Group Blog
All Blog
### ปฏิทินแห่งแรกของโลก ###













ปฏิทินแห่งแรกของโลก .......

แต่ก่อนนี้เข้าใจกันว่ากรีซเป็นชาติแรกที่คิดค้นเรื่องของ “ปฏิทิน” ได้

 ต่อเมื่อได้พบ ภาพแกะปฏิทินสลักบนผนัง แห่งวิหารแห่งเมืองคาร์นัค

จึงได้ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วผู้ที่คิดค้น ได้คนแรกคือ

 บรรพชนชาวอียิปต์แต่โบราณกาลนั่นเอง 

เมื่อประดิษฐ์ตัวอักษร ประดิษฐ์แผ่นกระดาษ สำหรับเขียน

 มีสีหมึก และมีปากกาแล้ว

การบันทึกความจำได้บนแผ่นกระดาษ จึงเกิดขึ้นในเวลาต่อมา

และแพร่หลาย ไปทั่วทุกทวีป

แรกเริ่มเดิมทีนั้น ชาวอียิปต์โบราณนับ วัน เดือน ปี

เช่นเดียวกับ ชาติโบราณอื่นๆ คือ นับทาง “จันทรคติ”

โดยกำหนดเอา ข้างขึ้นคือ คืนที่พระจันทร์ส่งแสง เต็มดวงคืนแรก

 ไปบรรจบ กับคืนที่พระจันทร์ส่องแสงเต็มดวง ในคราวต่อไป

ซึ่งก็ถือว่าเป็น “หนึ่งเดือน” หรือ “หนึ่งรอบ”

เพื่อใช้ในสัญญา ที่ชาวนายืมข้าวมากิน

เช่น ขอยืมข้าวมาเป็นเวลา 9 เดือน

เมื่อพระจันทร์ส่งแสงเต็มดวง แล้ว 8 ครั้ง ก็หมายความว่า

มีเวลาเพียงพระจันทร์เต็มดวง อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็คือ 1 เดือน

 ก็จะต้องนำข้าวที่ยืมมานั้น ไปคืนเจ้าของ

แต่จากการที่นับเดือน ทางจันทรคตินี้ ในเดือนหนึ่งๆ

 ที่จะถึงพระจันทร์เต็มดวงนี้ มีไม่เท่ากัน

บางเดือนก็มี 29 วันบ้าง 30 วันบ้าง ไม่แน่นอน

ทำให้จำนวนวัน ในปีหนึ่งๆ ไม่เท่าเทียมกันชาวอียิปต์โบราณ

 คงปวดหัวและงง ๆ อยู่กับปรากฏการณ์ ธรรมชาติเช่นนี้

แต่ความช่างคิดช่างค้น อย่างชาวอียิปต์โบราณ

จึงได้จัดทำปฏิทินขึ้น มาใหม่เสีย โดยเริ่มจากหลักการที่ว่า

ให้ 1 ปีมี 12 เดือน 

ให้ 1 เดือนมี 30 วันเท่ากันหมด

ให้ 1 ปีมี 360 วัน 

ครบ 1 ปีแล้วก็ให้เพิ่มอีก 5 วัน รวมเป็น 365 วัน

ชาวมนุษย์โบราณ เพิ่ม 5 วัน ได้อย่างไรนั้น มีที่มา เจ้าค่ะ

 ....สภาพชีวิตของคนโบราณต้อง ทำมาหาเลี้ยงชีพ

เพื่อเลี้ยงปากท้องของตัวเอง แบบไม่ได้หยุดได้หย่อนเอาเสียเลย

กษัตริย์อียิปต์โบราณ กษัตริย์อียิปต์ จึงกำหนดให้

5 วันสุดท้ายของปีนั้น เป็นวันหยุดพักผ่อน ประจำปีของประชาชน

ให้ทุกคนได้เฉลิมฉลอง และสนุกสนาน

หลังจากที่ทำงานมาเหนื่อยทั้งปี

แล้วจะได้เริ่มต้นปีใหม่ ทำงานตัวเป็นเกลียว

เพื่อองค์กษัตริย์อีกต่อไป

นักโบราณศึกษา จึงยกย่องให้ชาวอียิปต์โบราณ

 คือผู้ที่คิดค้น “ปฏิทินของโลก” นับถึง พ.ศ. 2547

ก็ตก 6,255 ปี ที่โลกได้นำเอาปฏิทิน ของชาวอียิปต์มาใช้

เป็นของชาวโลก

และในกาลต่อมา เมื่อชาวยุโรปรุ่นหลัง ๆ

ได้รู้จักวิชาดาราศาสตร์มากขึ้น

จึงได้พัฒนา และดัดแปลงจำนวนวัน

ในแต่ละเดือนให้มี 30 วันบ้าง 31 วันบ้าง

และเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันบ้าง 29 วันบ้างตามเหตุผล

