Group Blog
All Blog
### ปฏิทินแห่งแรกของโลก ###













ปฏิทินแห่งแรกของโลก .......

แต่ก่อนนี้เข้าใจกันว่ากรีซเป็นชาติแรกที่คิดค้นเรื่องของ “ปฏิทิน” ได้

 ต่อเมื่อได้พบ ภาพแกะปฏิทินสลักบนผนัง แห่งวิหารแห่งเมืองคาร์นัค

จึงได้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วผู้ที่คิดค้น ได้คนแรกคือ

 บรรพชนชาวอียิปต์แต่โบราณกาลนั่นเอง 

เมื่อประดิษฐ์ตัวอักษร ประดิษฐ์แผ่นกระดาษ สำหรับเขียน

 มีสีหมึก และมีปากกาแล้ว

การบันทึกความจำได้บนแผ่นกระดาษ จึงเกิดขึ้นในเวลาต่อมา

และแพร่หลาย ไปทั่วทุกทวีป

แรกเริ่มเดิมทีนั้น ชาวอียิปต์โบราณนับ วัน เดือน ปี

เช่นเดียวกับ ชาติโบราณอื่นๆ คือ นับทาง “จันทรคติ”

โดยกำหนดเอา ข้างขึ้นคือ คืนที่พระจันทร์ส่งแสง เต็มดวงคืนแรก

 ไปบรรจบ กับคืนที่พระจันทร์ส่องแสงเต็มดวง ในคราวต่อไป

ซึ่งก็ถือว่าเป็น “หนึ่งเดือน” หรือ “หนึ่งรอบ”

เพื่อใช้ในสัญญา ที่ชาวนายืมข้าวมากิน

เช่น ขอยืมข้าวมาเป็นเวลา 9 เดือน

เมื่อพระจันทร์ส่งแสงเต็มดวง แล้ว 8 ครั้ง ก็หมายความว่า

มีเวลาเพียงพระจันทร์เต็มดวง อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือ 1 เดือน

 ก็จะต้องนำข้าวที่ยืมมานั้น ไปคืนเจ้าของ

แต่จากการที่นับเดือน ทางจันทรคตินี้ ในเดือนหนึ่งๆ

 ที่จะถึงพระจันทร์เต็มดวงนี้ มีไม่เท่ากัน

บางเดือนก็มี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง ไม่แน่นอน

ทำให้จำนวนวัน ในปีหนึ่งๆ ไม่เท่าเทียมกันชาวอียิปต์โบราณ

 คงปวดหัวและงง ๆ อยู่กับปรากฏการณ์ ธรรมชาติเช่นนี้

แต่ความช่างคิดช่างค้น อย่างชาวอียิปต์โบราณ

จึงได้จัดทำปฏิทินขึ้น มาใหม่เสีย โดยเริ่มจากหลักการที่ว่า

ให้ 1 ปีมี 12 เดือน 

ให้ 1 เดือนมี 30 วันเท่ากันหมด

ให้ 1 ปีมี 360 วัน 

ครบ 1 ปีแล้วก็ให้เพิ่มอีก 5 วัน รวมเป็น 365 วัน

ชาวมนุษย์โบราณ เพิ่ม 5 วัน ได้อย่างไรนั้น มีที่มา เจ้าค่ะ

 ....สภาพชีวิตของคนโบราณต้อง ทำมาหาเลี้ยงชีพ

เพื่อเลี้ยงปากท้องของตัวเอง แบบไม่ได้หยุดได้หย่อนเอาเสียเลย

กษัตริย์อียิปต์โบราณ กษัตริย์อียิปต์ จึงกำหนดให้

5 วันสุดท้ายของปีนั้น เป็นวันหยุดพักผ่อน ประจำปีของประชาชน

ให้ทุกคนได้เฉลิมฉลอง และสนุกสนาน

หลังจากที่ทำงานมาเหนื่อยทั้งปี

แล้วจะได้เริ่มต้นปีใหม่ ทำงานตัวเป็นเกลียว

เพื่อองค์กษัตริย์อีกต่อไป

นักโบราณศึกษา จึงยกย่องให้ชาวอียิปต์โบราณ

 คือผู้ที่คิดค้น “ปฏิทินของโลก” นับถึง พ.ศ. 2547

ก็ตก 6,255 ปี ที่โลกได้นำเอาปฏิทิน ของชาวอียิปต์มาใช้

เป็นของชาวโลก

และในกาลต่อมา เมื่อชาวยุโรปรุ่นหลัง ๆ

ได้รู้จักวิชาดาราศาสตร์มากขึ้น

จึงได้พัฒนา และดัดแปลงจำนวนวัน

ในแต่ละเดือนให้มี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง

และเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันบ้าง 29 วันบ้างตามเหตุผล

