The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
The Hero with a Thousand Faces: Joseph Campbell

เรื่องมันมีอยู่ว่า

คุณเคียวอยากเขียนบล็อค

แต่คุณเคียวไม่มีอะไรจะเขียน
เพราะคุณเคียวกำลังใช้ชีวิตจ่อมจมอยู่ในกองเทกซ์ ( แย้กก )

ในที่สุด คุณเคียวจึงคิดว่า เทกซ์ก็เทกซ์วะ
เลือกเทกซ์เล่มที่ชอบที่สุดมารีวิวเสียเลย
ใครไปใครมา
ก็ถือว่าฟังคุณเคียวคุยเล่นแล้วกันนะ

###

The Hero with a Thousand Faces หรือ "วีรบุรุษหนึ่งพันหน้า" ของแคมป์เบลเล่มนี้ เป็น a must ของคนศึกษาทาง mythology เชิงวิเคราะห์

ถึงแม้ว่าจะเขียนตั้งแต่ปี 1949 แต่ก็ยังถือกันว่าเป็นหนังสือเล่มที่ดีที่สุดของแคมป์เบล และทำคุณูปการให้กับวงการมิตโต รวมทั้งวงการวรรณกรรมไม่น้อย

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ไม่ใช่รวมมิตโต แต่เป็นการศึกษามิตโตเชิงวิเคราะห์ โดยการใช้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์และจุง ( อาจจะมีคนบ่นว่าเก่าไปหน่อย แต่ว่าเขาก็เขียนตั้งแต่ปี 1949 นี่นะ ) ที่จริงแล้ว ต้องบอกว่าใช้จุงมากกว่าฟรอยด์นิดหน่อย เพราะหนังสือเล่มนี้พัฒนามาเกือบโดยตรงจากทฤษฎีอาคีไทป์ ( archetype ) ของจุง

ทฤษฎีอาคีไทป์ เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วย "ลักษณะพื้นฐาน" ของมนุษย์ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น จุงจะชี้ให้เห็นว่าในจิตใต้สำนึกของมนุษย์นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกันอยู่ เช่น มีรูปแบบของแม่และพ่อ มีความปรารถนาในการเป็นวีรบุรุษ มีท่วงทำนองของชีวิตที่จะต้องผ่าน ( rite of passages ) ต่าง ๆ เพื่อให้ก้าวไปสู่ช่วงต่อไปของชีวิต พูดง่าย ๆ ก็คือ จุงมีความเห็นว่าแม้มนุษย์จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ทว่าก็ยังคงมีลักษณะเฉพาะบางประการที่คล้ายคลึงกัน และสามารถจัดประเภทได้

ในหนังสือวีรบุรุษหนึ่งพันหน้า แคมป์เบลได้ขยายฐานความคิดเรื่องอาคีไทป์มาสู่การศึกษามิตโต ( รวมทั้งตำนาน นิทาน และกระทั่งเรื่องเล่าสมัยใหม่เช่น สตาส์วอร์ ) แคมป์เบลได้ทำการศึกษาเรื่องเล่าเหล่านี้ในเชิงโครงสร้าง และค้นพบว่าในด้านโครงนั้น เรื่องเล่าทั้งหมดจะมีโครงสร้างบางประการคล้ายคลึงกัน แคมป์เบลแบ่งโครงสร้างเหล่านี้ออกเป็นสามส่วน ได้แก่

- Departure ( ไปจากสถานภาพเดิม )
- Inititiation ( ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สถานภาพใหม่ )
- Return ( กลับมาด้วยสถานภาพใหม่ )

โครงนี้สามารถเล่าเป็นเรื่องง่าย ๆ ( แคมป์เบลเรียกว่า monomyth ) ได้ว่า "วีรบุรุษผู้หนึ่งได้ออกจากโลกปรกติ ไปสู่ดินแดนอันมิรู้ ได้ผจญภัยและเอาชนะสิ่งทั้งหลายในดินแดนนั้น จนในที่สุดจึงได้กลับมา พร้อมทั้งนำสิ่งอันไม่รู้มาเป็นประโยชน์แก่ตนและสังคมของตน"

หรือจะให้เล่าอีกอย่างก็ได้

"พจมานมาถึงบ้านทรายทอง ด้วยสถานภาพของพจมานนังเด็กบ้านนอก ในบ้านทรายทอง พจมานต้องเจอเหตุการณ์ดึ๋ย ๆ จำนวนมาก หลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์เหล่านี้ เอาชนะอุปสรรค และเติบโตขึ้นได้แล้ว พจมานก็สามารถสร้าง status ของตัวเองในบ้าน และสร้างความหมายใหม่กับการเป็นพจมาน สว่างวงศ์ได้"

