Ortho knowledge for all @ Do no harm patient and myself @ สุขภาพดี ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ ต้องสร้างเอง

“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” หลักการทรงงานเพื่อความยั่งยืน





“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” หลักการทรงงานเพื่อความยั่งยืน

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่มีพระประสงค์เห็นประชาชนคนไทยทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี จนก่อให้เกิดโครงการพระราชดำริน้อยใหญ่มากมายกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ อันนำมาซึ่งประโยชน์ ความสุข และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน

ในการดำเนินงานโครงการต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จ พระองค์ทรงยึดหลักผลประโยชน์ของปวงชนและการพัฒนาคนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานแบบบูรณาการและกระบวนการคิดบนรากฐานของ “การเข้าใจมนุษย์” ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากความเข้าใจ และศึกษาผู้คนด้วยการสังเกต (Design Thinking) ซึ่งในปัจจุบันเป็นแนวทางที่นานาชาติต่างยอมรับและใช้แก้ไขปัญหาตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคลไปจนถึงปัญหาใหญ่ระดับมหภาค

หลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” คือ การเรียนรู้กระบวนการคิดบนรากฐานของการเข้าใจมนุษย์ การเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้การสร้างสรรค์นั้นตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และการพัฒนาด้วยความรู้และภูมิปัญญาที่ไม่จำกัดอยู่แค่ด้านใดด้านหนึ่ง ตลอดจนการทดลองและปรับปรุงจนได้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่รู้จบ

“เข้าใจ” คือ  เข้าใจความต้องการของชุมชนและบริบทท้องถิ่น เข้าใจความเป็นไปทั้งหมดของปัญหาอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจผู้คนในหลากหลายปัญหา ทั้งทางด้านกายภาพด้านจารีตประเพณีและวัฒนธรรม

“เข้าถึง” คือ เมื่อเข้าใจแล้วก็ต้องเข้าถึง เพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ เข้าถึงพื้นที่และออกไปสัมผัสถึงกับสิ่งที่คนในพื้นที่ต้องการจริงๆ เข้าถึงความจริง ไม่ใช่การรู้แต่เพียงผิวเผิน เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดในความเป็นมนุษย์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งตัวของเราเองด้วย

“พัฒนา” คือ นำสิ่งที่ประชาชนต้องการไปเติมเต็มให้เขาสามารถใช้ศักยภาพได้อย่างเต็มที่ และต้องอยู่บนรากฐานของความเข้าใจและเข้าถึงดังที่กล่าวมาข้างต้น

หลักการทรงงาน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนานั้น ทรงใช้กับทั้ง คน วัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม มีความลุ่มลึกและมีโครงการพระราชดำริหรืองานอื่นที่ทรงทำเป็นตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจน





นอกจากนี้ พระองค์ยังใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อ ในการดำเนินงานใดๆ ให้ประสบผลสำเร็จและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ปวงชนชาวไทย ได้แก่

1. ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ - ทั้งข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง

2. ระเบิดจากข้างใน - สร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่จะเข้าไปพัฒนา ให้มีสภาพพร้อมที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน

3. แก้ปัญหาจากจุดเล็ก - มองปัญหาในภาพรวม แต่เริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็กๆ คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม

4. ทำตามลำดับขั้น - การพัฒนาให้เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข เมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว จึงค่อยพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งจำเป็นสำหรับประกอบอาชีพ

5. ภูมิสังคม - การพัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึงภูมิประเทศของบริเวณนั้น เช่น ดิน, น้ำ, ป่า, เขา ฯลฯ และสังคมวิทยา เช่น นิสัยใจคอของผู้คน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

6. องค์รวม - คิดอย่างองค์รวม หรือมองอย่างครบวงจร มองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง

7. ไม่ติดตำรา - การทำงานมีลักษณะที่อนุโลม รอมชอมกับสภาพธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สภาพสังคม จิตวิทยาของชุมชน ไม่ผูกมัดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย

8. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด - แก้ไขปัญหาด้วยความประหยัด เรียบง่าย ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ

9. ทำให้ง่าย - ทำสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย อธิบายที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย

10. การมีส่วนร่วม - เปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน

11. ประโยชน์ส่วนรวม - การให้เพื่อส่วนรวมนั้น ไม่ได้ให้เพื่อส่วนรวมอย่างเดียว แต่เป็นการให้เพื่อตนเอง สามารถมีส่วนรวมหรือสังคมที่จะอาศัยอยู่ได้

12. บริการที่จุดเดียว - ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้นแบบการบริหารรวมที่จุดเดียว เพื่อให้ประชาชนที่มาใช้บริการ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยงานส่วนราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการ ณ ที่แห่งเดียว

13. ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ - หากต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ปัญหาป่าเสื่อมโทรม พระราชทานพระราชดำริการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก (ต้นไม้) ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ

14. ใช้อธรรมปราบอธรรม - นำกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักและแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงสภาวะที่ไม่ปกติให้เข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การใช้ผักตบชวาบำบัดน้ำเสียโดยดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ

15. ปลูกป่าในใจคน - การที่จะพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา จะต้องปลูกจิตสำนึกให้คนรักป่าเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง

16. ขาดทุนคือกำไร - การเสียคือการให้ หลักการคือ "การให้" และ "การเสียสละ" เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร

17. การพึ่งตนเอง - การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ประชาชนแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ และขั้นต่อไปก็คือ พัฒนาให้ประชาชนสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ในที่สุด

18. พออยู่พอกิน - ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่มีความยากลำบากให้สามารถอยู่ได้อย่าง "พออยู่พอกิน" เสียก่อนแล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป

19. เศรษฐกิจพอเพียง - เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างความเข็มแข็งหรือภูมิคุ้มกันทุกด้านซึ่งจะสามารถอยู่ได้อย่างสมดุล ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง

20. ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน - ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธ์ใจ

21. ทำงานอย่างมีความสุข - ทำงานโดยคำนึงถึงความสุขที่เกิดจากการได้ทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น

22. ความเพียร –  เมื่อมีความเพียรพยายามที่จะทำการใดๆ แล้ว แม้ในระยะแรกจะเจอปัญหาหรืออุปสรรค แต่สุดท้ายแล้วความมุ่งมั่นตั้งใจก็จะทำให้การงานใดๆ ประสบความสำเร็จ ดังเช่น พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ที่พระองค์เองก็ได้ใช้ความเพียรในการคิดประดิษฐ์ รังสรรค์เรื่องราวและวิธีการนำเสนอให้ประชาชนสามารถอ่านและทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า “ความเพียร” ได้โดยง่าย

23. รู้-รัก-สามัคคี - รู้ คือ การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา รัก คือ เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนการแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้นๆ และสามัคคี คือ เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกันเป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วย

หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นหลักการแก้ปัญหาที่ควรแก่การยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้สามารถนำมาปรับใช้ได้ในทุกลำดับขั้นของการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ในระดับครัวเรือน ชุมชน จนไปถึงระดับสังคมโดยรวม ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศได้อย่างก้าวทันโลกในยุค Thailand 4.0

ที่มา https://www.manpattanalibrary.com/newsdetail.php?id=106



Create Date : 31 มกราคม 2562
Last Update : 31 มกราคม 2562 22:11:14 น. 0 comments
Counter : 18460 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]




ผมเป็น ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือ อาจเรียกว่า หมอกระดูกและข้อ หมอกระดูก หมอข้อ หมอออร์โธ หมอผ่าตัดกระดูก ฯลฯ สะดวกจะเรียกแบบไหน ก็ได้ครับ

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปี ( เรียกว่า แพทย์ทั่วไป ) แล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง ออร์โธปิดิกส์ อีก 4 ปี เมื่อสอบผ่านแล้วจึงจะถือว่าเป็น แพทย์ออร์โธปิดิกส์ โดยสมบูรณ์ ( รวมเวลาเรียนก็ ๑๐ ปี นานเหมือนกันนะครับ )

หน้าที่ของหมอกระดูกและข้อ จะเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ของ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูก ข้อ และ เส้นประสาท โรคที่พบได้บ่อย ๆ เช่น กระดูกหัก ข้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม ข้อเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น

สำหรับกระดูกก็จะเกี่ยวข้องกับกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน กระดูกข้อไหล่ จนถึงปลายนิ้วมือ กระดูกข้อสะโพกจนถึงปลายนิ้วเท้า ( ถ้าเป็นกระดูกศีรษะ กระดูกหน้า และ กระดูกทรวงอก จะเป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์ทั่วไป )

นอกจากรักษาด้วยการให้คำแนะนำ และ ยา แล้วยังรักษาด้วย วิธีผ่าตัด รวมไปถึง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ อีกด้วย นะครับ

ตอนนี้ผม ลาออกจากราชการ มาเปิด คลินิกส่วนตัว อยู่ที่ จังหวัดกำแพงเพชร .. ใช้เวลาว่าง มาเป็นหมอทางเนต ตอบปัญหาสุขภาพ และ เขียนบทความลงเวบ บ้าง ถ้ามีอะไรที่อยากจะแนะนำ หรือ อยากจะปรึกษา สอบถาม ก็ยินดี ครับ

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ( หมอหมู )

ปล.

ถ้าอยากจะถามปัญหาสุขภาพ แนะนำตั้งกระทู้ถามที่ .. เวบไทยคลินิก ... ห้องสวนลุม พันทิบ ... เวบราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์ หรือ ทางอีเมล์ ... phanomgon@yahoo.com

ไม่แนะนำ ให้ถามที่หน้าบล๊อก เพราะอาจไม่เห็น นะครับ ..




New Comments
[Add หมอหมู's blog to your web]