ทางอธิกมาส เช่นที่พวกเราคุ้นเคยในทุกวันนี้

ปฏิทินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีที่มาจากปฏิทิน ของชาวโรมัน

 เมื่อประมาณ 800 ปี

ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นปฏิทิน แบบสุริยคติ

โดยชาวโรมัน ประยุกต์มาจากปฏิทินของอารยธรรมอื่น อีกทีหนึ่ง

กษัตริย์โรมันในยุคแรก กำหนดให้ปฏิทินมี 10 เดือน

สันนิษฐานว่าอิง ตามเลขฐาน 10

โดยให้เดือน March เป็น เดือน 1

ทั้งนี้ เพราะชาวโรมัน ให้ความเคารพ Mars

เทพเจ้าแห่งสงคราม มากเป็นพิเศษ 

และในแต่ละเดือน จะมี 30 หรือ 31 วัน สลับกันไป

อาจเกี่ยวข้องกับ ปฏิทินจันทรคติ

เรื่อยไปจนถึงเดือนสุดท้าย คือเดือน December

รวมแล้วมีทั้งหมด 304 วัน

ทว่าเมื่อชาวโรมันใช้ปฏิทิน ไปเรื่อยๆ ปรากฏว่า

ฤดูกาลเริ่มไม่ตรง ตามปฏิทิน

จนในสมัยกษัตริย์ Numa Pompilius

เมื่อ 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

กำหนดให้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน

คือเดือน January และ February รวมแล้วมีทั้งสิ้น 355 วัน

กระทั่งในสมัยกษัตริย์ Julius Caesar

 ปรับเปลี่ยนวัน ในแต่ละเดือนเสียใหม่

ให้เดือน มี.ค. มี 31 วัน เดือนต่อๆ ไปมี 30 และ 31 วัน

สลับกันเรื่อยๆ จนถึงเดือนสุดท้ายคือ ก.พ. ให้มี 29 วัน รวมเป็น 365 วัน

แต่ถ้าปีไหน เป็นปีอธิกสุรทิน ซึ่งมี 366 วัน ให้เดือน ก.พ. มี 30 วัน

 พร้อมทั้งเปลี่ยน ให้เดือน ม.ค.

ซึ่งตั้งชื่อเดือนตามเทพเจ้า Janus ผู้มีสองพักตร์

และมีหน้าที่ เฝ้าประตูสวรรค์ ให้เป็นเดือนแรก ของปี

และเรียกปฏิทินนี้ว่า "ปฏิทินจูเลียน" หรือ Julian calendar

รวมถึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 5 เดือน ก.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1

 จาก Quintilis เป็น July ตามชื่อของ Julius Caesar

ต่อมากษัตริย์ Augustus Caesar

 ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม ของ Julius Caesar 

ต้องการให้มีชื่อตัวเอง ในปฏิทินเหมือน ผู้เป็นบิดาบุญธรรม

จึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 6 ส.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1

 จาก Sextilis เป็น August

และเพิ่มวันให้มี 31 วัน เท่ากับเดือน ของพ่อด้วย

โดยไปลดเดือน ก.พ. ให้เหลือ 28 วัน ในปีปกติ

 และเหลือ 29 วันในปีอธิกสุรทิน

และนี่คือที่มาของปฏิทิน ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้

โดยได้มีการเพิ่มเติม รายละเอียดต่างๆ ในสมัยต่อมา

 แต่ได้มีการชำระปฏิทิน

ในสมัยพระสันตปาปา Gregory XIII เมื่อประมาณปี 1582

เนื่องจากวัน ในปฏิทินเริ่มเกินไป จากความเป็นจริง

และเรียกว่า "ปฏิทินจูเลียน-เกรกอเรียน" ที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้

ประเทศไทยเริ่มนำปฏิทิน จูเลียน-เกรกอเรียน

 เข้ามาใช้ อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2431

โดยนำมาปรับใช้ร่วม กับปฏิทินจันทรคติ ที่ใช้กันมาแต่เดิม

ซึ่งได้รับอิทธิพลมา จากศาสนาของอินเดีย

ในการใช้ดวงจันทร์ เป็นเครื่องกำหนดเวลา

และประกอบพิธีทางศาสนา และประเพณีต่างๆ

โดยยึดเอาวันมหาสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่

ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 หรือประมาณช่วงกลางเดือน เม.ย.