นี่เป็นโครงคร่าว ๆ แต่ในเชิงรายละเอียดจริง ๆ ตำนานแต่ละเรื่องย่อมมีความแตกต่างกัน บางเรื่องก็เน้นไปที่จุดเริ่มต้น บางเรื่องก็เน้นที่การผจญภัย บางเรื่องก็ทำให้ตรงข้ามกับโครง เช่น แทนที่จะกลับมาได้ ก็ตายระหว่างทางไปก่อน ( ถูกหม่อมแม่ตบตายแล้วเอาไปฝังใต้กอกุหลาบ ) ถึงอย่างนั้น แคมป์เบลก็แสดงความเห็นว่าแม้จะมี variation ต่าง ๆ แต่ก็ยังเป็น variation ที่ออกมาจากโครงหลักอันนี้อยู่ดี

เมื่อทำการอธิบายโครงโดยละเอียดแล้ว แคมป์เบลจึงได้อธิบายว่าเหตุใดจึงมีโครงสร้างแบบนี้ปรากฏในตำนานทั่วไปของมนุษยชาติ ( รวมทั้งนิยายในปัจจุบันด้วย ) เขาบอกว่าประโยชน์ของมิตโตและเรื่องเล่านั้น ไม่ได้เป็นเพียงการสืบทอดความรู้ของสังคม แต่เป็นกระบวนการ "เล่าเรื่อง" เพื่อแสดงให้เห็นขั้นตอนการเติบโตของบุคคล มีลักษณะใกล้เคียงกับนิยายประเภท coming of age ( หรือ bildungroman ) ซึ่งจะอธิบายถึงการเปลี่ยนผ่านระหว่างเด็กสู่ผู้ใหญ่ ( หรือเปลี่ยนสถานะ ) ของตัวละครเอก การอ่านหนังสือหรือการเล่าตำนานประเภทนี้ เป็นเหมือนกับแบบฝึกหัดสำหรับคนในสังคม ที่จะเรียนรู้กระบวนการเปลี่ยนผ่านก่อนจะถึงคราวของตัวเองจริง ๆ รวมทั้งเป็นการสั่งสอนถึงสภาพอันพึงประสงค์ที่สังคมต้องการหลังจากผ่านการเปลี่ยนผ่านแล้ว ดังนั้นทั้งมิตโต และ coming of age ส่วนใหญ่จึงมีลักษณะสั่งสอน ตัวละครจะเอาชนะความยากลำบาก ผ่านการผจญภัย และข้ามพ้นบททดสอบได้ ก็ด้วยการกระทำการที่ "ดี" ในสายตาของสังคม เช่น เป็นคนดี รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ มัธยัสถ์ ( บางทีก็รวมถึงเป็นนางเอก สวย หล่อ รวย แนว ขาวใส กินเนสวิต้า )

ถ้ามองในภาพกว้างออกไป เราจะพบว่าสังคมจะกระทำการผลิตและเล่าเรื่องทำนองนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่เพียงแต่ในตำนานเท่านั้น แต่ใน media อื่น ๆ ไม่ว่าจะละคร หนัง หรือแม้แต่โฆษณา เพื่อ "สร้างคำบอกเล่า" ถึง "ลักษณะอันพึงประสงค์ร่วม" ซึ่งสังคมเรียกร้องให้ปัจเจกบุคคลเป็น อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องว่าสังคมรู้ได้อย่างไรว่าอันไหนเป็นลักษณะพึงประสงค์ และทำไมถึงจะสอนเด็กให้ดีแทบตายมันก็ไม่เห็นดีอย่างที่สอน ก็จะกลายเป็นเรื่องยาวเลยไปจนกระทั่งถึงความขัดแย้งด้านวาทกรรม ฯลฯ ซึ่งบางทีก็ไม่เป็นสาระอะไรสำหรับคนที่ไม่สนใจ

เป็นเทกซ์รุ่นเก่าที่ยังคงความ clear ชัดแจ้ง และเป็นสากลแบบเก่าไว้ บางอย่างก็อาจจะเคลียร์ไปหน่อยจนพวกโปโหมะหงุดหงิดหัวใจ แต่ถึงอย่างนั้นก็อ่านสนุกดี


Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 17 กรกฎาคม 2551 1:07:19 น. 15 comments
Counter : 4869 Pageviews.

