Group Blog
All Blog
### ความเป็นมาของ "ตะเกียบ " ###














ประเทศจีน ถือเป็นประเทศต้นกำเนิด ของตะเกียบ

 เมื่อสามพันกว่าปีก่อน ในสมัยพระเจ้าโจ้ว

กษัตริย์องค์สุดท้าย แห่งราชวงศ์ซาง

 โดยว่าพระองค์ได้ทรงใช้ตะเกียบที่ทำจากงาช้าง

ต้นกำเนิดของตะเกียบนั้น เป็นตำนาน เล่าสืบทอดกันมา

 ในหมู่ชาวบ้านแถบ มณฑลเสฉวน

โดยว่า เจียงจื่อหยา เป็นชายหนุ่มไร้ความสามารถ

 ทำอะไรอื่นไม่เป็นนอกจากตกปลา

 ดังนั้นจึงมีชีวิต อยู่อย่างยากจนข้นแค้น

 ภรรยานึกทนอยู่กับสภาพอดๆ อยากๆ นี้ต่อไปไม่ไหวแล้ว

จึงคิดวางยาลอบฆ่าสามี เพื่อจะได้หาสามีใหม่ได้


อยู่มาวันหนึ่งเจียงจื่อหยา ออกไปตกปลาเช่นเคย

แต่กลับบ้านมามือเปล่า ภรรยาก็พูดขึ้นว่า

 "คงหิวแล้วซิท่า ฉันทำเนื้อผัดไว้ให้แล้ว รีบทานซะเถอะ"

เจียงจื่อหยาด้วยความที่หิว

ยื่นมือออกไปหยิบเนื้อเตรียมจะเข้าปาก

จู่ๆ ก็มีนกตัวหนึ่งบินเข้ามา จากทางหน้าต่างจิกเข้าที่มือ

 เจ็บจนร้องต้องปล่อยเนื้อหลุดจากมือ

พอจะหยิบเนื้อขึ้นใหม่อีกครั้ง นกก็บินมาจิกหลังมือเข้าให้อีก

เจียงจื่อหยาเริ่มรู้สึกเอะใจ ลองหยิบเป็นครั้งที่สาม

ก็ยังโดนจิกเข้าอีก จึงคิดว่าเห็นจะเป็นนกเทพ

 จึงทำเป็นไล่นกออกจากบ้าน ตามไปจนถึงที่ร้างไร้ ผู้คนแห่งหนึ่ง

 นกเทพก็หยุดเกาะบนกิ่งไผ่ และบอกเจียงจื่อหยาว่า

จะกินเนื้อนี้ใช้มือหยิบไม่ได้ ให้ใช้สิ่งที่อยู่ใต้เท้าเรานี้คีบเนื้อเอา

 เจียงจื่อหยารับรู้

และตรงเข้าเด็ดกิ่งไผ่ สองก้านเล็กเรียวติดกลับบ้าน

 พอถึงภรรยาก็เร่งให้เขาทานเนื้ออีก

 เจียงจื่อหยาจึงใช้กิ่งไผ่ ที่เด็ดติดมือกลับมานั้น

หนีบเอาเนื้อขึ้นมาก็ปรากฏว่ามีกลุ่มควันสีเขียวขึ้น

เจียงจื่อหยาแกล้ง ทำเป็นไม่รู้เรื่องถูกวางยาพิษ

กล่าวกับภรรยาว่า เนื้อนี้ทำไมมีควันลอยออกมา

 เห็นจะมีพิษหรืออย่างไรกัน?

พูดพลางยื่นเนื้อนั้นป้อนส่งให้ภรรยา

ภรรยาตกใจและวิ่งหนีออกจากบ้านไปทันที

 เจียงจื่อหยาจึงเข้าใจทันทีว่า นี่เป็นกิ่งไผ่วิเศษ

ที่ไม่ว่าพิษอะไร ก็สามารถพิสูจน์ได้หมด

นับแต่นั้นมาทุกมื้ออาหาร

เป็นต้องใช้แท่งไม้ไผ่คู่นี้ ในการทานอาหาร

ต่อมาบรรดาเพื่อนบ้านรอบข้างเห็นต่างถือปฏิบัติตามอย่าง

ใช้กิ่งไผ่ทานข้าว และแพร่หลายเป็นธรรมเนียมนิยม

 ไปยังคนหมู่มากในท้ายที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีตำนาน

 เรื่องชาวนาสองคนยากจน ไม่มีอะไรจะกิน

ด้วยความหิวจึงได้ไปขโมยเนื้อของเศรษฐีชิ้นหนึ่ง

หนีเข้าไปย่างกินในป่า ด้วยความหอมของเนื้อ

 ทำให้ทนรอให้เนื้อสุก จนทั่วไม่ไหว

เลยพากันเอากิ่งไม้มาคีบ ส่วนที่อยู่ด้านนอกที่สุกแล้ว

มากินก่อนทีละนิดๆจนถึงกระดูก

กลายเป็นวิธีการใช้ตะเกียบขึ้นมา

ตะเกียบนั้น เข้ามาในเมืองไทย เป็นระยะเวลานานกว่าช้อน-ส้อม

 ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า และยิ่งในชนบทด้วยแล้ว

 ชาวบ้านไม่นิยมใช้ตะเกียบ ในการกินอาหาร

 แต่ตะเกียบนั้นใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญเสียเลย

 เนื่องจากว่าอาหารจีนได้เข้ามา

แทรกอยู่ในวิถีชีวิตของไทยเราด้วย

ส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ตะเกียบ เป็นอุปกรณ์สำคัญในการกิน