ทางอธิกมาส เช่นที่พวกเราคุ้นเคยในทุกวันนี้

ปฏิทินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีที่มาจากปฏิทิน ของชาวโรมัน

 เมื่อประมาณ 800 ปี

ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นปฏิทิน แบบสุริยคติ

โดยชาวโรมัน ประยุกต์มาจากปฏิทินของอารยธรรมอื่น อีกทีหนึ่ง

กษัตริย์โรมันในยุคแรก กำหนดให้ปฏิทินมี 10 เดือน

สันนิษฐานว่าอิง ตามเลขฐาน 10

โดยให้เดือน March เป็น เดือน 1

ทั้งนี้ เพราะชาวโรมัน ให้ความเคารพ Mars

เทพเจ้าแห่งสงคราม มากเป็นพิเศษ 

และในแต่ละเดือน จะมี 30 หรือ 31 วัน สลับกันไป

อาจเกี่ยวข้องกับ ปฏิทินจันทรคติ

เรื่อยไปจนถึงเดือนสุดท้าย คือเดือน December

รวมแล้วมีทั้งหมด 304 วัน

ทว่าเมื่อชาวโรมันใช้ปฏิทิน ไปเรื่อยๆ ปรากฏว่า

ฤดูกาลเริ่มไม่ตรง ตามปฏิทิน

จนในสมัยกษัตริย์ Numa Pompilius

เมื่อ 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

กำหนดให้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน

คือเดือน January และ February รวมแล้วมีทั้งสิ้น 355 วัน

กระทั่งในสมัยกษัตริย์ Julius Caesar

 ปรับเปลี่ยนวัน ในแต่ละเดือนเสียใหม่

ให้เดือน มี.ค. มี 31 วัน เดือนต่อๆ ไปมี 30 และ 31 วัน

สลับกันเรื่อยๆ จนถึงเดือนสุดท้ายคือ ก.พ. ให้มี 29 วัน รวมเป็น 365 วัน

แต่ถ้าปีไหน เป็นปีอธิกสุรทิน ซึ่งมี 366 วัน ให้เดือน ก.พ. มี 30 วัน

 พร้อมทั้งเปลี่ยน ให้เดือน ม.ค.

ซึ่งตั้งชื่อเดือนตามเทพเจ้า Janus ผู้มีสองพักตร์

และมีหน้าที่ เฝ้าประตูสวรรค์ ให้เป็นเดือนแรก ของปี

และเรียกปฏิทินนี้ว่า "ปฏิทินจูเลียน" หรือ Julian calendar

รวมถึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 5 เดือน ก.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1

 จาก Quintilis เป็น July ตามชื่อของ Julius Caesar

ต่อมากษัตริย์ Augustus Caesar

 ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม ของ Julius Caesar 

ต้องการให้มีชื่อตัวเอง ในปฏิทินเหมือน ผู้เป็นบิดาบุญธรรม

จึงเปลี่ยนชื่อเดือนที่ 6 ส.ค. เมื่อนับเดือน มี.ค. เป็นเดือน 1

 จาก Sextilis เป็น August

และเพิ่มวันให้มี 31 วัน เท่ากับเดือน ของพ่อด้วย

โดยไปลดเดือน ก.พ. ให้เหลือ 28 วัน ในปีปกติ

 และเหลือ 29 วันในปีอธิกสุรทิน

และนี่คือที่มาของปฏิทิน ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้

โดยได้มีการเพิ่มเติม รายละเอียดต่างๆ ในสมัยต่อมา

 แต่ได้มีการชำระปฏิทิน

ในสมัยพระสันตปาปา Gregory XIII เมื่อประมาณปี 1582

เนื่องจากวัน ในปฏิทินเริ่มเกินไป จากความเป็นจริง

และเรียกว่า "ปฏิทินจูเลียน-เกรกอเรียน" ที่ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้