 
มาอ่านๆ เล่มนี้พี่หมกไว้อยู่บนชั้นอะ ว่าจะๆ ก็ยังไม่ได้ฤกษ์่อ่านซักที ^^"


โดย: Clear Ice วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:40:40 น.  

 
อ่า อ่านคร่าวๆ พอรู้ว่า นี่มันหนังสือเกี่ยวกับจิตวิเคราะห์

แต่ด้วยความไม่ได้มีเศษเสี้ยวที่แตกฉานเลย เลยอยากถามเอาความรู้ครับ

1. มิตโต คือ อะหยังครับ?

2. ตรงสืบทอดความรู้พอเข้าใจนะครับ แต่บางครั้งมันเกิด
ข้อผิดพลาดได้หรือเปล่าครับ พี่ ผมหมายถึง อย่าง ฮิตเลอร์กับ
หนังสือของเขาอ่ะ

3. ตรงท่อนสุดท้ายว่าด้วยการยอมรับเรื่องราวอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่า
นี่ มันเป็น การควบคุม วิธีคิดมนุษย์อย่างหนึ่งไม่ให้ต่อต้านหรือเปล่าครับ

( กำลังหาหนังสือ แนว อิทธิพลสื่อต่อการดำรงชีวิตและวิธีคิด
มาอ่านครับ )

โอย ถ้าอ่านแล้วมันปวดหัว พี่ก็ช่างๆมันเถอะนะครับ - -'''


โดย: ปากกาลักลอบเข้าบล็อคอย่างผิดกฎหมาย ( ไม่ได้ล็อคอิน ) IP: 202.28.9.61 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:13:46:16 น.  

 
พี่ไอซ์ @ งือ...ว่าง ๆ ลองหยิบมาอ่านดูนะคะ

ปากกา @ พี่ไม่ปวดหัวหรอก แต่พี่ว่าปากกาลองอ่านให้ละเอียดอีกรอบ ค่อย ๆ คิดทีละประเด็นด้วยตัวเอง แล้วค่อยถามดีกว่านะ - -



โดย: เคียว IP: 61.90.146.66 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:13:49:46 น.  

 
เออ ดีอ่าน text แล้วสนุก แต่ข้าน้อยอ่าน text แล้วเครียด อ่านเพื่อสอบอ่ะนะ มันก็ต่างกันนิดหน่อย


โดย: พิงค์กี้ IP: 124.120.105.162 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:17:38:43 น.  

 
แต่เนื้อหาช่วงหลังๆ ก็มีความเป็นโปโหมะอยู่บ้างเหมือนกันนุ หรือว่าเป็นเพราะวิธีอ่านของจขบ.หว่า นึกถึงโปโหมะรุ่นแรกๆ อย่าง quest model หรือ mythologies ของป๋าบาร์ตส์อ่ะ


โดย: ลูกสาวโมโจโจโจ้ IP: 58.9.14.122 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:11:53:07 น.  

 
พิ้งค์ @ ฉันอ่านทำธีสิสว่ะ แต่เล่มอื่นก็ไม่หนุกงี้หรอกนะแก - -''

คุณ LMJ @ ย่อหน้าท้าย ๆ เป็นสมบัติของจขบ.เองคับ ส่วนป๋าแคมป์เบลแกออกแนวบรรลุสัจธรรม - -'' ( แอบคิดว่าน่ากลัวนิด ๆ เหมือนกันนะ )
ชอบบาร์ตส์ตรงที่เอามวยปล้ำมาถอดอะค่ะ จขบ.ก็อยากลองทำดูเหมือนกัน><''


โดย: เคียว IP: 61.90.146.66 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:12:05:15 น.  

 
ดีใจที่ท่านชอบนะขอรับ
แต่ยังไงก็ชอบเรื่องAlwayมากกว่า
ดูแล้วน้ำตาซึม
ไหลพรากๆ
The Chorusดูแล้วไม่ร้องเท่าไหร่ แค่กึ้มๆพอมึนๆง่วงๆ
วันนี้อ่านบล๊อกท่านแล้วมีความรู้วสึกตัวเองโง่ปะกิดลงมาอีก อะไรวะอ่านไม่ออก ต้องไปจิมดิกเสียหลายคำ
หนังสือของคุณแคมป์เบลน่าอ่านพิลึก
แต่ก็กลัวปะกิดจะทะลักออกหมด
พยายามกลับไปอ่านหนังสือปะกิดที่ต้นมีใหม่อีกครั้งแบบละเอียด
เพระปรกติอ่านแบบเปิด ตรงนี้เข้าใจแล้ว อุ๊ยศัพท์ไม่รู้ ข้ามๆๆๆมันเลยโง่เข้าขั้นได้ใจ อยากอ่าน แต่ไม่รู้จักไอ้พวกนี้เลย รู้จักแต่ประมาณว่าดังสมัยเก่าแบบเจอแอร์ที่ผิดหวังไปนิดหน่อยจนอยากปาทิ้งเพราะมันนางเอกเกิ๊น แต่ก็อยากกลับไปอ่านให้จบปะไร เผื่อเราอ่านแล้วแปลผิดจะได้ก้มหน้างุดขอโทษเสียให้สิ้นTT^TT