ในปี พ.ศ.2432 รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนให้วันที่ 1 เม.ย.

 เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้อง กับปฏิทินสุริยคติ ที่เริ่มนำมาใช้กัน

และต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนให้วันขึ้นปีใหม่

เป็นวันที่ 1 ม.ค. ตามแบบสากล

โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. พ.ศ.2484 เป็นต้นมา

การพิมพ์ปฏิทินครั้งแรกในประเทศไทย

มีขึ้นเมื่อวันที่ 14 ม.ค. พ.ศ. 2385 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 3

ซึ่งไม่ได้ระบุว่า ใครเป็นผู้พิมพ์

แต่คาดว่าน่า จะเป็นหมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์

ปฏิทินสุริยคติ เป็นปฏิทินบอกฤดูกาล จากการสังเกตดวงอาทิตย์

 โดยมีกลุ่มดาวจักรราศี เป็นตัวช่วยในการกำหนดนับ

ซึ่งเมื่อเห็นดวงอาทิตย์ ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวใด

 ก็จะรู้ได้ว่าเดือนนั้น เป็นเดือนอะไร

และดวงอาทิตย์ จะกลับมาปรากฏที่ตรงตำแหน่งเดิม

บนท้องฟ้าทุกๆ 1 ปี และจากการที่ดวงอาทิตย์

ให้พลังงานแก่โลก และแกนสมมติ ของโลก

เอียงทำมุม กับดวงอาทิตย์ ทำให้ภูมิอากาศ

ในแต่ละเดือนแตกต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่างๆ

ส่วนปฏิทินจันทรคติ มีที่มาจาก การสังเกตดวงจันทร์

โดยเทียบเคียง กับกลุ่มดาวจักรราศีเช่นกัน

แม้จะบอกฤดูกาล ได้ไม่ตรง

แต่มีความเกี่ยวเนื่อง กับการประกอบประเพณี

และพิธีทางศาสนาต่างๆ มาตั้งแต่อินเดีย สมัยโบราณ

 จึงใช้ปฏิทินจันทรคติเพื่อบ่งบอก เทศกาลและวันสำคัญต่างๆ

เช่น วันสำคัญทางศาสนา วันลอยกระทง ...

ปฏิทินในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ เช่น ปฏิทินแขวน ปฏิทินตั้งโต๊ะ

 ปฏิทินโปสเตอร์ ปฏิทินพก และปฏิทินสมุดบันทึก 

ซึ่งปฏิทินไม่ใช่เพียง แค่เครื่องมือ บอกวันเดือนปี

แต่เพียงอย่างเดียว เท่านั้น

แต่ยังเป็นสื่อ ที่บอกเล่าเรื่องราว ได้อย่างหลากหลาย

ให้ผู้คนในสังคม ได้รับรู้ วมทั้งสะท้อนให้เห็น วิวัฒนาการ

 และความเป็นไปของสังคม ในยุคสมัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

และอาจบอกได้ว่า ปฏิทิน คือสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลา















ขอขอบคุณที่มาfb. Siriwanna Jill




Create Date : 31 ธันวาคม 2556
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 16:27:28 น.
Counter : 8401 Pageviews.

1 comment
### วันพ่อแห่งชาติ ###





วันพ่อแห่งชาติ














ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ 

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก

เมื่อวันที่๕ ธันวาคมพ.ศ.๒๕๒๓

โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต

นายกสมาคมผู้อาสาสมัคร

และช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม

หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ

โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณ

มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม

สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูน

ตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู

และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติ

รำลึกถึงผู้เป็นพ่อ

จึงถือเอาวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี 

ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น

 "วันพ่อแห่งชาติ"

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ

ทรงเป็นพระราชบิดา

ของพระราชโอรส และพระราชธิดา

 ทรงรักใคร่และห่วงใย

ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันนี้

ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้ม

ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม

พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่าง

ของปวงชนชาวไทย

ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา กรุณา

 ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

ดังบทร้อยกรองเทิดพระเกียรติว่า

"อันราชาเลี้ยงรักษาซึ่งทวยราษฎร์

ประดุจเป็นปิตุราชอยู่ทุกเมื่อ

ควรที่บุตรสุดรักจักจุนเจือ

พระคุณนั้นให้อะเคื้อด้วยภักดี"