ประเทศไทยเริ่มนำปฏิทิน จูเลียน-เกรกอเรียน

 เข้ามาใช้ อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2431

โดยนำมาปรับใช้ร่วม กับปฏิทินจันทรคติ ที่ใช้กันมาแต่เดิม

ซึ่งได้รับอิทธิพลมา จากศาสนาของอินเดีย

ในการใช้ดวงจันทร์ เป็นเครื่องกำหนดเวลา

และประกอบพิธีทางศาสนา และประเพณีต่างๆ

โดยยึดเอาวันมหาสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่

ซึ่งตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 หรือประมาณช่วงกลางเดือน เม.ย.

ในปี พ.ศ.2432 รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนให้วันที่ 1 เม.ย.

 เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้อง กับปฏิทินสุริยคติ ที่เริ่มนำมาใช้กัน

และต่อมาจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนให้วันขึ้นปีใหม่

เป็นวันที่ 1 ม.ค. ตามแบบสากล

โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. พ.ศ.2484 เป็นต้นมา

การพิมพ์ปฏิทินครั้งแรกในประเทศไทย

มีขึ้นเมื่อวันที่ 14 ม.ค. พ.ศ. 2385 ตรงกับปลายสมัยรัชกาลที่ 3

ซึ่งไม่ได้ระบุว่า ใครเป็นผู้พิมพ์

แต่คาดว่าน่า จะเป็นหมอบรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์

ปฏิทินสุริยคติ เป็นปฏิทินบอกฤดูกาล จากการสังเกตดวงอาทิตย์

 โดยมีกลุ่มดาวจักรราศี เป็นตัวช่วยในการกำหนดนับ

ซึ่งเมื่อเห็นดวงอาทิตย์ ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวใด

 ก็จะรู้ได้ว่าเดือนนั้น เป็นเดือนอะไร

และดวงอาทิตย์ จะกลับมาปรากฏที่ตรงตำแหน่งเดิม

บนท้องฟ้าทุกๆ 1 ปี และจากการที่ดวงอาทิตย์

ให้พลังงานแก่โลก และแกนสมมติ ของโลก

เอียงทำมุม กับดวงอาทิตย์ ทำให้ภูมิอากาศ

ในแต่ละเดือนแตกต่างกัน จึงเกิดเป็นฤดูกาลต่างๆ

ส่วนปฏิทินจันทรคติ มีที่มาจาก การสังเกตดวงจันทร์

โดยเทียบเคียง กับกลุ่มดาวจักรราศีเช่นกัน

แม้จะบอกฤดูกาล ได้ไม่ตรง

แต่มีความเกี่ยวเนื่อง กับการประกอบประเพณี

และพิธีทางศาสนาต่างๆ มาตั้งแต่อินเดีย สมัยโบราณ

 จึงใช้ปฏิทินจันทรคติเพื่อบ่งบอก เทศกาลและวันสำคัญต่างๆ

เช่น วันสำคัญทางศาสนา วันลอยกระทง ...

ปฏิทินในปัจจุบัน มีหลายรูปแบบ เช่น ปฏิทินแขวน ปฏิทินตั้งโต๊ะ

 ปฏิทินโปสเตอร์ ปฏิทินพก และปฏิทินสมุดบันทึก 

ซึ่งปฏิทินไม่ใช่เพียง แค่เครื่องมือ บอกวันเดือนปี

แต่เพียงอย่างเดียว เท่านั้น

แต่ยังเป็นสื่อ ที่บอกเล่าเรื่องราว ได้อย่างหลากหลาย

ให้ผู้คนในสังคม ได้รับรู้ วมทั้งสะท้อนให้เห็น วิวัฒนาการ

 และความเป็นไปของสังคม ในยุคสมัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี 

และอาจบอกได้ว่า ปฏิทิน คือสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลา















ขอขอบคุณที่มาfb. Siriwanna Jill




Create Date : 31 ธันวาคม 2556
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 16:27:28 น.
Counter : 8395 Pageviews.

1 comments
  
ขอส่งความสุข ให้จขบ.มีความสุขตลอดปี ๒๕๕๗ และตลอดไปครับ
โดย: **mp5** วันที่: 31 ธันวาคม 2556 เวลา:14:21:49 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