำใต้ดินในธรรมชาติซึ่งมีแร่ธาตุละลายอยู่โดยมีต้นกำเนิดจากน้ำบนพื้นดินไหลซึมผ่านชั้นดินและชั้นหินพร้อมทั้งดูดซับแร่ธาตุต่างๆ ลงไปขังในแอ่งน้ำใต้ดินและถูกแรงกดดันภายในโลกทำให้ผุดหรือพ่นขึ้นมาเป็นแหล่งน้ำบนผิวดินในรูปขแงน้ำพุร้อน บ่อน้ำร้อน และไอน้ำร้อน

ในประเทศไทยพบแหล่งน้ำพุร้อน 112 แหล่ง กระจายอยู่มากที่สุดในภาคเหนือ รองลงมาคือภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคกลาง มีช่วงอุณหภูมิ 40-100 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 6.4-9.5

แหล่งน้ำพุร้อนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกส่วนใหญ่มีค่าฟลูออไรด์สูงมากกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตรและมีกลิ่นกำมะถันค่อนข้างแรง

ส่วนแหล่งนำพุในภาคใต้บางแห่งมีลักษณะเป็นน้ำเค็ม ส่วนในต่างประเทศแหล่งน้ำแร่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรีย ตุรกี ญี่ปุ่น และจีน


องค์ประกอบที่สำคัญของน้ำแร่

น้ำแร่จะมีแร่ธาตุต่างๆ เป็นองค์ประกอบมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชั้นหินที่น้ำไหลผ่าน ดังนั้น น้ำแร่ธรรมชาติแต่ละแหล่งจะมีแร่ธาตุทีแตกต่างกัน ซึ่งแร่ธาตุที่พบเป็นส่วนใหญ่ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ และซัลเฟต ส่วนแร่ธาตุอื่นๆ ที่พบในปริมาณน้อยได้แก่ ฟลูออไรด์ ซีลีเนียม แมงกานีส เป็นต้น


มาตราฐานน้ำแร่เพื่อบริโภค

น้ำแร่ธรรมชาติเป็นเครื่องดื่มเพื่อบริโภคนั้นต้องมีคุณภาพเหมาะสมที่จะบริโภคได้อย่างปลอดภัยตามมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำแร่ธรรมชาติ มาตราฐานเลขที่ มอก.2208-2547 โดยนำแร่ที่ดีต้องมีคุณลักษณะใส ไม่มีตะกอน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีแร่ธาตุในปริมาณที่ไม่เกินเกณฑ์มาตราฐาน ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและมีปริมาณสารปนเปื้อนอันได้แก่ กัมมันตภาพรังสี รวม แอลฟา-บีตา และไซยาไนด์ ไม่เกินเกณฑ์มาตราฐาน โดยน้ำแร่ธรรมชาติที่นำมาบริโภคมีอยู่ 5 ประเภท ดังนี้

1. น้ำแร่ประเภทไม่มีคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับหรือใกล้เคียงกับปริมาณที่มีอยู่ในแหล่งธรรมชาตินั้น

2. น้ำแร่ประเภทไม่มีคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่จะทำให้เกิดการละลายของเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่มีอยู่ในน้ำ

3. น้ำแร่ประเภทขจัดคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าปริมาณที่มีอยู่ในแหล่งธรรมชาติ

4. น้ำแร่ประเภทเติมคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิด หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าปริมาณที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ

5. น้ำแร่ประเภทเติมคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่มีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการบรรจุ

สำหรับผู้ที่สนใจบริโภคน้ำแร่ธรรมชาติเพื่อสุขภาพนั้น นอกจากจะต้องพิจารณาถึงคุณภาพของนำแร่ตามมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำแร่ธรรมชาติ มาตรฐาน เลขที่ มอก. 2208-2547 แล้ว ยังควรคำนึงถึงด้วยว่าน้ำแร่นั้นมีคุณสมบัติใดเป็นพิเศษ อย่างเช่น มีแร่ธาตุใดเพิ่มขึ้นที่ทำให้สภาพแตกต่างจากน้ำแร่ชนิดอื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษเหล่านั้นอาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคบางราย เช่น

* สภาพเป็นกรดหรือด่างสูง การดื่มน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างบ่อยครั้งจะทำให้เสียสมดุลความเป็นกรดเป็นด่างของร่างกาย

* รสกร่อย เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมคลอไรด์สูงมากกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร จะไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต และความดันเลือดสูง

* มีธาตุเหล็กสูงมากกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร อาจเป็นอันตรายในเด็กเล็ก

* มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้สูงมากกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร อาจทำให้ปัสสาวะมากกว่าปกติ

* มีซัลเฟตมากกว่า 600 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร อาจมีฤทธิ์ถ่ายท้อง

* สำหรับเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคเนื่องจากสภาพร่างกายที่ยังไม่สมบูรณ์พร้อมเหมือนผู้ใหญ่ปกติ


ในส่วนของผู้บริโภคที่ทำงานหนักหรือเป็นนักกีฬาที่สูญเสียเกลือแร่ต่อวันในปริมาณที่สูง การดื่มน้ำแร่ธรรมชาติที่มีปริมาณแร่ธาตุที่สมดุลและมีสภาพเป็นกลางในบางครั้งคราว จะช่วยชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปได้

นอกจากนี้ การพิจารณาเครื่องหมายรับรองคุณภาพและฉลากที่ระบุรายละเอียดอันได้แก่ สถานที่แหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ ส่วนประกอบของแร่ธาตุที่สำคัญ วันหมดอายุโดยเฉพาะประเภทน้ำแร่เติมคาร์บอเนต จะทำให้ผู้บริโภคไดดื่มน้ำแร่ธรรมชาติแท้ๆ อย่างปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี



ข้อมูลจาก (update 7 กรกฎาคม 2006)
[ ที่มา.. นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 27 ฉบับที่ 320 ธันวาคม 2548]




 

Create Date : 29 เมษายน 2551
0 comments
Last Update : 7 ตุลาคม 2551 18:12:25 น.
Counter : 1164 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space