และอีกบทหนึ่งเทิดพระเกียรติว่า

"ทุกบุปผามาลัยคือใจราษฎร์

ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน


 พระคือบิดาข้าแผ่นดิน

ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร


 ลุ ๕ ธันวามหาราช

"วันพ่อแห่งชาติ"คือองค์อดิศร


 พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร

พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน"

หลักการและเหตุผล

การจัดตั้ง"วันพ่อ"

โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณ

ที่มีบทบาทสำคัญ

ต่อครอบครัวและสังคม

สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูน

ตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู

และสมควรที่สังคมจะยกย่อง

ให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ

จึงถือเอาวันที่ ๕ ธันวาคม ของทุกปี

ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น

"วันพ่อแห่งชาติ"

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย

อย่างนานัปการ

ทรงเป็นพระราชบิดา

ของพระราชโอรสและพระราชธิดา

ทรงรักใคร่และห่วงใย

ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน

รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์

ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้ม

ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม

พระองค์ทรงเป็น"พ่อ"ตัวอย่าง

ของปวงชนชาวไทย

ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา

 ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

ขอขอบคุณที่มา fb ราชบัลลังค์และจักรีวงค์ 





Create Date : 05 ธันวาคม 2556
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2557 10:55:17 น.
Counter : 3648 Pageviews.

0 comment
### คำราชาศัพท์ที่เราใช้ในการโพสต์,ถวายพระพร ###







คำราชาศัพท์ที่เรามักใช้ในการโพสต์,ถวายพระพร
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาท
 และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เรามักใช้ผิด....

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬



1."ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ"

เป็นคำลงท้ายที่ใช้แก่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เท่านั้น
ขอให้พึงสังเกตทุกครั้งที่เขียนคำนี้ หลัง "ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม"
จะต้องวรรค ทุกครั้ง แล้วจึงตามด้วย "ขอเดชะ"
เพราะเป็นคำสองคำมาใช้รวมกัน เห็นมีสื่อและหน่วยงานต่างๆ
รวมถึงหลายท่านเขียนติดกัน ซึ่ง ผิด
กล่าวคือ ต้องพูดหรือเขียนว่า...ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ...

ซึ่งแปลเข้าใจง่ายๆ ว่า "ขอเดชะ" แปลว่า ขอบุญญาบารมีจากเจ้านาย

"ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม" แปลว่า คุ้มหัวเรา...
รวมความได้ว่า ขอบุญญาบารมีจากเจ้านาย
(เจ้านาย-เป็นคำโบราณเมื่ออ้างถึงพระบรมวงศานุวงศ์)
คุ้มหัวเราให้มีความสุขความเจริญ



การใช้คำ "ขอเดชะ" ที่เรามักใช้ผิดกันอีกอย่างหนึ่งก็คือ
การใช้เป็นคำลงท้าย "บูรพกษัตริย์ที่ทรงสิ้นพระชนม์" ไปแล้ว
ซึ่งผมและเพื่อนๆจะใช้คำว่า
 "ข้าพระพุทธเจ้า น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม"
จะเห็นได้ว่าไม่มีคำ ขอเดชะ ต่อท้าย
แล้วก็ใช้คำว่า น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเท่านั้น
จะไม่มีถ้อยคำถวายพระพรหรือทรงพระเจริญ
เนื่องจากพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ไปแล้วนั่นเอง...

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬



2."ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา"
เห็นหน่วยงานใหญ่บางแห่ง ขึ้นคัตเอาท์ขนาดใหญ่เขียน
 "ฑีฆา" (ใช้ ฑ-นางมณโฑ) เขียนผิด
ที่ถูกต้องเป็น ท-ทหาร (ทีฆ ทีฆา = ยาว)
 และต้องเขียนโดยเคาะเป็น 3 วรรค แบบนี้...

"ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา"

จึงจะถูกตามราชบัณฑิตยสถานกำหนด
และหากจะใช้คำว่า "ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา" แล้ว
ก็ไม่ต้องใช้่ "ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"
เพราะสองคำนี้่ ความหมายเหมือนกัน
แปลว่า ขอให้มีอายุยืนยาวนาน (ข้อนี้ผมใช้ซ้ำกันประจำ...)