อำลา รักษาสุขภาพด้วย อากาศเดี๋ยวหนาวเดี๋ยวไม่หนาวจนจะตายอยู่แล้วเนาะท่าน (ถึงเราจะถึกก็เถอะ ยังไม่ไหวเลย)


โดย: Orange~ IP: 125.24.43.2 วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:22:22:15 น.  

 
อ่านที่พูดถึง monomyth แล้วนึกถึงหนังสือเรื่อง Rebecca (Daphne du Maurier) พล็อตหลักออกแนวนั้นเดี๊ยะๆเลย แต่ว่าจุดเปลี่ยนแปลงมันช่างไม่น่าเป็น "ลักษณะอันพึงประสงค์ร่วม" เอาซะเลย (....พูดจาคลุมเครือ กลัวพี่ยังไม่ได้อ่านแล้วว่าสปอยล์)

อืมม และมันก็เป็นหนังสือเล่มนึงที่เรารักมากที่สุดด้วย :D


โดย: taftie IP: 128.36.59.138 วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:10:16:24 น.  

 
อ่านอีกรอบแล้ว Clear ดี ขอบคุณมากครับ พี่ ^^''


โดย: ปากกาพเนจร IP: 58.9.45.143 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:21:30:26 น.  

 
น้องส้ม @ ดีใจที่ชอบ always เน้อ^^
อ่า ศัพท์เฉพาะทางมีมีเยอะเหมือนกัน เลยต้องจิ้มดิกละมั้ง
ที่จริงเจนแอร์ถ้าไม่ชอบมันก็อ่านเรื่องอื่นแทนไปก่อนดีกว่านะ เลือกเรื่องที่ชอบ ๆ จะได้อยากอ่านให้รู้เรื่องไง

น้อง taftie @ ใช่เรื่องที่พระเอกชื่อแมกซิมหรือเปล่าน่ะ เล่มนั้นพี่เคยใช้เป็นหนังสือเรียนตอนเด็ก ๆ ละ แต่ร้างมานานก็ลืมไปมากแล้ว...

ปากกา @ จริง ๆ ถ้าอ่านแล้วสงสัยก็ถามได้นะ แต่นี่บอกว่าอ่านคร่าว ๆ แล้วถาม เลยบอกให้ไปอ่านดี ๆ แล้วคิดก่อนน่ะ


โดย: เคียว IP: 124.120.144.167 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:1:10:37 น.  

 
เหมือนจะมาแนวเครียดเต็มไปด้วยสาระ แต่พออ่านถึงพจมาณเจอ
เหตุการณ์ดึ๋ยๆ ในบ้านทรายทองแล้วขำก๊ากเลยอ่ะ


โดย: คิงเพนกวิน วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:0:50:34 น.  

 
โอ้..

รีวิวเท็กซ์ก็โอเคค่ะ

แต่..ง่า..อาจจะหาโอกาสอ่านยากค่ะ คงต้องรอเวลาอยากให้สมองมีความรู้ด้านนี้จริงๆ (ยังเข็ดจากช่วงทำวิทยานิพนธ์อยู่เลย)


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:11:14:55 น.  

 
.. คุณ มม อ่าน บล็อคนี้ ของคุณเคียว ไม่รู้เรื่องก๊ะ


โดย: แม่มดพันปี วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:23:25:56 น.  

 
ผ่านมาอ่านครับ

มันส์มาก ขอคารวะหนึ่งที

"พจมานโดยตบตายแล้วเอาศพหมกกอกุหลาบ"

ฮามากครับ 5555


โดย: ขาจรนอนสว่าง IP: 125.25.107.223 วันที่: 1 เมษายน 2552 เวลา:22:15:07 น.  

 
น่าสนใจดีครับ
ฟังดูน่าอ่านมาก


โดย: Disciple21 IP: 125.24.106.251 วันที่: 23 มกราคม 2556 เวลา:11:48:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.