The power of an authentic movement lies in the fact that
it originates in naming and claiming one's identity and integrity
-- rather than accusing one's "enemies" of lacking the same.
- Parker J. Palmer, The Courage to Teach
Group Blog
 
All blogs
 
พุทธในไพร: กมลา ติยะวนิช



อาจจะแปลก ๆ หน่อยที่เขียนถึงหนังสือที่ตัวเองเป็น บก. แต่หนังสือเล่มนี้สนุกมาก ถ้าไม่แนะนำก็รู้สึกเหมือนว่าทำอะไรผิดไปเหมือนกัน เอาเป็นว่าไม่ได้แนะนำในฐานะ บก. แต่แนะนำในฐานะคนอ่านหนังสือคนหนึ่งก็แล้วกัน

...

พุทธในไพร เป็นหนังสือแปล ต้นฉบับชื่อ The Buddha in the Jungle แต่คนเขียนเป็นคนไทย เหตุที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษเพราะอาจารย์กมลาผู้เขียนเป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล หนังสือเล่มนี้อยู่ในรีดดิ้งลิสต์ของคอร์แนล สำหรับนักศึกษาที่เรียนวิชาอุษาคเนย์ศึกษา

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นหนังสือวิชาการหนักแน่นชวนง่วงแต่ประการใด แต่เป็นหนังสือรวมบทความสารคดีขนาดสั้น 44 บทความ เล่าเรื่องเมืองไทยในสมัย ร.3 - ต้น ร.9

...

(บางส่วนจากโปรยปกหลัง)

หนังสือเล่มนี้เป็นการฉายภาพอดีตกาลของสยามประเทศ ยุคหมู่บ้านป่า (รัชกาลที่ 3 ถึงราว พ.ศ. 2500) บอกเล่าช่วงเวลาที่พุทธศาสนายังฝังรากอยู่ในพื้นที่ชนบท (...) เล่าขานชีวิตของพระในยุคหมู่บ้านป่า เชื่อมโยงกับบริบทของสิ่งแวดล้อม เพื่อชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระหว่างวัดกับบ้าน พระสงฆ์กับชาวบ้าน และผู้คนกับป่า

สมัยนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ยังอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ชาวบ้านจะเดินทางด้วยเท้า เกวียน หรือเรือชนิดต่างๆ ทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเกื้อกูลกัน เพราะศาสนาพุทธในแต่ละท้องถิ่นไม่แปลกแยกกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน

พุทธในไพร ได้สอดประสานข้อมูลจากสองแหล่งใหญ่ แหล่งแรกคือการสัมภาษณ์พระเถระ ผนวกกับบันทึกความทรงจำและชีวประวัติของท่านเหล่านั้น ส่วนแหล่งที่สองมาจากบันทึกของนักเดินทางชาวตะวันตกผู้ร่วมสมัยกับพระเถระ ซึ่งบรรยายประสบการณ์ที่ได้พบเห็นเมื่อเดินทางเข้ามายังประเทศสยาม ลาว และรัฐฉาน

...

ความสนใจของหนังสือเล่มนี้ อยู่ตรงที่การขนานเรื่องพระกับบันทึกและอนุทินของนักเดินทางตะวันตกที่เข้ามาในไทย (เช่นหมอบลัดเลย์) ซึ่งส่งผลที่น่าทึ่งเอามาก ๆ เพราะปรกติเวลาที่เราอ่านประวัติพระ เรื่องเล่าเหล่านั้นมักจะตัดขาดจากบริบททางประวัติศาสตร์ เราจะรู้กันแค่ว่าหลวงพ่อรูปนั้นรูปนี้เกิดพ.ศ.อะไร ทำอะไรบ้าง โดยไม่สามารถนึกออกว่าสภาพแวดล้อมของท่านเป็นอย่างไร และคนไทยเองก็ไม่ค่อยบันทึกสภาพแวดล้อมของตัวเองไว้ เพราะนึกว่ามันก็เป็นแค่เรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน (อะไรประมาณปลาไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในน้ำเพราะชิน)

แต่ฝรั่งที่เข้ามาในดินแดนแปลกถิ่น จะสังเกตและบันทึกสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ตลอดจนชีวิตความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นไว้เพราะความไม่ชิน ยิ่งไม่ชินเท่าไร ก็จะยิ่งบันทึกไว้อย่างละเอียด บอกถึงสิ่งที่พบเห็น ไม่ว่าธรรมชาติหรือวัฒนธรรม ซึ่งชวนให้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมเหมือนได้ไปด้วยกัน ของบางอย่างที่หายไปตามกาลเวลาในสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมเมือง จึงยังหลงเหลืออยู่ในบันทึกของฝรั่งพวกนี้เอง