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬



3.คำว่า "อายุ" สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้
"พระชนมพรรษา" ไม่ใช่ "พระชนมายุ"

คำว่า พระชนมพรรษา (พฺระ-ชน-มะ- พัน-สา) แปลว่า
ขวบปีที่เกิด อายุ. เป็นคำราชาศัพท์
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ.
ใช้ว่า มีพระชนมพรรษา หรือ ทรงเจริญพระชนมพรรษา
เช่น ในปีพุทธศักราช 2555
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา



รวมไปถึงคำถวายพระพรชัยมงคล
สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้คำว่า
"ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน"
ไม่ใช่ "มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน"

(คำว่า "พระชนมายุ" ณ ปัจจุบัน ใช้แทนคำว่า "อายุ"
 แก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)

และพึงจำว่า หลังพรรษา ไม่ต้องมีคำว่า "ครบ"
เช่น มีพระขนมพรรษาครบ....พรรษา"
เพราะคำว่า "ครบ" จะใช้ต่อเมื่อครบรอบนักษัตรเท่านั้น
 เช่น "ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ"
 หรือ "ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษา"

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬



4.ต้องใช้ "เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา..
" ไม่ใช่ "เนื่องในวโรกาส..."

มีคนจำนวนมากกล่าวถึงการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาว่า
 "เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา" ซึ่งใช้ผิด
เพราะคำว่า "วโรกาส" มีธรรมเนียมการใช้เฉพาะเมื่อ "ขอโอกาส"
จากพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์
กล่าวคือ หากจะขอโอกาสพระมหากษัตริย์ ใช้ราชาศัพท์ว่า
ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส



เมื่อขอโอกาสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ,
 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร,
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
 ใช้ราชาศัพท์ว่า ขอพระราชทานพระราชวโรกาส

และเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้โอกาส
ใช้ราชาศัพท์ว่า พระราชทานพระบรมราชวโรกาส

เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ บรมราชินีนาถ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงให้โอกาส ใช้ราชาศัพท์ว่า พระราชทานพระราชวโรกาส

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
ให้โอกาส ใช้คำว่า ประทานพระวโรกาส

ดังนั้น ในกรณีอื่นๆ นอกจากการ "ขอโอกาส"
 และการ "ให้โอกาส" แล้ว จะไม่ใช้คำว่า "วโรกาส"
แต่ให้ใช้ว่า "โอกาส"

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬



5.ควรใช้ "ถวายพระพร" หรือ "ถวายชัยมงคล"
หรือ "ถวายพระพรชัยมงคล"

มีผู้รู้บอกว่า "ถวายพระพร" เป็นคำที่พระสงฆ์ใช้
กับพระบรมวงศานุวงศ์ ฉะนั้น สำหรับเราทั้งหลาย
ซึ่งเป็นสามัญชนโดยทั่วไป
ท่านจึงแนะนำให้ใช้ว่า "ถวายชัยมงคล"
แต่คนทั่วไปก็ชอบที่จะพูดและเขียนว่า "ถวายพระพร" ซึ่งผิด
ปัจจุบัน อนุโลมให้ใช้เพื่อกล่าวโดยรวม
หากว่าการนั้น มีผู้แสดงความจงรักภักดีและร่วมลงนาม
มีทั้งพระและสามัญชน จึงให้ใช้คำว่า "ถวายพระพรชัยมงคล"

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬ஜ۩۞۩ஜ▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬



6.ระหว่าง "ราชัน" กับ "ราชันย์" ต้องใช้คำไหน

สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องเขียนว่า "ราชัน"
"องค์ราชัน" "เทิดไท้องค์ราชัน"
ทั้งนี้ ควรทราบว่า "ราชัน" แปลว่า พระราชา
หรือ พระมหากษัตริย์

ส่วน ราชันย์ หากเติม ย์ จะแปลว่า
"เ ชื้ อ ส า ย พ ร ะ ม ห า ก ษั ต ริ ย์" จึงควรระวังในการเขียน
เพราะหากเราใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ว่า ราชันย์ นอกจากจะใช้ผิดแล้ว ก็เท่ากับว่า
เราไปลด พระราชอิสริยยศของพระองค์ท่าน
ซึ่งปัจจุบันเห็นมีใช้ผิดกันมากเช่นกัน

และคำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเขียน ณ ปัจจุบัน
 ไม่ต้องมี ฯ (ไปยาลน้อย) ต่อท้าย
เพราะหากมี นั่นแสดงว่าเรากำลังจะหมายถึง
เขียนพระราชนามโดยย่อ เพื่อระบุเจาะจงว่า
 เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ไหน
แต่สำนักพระราชวังได้ชี้แจงว่า ณ ปัจจุบัน
ในเมื่อทราบกันดีว่า เรามีพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว
และมีพระราชนามใด ตลอดจนหมายถึงพระองค์ใด
 ฉะนั้น จึงเขียนเพียง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เท่านั้น
ไม่ต้องมี ฯ ตามหลัง



เครดิต หงส์แดง พิทักษ์จักรีวงศ์ เทิดทูนองค์ภูมินทร์

ขอขอบคุณ fb ราชบัลลังค์และจักรีวงศ์ ที่นำมาเผยแพร่








Create Date : 02 ธันวาคม 2556
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 16:05:29 น.
Counter : 1839 Pageviews.

0 comment
### ประวัติความเป็นมาของธงชาติไทย ###











ประวัติ ความเป็นมา ของธงชาติไทย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชดำริจะเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสี
เพราะทรงเห็นความลำบากของราษฎร
ที่ต้องสั่งซื้อธงผ้าพิมพ์รูปช้างมาจากต่างประเทศ
และบางครั้งเมื่อเกิดความสะเพร่าติดธงผิด
 รูปช้างกลับเอาขาชี้ขึ้นเป็นที่น่าละอาย
หากเปลี่ยนเป็นธงแถบสี ราษฎรก็สามารถทำธงใช้เองได้
และจะช่วยขจัดปัญหาการติดผิดพลาด
ได้ทรงพยายามเลือกสีที่มีความหมายทางความสามัคคี
และมีความสง่างาม ก่อนออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่
 ได้ทรงทดลองใช้ธงริ้วขาวแดงติดอยู่ที่สนามเสือป่าหลายวัน



ภายหลังจึงตกลงพระทัยใช้สีน้ำเงินแก่เพิ่มขึ้นอีกสีหนึ่ง
 การเพิ่มสีน้ำเงินนี้ปรากฎพระราชหัตถเลขาในบันทึกส่วนพระองค์
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2460 ว่า
ได้ทอดพระเนตรบทความแสดงความเห็นของผู้ใช้นามแฝงว่า
”อะแคว์ริส” ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ ภาษาอังกฤษ
ฉบับวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2460
ได้ทรงแปลข้อความนั้นลงในบันทึกด้วย
มีความโดยย่อว่า เพื่อนชาวต่างประเทศของผู้เขียน (อะแคว์ริส)
ได้ปรารภถึงธงชาติแบบใหม่ว่ายังมีลักษณะไม่สง่างามเพียงพอ
ผู้เขียนก็มีความคิดเห็นคล้อยตามเช่นนั้น
และเสนอแนะด้วยว่าริ้วตรงกลางควรจะเป็นสีน้ำเงิน
ซึ่งเป็นสีส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถ้าเปลี่ยนตามนี้แล้ว
ธงชาติไทยก็จะประกอบด้วยสีแดง ขาว น้ำเงิน
มีสีเหมือนกับธงสามสีของฝรั่งเศส ธงยูเนียนแจ็คของอังกฤษ
 และธงดาวของสหรัฐอเมริกา
ประเทศพันธมิตรทั้งสามคงเพิ่มความพอใจประเทศไทยยิ่งขึ้น
เพราะเสมือนกับยกย่องเขา
ทั้งการที่มีสีของพระมหากษัตริย์ในธงชาติ ก็จะเป็นเครื่องเตือน
ให้ระลึกถึงพระองค์ในวาระที่ประเทศไทย
ได้เข้าสู่เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้
เมื่อทรงทดลองวาดภาพธงสามสีลงในบันทึก
ทรงเห็นว่า งดงามดีกว่าริ้วขาวแดงที่ใช้อยู่



ต่อมาเมื่อเจ้าพระยารามราฆพ
(ขณะนั้นยังเป็นพระยาประสิทธิศุภการ)
ไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ได้นำแบบธงไปถวายเพื่อทูลขอความเห็น
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถก็ทรงเห็นชอบ
รับสั่งว่าถ้าเปลี่ยนในขณะนั้นจะได้เป็นอนุสรณ์
ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้พระยาศรีภูริปรีชาร่างประกาศแก้แบบธงชาติ
และได้ทรงนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะเสนาบดีเพื่อฟังความเห็น
ที่ประชุมลงมติเห็นชอบธงสามสีตามแบบที่คิดขึ้นใหม่