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๋วยเตี๋ยวและบะหมี่

จนดูเหมือนกับว่าจะใช้ตะเกียบเพื่อกินก๋วยเตี๋ยวและบะหมี่เท่านั้น

ตะเกียบมีบทบาทสำคัญ ในวัฒนธรรมการกินของชาวจีน

นอกจากนี้ เกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม

 ทั้งสามชาตินี้ต่างรับเอาวัฒนธรรมตะเกียบของจีนไปใช้

ด้วยการดัดแปลงและพัฒนา จนกระทั่ง

ตะเกียบกลายเป็นวัฒนธรรมการกินประจำชาติของตนเอง

 ที่มีความผิดแผกและแตกต่างไปจากจีน

 ซึ่งเป็นชนชาติผู้ให้กำเนิดตะเกียบ


ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill










ตะเกียบหรือไคว่จื่อ (筷子) เป็นสิ่งประดิษฐ์จากไม้ไผ่

และเป็นเครื่องมือสำหรับรับประทานอาหารของชาวจีน

ที่มีประวัติศาสตร์สืบย้อนหลังไปมากกว่าสี่พันปี

ตะเกียบจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่

แห่งภูมิปัญญาบรรพบุรุษ เพราะความมหัศจรรย์

เพียงแค่ไม้ไผ่เล็ก ๆ 2 อัน กลับกลายมาเป็น

สิ่งบ่งชี้ทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่

และผูกพันเข้ากับวิถีชีวิตของชาวจีนอย่างแนบแน่น

จนไม่อาจแยกออกจากกันได้

และยังผูกพันไปถึงวัฒนธรรมอื่น ๆ ของจีนอีกมากมาย

แต่เดิมนั้น บรรพชนในอดีตของจีน

ล้วนยังต้องใช้มือในการหยิบจับรับประทานอาหาร

ต่อมาจึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้นตะเกียบขึ้นมาใช้ภายหลัง

แต่ธรรมเนียมการใช้ตะเกียบที่เกิดจากไม้ไผ่เล็ก ๆ เพียง 2 อัน

 เริ่มขึ้นมาเมื่อไหร่นั้น ไม่มีหลักฐานใด ๆ บ่งชี้ชัดได้

คงมีแต่เพียงนิทานโบราณที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า

ต้าอวี่ (大禹) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย

เป็นบุคคลแรกที่รู้จักการใช้ตะเกียบคีบจับอาหาร

 เล่ากันว่าภายหลังจากต้าอวี่สามารถพิชิตอุทกภัยน้ำท่วม

ได้เป็นผลสำเร็จก็ได้หาทางแก้ปัญหาให้พสกนิกร

หันมารับประทานอาหารสุกแทนอาหารดิบ

แต่ทว่า อาหารที่สุกมักมีความร้อน

บางอย่างก็ต้มด้วยน้ำเดือด ๆ

จึงไม่สามารถใช้มือหยิบฉวยได้

ต้าอวี่จึงได้หักเอากิ่งไม้ไผ่เล็กสองอัน

มาใช้คีบจับอาหารในน้ำเดือดหรืออาหารร้อน ๆ

 และกลายมาเป็นต้นแบบของการใช้ตะเกียบในที่สุด


แต่หลักฐานที่สำคัญที่ไม่ใช่เป็นเพียงตำนานนั้น

 มีการกล่าวไว้ใน “บันทึกหานเฟยจื่อ”(韩非子)

และ “บันทึกประวัติศาสตร์สื่อจี้” (史记)

เขียนโดย ซือหม่าเชียน(司马迁) บันทึกทั้งสองเล่มนี้

กล่าวถึงกษัตริย์โจ้วหวาง (纣王)ทรราชองค์สุดท้าย

ในสมัยราชวงศ์ซาง

กล่าวถึงความฟุ่มเฟือยภายในราชสำนัก

ที่มัวเมาแต่สุรานารี ในการเสวยพระกระยาหาร

ก็มีแต่ความฟุ่มเฟือย มีการระบุถึงภาชนะทานอาหาร

และดื่มกินหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ

ตะเกียบงาช้าง หรือ เซี่ยงจู้ (象箸)

ใน “คัมภีร์หลี่จี้” (礼记) ก็ได้กล่าวถึง

เครื่องใช้ในการรับประทานที่เรียกกันว่า เจีย (棶)

ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำมาจากไม้

เพราะมีหมวดตัวไม้อยู่ (木)อยู่ด้านข้างตัวอักษร

และก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ได้มีการเรียกตะเกียบไม้ไผ่

ที่ใช้รับประทานอาหารว่า เจี๋ย (荚) อย่างไรก็ตาม

ในบันทึกโบราณต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังเป็นต้นมา

 ต่างเรียกไม้ไผ่ 2 อันที่มีลักษณะแบบตะเกียบว่า

จู้ (箸) ซึ่งใช้คำคำนี้เรียกตะเกียบมานานหลายร้อยปี

ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ซ่ง หยวน และหมิง

สมัยราชวงศ์หมิง “บันทึกของลู่หรง” (陆容)

กล่าวถึงธรรมเนียมนิยมของชาวเรือว่า

ในการเดินทางหาปลาของชาวประมง

และการโดยสารเรือบนลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง

จะถือกันว่า อย่าเอ่ยคำว่า “จู้” เป็นคำต้องห้าม

และเป็นลางร้าย ชาวเรือถือว่า “จู้” เป็นคำเรียก

ที่เป็นอัปมงคลหลายอย่าง

เช่น “จู้” (蛀) หมายถึง ตัวมอด

ที่เป็นแมลงกัดกินเนื้อไม้เป็นอาหาร

ตัวมอดจะทำให้เรือเกิดรูรั่วจนน้ำเข้าเรือ

ชาวเรือจึงเกลียดตัวมอดมากเป็นพิเศษ

รวมทั้งคำว่า “จู้” ก็ยังพ้องเสียงกับ จู้ (住)

ที่แปลว่า หยุด เพราะสำหรับชาวเรือแล้ว

การหยุดก็คือการไม่สามารถล่องเรือออกทะเล

หรือแม่น้ำลำคลอง ทำให้ปากท้องไม่มีรายได้

ชีวิตบนเรือจะต้องพบกับความยากลำบาก

ดังนั้น คำอัปมงคลเหล่านี้

ทำให้ชาวเรือไม่ยอมพูดกัน

พวกเค้าจึงพูดเปลี่ยนชื่อเรียกตะเกียบ

จาก “จู้” มาเป็น “ไคว่” (快)

ซึ่งแปลว่า รวดเร็ว เร็วไว เพราะสำหรับชาวเรือแล้วยิ่งเร็วยิ่งดี

กรณีดังกล่าว มีกล่าวไว้ว่า จักรพรรดิคังซี (康熙皇帝)

 แห่งราชวงศ์ชิง ทรงไม่ยอมรับ

การเปลี่ยนคำเรียกหาตะเกียบมาใช้เป็นตัวอักษรว่าไคว่

เพราะจะทำให้ไม่สามารถรู้ถึงรากศัพท์ของตัวอักษรได้

 เมื่อมีการรวบรวม “พจนานุกรม ฉบับคังซี” (康熙字典)

พระองค์จึงให้เติมขีดความหมายของไม้ไผ่ (竹)

ลงไว้บนตัวอักษร ไคว่ จนกลายมาเป็นคำว่าไคว่ (筷)

หรือไคว่จื่อ (筷子) ซึ่งก็คือตะเกียบในปัจจุบัน

พื้นฐานของตะเกียบนั้นมาจากไม้ไผ่

แม้ว่าจะมีการประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ มาใช้กับการทำตะเกียบ

เช่นตะเกียบงาช้าง ตะเกียบหยก และตะเกียบทองคำ

ที่กลายมาเป็นเครื่องใช้บอกฐานะของเจ้าของตะเกียบ

รวมทั้งในวังหลวงยังมีการสร้างตะเกียบเงิน

ซึ่งใช้ในการตรวจสอบพิษ

ก่อนที่จะส่งให้ฮ่องเต้เสวยพระกระยาหารได้

แต่ไม่ว่าวัสดุที่สร้างจะแตกต่างกันสักเพียงใด

 หน้าที่ของตะเกียบยังคงเดิม นั้นก็คือ

การเป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร สำหรับคีบจับอาหาร

นอกจากนี้ ยังมีเคล็ดลับเกี่ยวกับ “ตะเกียบ”

หรือ “ไคว่จื่อ” อยู่บ้างบางประการ เช่น

ในพิธีแต่งงาน เจ้าสาวจะนิยมพกนำตะเกียบติดตัวไปด้วย

เพราะคำว่า “ไคว่” (快) แปลว่า เร็ว ๆ ไว ๆ

ส่วนคำว่า “จื่อ”(子) แปลว่า ลูกชาย

ดังนั้น การที่เจ้าสาวพกตะเกียบติดตัวก็คือ

เคล็ด ความหมายว่า “ขอให้มีลูกชายเร็ว ๆ ไว ๆ” นั้นเอง




เครดิต
//www.hudong.com/wiki/
//www.jiewfudao.com/
ขอบคุณที่มา....R@nthong.com














Create Date : 30 เมษายน 2558
Last Update : 9 พฤษภาคม 2558 11:58:32 น.
Counter : 11901 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