เมื่อเอาเรื่องพระมาขนานกับบริบทจากบันทึกนักเดินทาง ภาพที่ออกมาจึง stunning อย่างยิ่ง เรื่องราวสมัยเมื่อครั้งที่หากปีนขึ้นไปบนยอดภูเขาทอง จะเห็นกรุงเทพเป็นทะเลป่า ที่มีเพียงยอดวัดโผล่พ้นให้เห็นเป็นจุด ๆ เหนือยอดไม้ เรื่องราวสมัยที่ถนนมีน้อย และผู้คนต้องแล่นเรือไปตามลำน้ำโดยระวังโจรดักปล้น หรือโจรที่แห่เข้ามาขโมยควายตอนมืด ๆ เรื่องราวสมัยที่ยังมีสถานีทำไม้อยู่ที่ภาคเหนือ และกว่าซุงท่อนหนึ่งจะล่องตามน้ำลงไปจนถึงกทม. ต้องใช้เวลาถึงห้าปี

เดิมทีอาจารย์กมลาแปลหนังสือเล่มนี้ไว้เพื่อเป็นหนังสืองานศพของคุณแม่อาจารย์ และเนื่องจากเป็นกิจเร่งด่วน จึงแปล 24 บทความจาก 44 บทความ ผู้ช่วยกันแปลต่างเป็นนักวิชาการหรือผู้มีความรู้ดีในวงการ เช่น อาจารย์อาภาภิรัตน์ วัลลิโภดม (ซึ่งแปลบทสุดท้ายของเล่มนี้ได้ดีจริง ๆ) และคุณมุกหอม วงษ์เทศ ต่อมาจึงได้นำมาตรวจแก้เพิ่มเติม และตีพิมพ์เป็นรูปเล่มสำหรับจัดจำหน่าย

เรื่องที่เล่าในเล่ม มีทั้งเรื่องทั่วไปในเมือง การใช้เรือ การต่อเรือ วัฒนธรรมของคนไทย การอยู่กับย่ายายในสมัยเด็ก สมุนไพรโบราณ เรื่องการเข้าป่าเข้าดง เจอเสือเจอช้างและงูจริง ๆ (ตลอดจนเรื่องของตาฝรั่งซวยที่นั่งอยู่ดี ๆ ก็มีงูพิษเลื้อยมานอนเป็นเพื่อนอยู่ใต้เก้าอี้ และเรื่องของหมอเฮาส์ มิชชันนารีแสนซวยที่ถูกช้างตกมันกระซวกพุง แต่หมอก็สามารถเย็บปิดพุงตัวเองเอาจนรอดทันมีคนมาช่วย - จขบ.ชอบเรื่องนี้มาก โคตรฮาร์ดคอร์ T-T) และเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับพระ และนักเดินทางชาวตะวันตก

ปรกติจขบ.ไม่ค่อยอ่านหนังสือประวัติพระ เพราะรู้สึกเช่นเดียวกับคนจำนวนมากว่าน่าเบื่อ เพิ่งมาตระหนักเมื่ออ่านเล่มนี้ว่าเหตุที่รู้สึกว่าน่าเบื่อนั้นก็เพราะไม่สามารถเชื่อมโยงท่านได้ รู้สึกเพียงว่าท่านเหล่านั้นเป็นคนดี แต่ไม่เข้าใจอะไรหลาย ๆ อย่าง เหมือนอ่านนิยายที่มีแต่ตัวละครไม่มีฉาก เมื่ออ่านเล่มนี้ เพิ่งเห็นครั้งแรกว่าฉากเป็นอย่างไร ฉากเมืองไทยที่อาจารย์กมลาวาดให้เห็น enchanted มาก ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกอบอุ่นคุ้นเคย เหมือนได้เห็นสิ่งที่สูญหายไปแล้ว แต่ก็จำได้ว่าเคยมีอยู่ นอกจากนั้นบางตอนยังตื่นเต้น และบางตอนก็ถึงขั้นสยอง (ฝรั่งมันเขียนบรรยายประเพณีให้ศพเป็นทานแร้งที่วัดสระเกศได้ละเอียดอ้วกมาก ๆ) และบางตอนก็ให้ความรู้สึกสงบ แต่ที่ไม่ขาดเลยตลอดเรื่องคือความหลักแหลมในการเล่า ปรัชญาที่แฝงไว้แบบไม่ยัดเยียด และอารมณ์ขัน ยิ่งบทไหนอาจารย์กมลาแปลเอง จะยิ่งฮามาก อาจารย์เป็นคนเล่าเรื่องเก่งมากและ energetic เหมือนมานั่งเล่าให้ฟัง

หนังสือวางจำหน่ายแล้ว เล่มละ 250 บาท อีกยี่สิบบทที่เหลือก็มีโครงการจะแปลต่อไปเพื่อออกเป็นเล่มสองด้วย


Create Date : 24 ธันวาคม 2552
Last Update : 21 มิถุนายน 2558 16:36:51 น. 15 comments
Counter : 2086 Pageviews.