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้น
เรียกว่า พระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460
ออกประกาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2460
มีผลบังคับภายหลังวันออกประกาศ
ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว 30 วัน ลักษณะธงชาติมีดังนี้
คือ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมรี ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน
มีแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 1 ใน 3 ของความกว้างของธงอยู่กลาง
มีแถบสีขาวกว้าง 1 ใน 6 ของความกว้างของธงข้างละแถบ แล้วมีแถบแดงกว้างเท่ากับแถบขาวประกอบข้างนอกอีกข้างละแถบ
และพระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์”
ส่วนธงรูปช้างกลางธงพื้นแดงของเดิมนั้นให้ยกเลิก


ความหมายของสีไตรรงค์ คือ

สีแดง หมายถึง ชาติและความสามัคคีของคนในชาติ

สีขาว หมายถึง ศาสนาซึ่งเป็นเครื่องอบรมสั่งสอนจิตใจให้บริสุทธิ์

สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศ





ที่มาของภาพ ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย(ธงไตรรงค์) thaiflag.org

ที่มาของเรื่อง ขอขอบคุณ fb ราชบัลลังค์และจักรีวงศ์








Create Date : 25 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 15:44:46 น.
Counter : 7186 Pageviews.

0 comment
### ความเป็นมาของวันลอยกระทง ###






วันนี้วันลอยกระทง มาทำความรู้จัก ประเพณีลอยกระทง
ให้ถ่องแท้กันก่อน ค่ะ จะได้เข้าใจ
ถึงจุดมุ่งหมาย ของประเพณีอย่างแท้จริง
วันลอยกระทง จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติ
ล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทิน สุริยคติ
จะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว
อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขึ้นเต็มฝั่ง
 ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ
เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำ
ที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงาม
เหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง



ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่า เริ่มตั้งแต่เมื่อใด
แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ ได้สืบต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย
 โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า
"พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป"
และมีหลักฐาน จากศิลาจารึกหลักที่ 1
กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟ ว่าเป็นงานรื่นเริง ที่ใหญ่ที่สุด
ของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่า น่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน



ในสมัยก่อนนั้น พิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ได้ทรงสันนิษฐานว่า
พิธีลอยกระทง เป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์
คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม
ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนา เข้าไปเกี่ยวข้อง
จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
 และลอยโคม เพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า



ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์
สนมเอกของพระร่วง
จะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้น เป็นคนแรก
แทนการลอยโคม



ประเพณีลอยกระทง สืบต่อกันเรื่อยมา
จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3
พระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนขุนนาง นิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่
เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคน และเงินจำนวนมาก
พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4
ทรงเห็นว่าเป็น การสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิก
การประดิษฐ์ กระทงใหญ่แข่งขัน
และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ ทำเรือลอยประทีปถวาย
องค์ละลำ แทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป"
ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ ขึ้นมาอีกครั้ง
ปัจจุบันการลอยพระประทีป ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงกระทำ เป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย



ความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่


1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณ ของแม่น้ำ
ที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการ
 ขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ
อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด


2.เพื่อเป็นการสักการะ รอยพระพุทธบาท นัมมทานที
เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปแสดงธรรม โปรดในนาคพิภพ
และได้ทรงประทับ รอยพระบาทไว้บน หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที
 ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง อยู่ในแคว้นทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท


3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทง
เปรียบเหมือน การลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ
และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง
คล้าย กับพิธีลอยบาปของพราหมณ์


4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือ ให้ความเคารพ
 ซึ่งบำเพ็ญเพียร บริกรรมคาถา อยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล
โดยมีตำนานเล่าว่า พระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่ง
 ที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้


5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียม ของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
 และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้น
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ


6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทง
 เป็นการนัดพบปะสังสรรค์ กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน


7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือ และความคิดสร้างสรรค์
เพราะเมื่อมี เทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน
ทำให้ผู้เข้าร่วม ได้เกิดความคิดแปลกใหม่
และยังรักษาภูมิปัญญา พื้นบ้านไว้อีกด้วย




บทความนี้เป็นของคุณ Siriwanna Jill จาก fb
  เราขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อให้ได้รู้กัน ขอบคุณนะคะ




























ขอบคุณภาพสวยๆจาก Google และขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านด้วยค่ะ



Create Date : 17 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 15:37:27 น.
Counter : 5108 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