 
ฟังแล้วน่าอ่านมากคับ ได้เจอกันแน่นอน -_-+

เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งได้อ่านหนังสือของคุณมุกหอม รู้สึกว่าเป็นคนที่เขียนหนังสือได้ฮามากและมึนมากเช่นกัน อยากลองอ่านผลงานแปลดูบ้างจัง ~


โดย: Job IP: 192.168.0.10, 61.90.147.114 วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:11:32:08 น.  

 
แกเป็นคนแปลเรื่องให้ศพเป็นทานแร้ง ที่ฝรั่งมันเขียนได้ละเอียดอ้วกนั่นแหละ...


โดย: ลวิตร์ วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:13:21:02 น.  

 
ใกล้ปีใหม่นี้ขอให้คนดี
มีร่างกายที่ล้นเปี่ยมพลังมากมาย
ไม่มีโรคร้ายใดใดกวน
ที่ผ่านมาถือว่าฟาดเคราะห์เสียงดังเปราะให้จงหาย
ต้อไปนี้ทรัพย์ที่มีจะเพิ้มขึ้นอีกมากมาย
ไม่มีภัยอันตรายมาเยี่ยมเยียน
ที่เคยรักจะพานพบกับคนแท้จริง
ให้ได้อิงเอียงแอบแนบชิดใจ



โดย: chabori วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:16:52:15 น.  

 
จำไม่ได้ว่าเคยหยิบมาเปิดๆ ที่ร้านหนังสือหรือเปล่าเพราะเมื่อสองวันก่อนง่วนอยู่กับการหาหนังสือกฎหมายอย่างบ้าคลั่ง (หาที่อยากได้ไม่เจอ)

สนใจเล่มที่ปันเสนอตรงนี้เหมือนกัน : ปรกติเวลาที่เราอ่านประวัติพระ เรื่องเล่าเหล่านั้นมักจะตัดขาดจากบริบททางประวัติศาสตร์ เราจะรู้กันแค่ว่าหลวงพ่อรูปนั้นรูปนี้เกิดพ.ศ.อะไร ทำอะไรบ้าง โดยไม่สามารถนึกออกว่าสภาพแวดล้อมของท่านเป็นอย่างไร และคนไทยเองก็ไม่ค่อยบันทึกสภาพแวดล้อมของตัวเองไว้ เพราะนึกว่ามันก็เป็นแค่เรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน (อะไรประมาณปลาไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ในน้ำเพราะชิน)

เอาไว้ซื้ออ่านดีกว่า ถ้าไม่ว่างยังไงจะซื้อให้พ่อกะแม่อ่าน (พ่อกับแม่ชอบประวัติพระ)

ง่า...ตัวหนังสือคงไม่เล็กเนาะ


โดย: ฯคีตกาล วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:18:12:01 น.  

 
ไม่คับ นายสั่งให้ทำฟอนต์ใหญ่เพราะกลุ่มลูกค้าน่าจะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่


โดย: เคียว IP: 118.172.18.187 วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:18:49:50 น.  

 
เก็บเข้าลิสต์ ไว้กลับเมืองไทยจะไปสอย
เอ๊ะ หรือมีขายที่เมกาป่าวคับ


โดย: นักรบ IP: 74.193.252.136 วันที่: 24 ธันวาคม 2552 เวลา:21:56:22 น.  

 

สุขสันต์วันคริสมาส ขอให้มีความสุขนะค่ะ




โดย: brackleyvee วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:5:45:23 น.  

 
เล่มภาษาอังกฤษมีขายที่เมกาคับ สั่งอเมซอนเอาก็ได้

//www.amazon.com/Buddha-Jungle-Kamala-Tiyavanich/dp/0295983728/ref=sr_1_1?ie=UTF8&s=books&qid=1261701865&sr=8-1


โดย: เคียว IP: 118.172.22.69 วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:7:45:10 น.  

 
น่าสนอีกแล้วนะเนี่ย

Merry Christmas จ้า (ไม่เข้ากับหนังสือในบล็อกเลย 555)


โดย: ทินา วันที่: 25 ธันวาคม 2552 เวลา:17:56:03 น.  

 
ไม่เคยคิดจะอ่านประวัติพระเลย แต่สงสัยต้องไปเปิดๆเล่มนี้ดูแล้วสิ


โดย: rachan IP: 202.57.178.81 วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:20:35:51 น.  

 
หาซื้อไม่ได้เลยฮับ TT^TT
ร้านแถวบ้านที่นครปฐมไม่มีซักร้าน (ไม่รับสั่งด้วย แง่งๆ)
เวบร้านหนังสือที่ไหนๆก็ไม่มี งี้ดดดดด


ร้านนึงตลกดี มีเรื่องหมาป่าขาย พอข้าเจ้าอธิบายว่ามันเป็นของสนพ.เดียวกัน สายส่งน่าจะหาให้ได้ คุณพนักงานก็ท่องไดอะลอกซ้ำๆว่า "ไม่มีรายชื่อในคอมพ์ก็สั่งไม่ได้ค่ะ"

เอ่อ.. คุณพี่ ร้านหนังสือมันจะเจ๊งเพราะงานเทศกาลหนังสือกับเวบออนไลน์อยู่รอมร่อแล้ว คุณพี่ไม่คิดจะกระตือรือร้นขายหนังสือหน่อยเหรอคะ

ตอนนี้เลยได้ข้อสรุปว่า .... รองานหนังสือเดือนเมษาค่า~


โดย: wanderer IP: 125.25.142.232 วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:17:13:23 น.  

 
สั่งสนพ.ไหมคับ ค่าส่งฟรีทั่วประเทศเน้อ

//www.thai.silkwormbooks.com/document/buybook.htm


โดย: เคียว IP: 118.172.57.151 วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:21:27:33 น.  

 
อา ในที่สุดเค้าก็รู้ที่มาของตาเฮาส์ เอ็มดี *เหม่อ*


โดย: LMJ IP: 58.9.18.227 วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:21:51:25 น.  

 
ขอบคุณค่ะ ^^
ตอนนี้ไปตะแง้วให้คนช่วยดูที่กรุงเทพฯอยู่ ถ้าไม่ได้ ก็คงซื้อตรงกับสนพ.เลย


โดย: wanderer IP: 125.25.94.246 วันที่: 1 มกราคม 2553 เวลา:22:48:46 น.  

 
หนังสือพุทธในไพร ถ้าสนใจ สามรถสั่งทางออนไลน์ ที่เวปไชต์ของร้านหนังสือสุริวงค์ บุ๊คเชนเตอร์ ได้นะคะ //www.suriwongonline.com/shopping/?dir=desc&order=news_from_date
ส่งทางไปรษณีย์ คะ


โดย: ni IP: 110.77.235.237 วันที่: 14 กันยายน 2555 เวลา:17:28:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ลวิตร์
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




ลวิตร์ = พัณณิดา ภูมิวัฒน์ = เคียว

รูปในบล็อค
เป็นมัสกอตงาน Expo ของญี่ปุ่น
เมื่อปี 2005
น่ารักดีเนอะ

>>>My Twitter<<<



คุณเคียวชอบเรียกตัวเองว่า คุณเคียว
แต่ที่จริง
คุณเคียวมีชื่อเยอะแยะมากมาย

คุณเคียวมีชื่อเล่น มีชื่อจริง
มีนามปากกา
มีสมญาที่ได้มาตามวาระ
และโอกาส

แต่ถึงอย่างนั้น
ไส้ในก็ยังเป็นคนเดียวกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินข้าวแฝ่ (กาแฟ ) เหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบกินอาหารญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไส้ในก็ยังชอบสัตว์ (ส่วนใหญ่)
ไส้ในก็ยังชอบอ่านหนังสือ ชอบวาดรูป
ชอบฝันเฟื่องบ้าพลัง
และชอบเรื่องแฟนตาซีกับไซไฟ
(โดยเฉพาะที่มียิงแสง )

ไส้ในก็ยังรู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ
และใช้ถ้อยคำเดียวกันมาอธิบายโลกภายนอก

ไส้ในก็ยังคิดเสมอว่า
ไม่ว่าเรียกฉัน
ด้วยชื่ออะไร

ก็ขอให้เป็นเพื่อนกันด้วย




Friends' blogs
[Add ลวิตร์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.